คุณภาพการศึกษาไทยติดอันดับ47จาก58ปท.


การศึกษาในจังหวัดชายแดนภาคใต้

            นายชินวรณ์ บุณยเกียรติรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เปิดเผยภายหลังการประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.ว่าสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ได้รายงานสถานการณ์การศึกษาของประเทศไทยในระดับนานาชาติ จากการจัดอันดับของ International Institute for Management Development (IMD) ปี 2553 ซึ่งมี58 ประเทศทั่วโลกเข้ารับการประเมินจัดอันดับ โดยผลการประเมินการศึกษาในภาพรวมของไทย พบว่า อยู่อันดับที่ 47 เท่ากับปี 2552 เมื่อเทียบกับประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก อาทิ จีน เกาหลี ญี่ปุ่นออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ ฮ่องกง ไต้หวัน มาเลเซียสิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ อินเดีย และอินโดนีเซีย เป็นต้นประเทศไทยมีอันดับอยู่เหนือเพียงอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์และอินเดีย ทั้งนี้ ในด้านคุณภาพการศึกษา พบว่าอัตราส่วนนักเรียนต่อครูระดับประถมศึกษาอยู่อันดับที่41 โดยอัตรานักเรียนอยู่ที่ 17.70 คน ต่อครู 1 คนสำหรับอัตราส่วนนักเรียนต่อครูระดับมัธยมศึกษา อยู่อันดับที่ 53 โดยอัตรานักเรียนอยู่ที่ 21 คน ต่อครู 1 คน

            นายชินวรณ์กล่าวว่า ส่วนการตอบสนองความสามารถในการแข่งขันของระบบการศึกษา และการตอบสนองความสามารถในการแข่งขันของอุดมศึกษา อยู่อันดับที่32 ทั้ง 2 ส่วน โดยได้ 5.01 คะแนน จาก 10 คะแนนเต็มทักษะด้านภาษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจ อยู่อันดับที่ 41 ได้ 4.83 คะแนน จาก 10 คะแนนเต็ม ความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษ ซึ่งวัดจากคะแนนเฉลี่ยโทเฟล (TOFEL) ในระบบอินเตอร์เน็ตเทียบจากฐานคะแนนสูงสุด 120 คะแนน อยู่อันดับที่54 เฉลี่ย 72 คะแนน ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่อันดับที่ 52 และการสอนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียนอยู่อันดับที่ 35 ได้ 4.62 คะแนน ซึ่งแย่กว่าปี 2552

            นายชินวรณ์กล่าวต่อว่า ด้านโอกาสและความเสมอภาค พบว่า การเข้าเรียนระดับมัธยมศึกษา ที่พิจารณาจากจำนวนนักเรียนระดับมัธยมศึกษาอายุ 12-17 ปี ที่เรียนเต็มเวลา ไทยอยู่ในอันดับที่ 47 ดีขึ้นกว่าปี2552 โดยไทยมีอัตราการเข้าเรียนมัธยมศึกษาสุทธิอยู่ที่ 92% ส่วนการไม่รู้หนังสือของผู้ใหญ่ พิจารณาจากประชากรที่อายุ 15 ปีขึ้นไป พบว่า ไทยมีอัตราการไม่รู้หนังสือของผู้ใหญ่ 7.4% อยู่อันดับที่ 44 ส่วนผลสัมฤทธิ์ของการอุดมศึกษา พิจารณาจากประชากรอายุ 25-34 ปี ที่จบการศึกษาตั้งแต่ระดับอุดมศึกษาขึ้นไป พบว่า ไทยอยู่ที่18% อันดับที่ 45 จำนวนคนใช้อินเตอร์เน็ตต่อประชากร 1,000 คน พบว่า ไทยมีผู้ใช้อินเตอร์เน็ต 209 คน อยู่ในอันดับที่ 53 แย่ลงจากปีที่ผ่านมา

          นายชินวรณ์กล่าวอีกว่า ในหัวข้อประสิทธิภาพการจัดการศึกษา/การบริหารจัดการ พบว่า การจัดการศึกษาที่ตอบสนองต่อความต้องการของภาคธุรกิจ ไทยอยู่อันดับที่ 30 ได้ 5.75 คะแนน จาก 10 คะแนนเต็ม แย่ลงจากปี 2552 การถ่ายโอนความรู้ระหว่างภาคธุรกิจกับมหาวิทยาลัยไทยอยู่อันดับที่ 34 ได้ 4.28 คะแนน จาก10 คะแนนเต็ม และการลงทุนเพื่อการศึกษาพิจารณาจากค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของไทยในภาครัฐต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) โดยไทยลงทุน 4.2%ต่อจีดีพี อยู่อันดับที่ 35 ซึ่งถือว่ามากกว่าสิงคโปร์ ที่ลงทุน 3.1% แต่อันดับการศึกษาในภาพรวมของสิงคโปร์อยู่อันดับที่13 ซึ่งดีกว่าไทยที่อยู่ในอันดับที่ 47 ถึง 34 อันดับ

           "ผลการประเมินด้านการศึกษาในภาพรวมยังอยู่ในระดับที่ต้องศึกษา และติดตามต่อไป ว่าจะต้องดำเนินการที่จะพัฒนาการศึกษาในภาพรวมอย่างไร โดยผมได้มอบให้สกศ.นำผลการประเมินดังกล่าวไปวิเคราะห์และรายงานต่อที่ประชุมผู้บริหารองค์กรหลักของ ศธ.เพื่อมอบให้องค์กรหลักที่เกี่ยวข้องกับสมรรถนะในแต่ละด้านไปปรับปรุง และพัฒนาให้ดีขึ้นต่อไป ซึ่งตัวชี้วัดที่ IMD ใช้ในการประเมินจัดอันดับหลายตัว มีความเชื่อมโยงกับตัวชี้วัดการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองด้วย" นายชินวรณ์กล่าว

ที่มา: หนังสือพิมพ์มติชน

คำสำคัญ (Tags): #การศึกษา
หมายเลขบันทึก: 411345เขียนเมื่อ 1 ธันวาคม 2010 06:38 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 เมษายน 2012 18:49 น. ()สัญญาอนุญาต: ไม่สงวนสิทธิ์ใดๆจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เท่าที่ตามมาโดยตลอด อัตราการได้เรียนของคนไทยมากขึ้น แต่คุณภาพต่ำลง

ปริมาณ และ คุณภาพ ไม่สอดรับกัน อาการน่าเป็นห่วงนะครับ

ผอ ครับ หายไปนานมากๆ ผมว่าตอนนี้ครูขาดในบริบทของโรงเรียนที่ครูเกษียณทำไมได้ตำแหน่งมาช้ามาก คนที่อยู่โรงเรียนสอนตาย ไม่เห็นผู้ใหญ่รีบดำเนินการ ทั้งๆที่รู้ว่าครูขาดไม่เข้าใจ

สวัสดีค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท