สัมมนาเชิงปฏิบัติการ "การจัดทำแผนยุทธศาสตร์การจัดการความรู้ (โดยไม่เพิ่มภาระงาน)" : โรงเรียนในเครือมูลนิธิเซนต์คาเบรียลแห่งประเทศไทย ตอนที่ 1


การเป็นนักทำ (สมาชิก CoPs) มอง สังเกต ถาม ฟัง เรียนรู้จากสิ่งที่ทำ เรียนรู้จากสิ่งที่ผิด เป็นการทำ KM ที่ไม่เป็นการเพิ่มภาระงานปกติ
facilitate และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดย
ดร.บงกช เศวตามร์ (เพลินพัฒนา) และ
คุณทวีสิน ฉัตรเฉลิมวิทย์ (SCG)
เอื้ออำนวย : อาจารย์พิมพ์ใจ  วัชรานุรักษ์
26 พ.ย.53 ณ โรงเรียนอัสสัมชัญ ธนบุรี

(บันทึกการนำเสนอของวิทยากร : สังเกตการณ์จากหลังห้องประชุม)

โหมโรง

การเป็นนักทำ (สมาชิก CoPs)  มอง  สังเกต  ถาม ฟัง  เรียนรู้จากสิ่งที่ทำ  เรียนรู้จากสิ่งที่ผิด  เป็นการทำ KM  ที่ไม่เป็นการเพิ่มภาระงานปกติ

การทำงานย่อมมีการตั้งเป้าหมาย  ซึ่งต้องมี indicator หลักๆ ที่มาจากการช่วยกันคิด  ว่าจะทำอย่างไรในบริบทเราให้ตอบโจทย์เป้าหมายได้

แล้วเราก็แยกย้ายกันไปทำในบริบทเราซึ่งก็จะต้องมีรายละเอียดต่างกันไปตามบริบทแต่ละโรงเรียน 

อีกหน่อยก็จะตามด้วยการสานต่อเครือข่าย KM อื่นๆ เช่น  SCG  โรงพยาบาล  โรงเรียนอื่น  มหาวิทยาลัย ฯลฯ

แลกเปลี่ยนประสบการณ์ “องค์กรของเรา (45 นาที)

ขอให้นำเอาประสบการณ์จริงๆ มาแลกกัน

โรงเรียนเราประกาศว่าปีนี้ ปีหน้า จะ achieve อะไร  แล้วตอนนี้ห่างไกลแค่ไหนระหว่างความฝันกับความจริง  ช่องว่างนี้  เราจะมองต่างๆ กัน  เวลาเราเล่าเรื่องตัวเองมักจะผสมความทุกข์ระทมของเราเยอะ  และแน่นอนว่าทั้งหมดไม่ใช่ความผิดของเราหรอก  เป็นเพราะ ผอ.แน่ๆ  วันนี้ท่านภารดาอนุญาตให้ทุกคนคิดว่าไม่มีท่านอยู่ ่ (---ตรงนี้เป็นปัจจัยสำคัญ คือ การมีผู้นำเปิดกว้างทำให้เกิดพื้นที่ปลอดภัยในการแลกเปลี่ยนกัน  ซึ่งท่านภารดาชำนาญได้เตรียมกับวิทยากรในการเปิดพื้นที่ตรงนี้---ผู้บันทึก)

เวลาเราฟังขอให้ฟังแบบรับรู้และเข้าใจ  และชวนกันมองด้านบวกด้วย

ขอให้แชร์กันให้ได้หมดทุกเรื่อง  ขอเปิดพื้นที่นี้สำหรับพวกเราทุกคนที่มีทุกข์ร่วมกัน  และดูว่าในกลุ่มเราจะมองมุมบวกจากเรื่องเหล่านี้ได้อย่างไร  ไม่ต้องสวมบทนางฟ้าเค้นออกมา  แค่มองว่าถ้าเรามองอีกมุมจะเป็นอย่างไร  มีมุมมองอื่นได้อีกไหม 

แบ่งกลุ่มอย่างไรดี ตกลงกันเอง เพียงแต่ขอให้คนที่มาจากที่เดียวกันอย่าอยู่ด้วยกัน  และขอมีคุณลิขิตเข้าไปอยู่ด้วย  จัดเก้าอี้เข้าโต๊ะประชุม 4 มุมห้อง

ผ่านไป 1 ชม.

สรุปการแลกเปลี่ยนประสบการณ์

รวมกลุ่ม ขอให้จัดเก้าอี้เป็นตัว “U” ใหม่  ตั้งเป้าหมายกันก่อน  จะกินข้าวเที่ยงกี่โมง 

เที่ยงตรง  งั้นเราแชร์กันกลุ่มละ 5 นาที

ถอดบทเรียน : กิจกรรมนี้ได้อะไร  รู้สึกอย่างไร

(บอกเล่าสั้นๆ ทีละกลุ่ม : ....ได้ระบาย  ได้รับข้อมูลจากแต่ละโรงเรียน  รับรู้ว่ามีจุดบวกลบอย่างไร  แต่ละโรงเรียนมีการพัฒนาไปในทางบวกมากกว่าทางลบ.....)

Fa สรุป : จุดร่วมคือเป้าหมายไม่ชัด  บวกกับบริบทที่แตกต่าง

ความไม่ชัดเจนอีกแบบคือ โจทย์กว้าง  อยากพัฒนาวิชาการ  นู่น  นี่  นั่น  ทำอย่างไร  เอาแค่ไหนจึงจะพอ  อยากเป็น top ten ทำอย่างไร  เร่ิมจากไหน  เป้าบางอย่างนึกว่าชัด  มีแกนร่วม  แต่มันก็ขึ้นอยู่กับการตีความ  พอไม่ชัดก็ไม่อยากก้าว

ความจริงกับความฝันต่างกันแค่ไหน  อย่างไร  เป็นคำถามปลายเปิด 

ข้อเสียของคำถามปลายเปิด  อาจทำให้คนบางคน frustrate มาก  จะทำถูกไหม  แต่ถ้ามีคนที่หนึ่งก้าวออกมาว่าจะทำแบบนี้  ถูกผิดหรือเปล่าไม่รู้  กลายเป็นพื้นที่ให้คิดต่าง  ทำต่าง  จะได้ความคิดอะไรดีๆมากมายจากพื้นที่แบบนี้

(พักรับประทานอาหารเที่ยง)

หมายเลขบันทึก: 410911เขียนเมื่อ 28 พฤศจิกายน 2010 16:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:21 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท