บันทึกครั้งสำคัญของพยาบาลฉุกเฉิน


ร่วมกันคิดร่วมกันพัฒนาเพื่อพยาบาลฉุกเฉินและการบริการผู้ป่วยฉุกเฉิน

25-26พฤศจิกายน2553

มีเหตุการณ์สำคัญของพยาบาลฉุกเฉิน ที่เราขอบันทึกไว้ "เรารวมพลัง ระดมสมอง เพื่อก่อตั้งสมาคมพยาบาลฉุกเฉิน"

ด้วยการสนับสนับสนุนของ ของสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย โดย คุณอุบล ยี่เฮง นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ นพ.สมชาย กรรณสูต

พยาบาลฉุกเฉินทั่วประเทศได้รับการสุ่มเชิญ มาจำนวนหนึ่ง 70 คน และภาคอีสานจำนวน 14 คนค่ะ

กิจกรรมที่สำคัญ เน้นการมีส่วนร่วม ลักษณะอิสระ ผ่อนคลาย เพราะสถานที่ที่เลือก คือ ที่ภูไอยรารีสอร์ท จังหวัด นครนายก  

กิจกรรม

1 .การเล่ากิจกรรมของการดำเนินงานของสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน

นพ.สันต์ เล่าว่า สมาคมแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน เกิดมา 7 ปี สร้างผลงานพัฒนาด้านวิชาการและเครือข่าย ทั้งภายในและภายนอกประเทศ ถือว่าประสบความสำเร็จระดับหนึ่งโดยทั้งนี้ พยาบาลให้ความช่วยเหลืออย่างดี และเมื่อพยาบาลได้ริเริ่มที่จะก่อตั้งสมาคมพยาบาลฉุกเฉิน เพื่อเป็นองค์กรวิชาชีพที่จะขับเคลื่อนช่วยเหลือพยาบาลฉุกเฉินด้านต่างๆ สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน จะให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่

นพ.สมชาย เล่าว่า ถึงพัฒนาการของการปฏิบัติงานของการบริการอุบัติเหตุฉุกเฉินที่ผ่านในอดีต 20 ปี ถูกทอดทิ้ง ขาดแพทย์เฉพาะทาง พยาบาลเฉพาะทาง อัตรากำลังขาดการสนับสนุน สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินจึงเกิดขึ้น แต่สมาคมฯมีจุดด้อยเพราะตั้งอยู่ส่วนกลาง ยังขาดในส่วนภูมิภาค ดังนั้นการประชุมเครือข่ายพยาบาลฉุกเฉินครั้งนี้ จะนำไปสู่ความร่วมมือที่ดีต่อการปฏิบัติงานและการพัฒนาที่ครอบคลุม ที่เป็นการทำงานนอกระบบ ในรูปแบบสมาคมพยาบาลฉุกเฉิน  เพื่อผลักดันกิจกรรมพัฒนาสำหรับพยาบาลฉุกเฉิน ได้อย่างมีประสิทธิภาพเพิ่มมากขึ้น

คุณอุบล ยี่เฮง ซึ่งปัจจุบันท่านเป็น ฝ่ายเลขาฯ ของสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เล่าว่า การเริ่มต้นการก่อตั้งสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เริ่มจาก การประชุมวิชาการ ด้านการแพทย์ฉุกเฉิน  จึงเกิดสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน ตั้งแต่ ปี 2541 คนทำงานมีเฉพาะส่วนกลาง ขาดการมีส่วนร่วมจากต่างจังหวัด จึงริเริ่มให้มีการวมพลังในครั้งนี้ อย่างพี่ๆน้องๆ พยาบาลฉุกเฉิน มาร่วมกันคิด  ร่วมกันพัฒนาเพื่อพยาบาลฉุกเฉินและการบริการผู้ป่วยฉุกเฉินค่ะ

คุณวรรณี พี่ใหญ่ของเรา เล่าว่าปัจจุบัน พยาบาลฉุกเฉิน ไม่ทิ้งกัน ร่วมพัฒนากัน พัมนาระบบงาน ตนเองได้รับการยอมรับ และมีส่วนร่วมในหลายส่วน พร้อมอุทิศตนเองเพื่องานและพยาบาลฉุกเฉิน อยากชักชวนมาทำงาน

ช่วงบ่าย เราแบ่งกลุ่ม เป็น 4 กลุ่ม โดย แบ่งตามภูมิภาคและจำนวนละ 10-15 คน เพื่อตอบโจทย์

ลองดูภาพกิจกรรมค่ะ

โฉมหน้าของผู้แทนทีมภาคอีสาน ค่ะ

งานสะดมสมอง ทั้ง 4 กลุ่ม เรานำมาเสนอเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันในการก่อการ เพื่อจัดตั้งสมาคมพยาบาลฉุกเฉินค่ะ โดย มีความคิดเห็นทั้งหมดเห็นด้วย ให้ดำเนินการต่อ

และให้มีตัวแทนของแต่ละภาค สำหรับวิธีการนั้น จะมีการนำข้อมูลสรุปการสัมมนาครั้งนี้ไปประชาสัมพันธ์ ในระดับภาคให้ได้รับทราบโดยทั่วถึง และให้มีส่วนร่วมอีกครั้ง สำหรับตัวแทนในการสัมมนาครั้งนี้ คือ เป็นผู้ประสานงานชั่วคราวไปก่อน โดย รอการสรุปเป็นเอกสารจากฝ่ายเลขาฯของสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉิน เร็วๆนี้เราจะได้บทราบผล เตรียมอาสาเข้ามาก่อตั้ง สมาคมพยาบาลฉุกเฉิน เพราะพยาบาลฉุกเฉินทุกท่านคือ คนสำคัญค่ะ

สรุปสิ่งที่ต้องการการพัฒนา

  1. สามารถพัฒนาทีมตอบสนองสถานการณ์ที่รวดเร็วและเข็มแข็ง Emergency Medical Response Team =MERT
  2. ร่วมพัฒนาระบบส่งต่อผู้ป่วยอุบัติเหตุ ฉุกเฉินที่มีประสิทธิภาพ
  3. พัฒนาพยาบาลฉุกเฉินให้ได้มาตราฐานระดับเมืออาชีพ ได้รับการพัฒนาสมรรถนะอย่างเป็นระบบและกระจายทั่วถึงทุกระดับ โดยเรื่องการเปิดโอกาสด้านการศึกษาและอบรมเฉพาะทางเพิ่มมากขึ้น โดยกำหนดเกณฑ์สำหรับผู้ปฏิบัติงานในงานอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ต้องผ่านการอบรมหรือการศึกษาระดับใด จำนวนเท่านใด เช่น อบรมระยะสั้น ร้อยละ 100 อบรมเฉพาะทาง ร้อยละ 30 ปริญญาโทและเอก สาขาการพยาบาลอบัติเหตุ ฉุกเฉินและสาธารณภัย ร้อยละ 10 และร้อยละ 5 เป็นต้น
  4. พยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน ควรได้รับการพิจารณาเรื่องค่าตอบแทนตามภาระงานที่เหมาะสมมากขึ้นกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เช่น ค่าตอบแทน พตส เทียบเท่าพยาบาลระยะวิกฤติ เนื่องจากมีความยุ่งยากซับซ้อน และเสี่ยงสูงด้านการพยาบาลเช่นกัน
หมายเลขบันทึก: 410629เขียนเมื่อ 27 พฤศจิกายน 2010 12:07 น. ()แก้ไขเมื่อ 17 มิถุนายน 2012 18:18 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (12)

ติดตามมาเชียร์อีกแรงค่ะพี่แขก 

หนึ่งแรงก็พลังพยาบาล ย่อมมีความสำคัญค่ะ น้องไก่ เพื่อการพัฒนาการพยาบลฉุกเฉินและพยาบาลฉุกเฉิน เราทำได้อยู่แล้ว

นิตยศักดิ์ เทศศรีเมือง

ขอเป็นแรงเชียร์ และสนับสนุนเต็มที่ค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ เพื่อพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน เราเรียกงานนี้ว่าก่อการดี ช่วยกันทำงานค่ะ เร็วๆจะพบกันอีกค่ะ

ถึงสมาชิกภาคอีสานทุกท่าน

ช่วยกันเสนอรายชื่อผู้แทนเพื่อร่วมเป็นกรรมการสมาคมพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน ด้วยค่ะ เพราะขณะนี้ อาจารย์อุบล ยี่เฮง ติดตามถามหาการบ้านแล้วค่ะ

อยากเข้าร่วมเป็นสมาชิกด้วยค่ะ เป็นพยาบาลอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน 12 ปี ค่ะ จบพยาบาลเฉพาะทางอุบัติเหตุ-ฉุกเฉิน รามาธิบดี ค่ะ

พยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉิน ได้สิทธินั้นทันที และยังรับผู้สนใจอีกด้วยค่ะ โปรดติดตามตอนต่อไปค่ะ

แจ้งอย่างเป็นทางการ สำหรับพยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินที่สนใจ

"สรุปผลการสัมมนาการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลฉุกเฉิน"

โดยสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย

 วันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2553 ณ ภูไอยรารีสอร์ท จังหวัดนครนายก

สืบเนื่องจากที่สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย อันเป็นสมาคมที่ประกอบด้วยสมาชิกที่เป็นทั้งแพทย์และพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านฉุกเฉิน และมีสมาชิกส่วนใหญ่เป็นพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านฉุกเฉินของโรงพยาบาลต่างๆทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งภาครัฐและเอกชน ได้จัดโครงการสัมมนาการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลฉุกเฉินเป็นครั้งแรก เมื่อวันที่ 25-26 พฤศจิกายน 2553 ณ ภูไอยรารีสอร์ท จังหวัดนครนายก โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างเครือข่ายพยาบาลฉุกเฉินทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค เพื่อระดมสมองหาแนวทางและทิศทางในการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลฉุกเฉิน ให้พยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านฉุกเฉินทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาคในทุกภาคส่วน สามารถมีช่องทางในการติดต่อสื่อสาร แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ประสบการณ์ ได้อย่างทั่วถึงและครอบคลุม เกิดพลังในการพัฒนางานฉุกเฉินให้มีประสิทธิภาพ การสัมมนาครั้งนี้ มีพยาบาลที่ปฏิบัติงานด้านฉุกเฉินจากส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ทั้งภาครัฐและเอกชน เข้าร่วมสัมมนารวมทั้งสิ้น 65 ท่าน นอกจากนี้ยังมีเจ้าพนักงานเวชกิจฉุกเฉินเข้าร่วมสัมมนาอีก 1 ท่านด้วย โดยมีกรรมการบริหารสมาคมฯ เข้าร่วมการสัมมนาอีกหลายท่านได้แก่ ศาสตราจารย์เกียรติคุณนายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์ นายกสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย, อาจารย์นายแพทย์สมชาย กาญจนสุต อุปนายกสมาคมฯ, และกรรมการสมาคมฯสายพยาบาล ได้แก่ คุณหญิงเดือนเพ็ญ พึ่งพระเกียรติ์ , คุณรัชนีวรรณ ดารารัตนศิลป์ , คุณนารี บัวทอง, คุณนิตยา ภูริพันธ์, คุณกานดา ตุลาธร, คุณชลาริน ลิ่มสกุล, คุณสุรางค์ ตันติวิญญูพงศ์, คุณเรวดี ลือพงศ์ลัคณา, คุณจักรี กั้วกำจัด และคุณอุบล ยี่เฮ็ง อุปนายกสมาคมฯ การสัมมนาแบ่งออกเป็น 4 กลุ่ม แต่ละกลุ่มล้วนระดมสมองกันอย่างเต็มที่ บรรยากาศมีแต่ความอบอุ่นของความเป็นพี่เป็นน้อง มีการแสดงความคิดเห็นกันอย่างกว้างขวาง จนได้ข้อสรุปของการสัมมนา ดังนี้

 1. การสร้างตัวแทนเครือข่ายในแต่ละภาค ที่ประชุมมีความเห็นว่าควรมีตัวแทนที่เป็นพยาบาลฉุกเฉินในแต่ละภาคร่วมเป็นกรรมการในสมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย เพื่อจะได้มีกรรมการสาขาภาคในสายของพยาบาล โดย

1.1 ผู้เข้าร่วมสัมมนาในแต่ละภาคจะนำผลการสัมมนาไปประชาสัมพันธ์ให้พยาบาลที่ ปฏิบัติงานด้านฉุกเฉินในแต่ละภาคที่ไม่ได้เข้าร่วมสัมมนาได้รับทราบ เพื่อสอบถามความสมัครใจว่าผู้ใดประสงค์จะเป็นตัวแทนสาขาภาค โดย

1.2 เมื่อมีสมัครใจที่จะเป็นตัวแทนในแต่ละภาค สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทยจะได้แต่งตั้งให้เป็นกรรมการบริหารของสมาคมฯต่อไป

 1.3 ตัวแทนสาขาภาค มีหน้าที่ช่วยประชาสัมพันธ์ข่าวสารของสมาคมฯจากส่วนกลางให้กับเครือข่ายในแต่ละภาค ในกรณีที่มีข้อมูลจากเครือข่ายในแต่ละภาคที่จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนางานฉุกเฉิน ให้นำเสนอสมาคมฯ เพื่อพิจารณาหาทางดำเนินการพัฒนาในเรื่องที่สมควรต่อไป

2. กิจกรรมครั้งต่อไป

 2.1 เมื่อได้ตัวแทนสาขาภาค จะได้มีการปรึกษาหารือกันในการวางแผนกิจกรรมหรือแนวทางในการพัฒนาเครือข่ายพยาบาลฉุกเฉินในอนาคต ต่อไป ในโอกาสนี้ สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย

 ขอกราบขอบพระคุณพี่ๆน้องๆชาวพยาบาลฉุกเฉินทุกท่าน ที่ได้ร่วมระดมสมองจนการสัมมนาสำเร็จไปด้วยดี และหวังว่า การสัมมนาในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของพวกเราชาวพยาบาลฉุกเฉินทุกคนในประเทศไทย ที่จะได้รวมพลังเพื่อพัฒนาวิชาชีพของเราให้เข้มแข็งต่อไป

สมาคมเวชศาสตร์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย

โจทย์ของแต่ละภาค คือ ใคร คือ ผู้แทนของแต่ละภาค

สำหรับดิฉัน คือ ผู้ประสานงานเพื่อเสนอชื่อผู้แทนภาคอีสานค่ะ

เชิญชวนให้พยาบาลอุบัติเหตุฉุกเฉินอีสาน ร่วมเสนอชื่อ ผู้แทนภาคอีสานค่ะ

อ่านบทความ เรื่องความก้าวหน้าของพยาบาล Emergency แล้วชื่นใจมากค่ะ ขอส่งแรงเชียร์ และถ้ามีความร่วมมือที่พยาบาล ER จะร่วมแรงร่วมใจ ทำงาน ยินดีค่ะ

- ผู้แทนภาคอีสาน ขอเสนอ พี่เฉิดค่ะ พี่พยาบาล รพ.มหาราช นครราชสีมา เป็นพยาบาลที่ได้ใจหนูมาก เชียร์สุดใจ ค่ะ

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับการก่อตั้งชมรมพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จบมาปี51ก้อได้ทำงานที่ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.พรหมพิราม รพ.อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก ต้องทำหน้าที่ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการตรวจแทนแพทย์ ทั้งๆที่ไม่ได้จบเฉพาะทางพยาบาลเวชปฏิบัติ ทำหน้าที่เป็นพยาบาล เป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้ เป็นพนักงานเปล เป็นเจ้าหน้าที่งานประกันสุขภาพตรวจสอบสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ห้องบัตร เจ้าหน้าที่การเงิน รวมถึงเป็นเภสัชกร ด้วย งานเหนื่อยมากๆ ค่าตอบแทนเท่ากันกับแผนกอื่น การบรรจุความก้าวหน้าในหน้าทีการงานก้อเหมือนแสงเทียนที่กำลังจะดับ ขอสมัครเป็นสมาชิกด้วยคนครับผม

ขอชื่นชมและเป็นกำลังใจให้กับการก่อตั้งชมรมพยาบาลอุบัติเหตุและฉุกเฉิน จบมาปี51ก้อได้ทำงานที่ แผนกอุบัติเหตุและฉุกเฉิน รพ.พรหมพิราม รพ.อำเภอของจังหวัดพิษณุโลก ต้องทำหน้าที่ทุกอย่างไม่ว่าจะเป็นการตรวจแทนแพทย์ ทั้งๆที่ไม่ได้จบเฉพาะทางพยาบาลเวชปฏิบัติ ทำหน้าที่เป็นพยาบาล เป็นผู้ช่วยเหลือคนไข้ เป็นพนักงานเปล เป็นเจ้าหน้าที่งานประกันสุขภาพตรวจสอบสิทธิ์ เจ้าหน้าที่ห้องบัตร เจ้าหน้าที่การเงิน รวมถึงเป็นเภสัชกร ด้วย งานเหนื่อยมากๆ ค่าตอบแทนเท่ากันกับแผนกอื่น การบรรจุความก้าวหน้าในหน้าทีการงานก้อเหมือนแสงเทียนที่กำลังจะดับ ขอสมัครเป็นสมาชิกด้วยคนครับผม

สวัสดีค่ะ คุณกมลวรรณและคุณสุวิทย์

สำหรับคนอีอาร์ เราคือพี่น้อง เข้าใจความรู้สึกค่ะ ทำได้ทุกอย่างเป็นได้ทุกสิ่ง สิ่งใดใครไม่ทำ ศรีทำได้ค่ะ

ปัจจุบันนี้ เรามีทางเลือก คือ พัฒนาตนเองค่ะ เพื่อรับกับสิ่งท้าทาย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท