มหาวิทยาลัยซาไก(ตอน4)


พันธุกรรมแห่งความหลากหลาย

  ปี้นี้ผลิตทางการเกษตรเสียหายเป็นจำนวนมาก จากปรากฎการ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศโลก ข้าวปีนี้เสียหายทั้งนาปี นาปรัง ศัตรูพืชระบาดอย่างหนัก ชาวนาต้องรับภาระหนี้สิน ต้นหายกำไรหด ข้าวที่พอเหลืออยู่บ้างก็ราคาต่ำได้ผลตอบแทนไม่คุ้มค่า  เพราะต้องพึ่งปัจจัยภายนอกทั้งหมดและกำหนดราคาไม่ได้

    จากข้อมูล ในอดีตประเทศไทยเคยมีสายพันธุ์ข้าวกว่า 100,000 สายพันธุ์ ในยุคปัฏวัติเขียว มีการปรับเปลื่ียนสายพันธุ์ กลายเป็นพันธุ์ข้าวลูกผสม(ข้าวพันธุ์ติดเบอร์ ต้องใช้ปุ๋ยเคมี+สารเคมี  )์ ทำให้สายพันธุ์ดั้งเดิมสูญหายไปจากแปลงเกษตรกรเกือบทั้งหมด ปัจจุบัน สายพันธุ์ข้าวยังต้องเผชิญการข้อตกลงการค้าเสรี ทั้งดับเบิลยูทีโอ เอฟทีเอ ซึ่งจะมีกฏหมายสิทธิบัตรตามมา ซึ่งตอนนี้ข้าวในโลกถูกจดสิทธิบัตร ข้าวจีเอ็มโอ กว่า 600-900  สายพันธุ์  ประเทศไทยนำเข้าสารเคมี ปุ๋ยเคมี มีมูลค่าถึงปีละ 16,000 ล้านบาทต่อปี

             เรื่องเล่าต่อ กิจวัตรของซาไกหลังจากตื่นนอนขึ้นมา หากอากาศแปรปรวนทำให้มีอาการปวดหัว พวกจะใช้ขี้เถ่า นำมาป้ายบริเวณขมับ และหน้าผาก เมื่อได้เวลาที่จะไปเตรียมอาหาร  พวกเขาจะเดินออกไปขุดหัวมันที่อยู่ห่างจากที่พักไม่ไกลนัก ขุดหัวมันให้เป็นหลุมลึกลงไปและจะเลือกเอาแต่หัวที่ขนาดพอเหมาะเหลือหัวขนาดเล็กไว้ ได้จำนวนที่เขาคิดว่าเพียงพอแล้ว ก็กลบหลุมฝังโคนต้นหัวมันไว้ เพื่อจะได้เก็บในครั้งต่อไป เมื่อกลับถึงที่พัก จะทำการก่อไฟ โดยใช้เชือกเถาวัลย์ถูกับแท่งไม้และจะมือ ขุยเตาร้างเป็นเชื้อ ถูจนเกิดสะเก็ตไฟ นำขุยเตาร้างไปจ่อทำใ้ห้ติดไฟพร้อมกับนำไปสุมอีกครั้ง จนไฟติดดี ก็ทำการปลุงอาหาร เมนูเด็จเป็นอาหารของมื้อนี้

        พันธุกรรมที่นี่ยังคงมีเหลือใว้ ให้เป็นสมบัติของลูกหลาน ของเขาในรุ่นถัดไป

คำสำคัญ (Tags): #พันธุกรรม
หมายเลขบันทึก: 410351เขียนเมื่อ 25 พฤศจิกายน 2010 20:46 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 17:19 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท