แฟนพันธ์แท้ "น้ำตาลสูง"


      วันนี้มีเรื่องเล่าเกี่ยวกับสมาชิกเบาหวานท่านหนึ่ง มาเล่าสู่กันฟังลองติดตามดูนะคะ เราให้คุณป้าท่านนี้เป็น  แฟนพันธ์แท้ "น้ำตาลสูง"  ปีที่แล้วเราได้รับสมาชิกเบาหวานใหม่ สมมุติชื่อป้ากอ นะคะ (เพราะเดี๋ยวก็จะมี ป้าขอ ป้าคอ ป้างอ......จนถึงป้าฮอนกฮูก..... ตามมาอีกเรื่อยๆ..) 

                             

ป้ากออายุ 72 ปี เป็นเบาหวานมา 5 ปี รักษาที่ GP  และแพทย์ส่งเข้าคลินิกเบาหวานด้วย การคุมน้ำตาลได้ไม่ดี มี FBS ย้อนหลัง ดังนี้ .admit-345-212-238-มาER hypo-238- 336- 245-346-212-185-145- Hba1c 10-13.6)

 รายละเอียดเอาแบบย่อๆนะคะ   ป้ากอ หูตึง  อ่านหนังสือไม่ออก เป็นข้อจำกัดของการเข้ากลุ่มเรียนรู้เบาหวานมากๆ  ..หนังสือเอกสารเกี่ยวกับความรู้ ทุกอย่าง ลูกสาวป้ากอเป็นผู้รับมรดก และสนใจอ่านจนความรู้แตกฉาน และมีความกระตือรือล้นในการดูแลป้ากอเป็นอย่างมาก    ป้ากอ มาร.พ พร้อมลูกสาวทุกครั้งเพราะมาคนเดียวไม่ได้ เวลาเดินต้องใช้ไม้ตะบตประจำกายมาค้ำยัน   ตลอดเวลาที่เข้าคลินิก เราได้สรรหา สารพัดวิธีมาใช้กับป้ากอ  เราสามารถสร้างทักษะการดูแลตนเองในเรื่องต่างๆเกี่ยวกับเบาหวานให้ลูกสาวป้ากอ  จนเก่งกล้าสามารถในวิทยายุทธการดูแลเบาหวาน  ผ่านไป 6 เดือน ลูกสาวป้ากอ ยิ่งมาร.พ หน้าตาเริ่มแปรผกผันกับความรู้ ยิ่งมีความรู้มาก หน้ายิ่งแก่ลง แก่ลง หน้าตาบรรจุความเคร่งเครียดไว้เต็มพิกัด (งงหละสิ..)    เหตุเกิดเพราะป้ากอดื้อมาก พูดบอกไม่ได้ ไม่ฟัง ทุกอย่างที่ห้าม ป้ากอทานหมด วันนั้นประจักษ์ด้วยสายตา   ด้วยผล FBS=346 mg% พอพยาบาลซักประวัติถึงข้อมูลการทานอาหารว่า ทำมาย...ทำไม น้ำตาล สูงจัง ลูกสาวป้ากอเหมือนได้พวก รีบให้ข้อมูลสนับสนุนการทานอาหารของป้ากอทันที .....   แค่เริ่มพูดว่า 

         " แม่นะ บอกไม่ฟัง...ง..ง...ง....."

เท่านั้นแหละ   พูดไม่จบประโยคค้างไว้เท่านั้น  ป้ากอหันไปตาขวางพร้อมง้าง ไม้ตะบตที่พกมา พุ่งเป้าหมายไปที่ลูกสาวทันที..... หน้าตาสื่อได้ว่า  ...หยุดพูดเดี๋ยวนี้ ชั้นรำคาญ..... (เฉียด..ดิฉันไปนิดเดียว)  พร้อมส่งเสียง...ฮึ่มๆๆในลำคอ     พยาบาลอย่างเราได้แต่นึกในใจ  ต๊าย..ย. ตาย  ที่เราพรั่งพรู สารพัดจะแนะนำป้ากอแบบ non-stop  ...รอดไม้ตะพต ป้ากอ   มาได้ก็บุญจริงๆ.........แล้วเราก็เปลี่ยนเทคนิกใหม่... จากการประมวลผลความรู้ในเบื้องต้น ของป้ากอ และลูกสาวที่เป็นผู้ดูแล....ทำให้เราคาดว่า..ทั้งคู่น่าจะมีความรู้ในระดับที่พอเอาตัวรอดในการดูแลตนเองได้........แต่ปัญหาคือ ...ไม่ทำ .เราจึงพูดคุยและให้ป้ากอ

ตั้งเป้าหมายการควบคุมเบาหวานโดยการกำหนดระดับน้ำตาลที่คิดว่าน่าจะทำได้

ป้ากอนั่งคุ้นคิดอยู่นานมาก (เราได้แต่คิดว่า ไม่เป็นไร ยิ่งนานยิ่งดี แสดงว่าป้ากอกำลังประมวลผลการกินของแก   แล้วเสียงสวรรค์ก็ตอบตกลงด้วยน้ำเสียงแบบมั่นใจว่า ครั้งหน้าเอาไม่เกิน 200  หลังจากนั้นเป็นต้นมา  เราและป้ากอใช้การตั้งเป้าหมายร่วมกันมาตลอด 6 เดือน ในเดือนต่อมาเราก็เพิ่มการควบคุมระดับไขมัน และอื่นๆตามมา

สิ่งที่เปลี่ยนไป

- เราเป็นฝ่ายพูดน้อยลง

- ป้ากอถามเราและลูกสาวมากขึ้น 

-  ป้ากอภูมิใจในสิ่งที่ทำได้ 

- เป้าหมายที่กำหนดร่วมกันระหว่าง ทั้ง 2 ฝ่าย  และพบกันตรงกลางที่ความพอดี สามารถทำให้เกิดผลดีทั้งของผู้ให้และผู้รับ

- และที่สำคัญไม้ตะบตของป้ากอ ไม่เป็นอันตรายสำหรับเราชาวพยาบาล คลินิกเบาหวาน มานานกว่า 6 เดือนแล้ว

 สุดท้าย ผ่านมา 6 เดือน ป้ากอ มีความสุขกับเบาหวานควบคุมเบาหวานได้ตามเป้าหมาย  

                        

ข้อจำกัดของการตั้งเป้าหมายร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและพยาบาลจากประสบการณ์การทำงานที่ผ่านมา 4 ปี  พบว่า

1. เมื่อผ่านระยะ 6 เดือนไปแล้ว พบว่าความตั้งใจในการปฏิบัติตัวของผู้เป็นเบาหวานจะเริ่มลดลง ระดับของการควบคุมน้ำตาลจะเริ่มนิ่งและมีแนวโน้มจะสูงขึ้น  เราต้องพยายามหารูปแบบแรงจูงใจอื่นมาเสริม เช่น ชมเชย หรือการสร้างคุณค่าโดยนำผู้เป็นเบาหวานรายนั้นมาเล่าประสบการณ์ให้สมาชิกฟัง  (ขั้นตอนนี้ ก็ต้องมีการเตรียมความพร้อมในตัวผู้เป็นเบาหวานเช่นกัน) แต่ถ้าเราเข้าใจกระบวนการทำงาน ผลลัพธ์ที่ได้ ก็ทำให้เกิดรอยยิ้มทั้ง 2 ฝ่าย  คุ้มค่า.........หายเหนื่อย

2.ผู้เป็นเบาหวานที่พยายามจะควบคุมอย่างเต็มที่แล้ว ควบคุมไม่ได้ตามที่ตั้งเป้าหมายไว้  จะเกิดความรู้สึกหมดหวังและท้อแท้ พยาบาลต้องมีความสามารถในการรวบรวมข้อมูล และอธิบาย ถึงเหตุผล และแนวทางแก้ไข  ให้เข้าใจอย่างถูกต้อง  

3.จากประสบการณ์นี้ เราพบว่าต้องมีการสร้างสัมพันธภาพระหว่างทั้ง 2ฝ่ายจนคุ้นเคยกันก่อน จะได้ผลดีกว่า เพราะเคยใจร้อนใช้ในครั้งแรกที่เจอ ปรากฎผู้รับบริการเกิดอาการงง....ยังดีที่ไม่ได้คิดว่าพยาบาลประชดจนเกิดการต่อต้าน.....

                                          ; ผู้เล่า รัชดา พิพัฒน์ศาสตร์

 

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 40987เขียนเมื่อ 26 กรกฎาคม 2006 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:28 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)
 เพียงขอว่า อย่าท้อถอย ทั้งผู้ป่วยและคนทำงาน  ถ้าคนทำงานคิดว่า สิ่งที่ตนทำเป็นสิ่งดีมีประโยชน์ จะทำให้ผู้ป่วยที่เราดูแลมีความสุขหรือพ้นจากสภาพทุกข์ได้ และหวังแต่เพียงว่าทำสิ่งดีเหล่านี้เพื่อให้เกิดสิ่งที่ดีๆขึ้นเท่านั้น เราว่า ไม่กลัวหรอกถ้าจะมีป้าขอ ป้าคอ ถึงป้า ฮอนกฮูก เราว่าอ้อ สู้ได้แน่
ขอบคุณหัวหน้า.สำหรับกำลังใจคะ ขอรับประกัน(ด้วยเกียรติของลูกเสือ...อ้าว..) เรื่องท้อถอยไม่มีแน่นอนคะ ..

 แม้ป้ากอ ระดับน้ำตาลไม่ดีขึ้น แต่ก็จะได้ประสบการณ์ดีดีจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อนำไปใช้ในการดูแลผู้ป่วยเบาหวานอื่น ๆ ต่อไป

ตอนนี้ป้ากอ ระดับน้ำตาลอยู่ระหว่าง 140-160 mg%

Hba1c 7.5-9 % ค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท