Archanwell
รศ.ดร. พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร

ทะเบียนคนเกิดมิใช่ทะเบียนเกิด .. อย่าใช้คำผิด


โดย รศ.ดร.พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร เมื่อวันที่ ๑๕ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๕๓

        เพื่อที่จะรับรองสัมพันธภาพระหว่างรัฐและเอกชน กฎหมายของรัฐสมัยใหม่ให้ความสำคัญในการทำ “ทะเบียนคนเกิดและทะเบียนคนตาย” ทั้งนี้ เพื่อที่จะได้ทราบจำนวนของ “ทะเบียนคนอยู่” ของตนได้อย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับประเทศไทยก็เช่นกัน มาตรา ๒๖ แห่ง พ.ร.บ.การทะเบียนราษฎร พ.ศ.๒๕๓๔ บัญญัติว่า  “ให้นายทะเบียนอำเภอ นายทะเบียนท้องถิ่น แล้วแต่กรณีจัดทำทะเบียนคนเกิดทะเบียนคนตาย จากสูติบัตรและมรณบัตรตามแบบพิมพ์และวิธีการที่ผู้อำนวยการทะเบียนกลางกำหนด”

        นานารัฐสมัยใหม่ให้ความสำคัญกับ “สูติบัตร” ซึ่งออกโดยนายทะเบียนราษฎรมาก เพราะเป็นพยานหลักฐานที่มีน้ำหนักมากที่สุดระหว่างรัฐและบุคคลธรรมดา

        สำหรับประเทศไทยในยุคหลังๆ การให้ความสำคัญกับปัญหาการออกสูติบัตรนี้เป็นการผลักดันของ UNICEF และ Plan International แต่ก็ไม่หมายความว่า เมื่อกฎหมายไทย "กำหนดการปฏิบัติหน้าที่" ของนายทะเบียนราษฎรของรัฐในการทำสูติบัตร อย่างชัดเจนแล้ว ทะเบียนคนเกิดของรัฐไทยจะสมบูรณ์ ปัญหาก็ยังมี แต่ปัญหามักเกิดในชั้นการบังคับใช้กฎหมายมากกว่า

           วันนี้ ดีใจที่เห็นข่าวเผยแพร่ของ UNICEF และ SWIT ในเรื่องนี้

            แต่ก็อยากให้ใช้คำให้ถูกค่ะ ทะเบียนคนเกิดมิใช่ทะเบียนเกิด .. อย่าใช้คำผิด

-------------------------------------------------------------

เผยแพร่อีกด้วยใน

http://www.facebook.com/note.php?saved&&note_id=498629463833

หมายเลขบันทึก: 408586เขียนเมื่อ 16 พฤศจิกายน 2010 08:43 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 11:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ขอบคุณครับ อาจารย์แหวว ;)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท