หนุ่ม tapee
นายธนวัฒน์ (บุญรินทร์) กล่อมเกลี้ยง

การกำจัดหอยทากด้วยเหยื่อพิษ


ผลิตเหยื่อพิษใช้เอง สะดวกประหยัด ปลอดภัย ทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค

         การกำจัดหอยทากด้วยเหยื่อพิษ

         หอยทากจัดอยู่ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง   ซึ่งอาศัยอยู่บนบกตามสถานที่ที่มีความชื้น  มืดมิดเพื่อหลบซ่อนแสงแดด   ในซอกอิฐ  หิน  กองเศษพืช  พงหญ้าที่แน่นทึบ    วงจรชีวิต หอยทากจะพบแพร่หลายในช่วงฤดูฝน กินพืชเป็นอาหาร  ชอบออกหากินในเวลากลางคืน เวลา 19.00 -  05-00 น. หรือช่วงฝนตกชุก   เวลากลางวันจะอาศัยที่ร่มหลบแสงแดด เพื่อออกหากินสะสมอาหารจำนวนมากและแพร่ขยายพันธุ์ ถ้าเกษตรกรไม่สำรวจศัตรูพืชก็จะไม่ทราบว่าถูกหอยทายกิน  ทำการป้องกันกำจัดไม่ถูกต้อง  เมื่อพืชผักเสียหายให้สำรวจดูเวลากลางคืนว่าเป็นศัตรูพืชชนิดใด  เพราะมีศัตรูพืชหลายชนิดนอกจากหอยทากแล้วที่กินเวลากลางคืน  หอยทากมีกาเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว และเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ เมื่ออายุได้ประมาณ 5 ถึง 8 เดือน ชอบวางไข่ตามซากกองใบไม้ ขอนไม้ที่ผุ หรือใต้ผิวดินที่ร่วนซุยและชื้น วางไข่เป็นกลุ่มๆ กลุ่มละ 200-300 ฟอง ตัวหนึ่งๆจะวางไข่ได้ปีละประมาณ 1,000 ฟอง เมื่อฟักออกเป็นตัวอ่อนแล้วเปอร์เซ็นรอดน้อยมาก หอยทากมีอายุยืนเฉลี่ยประมาณ 5 ปี

 (หอยทาก ทั้งชนิดเล็กและใหญ่)

                หอยทาก เป็นสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสการรับรู้กลิ่นได้ดีมากชนิดหนึ่ง  สามารถเดินทางออกหาอาหารได้ระไกลจากสถานที่หลบซ่อนกับแหล่งอาหาร จัดอยู่ในประเภทของศัตรูพืชที่สำคัญทางเศรษฐกิจ  ระบาดในแปลงผักทุกชนิดถ้าระบาดมากๆ สามารถทำลายพืชให้หมดทั้งแปลงได้ในเวลาคืนเดียว  หนึ่งตัวสามารถกินอาหารได้ประมาณ  1 กก.ต่อตัวต่อคืน
 การกำจัดหอยทาก
           1.  การใช้สารเคมี
  ใช้สารเคมีฉีดพ่น จะไม่ค่อยได้ผล และเป็นอันตรายกับเกษตรกรและมีสารพิษตกค้างในผลผลิต ต้องใช้สารเคมีจำนวนมากเพื่อฉีดพ่นทั้งแปลง และหอยทากต้องกินพืชจำนวนมากกว่าจะตาย และประสิทธิภาพน้อย
            2.การใช้เหยื่อพิษกำจัดหอยทาก   สำหรับเหยื่อพิษที่มีจำหน่ายในท้องตลาดก็หาซื้อได้ยาก ไม่ค่อยมีจำหน่ายในตลาดเคมีทั่วไป  ทำให้มีปัญหากัเกษตรกร     แต่การกำจัดด้วยเหยื่อพิษได้ผลดีกว่าการฉีดพ่นด้วยสารเคมีในแปลงผัก  ผลผลิตไม่เสียหายและไม่เป็นอันตรายต่อเกษตรกร  ไม่มีพิษตกค้างในผลผลิต ใช้สารเคมีน้อย  โดยนำเหยื่อพิษไปวางไว้ใกล้ ๆ กับแหล่งอาศัยหรือที่หลบซ่อนของหอยทากในเวลาตอนเย็น   เมื่อพลบค่ำหอยทากออกหากินก็จะกินเหยื่อพิษและจะตาย วางเหยื่อครั้งเดียวอยู่ได้  2 -  3  วัน  ขึ้นอยู่กับปริมาณเหยื่อพิษ

ผลการทดลองใช้เหยื่อพิษ

          จากการทดลองใช้เหยื่อพิษที่ผลิตใช้เอง  โดยนำจุดเด่นของหอยทากมาใช้ประโยชน์  คือ  หอยทากมีระบบประสาทในการรับกลิ่นอาหารได้ดี สามารถเดินทางจากที่หลบซ่อนออกหาอาหารได้ระยะไกล  ด้วยการใช้ผลไม้ที่มีกลิ่นหอม รสหวาน   เช่น  มะละกอสุก  กล้วยหอมสุก  มาเป็นตัวล่อให้หอยทากมากินอาหาร  วางใกล้แปลงผักหรือที่หลบซ่อน สามารถดึงดูดหอยทากไม่ให้ไปที่แปลงผัก ด้วยวิธีการนำเหยื่อมาผสมกับสารเคมีกำจัดแมลงศัตรูพืชที่ไม่มีกลิ่น มีฤทธิ์ฆ่าหอยทากได้ ปรากฎว่าหอยทากทุกตัวที่ได้กลิ่นจะออกมากินเหยื่อพิษและตายในที่สุด  
    
                                  

การผลิตเหยื่อพิษและวิธีการใช้

 

         1.  ใช้มะละกอสุกงอม กล้วยน้ำว้า กล้วยหอม ที่สุกงอมหรือผลไม้อื่น ๆ  ที่มีกลิ่นหอม รสหวาน  ซึ่งดึงดูดหอยทากได้เป็นอย่างดี นำมะละกอผ่าเป็นชิ้นเล็ก ๆ ขนาด 2 นิ้ว  ยาวประมาณ  4 - 5  นิ้ว จำนวน  (0.5 – 1 กก.)  หรือกล้วยหอมสุกปอกเปลือกออก  จำนวน 4-  5  ผล  
                                             (เหยื่อพิษผสมเสร็จ)
         
 2. ใช้สารเคมี  แลนเนท  ประมาณ   0.5-  1   ช้อนตวง  ผสมน้ำสะอาดละลายพอเหลว ในภาชนะ   แล้วนำมาคลุกกับมะละกอหรือกล้วยสุก ทิ้งไว้  ประมาณ  12 - 24  ชั่วโมง  สามารถนำไปกำจัดหอยทากได้  ปริมาณสารเคมีดูพอประมาณไม่ให้มากเกินไปปรับอัตราส่วนตามปริมาณของเหยื่อที่นำมาใช้ เมื่อคลุกเสร็จก็จะดูสีไม่เข้มจนเกินไป
          3.  นำก้อนเหยื่อพิษที่หมักสารเคมีแล้ว ไปวางใกล้ที่หลบซ่อนของหอยทาก หรือรอบๆ บริเวณแปลงผัก  จุดละ 3 – 5 ชิ้น  ในเวลาตอนเย็น ๆหรือพลบค่ำ 

                                 

                                  (การวางเหยื่อพิษ)                                
          4. ต้องเก็บซากหอยทากทิ้งทุกวันป้องกันกลิ่นเน่าเหม็นที่จะไปรบกวนกลิ่นของเหยื่อพิษ หรือนำไปเป็นเหยื่อกำจัดหนูได้อีกทอดหนึ่ง เหยื่อพิษวางหนึ่งครั้งอยู่ได้จนกระทั่งหอยทากกินหมดประมาณ 2-3  วัน ขึ้นอยู่กับปริมาณเหยื่อพิษที่นำไปวางล่อไว้แต่ละครั้ง                                                                                                                                                                  

                 (หอยทากกินเหยื่อพิษและตายแล้ว)                                                                      

.........................................................

 

 

 

 

 

 

 

                                           

      

หมายเลขบันทึก: 407502เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 09:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 9 กันยายน 2012 21:29 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

พี่ครับ กลัวตอนเอาไปแลนเนทและอาหารไปวาง สัตว์อื่นมากิน น่ากลัวมาก ที่บ้านมีแบบตัวใหญ่ๆๆ แต่ไม่ได้มีทุกฤดูครับ

สวัสดีค่ะ

มีปัญหากับหอยทากมาก ๆ ค่ะ  มีผู้แนะนำให้ใช้เหยื่อพิษ  แต่ไม่กล้าค่ะ  กลัวเป็นอันตรายกับผัก  ที่บ้านปลูกผักในกระถาง มีร้านวางอีกทีหนึ่ง แต่ตัวหอยทากก็เก่งมาไต่ขึ้นไปได้

เมื่อ ๒ สัปดาห์ก่อน  ได้นำใบแก่ ๆ ของสะเดามาตากแห้ง แล้วขยี้ให้เป็นฝอยไปโรยลงในกระถาง และรอบ ๆ รั้วบ้าน 

ตอนนี้หอยทากลดลงแล้วค่ะ  แทบจะไม่มีให้เห็นแล้ว  แต่กลายเป็นแมลงเต่าทองมากินใบผักกาดค่ะ  แต่ไม่เป็นไร ปลูกไว้ดูเล่นค่ะ

ขอขอบคุณในคำแนะนำนะคะ

สวัสดีครับ นายหัว

แวะมาเยี่ยม   เนื้อหาดีมาก  จะคอยอ่านเรื่องต่อไปครับ

  • ที่บ้านผม กำลังถูก หอยทาก รบกวนอยู่พอดีเลยครับ
  • มันถ่ายมูลรดกำแพงเลอะหมด
  • ลองจัดการตามนี้ดูก่อนนะครับ

ขอคุณมากครับ แต่ไอ้เหยื่อพิษที่ว่ามันมีขายตามร้านป่าวครับ แล้วจะมีวิธีอื่นที่จะทำมันขึ้นมาเองได้ป่าวครับ

สวนผมมีหอยทาก เยอะมากๆ ต้องเดินเก็บทุกเช้า สวนผม มี แก้วมังกร มะพร้าว ต้นกล้วย มะเขือ หริก ต้นพริกไทย มะระกอ ฯ เพื่อนที่ปลูกองุ่น แนะนำให้ผมโรยฟูราดาน ให้ทั่วๆ รอบๆต้นไม้ที่เราต้องการป้องกันไว้ ได้ผลครับ ตายเกลื่อนเลย แต่ต้องเก็บทิ้งนะครับ ถ้าเน่า เหม็นจริงๆ ทอลองดู ถุงใหญ่ 5 กก.ใฃ้หว่านพอประมาณ ให้กระจาย หากหว่าน ปริมาณมาก เปลืองเงินครับ และอาจจะเป็นผลเสียต่อน้ำก็ได้ครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท