เมนูสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง : ตอน "มะเร็งตับ"


สวัสดีค่ะ วันนี้หนึ่งมีเวลาเขียนบันทึกไม่มาก ตอนแรกกะไว้ว่าจะเขียนบันทึกการดูแลผู้ป่วยมะเร็งตับที่บ้าน ต่อจาก => บันทึกนี้ค่ะ แต่ตอนนี้ใกล้เที่ยงคืนเต็มทีแล้ว หนึ่งเลยขอเขียนบันทึกสั้นๆ เป็นตัวอย่างเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งซัก 1 เมนูนะคะ สำหรับตำรับอาหารนี้หนึ่งได้มาจากการไปอบรม "สร้างแกนนำในการถ่ายทอดการดูแลและส่งเสริมภาวะโภชนาการผู้ป่วยมะเร็ง" เมื่อ 28-30 ก.ย.53 ที่ผ่านมานี้เองค่ะ เมนูแรกนี้คือ

"ตับหมูผัดมะระ"
เครื่องปรุง
1.  มะระ                     250 กรัม
2.  ตับหมู                   250 กรัม
3.  กระเทียม                 50 กรัม
4. น้ำมัน , น้ำส้มสายชู , เกลือพอประมาณ
วิธีทำ
มะระ ตับหมู และกระเทียม หั่นเป็นชิ้น นำไปผัดรวมกันจนสุก ปรุงรสด้วยน้ำส้มและเกลือ ก็รับประทานได้แล้วค่ะ
สรรพคุณ
  • ตับหมูช่วยขับร้อน เหมาะสำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ
  • ความขมของมะระช่วยทำให้เจริญอาหาร เพราะสารขมที่อยู่ในมะระนั้นจะช่วยกระตุ้นให้ร่างกายหลั่งน้ำย่อยออกมา ทำให้ทานอาหารได้มากขึ้น
  • สารอาหารในมะระ ซึ่งทำหน้าที่เพิ่มเบต้าเซลล์ในตับอ่อน โดยการกระตุ้นให้เกิดการสร้างอินซูลิน (ฮอร์โมนควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด) ทำให้มะระมีคุณสมบัติในการบำบัดโรคเบาหวานระยะเริ่มต้นด้วยค่ะ
  • อีกทั้งมะระยังมีเอนไซม์ที่ทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรต
  • สารอาหารจะผสมอยู่ในรูปของโปรตีน ซึ่งสามารถบรรเทาอาการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรคตับและโรคเบาหวานได้ มะระยังสามารถแก้โรคตับอักเสบ ปวดหัวเข่า ม้ามอักเสบได้ค่ะ
  • มะระยังมีคุณค่าทางอาหารมากมาย เพราะอุดมไปด้วยฟอสฟอรัส แคลเซียม วิตามินซี วิตามินบี๑ - บี๓, เบต้าแคโรทีน, ไฟเบอร์, ธาตุเหล็ก, โพแทสเซียม, เป็นต้น
  • หากจะลดความขมของมะระต้องลวกหรือต้มนานๆ โดยคลุกเคล้ากับเกลือก่อนที่จะนำไปปรุง หรือต้มน้ำแล้วเทน้ำทิ้ง ๑ ครั้ง ก่อนนำมารับประทาน จะช่วยให้กินมะระได้อย่างสบายใจ
  • ข้อควรระวัง เราทานมะระที่ดิบๆ กันได้ แต่ห้ามรับประทานมะระที่มีผลสุกนะค่ะ เพราะอาจทำให้คลื่นไส้ อาเจียนได้ค่ะ เนื่องจากมีสารซาโปนินอยู่มากซึ่งสารนี้จะทำให้เป็นพิษต่อร่างกายค่ะ อีกอย่างอย่าทานมะระมากจนเกินไปนะค่ะ เพราะจะทำให้ท้องเสีย เนื่องจากมีฤทธิ์เป็นยาระบาย
เป็นไงบ้างคะ เมนูแรกนี้ดูเหมือนจะธรรมดามากมาย แต่มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยมะเร็งตับ และผู้ที่ไม่เป็นมะเร็งตับด้วยเช่นกันนะคะ ^^
ขอขอบคุณ
- ดร.กมล ไชยสิทธิ์ นักกำหนดอาหารและนักเภสัชวิทยา ที่อนุเคราะห์ตำรับอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง
- www.junjaowka.com (ที่มา : ประโยชน์ของมะระ) 
- ภาพประกอบจาก internet
- ทุกท่านที่แวะมาอ่านค่ะ ^^

สุวิญญา บันทึก 10 พ.ย. 53

หมายเลขบันทึก: 407473เขียนเมื่อ 10 พฤศจิกายน 2010 00:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (18)

ขอบคุณกับเมนูที่นำมาฝากนะคะ(ขอแจมหน่อยค่ะ)

  • น้องหนึ่ง
  • ดูแล้วน่ากินมาก
  • ไม่เป็นมะโรง เอ้ยมะเร็งก็กินได้เนอะ

สวัสดีค่ะคุณวัฒนา คุณประดิษฐ์

สวัสดียามเช้าเช่นกันค่ะ .. โอ๊ะ ไม่เช้าแล้ว แหะๆ งั้นต้องเป็นสวัสดีตอนใกล้ๆเที่ยงแล้วล่ะค่ะ อิอิ

ขอบคุณที่แวะมาทักทายค่า ^^

สวัสดีค่ะคุณ tew

ยินดีมากๆค่ะ ^^

ขอบคุณที่แวะมาทักทายนะคะ

สวัสดีค่ะอาจารย์ขจิต

ใช่แล้วค่ะ ไม่เป็นมะเร็งก็กินได้ ปรุงรสตามชอบใจได้เรยค่า ^^

  • สวัสดีค่ะ
  • พี่นกแวะมาอ่านเรื่องราวดี ๆ เกี่ยวกับเมนูเพื่อผู้ป่วยมะเร็งตับค่ะ ที่โรงพยาบาลพะโต๊ะตอนนี้ก็มีหลาย Case เหมือนกันค่ะ
  • ขอบคุณข้อมูลดี ๆ ที่นำมาแบ่งปันกันค่ะ

                       สำหรับมื้อเที่ยงนี้ค่ะ

สวัสดีค่ะคุณบุษรา (หนึ่งขอเรียกพี่นกละกันนะคะ ^^)

อาหารเที่ยงของพี่นกน่าทานมั่กๆๆๆค่ะ เห็นแล้วหิวเลยอ่ะ

ชื่นใจจังครับ ที่ได้นำความรู้จากการอบรมมาเผยแพร่

สวัสดีค่ะอาจารย์กมล

ขอบคุณค่ะอาจารย์มากๆด้วยค่ะ ^^ หนึ่งได้ความรู้อีกมากมายที่อาจารย์ถ่ายทอด ในจากการไปอบรมครั้งนั้น และคิดว่าน่าจะนำมาเผยแพร่เพื่อเป็นประโยชน์ต่อไป โดยเฉพาะต่อผู้ป่วยที่ต้องรับการรักษาแบบประคับประคองที่บ้าน หนึ่งจะค่อยๆนำมาเขียนบันทึกเรื่อยๆค่ะ

ปล.อยากบอกอาจารย์ว่าชอบเวลาอาจารย์ถ่ายทอดความรู้ เทคนิคสุดยอดเลยค่ะ เพราะทำให้เรื่องยากๆฟังแล้วสนุกและจำได้ขึ้นใจ ถ้าได้เจออาจารย์ก่อนสอบเรื่อง apoptosis กับ necrosis คงจะดีไม่น้อย อิอิ

นำรูปมาฝากอาจารย์ด้วยค่ะ^^

สวัสดีค่ะ ใจจริงอยากได้เมนูอาหารของผู้ป่วยมะเร็ง ต่างๆเยอะนะค่ะ แต่คงเป็นไปไม่ได้ เลยอยากจะขอคำแนะนำจากพี่หน่อยค่ะว่าถ้าเราต้องการจะให้อาหารผู้ป่วยโรงมะเร็งสิ่งที่สำคัญที่สุดคืออะไรค่ะ ตอนนี้กำลังเป็นนักโภชนาการฝึกหัดค่ะ รบกวนช่วยแนะนำหน่อยนะค่ะ ตอนนี้เครียดมากค่ะ ขอบคุณค่ะ

สวัสดีค่ะน้อง kik

แหะๆพี่เป็นพยาบาล ได้ไปอบรมโภชนาการมาเล็กน้อยค่ะ ไม่แน่ใจว่าจะให้คำแนะนำได้ป่าว แต่เผื่อจะเป็นข้อมูลได้บ้างนะคะ

อะไรคือสิ่งสำคัญที่สุดในการกำหนดอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็งเหรอ... อืมม พี่ว่าน่าจะเป็นเรื่องการประเมินผู้ป่วยแต่ละรายสำคัญที่สุดนะ อิอิ เพราะผู้ป่วยแต่ละรายจะมีภาวะโภชนาการที่แตกต่างกันไป หากเราประเมินพบปัญหาอะไร ก็กำหนดอาหารให้เหมาะกับผู้ป่วยรายนั้นๆ

ถ้าในภาพรวม ผู้ป่วยระหว่างรับการักษามักต้องการ ไฮแคลอรี่ ไฮโปรตีน พี่คิดว่าการกำหนดอาหารให้ผู้ป่วยมะเร็งนั้น ไม่ยากเท่ากับการปรับเปลี่ยนความเชื่อเรื่องอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็งอ่ะจ้า เพราะส่วนมากผู้ป่วยและญาติมักเข้าใจว่าเป็นมะเร็งห้ามทานโน่นนี่นั่นมากมาย โดยเฉพาะเนื้อสัตว์ น้ำตาล คืออาหารทุกอย่างที่มีประโยชน์เป็นข้อห้าม(ตามที่ผู้ป่วยเชื่อ)หมดเลยอ่ะจ้า ยากตรงนี้ล่ะ ว่าทำไงผู้ป่วยจะได้รับสารอาหารเพียงพอ

แหะๆ ไม่รู้ว่าจะตอบตรงคำถามป่าว ยังไงพี่ก็ขอเป็นกำลังใจให้นะคะ

มะเร็งตับทาน ตับ ทานน้ำมันได้หรอค่ะ

สวัสดีค่ะคุณ งง

ผู้ป่วยมะเร็งตับ สามารถทานตับได้ค่ะ ที่ผ่านมายังไม่เคยมีข้อห้ามข้อนี้ในผู้ป่วยมะเร็งตับเลยค่ะ

ส่วนน้ำมัน ทานได้แต่ควรจำกัดปริมาณ และเอกทานน้ำมันที่เป็นไขมันไม่อิ่มตัว ๑ ตำแหน่ง (เช่นน้ำมันรำข้าว น้ำมันมะกอก) แต่ถ้าหาซื้อยาก ให้เลือกน้ำมันข้าวโพด น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันดอกทานตะวัน ได้ค่ะ ทานได้ไม่เกิน ๕ ช้อนชาต่อวันค่ะ ^^

ขอบคุณคุณประภาพร สุนธงศิริ โภชนากร ศูนย์มะเร็งอุดรธานี สำหรับข้อมูลทางโภชนาการเกี่ยวกับน้ำมันที่ผู้ป่วยมะเร็งตับทานได้ต่อวันค่ะ

ตรวจหามะเร็งมา 18 ปี แล้ว เพิ่งเจอ ที่ห้องอุลตร้าซาวด์บอกว่าประมาณ 1 ซม. ทรมานมากเรื่องอาหาร ขอบคุณค่ะ  จะทำทาน เป็นประโยชน์มากคะ มีอีกไหมคะ

สวัสดีค่ะคุณแม่พีวีซี สำหรับเมนูต่างๆสามารถดูได้ที่ลิงค์นี้นะคะ  http://portal.in.th/opd-rt-urcc-suwinya/pages/14283/

ขอเป็นอีกหนึ่งกำลังใจให้คุณแม่พีวีซีด้วยค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท