กบข.ตอบข้อสงสัยและแนวทางการดำเนินการของสมาชิก กบข.ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย


กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ การส่งเงินสะสม สมาชิกกบข.ที่เป็นพนักงานมหาวิทยาลัย

 

หนังสือที่ กบข.3040/5419/2553  ลงวันที่ 22 กันยายน 2553

เรื่อง ตอบข้อสงสัยและแนวทางการดำเนินการของสมาชิก กบข.ประเภทพนักงานมหาวิทยาลัย

เรียน รองศาสตราจารย์ ดร. สุชน ตั้งทวีวิพัฒน์

อ้างถึง หนังสือสภาพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ ศธ 6392(14)/พิเศษ ลงวันที่ 15 กันยายน 2553

                 ตามหนังสือที่อ้างถึง สภาพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้ขอให้กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) พิจารณาแนวทางการดำเนินการเกี่ยวกับการนำส่งเงินสะสมและเงินสมทบของข้าราชการที่เปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและเป็นสมาชิก กบข. ตามมาตรา 70/8 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 ในขณะที่กฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนยังไม่ได้ประกาศใช้บังคับ ความละเอียดแจ้งแล้ว นั้น

                กบข. ขอเรียนชี้แจงดังนี้

                1.ด้วยมาตรา 70/6 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 กำหนดให้สมาชิกซึ่งเปลี่ยนสถานภาพไปเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยและประสงค์จะเป็นสมาชิกตั้งแต่วันที่บทบัญญัติแห่งหมวดนี้ใช้บังคับ ยังคงมีสมาชิกภาพของสมาชิกต่อไป และให้นำบทบัญญัติในหมวด 3 ว่าด้วยสมาชิกและสิทธิประโยชน์ของสมาชิกมาใช้บังคับกับสมาชิกตามหมวดนี้โดยอนุโลมเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งหมวดนี้

                 ปรากฎว่า กฎกระทรวงกำหนดบัญชีอัตราเงินเดือนในการนำส่งเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามมาตรา 70/8 ยังไม่มีผลบังคับใช้ แต่เพื่อไม่ให้สมาชิก กบข.เสียผลประโยชน์   จึงขอให้ข้าราชการที่เป็นสมาชิก กบข. นำส่งเงินสะสม ตลอดจนเงินสมทบและเงินชดเชยตามอัตราที่กำหนดโดยใช้บัญชีอัตราเงินเดือนที่มีผลบังคับอยู่ในปัจจุบันไปพลางก่อน   และเมื่อกฎกระทรวงดังกล่าวมีผลบังคับใช้แล้ว มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ก็สามารถตกเบิกและนำส่งเงินเพิ่มเติมในภายหลังได้ อย่างไรก็ตามในส่วนผลประโยชน์ของเงินตกเบิกที่นำส่งเพิ่มเติมนั้น จะมีการคำนวณให้แก่สมาชิก กบข. ณวันที่มีการนำส่งเงินตกเบิกเพิ่มเติมเข้าม

                 สำหรับสถานภาพการเป็นสมาชิก กบข. ของพนักงานมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ยังคงมีอยู่ตลอดไป แม้กฎกระทรวงดังกล่าวจะยังไม่มีผลบังคับใช้ ตลอดจนสามารถนับเวลาราชการต่อเนื่องเพื่อคำนวณบำเหน็จบำนาญได้ โดยไม่ได้พิจาราณาจากการนำส่งเงินหรือไม่นำส่งเงินเข้า กบข.แต่อย่างใดทั้งนี้ เป็นไปตามมาตรา 70/6 และมาตรา70/7 แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539

                  2. กรณีการขอชลอหรือการหยุดส่งเงินสะสมเข้า กบข. เมื่อสถานการณ์ไม่เหมาะต่อการลงทุนหรือสมาชิกไม่พร้อมนั้น  ปรากฎว่า มาตราที่ 39แห่งพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2539 กำหนดให้สมาชิก กบข. ส่งเงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการตามอัตราที่กำหนดในกฎกระทรวง โดยให้ส่วนราชการเจ้าสังกัดเป็นผู้หักจากเงินเดือนของสมาชิก กบข. และนำส่งเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการในวันที่มีการจ่ายเงินเดือน จะเห็นได้ว่ากฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้สมาชิก กบข. สามารถเลือกที่จะชลอหรือหยุดนำส่งเงินสะสมเข้า กบข. ได้แต่อย่างใด ดังนั้นสมาชิก กบข.จึงไม่สามารถขอชลอหรือการหยุดส่งเงินสะสมเข้า กบข. ได้

                       จึงเรียนมาเพื่อโปรดทราบ

                                       (นางศรีกัญญา ยาทิพย์)

                             ผู้ช่วยเลขาธิการกลุ่มงานสมาชิกสัมพันธ์

                          ปฎิบัติงานแทนเลขาธิการคณะกรรมการ กบข.

หมายเลขบันทึก: 406293เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 16:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 20:56 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท