ธรรมหรรษา
รศ.ดร. พระมหา หรรษา นิธิบุณยากร

จาก IPhone สู่ Iฟัง... จาก IT สู่ Iธรรม...


     อ่านภาพข่าว และพบว่าได้มีประชาชนจำนวนมากยืนเข้าแถวเพื่อซื้อ IPhone รุ่น ๔ แล้ว ได้แต่แสดงความชื่นชมว่า "คนไทยยุคปัจจุบันนี้ นิยมใช้ IT เป็นเครื่องมือในการสื่อสารกันแพร่หลายมากยิ่งขึ้นแม้ว่าเราจะยังไม่มีระบบ ๓G ก็ตาม"

     ข้อสังเกตที่ผู้เขียนเห็นอยู่เนืองๆ ก็คือ  ความขัดกันระหว่าง "IPhone กับ Iฟัง" หลายครั้งที่เราใช้ IPhone เราจะสูญเสียศักยภาพในการใช้ "Iฟัง"  เพราะเราถนัดและสนใจที่จะพูด จะเล่น และทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเราให้แก่ "IPhone"   แต่เราไม่ค่อยสนใจ และใส่ใจที่จะฟังผู้อื่นด้วยหัวใจที่ลึกซึ้ง  สรุปคือ เราไม่ได้ทำหน้าที่ของความเป็นนัก "Iฟัง" ที่ดี  

     เมื่อใดขาด "Iฟัง" คนข้างเคียงของเราก็จะพลัีนมลายหายไปจากชีวิตของเราทีละคนสองคน เพื่อนหาย คนรักหาย  ลูกหาย ภรรยา และสามีหาย คำถามมีว่า "เพราะเหตุใด IT จึงไม่สามารถทำให้มนุษย์เข้าถึง "Iธรรม"  และนับวัน IT ทำให้การสื่อสารของเรามีระยะห่างมากยิ่งขึ้น แทนที่จะทำให้ใกล้กััน ใกล้คน และใกล้ธรรม    

      ด้วยเหตุนี้จึงนำไปสู่การตอบคำถามสำคัญที่ว่า "เราจะนำ IT ไปรับใช้ Iธรรม" ได้อย่างไรในสถานการณ์ที่ชาวโลกและสังคมบางกลุ่มกำลังตกเป็น "ทาส" ของวัตถุนิยมโดยไร้ขอบเขต และขาดสติในการพิจารณาถึงคุณค่าแท้ของ IT จะเห็นว่า "การสร้างยักษ์ IT ขึ้นมาเพื่อรับใช้มนุษย์นั้นนับเป็นสิ่งที่ยากยิ่ง แต่สิ่งที่ยากยิ่งกว่าคือ เราจะควบควบคุมเจ้ายักษ์ IT อย่างไร จึงจะไม่ตกเป็นทาส และเป็นเหยื่ออันโอชะของเจ้ายักษ์ IT ในที่สุด"

     การทำ "I" ให้มี "ธรรม" จึงเป็นทางเลือกที่เหมาะสม และสอดรับกับความเป็นไปของ "กระแสโลก" ซึ่งธรรมในบริบทนี้คือการที่แต่ละฝ่ายต้องตระหนักรู้ในข้อเท็จจริงที่ว่า

     (๑) แท้ที่จริง IPhone หรือ IT ไม่ได้มี "คุณค่าในตัวของมันเอง" หากแต่ "มนุษย์เป็นผู้ให้ค่าโดยการสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สิ่งเหล่านั้น"  เพื่อนำสิ่งนี้มารับใช้มนุษย์ในฐานะเป็นเครื่องมือในการอำนวยความสะดวกให้แก่การดำเนินชีวิต ธุรกิจ หรือกิจกรรมอื่นใดที่ก่อให้เกิดคุณค่าแท้ต่อตัวมนุษย์เอง

     (๒) มนุษย์จะมีท่าทีและมุมมองต่อการเลือกที่จะใช้สิ่งเหล่านี้อย่างไร จึงจะไม่ทำให้มนุษย์ติดตันต่อนำสิ่งเหล่านี้มาสนองตอบความต้องการทั้งในแง่ของอารมณ์ (Emotion) เท่านั้น  หากแต่มนุษย์เองต้องมี "สติปัญญา" ในการเลือกที่จะใช้แสวงหาคุณค่าแท้ในแง่ของการใช้งานเพื่อนำสิ่งเหล่านั้นมาเป็นเครื่องมือในการพัฒนาศักยภาพในการทำงาน (Fucntion) การอยู่ร่วมกับเพื่อน ครอบครัว และคนอื่นๆ ในสังคมได้อย่างมีความสุข

     (๓) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานหรือองค์กรทางธุรกิจ และต้องรับผิดชอบต่อความเป็นไปของสังคมในภาพรวม ทำอย่างไร การโฆษณา และการทำการตลาดจึงไม่เป็นไปเพื่อในเสนอแง่มุมที่ "ก่อให้เกิดการกระตุ้นความอยากอย่างไม่มีขีดจำกัดของผู้บริโภค"  โดยมุ่งหวังยอดขาย และไม่ทำให้ผู้บริโภคได้ตระหนักรู้ถึงคุณค่าแท้ของการใช้งานจริงของสิ่งที่ตัวเองปรารถนาจะมี

    ในความเป็นจริง การ "มีหรือเป็น" ตามกระแสของโลกมิได้เป็นประเด็นสำคัญมากเท่ากับการ "มีหรือเป็น" ที่อยู่บนฐานของ "ความสุข" "ความพอเพียง" "การใช้อย่างคุ้มค่า" และ "การมีสติปัญญารู้เท่าทันต่อสิ่งที่เรามีและเป็น"  มิฉะนั้นแล้ว มนุษย์ยังไม่ความจำเป็นต้องวิ่งวุ่นแสวงหา "ความสุข" ที่ต้องพึ่งพาสิ่งภายนอกอย่างไร้ขีดจำกัด โดยหลงลืมข้อเท็จจริงที่ว่า "ความสุขนั้นไซร้อยู่ใกล้แค่ใจเรา"

คำสำคัญ (Tags): #iphone#hansa#it and idhamma#iฟัง
หมายเลขบันทึก: 406233เขียนเมื่อ 3 พฤศจิกายน 2010 13:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 ธันวาคม 2012 13:44 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ไม่มีธรรมในใจตั้งแต่ไปซื้อแล้ว มีการลัดคิวเอาเปรียบซึ่งกันและ ไม่เสียสละแบ่งปัน แล้วต่อให้ก้าวไกลขนาดใด หากจิตอาสา จิตสาธารณยังด้อย มันจะสวนทางกันนะครับท่านพระอาจารย์

ครูบุญส่ง

อ่านข้อคิดเห็นของครูทำให้เห็นภาพที่เกิดขึ้นในขณะนั้นจริงๆ คงจะโกลาหลมิใช่เล่น สำหรับผู้ีที่ใฝ่หาอาจจะคุ้มค่ากับเวลา (แห่งการยื้อแย่ง) ที่เสียไป

พระมหาจันทร์ธรรม โกวิโท

ผมว่า คนเราควรที่ใช้ไอโฟน ในการฟังเพลงธรรมะมากกว่า หรือ โหลดชีวะประวัติของอาจารย์ที่เขาพูดเป็นเรื่องราวของหลวงพ่อ เพื่อจะได้แนวคิดจากการเล่า เช่น อัตชีวประวัติหลวงพ่อจรัญ หรือ หลวงพ่อวัดดวงแข เป็นต้น

สานุ มหัทธนาดุลย์

"เทคโนโลยียิ่งก้าวไกล คุณธรรมในใจยิ่งเสื่อมถอย"

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท