เมื่อพระสงฆ์มองความจริงในสังคมการศึกษาไทย


สิ่งสำคัญที่สุดคือ "...ความคิดของคน..."

          เมื่อวานนี้ (30 ต.ค.) ได้มีโอกาสดูรายการพุทธปัญญาภิรมย์ โดยพระปัญญานันทมุนี เจ้าอาวาสวัดปัญญานันทาราม ท่านได้แสดงธรรมที่ทำให้ผมเห็นภาพความจริงของการศึกษาในประเทศไทย ในมุมที่มองไม่เห็น ขออนุญาตนำมาสรุปย่อให้พวกเราได้ขบคิดต่อว่าเราควรจะช่วยกันพัฒนาเด็กและเยาวชนได้อย่างไร

          ท่านบอกว่า การที่ครูสอนเด็กให้บันทึกความดี เป็นวิธีการที่ผิด เพราะการบันทึกความดีจะทำให้เด็กเกิดการเห็นแก่ตัว โดยพยายามค้นหาความดีของตนเองมาบันทึกถ้าหาไม่ได้ก็จะปั้นแต่งขึ้นมาทดแทน ทางที่ถูกควรหัดให้เด็กบันทึกความดีของคนอื่น เมื่อเห็นใครทำดีก็บันทึกไว้ ทำให้เด็กเห็นตัวอย่างและมองโลกในแง่ดี หลวงพ่อท่านบอกว่าคนส่วนใหญ่มักมองไม่เห็นความดีของคนอื่นแต่มักจะมองเฉพาะความชั่วของคนอื่น

          หลวงพ่อท่านบอกว่าท่านได้ทดลองกับสามเณรที่มาบวชเณรภาคฤดูร้อน จำนวน72 รูป โดยแจกกระดาษให้คนละแผ่น แล้วให้เขียนความไม่ดีของพ่อแม่ (ความชั่ว) ปรากฏว่าส่วนใหญ่ก้มหน้าก้มตาเขียน บางคนเขียนหน้าหลังด้วย หรือบางคนขอกระดาษเพิ่ม หลังจากนั้นอีกหนึ่งสัปดาห์ ก็ให้เขียนใหม่ แต่ครั้งนี้ให้เขียนความดีของพ่อแม่ กลับเขียนกันไม่ค่อยได้ ตรงนี้เป็นข้อพิสูจน์ที่ยืนยันได้ว่า ควรให้เด็กบันทึกความดีของคนอื่นแทนที่จะบันทึกความดีของตนเอง

          นอกจากวิธีคิดในเรื่องการสอนให้เด็กหัดที่จะมองคนอื่น ที่จะช่วยให้เกิดการมองสังคมในมิติที่กว้างแล้ว หลวงพ่อยังเน้นที่การสอนหรือการฝึกให้เด็กคิดด้วยตัวของเด็กเอง เรื่องนี้ผมค่อนข้างเห็นด้วยอย่างยิ่ง ลองดูนะครับ คุณพ่อคุณแม่ทั้งหลาย เวลาลูกถามอะไร กรุณาอย่าตอบทันทีทันใด แต่ลองถามกลับดูว่า "...แล้วลูกคิดอย่างไรล่ะ..."ทำอย่างนี้บ่อย ๆ ให้เป็นนิสัย เวลาผ่านไปเราจะรู้สึกว่าลูกเรามีการเปลี่ยนแปลงด้านการคิดอย่างแน่นอน ไม่เชื่อลองทำดูซิ 

หมายเลขบันทึก: 405570เขียนเมื่อ 31 ตุลาคม 2010 08:55 น. ()แก้ไขเมื่อ 27 มีนาคม 2012 04:35 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ดีครับ ผอ.ฝึกให้เด็กได้เรียนรู้เองแก้ปัญหาเองบ้างขอสนับสนุนแนวความคิดนี้ครับ(เรียนผูก แล้วต้องเรียนแก้)

สวัสดีครับคุณอรุโฌทัย

การสอนให้เกิดการคิด ผมว่าไม่จำเป็นว่าต้องเป็นการสอนเด็กเท่านั้นครับ ผู้ใหญ่ละตัวดี บางคนมีชีวิตจนจะเข้าโลงแล้ว ยังคิดไม่เป็น ก็คงเป็นหน้าที่ของ กศน. นั่นแหละ ที่ต้องสร้างวิธีคิดให้กับพวกเขา แค่คิดก็เหนื่อยแล้วครับ ขอบพระคุณที่เข้ามาทักทายกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท