GPS กับการประยุกต์ใช้


GPS สามารถใช้งานได้ในทุกพื้นที่ในโลก ตลอดเวลา 24 ชั่วโมงโดยอาศัยสัญญาณดาวเทียมที่มีการโคจรรอบโลก 2 ครั้งต่อวัน (เคลื่อนที่ด้วยความเร็ว 7000 ไมล์ต่อชั่วโมงเหนือพื้นโลก 12,000 ไมล์ ด้วยพลังงานแสงอาทิตย์) ด้วยวงโคจรที่แน่นอนและจะส่งสัญญาณมายังพื้นโลก อย่างไรก็ตาม ในการคำนวณหาตำแหน่งในขณะนั้นๆ จำเป็นต้องรับสัญญาณจากดาวเทียมได้อย่างน้อย 3 ดวงขึ้นไป และอุปกรณ์ GPS จะรับสัญญาณจากดาวเทียมแต่ละดวงมาคำนวณหาตำแหน่งที่ถูกต้อง โดยคำนวณได้จากเวลาที่สัญญาณถูกส่งออกจากดาวเทียมและเวลาที่อุปกรณ์ GPS สามารถจับสัญญาณได้ มาคำนวณระยะห่างระหว่างดาวเทียมและอุปกรณ์ GPS เมื่อนำข้อมูลจากดาวเทียมทั้ง 3 ตัวมารวมกันทำให้สามารถหาตำแหน่งบนพื้นโลกของอุปกรณ์ GPS ได้

GPS อันที่จริงแล้วก็ไม่ใช่เครื่องมือที่ใช้เทคโนโลยีใหม่ล่าสุดสำหรับยุค IT แต่อย่างใด แต่มันมีใช้กันมานานกว่า 2-3 ทศวรรษเข้าไปแล้ว แต่ว่าเดิมนั้นเป็นอุปกรณ์ที่จัดเข้าไปอยู่ในกลุ่มยุทโธปกรณ์ หรืออุปกรณ์ทางการทหาร ก็เลยกลายเป็นของเล่นที่ออกจะหาเล่นได้ยากสักหน่อย จนมาระยะหลังนี้เทคโนโลยีมันเปลี่ยนไป อะไรที่มันถูกเก็บดองเอาไว้เพื่อใช้ในกิจการ "เพื่อความมั่นคง" ก็ถูกผลิตออกมาขายให้คนทั่วไปได้ใช้กัน

การนำ GPS มาประยุกต์ใช้ เพื่อประโยชน์ในการดำเนินชีวิต

            หลังจากที่ได้เข้าไปทำความรู้จักกับ GPS กันแล้วนั้น หลายๆ คนคงจะมองออกแล้วว่า GPS เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจและใกล้ตัวเราอย่างมาก และด้วยความสามารถของ GPS ทำให้สามารถนำข้อมูลตำแหน่งมาใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น

- ระบบนำร่อง (Navigation System)
- ระบบติดตามยานพาหนะ (Automatic Vehicle Location)
- การสำรวจพื้นที่ (Survey)
- การทำแผนที่ (Mapping) เป็นต้น

            ในส่วนของการประยุกต์ใช้งานกับการดำรงชีวิต ยังได้มีการนำ GPS มาใช้ประโยชน์ในการเดินทาง ไม่ว่าจะเป็นทางรถยนต์ ที่ผู้ผลิตรถยนต์หลายๆ ยี่ห้อ ได้ติดตั้งอุปกรณ์ GPS ไว้บนตัวรถ ทำงานร่วมกับแผนที่ประเทศไทย และแผนที่เมืองต่างๆ บนโลก เพื่อระบุตำแหน่งของรถยนต์บนแผนที่นั้น ก่อให้เกิดประโยชน์ในการเดินทาง การค้นหาสถานที่ และไปยังจุดหมายที่ต้องการได้แม่นยำและรวดเร็ว ยิ่งไปกว่านั้นยังสามารถพัฒนาไปถึงการแก้ไขปัญหาจราจร ที่ส่วนหนึ่งเกิดจาดผู้ขับขี่ที่ไม่ชำนาญเส้นทาง จนทำให้ขับขี่ได้ช้าลง หรือหลงทางได้ ทั้งยังสามารถนำไปใช้ในการเดินทางโดยจักรยาน ซึ่งสามารถบันทึกเส้นทางที่เราต้องการเดินทางไป หรือนำไปยังเส้นทางที่คนอื่นได้บันทึกไว้แล้ว ยิ่งไปกว่านั้น ยังสามารถบอกถึงทิศทางที่จะต้องไป ระยะทางที่เหลือ และระยะทางที่จะถึงปลายทางด้วย (ขึ้นกับคุณสมบัติของอุปกรณ์ GPS)   นอกจากนี้ ส่วนหนึ่งยังมีการนำไปประยุกต์ใช้ในการเดินป่า โดยใช้งานคุณสมบัติของอุปกรณ์แต่ละรุ่น/ยี่ห้อ เช่น การเก็บระยะทางโดยรวม, นาฬิกา, เข็มทิศ, เวลาพระอาทิตย์ขึ้น-ตก เป็นต้น หรือแม้แต่การติดตามตัวก็สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อาทิเช่น

o      ระบบนำร่อง (Navigation System) คือใช้ในการหาข้อมูลในการเดินทาง ซึ่งเป็นความจำเป็นสำหรับการเดินทางทุกชนิด

ระบบติดตามยานพาหนะ (Automatic Vehicle Location) อาศัยการส่งข้อมูลจากดาวเทียม เพื่อบอกตำแหน่งพิกัดของเป้าหมาย กลับไปยังสถานีควบคุมอีกชั้นหนึ่ง ช่วยให้ติดตามพฤติกรรมของผู้ที่ถูกติดตามได้

การสำรวจพื้นที่ (Survey) GPS ที่มีความแม่นยำสูง สามารถใช้บอกตำแหน่งพิกัดของหมุดแผนที่บนพื้นโลกได้อย่างถูกต้อง ช่วยให้ง่ายต่องานสำรวจพื้นที่ต่างๆ

การทำแผนที่ (Mapping) เป็นแนวทางการประยุกต์การใช้งานหาพิกัดของ GPS อีกอย่างหนึ่ง ตราบใดที่เราสามารถจะอ่านเส้นทางบนหน้าปัดของ GPS ได้ เราก็สามารถจะนำข้อมูลนั้นไปกำหนดเป็นข้อมูลในแผนที่ได้

ปัจจุบันเครื่องรับ GPS ภาคประชาชนมีให้เลือกใช้มากมายหลายแบบ ส่วนใหญ่จะเน้นเรื่องของความสะดวกสบายในการใช้งาน นั่นคือรูปแบบที่สะดวกต่อการพกพาคล้ายกับโทรศัพท์มือถือ หรือไม่ก็อาจจะพ่วงโปรแกรม GPS เข้าไปรวมกับโทรศัพท์มือถือไปเสียเลย บางส่วนก็ออกแบบมาให้ใช้งานรวมกับคอมพิวเตอร์แบบพกพาหรือ PDA ซึ่งสามารถจะ Synchronize ข้อมูลกับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่บ้านหรือ Notebook ได้โดยสะดวก

GPS เป็นเครื่องมืออย่างอีกหนึ่ง ที่สามารถจะนำมาเล่นเป็นงานอดิเรกได้อย่างสนุกสนาน และใช้ประโยชน์ได้ด้วย การเดินทางในป่า หรือว่าเดินทางทางน้ำ เราสามารถจะหาระยะทางจากจุดเริ่มต้น และความเร็วของเรือก็ยังได้ ขอเพียงแค่เครื่องรับ GPS สามารถรับสัญญาณจากดาวเทียมได้ 3-4 ดวงพร้อมกัน แต่ในป่าทึบๆบางครั้งก็ใช้งานไม่ค่อยได้เหมือนกัน

เป็นที่ทราบกันดีว่า ระบบ GPS จะบอกค่าตำแหน่งได้เมื่อสามารถรับสัญญาณดาวเทียมได้อย่างน้อยที่สุด 3 ดวง สิ่งสำคัญที่สุดคือเมื่อเครื่องรับสัญญาณ GPS ไปอยู่ในบริเวณอับสัญญาณ เช่นบริเวณตึกสูง บริเวณต้นไม้ที่มีใบหนาทึบ ก็จะทำให้ไม่สามารถบอกตำแหน่งพิกัดได้

            ระบบ INS หรือ Inertial navigation sensors คือเครื่องมือที่ช่วยแก้ปัญหาดังกล่าว กล่าวคือ ระบบ INS จะประกอบด้วยเครื่องมือ 2 ชนิดก็คือ เครื่องมือวัดความเร็วและเครื่องวัดมุม(Accelerometers and Gyros) เครื่องมือดังกล่าวจะติดตั้งอยู่บนแกนทั้ง 3 แกน(แกน X, แกน Y และ แกน Z) ซึ่งเรียกกันในภาษาเทคนิคว่า IMU(Inertial Measurement Unit)

โดยการทำงาน เมื่อเกิดภาวะอับสัญญาณขึ้นมา ระบบ INS จะทำงานด้วยการวัดความเร็วและมุม ทั้งสามแกน เพื่อคำนวณหาค่า ความเร็วและตำแหน่งของเครื่องรับสัญญาณ โดยหลักการแล้วไม่ใช่เรื่องยากเย็นอะไร แต่ปัญหาที่ทำให้ระบบนี้มีราคาแพงอยู่ที่ อุปกรณ์เครื่องมือ ยิ่งได้ค่าที่ถูกต้องและละเอียดมากก็จะราคาแพงมาก และเวลาในห้วงอับสัญญาณยิ่งเวลาอับสัญญาณมาก ความถูกต้องก็จะน้อยลง

นอกจากนี้การประยุกต์งานในระบบ INS เท่าที่เคยรับฟังมาคือการใช้ระบบนี้ติดตั้งกับกล่องถ่ายภาพทางอากาศ เพื่อหาตำแหน่งการหมุนของกล้องถ่ายภาพทางอากาศ โดยจุดเปิดถ่ายภาพสามารถหาได้อยู่แล้วจากการติดตั้งระบบ DGPS บนกล้องถ่ายภาพทางอากาศ ซึ่งถ้าใช้ระบบนี้ก็จะทำให้การสำรวจหาจุดควบคุมหรือ Ground control ลดน้อยลงหรือแทบจะไม่ต้องสำรวจอีกเลย ทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายไปอีกมาก

อุปกรณ์ GPS ติดบนจักรยานเสือภูเขา

ETREX Legend HCX

 ความไวในการรับสัญญาณ  H - High Sensitivity

การใช้งานบนท้องถนน : ติดตั้งแผนที่ Thailand Street Map v8 ภาษาไทย ใน microSD ความจุ 1 GB

การต่อเชื่อมกับคอมพ์ : USB Interface ทั้ง Garmin USB & USB Mass Storageศ

Data Output : ขับอุปกรณ์ต่อพ่วงด้วย Garmin Data Format (NMEA - Garmin Mode) ผ่าน USB

รี H - High Sensitivity ... ไม่อาย

  • ขนาดและ น้ำหนัก : เหมาะสำหรับงานลุยที่ต้องการความ
  •  ฟันธง : คู่ควรกับจักรยานเสือภูเขาและเสือหมอบ ซึ่งอ่อนไหวต่อน้ำหนักของวัสดุอุปกรณ์เป็นอย่างยิ่ง

GPS ตรวจจับรถยนต์ขับเร็วเกินกำหนด

 

บริษัทอเมริกันปิ๊งไอเดีย ประยุกต์ใช้จีพีเอส หรือเทคโนโลยีระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกผ่านดาวเทียม เช็คที่อยู่ รวมถึงความเร็วในการเคลื่อนที่ ของคนในครอบครัว โดยเฉพาะเด็กๆ ซึ่งสามารถแจ้งเตือนพวกเขาได้ก่อนเกิดอุบัติเหตุ

บริษัททีนอาร์ไรฟ์อะไลฟ์ หรือทีเอเอ (Teen Arrive Alive; TAA) เปิดเผยว่า บริษัทมีโปรแกรมที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถรู้ที่อยู่ รวมถึงความเร็วในการเคลื่อนที่ ของสมาชิกในครอบครัวได้ตลอด 24 ชั่วโมง ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีจีพีเอส (Global Positioning System; GPS) หรือระบบระบุพิกัดตำแหน่งบนพื้นโลกผ่านดาวเทียม ที่ถูกฝังไว้ในโทรศัพท์มือถือของพวกเขา

ทอมมี่ แฟรงค์ (Tommy Franks) ประชาสัมพันธ์ของทีเอเอ กล่าวว่า จุดสำคัญอยู่ที่ทำอย่างไรก็ได้ให้เด็กเอาโทรศัพท์มือถือที่ฝังชิปจีพีเอสไว้ภายในพกติดตัวไปด้วยตลอดเวลา แล้วผู้ปกครองก็จะรู้ว่าเด็กอยู่ที่ไหน หรือกำลังเคลื่อนที่ด้วยความเร็วเท่าไหร่ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

ถ้าเด็กขับรถปกติ จะไม่มีอะไรเกิดขึ้น แต่ถ้าเมื่อใดที่ขับเร็วเกินกำหนด จะมีเสียงเตือนดังออกมาจากโทรศัพท์ของพวกเขา พร้อมกับส่งข้อความแจ้งผู้ปกครองให้ทราบ

แฟรงค์กล่าวว่า ในฐานะผู้ปกครองคนหนึ่ง มันเป็นความรับผิดชอบที่จะต้องดูแลบุตรหลานอยู่ดีและปลอดภัยตลอดเวลา ถ้าผมรู้ว่าเด็กๆอยู่ที่ไหน หรือรู้ว่าพวกเขากำลังจะไปที่ใด และโดยเฉพาะถ้ารู้ว่าขับรถเร็วหรือไม่แล้ว ผมจะเตือนพวกเขาได้ก่อนจะเกิดการสูญเสียขึ้น มันช่วยให้ผมปกป้องเด็กๆได้ทันเวลา

 การรายงานสภาพจราจรบนถนนหลวงจากGPS PDA Phone

 ระบบนี้เรียกว่า “Traffy” ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์บน Windows Mobile ใช้เพื่อป้อนข้อมูลจราจรและอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จากถนนมายังศูนย์ข้อมูลผ่านทาง GPRS ปกติผู้ที่ใช้งานคือตำรวจทางหลวง เพื่อกรอกข้อมูลสภาพจราจร สภาพอากาศ จุดซ่อมบำรุงทาง จุดเกิดอุบัติเหตุ และอื่นๆ

 ระบบนี้เมื่อท่านส่งข้อมูลผ่าน GPRS มายังศูนย์ข้อมูลแล้ว ระบบก็จะทำการประมวลผลร่วมกับระบบอื่นๆ เช่น CCTV ประชาชนทั่วไปสามารถรับข้อมูลจราจรผ่าน http://traffic.thai.net , Longdo.com, DTAC SMS, วิทยุ ,โทรทัศน์ และ จอทีวีขนาดใหญ่ตามศูนย์การค้า เพื่อให้ประชาชนสามารถดูสภาพจราจรแบบ real-time และวางแผนการเดินทาง หลีกเลี่ยงบริเวณรถติดมาก ช่วยประหยัดพลังงานของชาติ และลดปัญหาภาวะโลกร้อนได้อีกทางหนึ่ง

  GPS มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องนำทางหรือ Navigator

หากว่าเราเปิดเครื่อง GPS เอาไว้ตลอดเวลาขณะที่เราเคลื่อนที่ไป จะเคลื่อนที่ไปด้วยการเดินเท้า ขี่จักรยาน ขับรถ หรือว่านั่งโดยสารไปในยานพาหนะชนิดใดก็ตาม ตราบใดที่เครื่อง GPS ยังสามารถสื่อสารกับดาวเทียมนำทางที่อยู่เหนือผิวโลกขึ้นไปได้อยู่ มันก็จะบอกตำแหน่งพิกัดของเราที่เคลื่อนที่ไปเรื่อย ๆ ด้วยเช่นกัน เหมือนกับการลากเส้นการเดินทางของเราไปบนหน้าปัดของเครื่อง GPS ไม่ว่าเราจะเลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวาวกวนอย่างไรก็ตาม เส้นการเดินทางที่ปรากฏบนหน้าปัดของเครื่อง GPS ก็จะมีลักษณะเป็นแบบเดียวกับที่เราเคลื่อนที่ไป

     สมมุติว่าเราได้บันทึกจุดเริ่มต้นและจุดสิ้นสุดของการเดินทางช่วงหนึ่งเอาไว้ แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรบ้าง จากการอ่าน "ข้อมูล" บนหน้าปัดของเครื่อง GPS ขณะนั้น

     อันดับแรกเลยก็คือ รู้ตำแหน่งที่เป็นจุดเริ่มต้นการเดินทางของเราว่าอยู่ตรงไหน(พิกัดไหน)

     อันดับที่สอง เราเคลื่อนที่จากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่งใช้เวลานานเท่าไร
หรือจากข้อสอง อีกนัยหนึ่งก็คือ ใช้ความเร็วเท่าไรในการเคลื่อนที่

     อันดับต่อไปก็คือ มันสามารถจะบอกได้ว่า เราได้มาอยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นเป็นระยะทางเท่าไร (ระยะที่เป็นเส้นตรงจากจุดเริ่มต้น ไม่ใช่เส้นทางที่เราเคลื่อนที่ไป)

     อันดับต่อไป สามารถคำนวณหาระยะทางจริงที่เราเคลื่อนที่ หรือเดินทางไปได้

     จากเส้นที่บันทึกการเคลื่อนที่ของเราบนหน้าปัด เครื่อง GPS จะบอกให้เราทราบว่า เส้นทางที่เราเคลื่อนที่หรือเดินทางผ่านมา มันมีลักษณะเป็นแบบไหน มีทางตรงยาวเท่าไร ทางโค้งแบบไหน และจำนวนกี่โค้ง อะไรทำนองนี้ เป็นต้น

     เมื่อเรานำเอาข้อมูลเกี่ยวกับเส้นทางนี้มาประยุกต์ใช้ต่อไป เราก็พอจะบอกกับตัวเองได้ว่า ถ้าเราเอาเส้นการเดินทางมาศึกษาจุดเริ่มต้น-จุดสิ้นสุดการเดินทาง, ขณะนี้เราอยู่ที่ไหน ห่างจากจุดเริ่มต้นเท่าไร...เราเดินซ้ำเส้นทางเดิมหรือว่าหลงทางหรือยัง...

     นี่คือที่มาของการนำเอาเครื่อง GPS มาประยุกต์ใช้เป็นเครื่องนำทางหรือ Navigator 

GPS ติดรองเท้า

ไอแซค แดเนียล (Issac Daniel) กับรองเท้าติดระบบระบุพิกัดผ่านดาวเทียม Quantum Satellite Technology ที่จะสามารถระบุตำแหน่งของผู้สวมใส่ไม่ว่าที่ใดบนโลก

วิศวกรชาวอเมริกันเตรียมวางจำหน่ายระบบระบุพิกัดบนพื้นโลกหรือจีพีเอส (GPS) สำหรับติดพื้นรองเท้าในเดือนหน้า ใช้เทคโนโลยีการส่งถ่ายข้อมูลผ่านดาวเทียมเช่นเดียวกับที่ใช้ในโทรศัพท์มือถือ แต่ผู้ผลิตเชื่อว่าการฝังชิปจีพีเอสไว้ในรองเท้านั้นเหมาะสม เพราะเป็นสิ่งที่ผู้ใช้ทำหายได้ยากกว่าโทรศัพท์มือถือหรือกำไลข้อมือ

ระบบจีพีเอสสำหรับติดพื้นรองเท้านี้มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า Quantum Satellite Technology วิศวกรผู้พัฒนาคือไอแซค แดเนียล (Isaac Daniel) ซึ่งให้จำกัดความระบบติดตามฝังรองเท้านี้ว่าเป็น"ชิ้นส่วนของหัวใจ" เนื่องจากประสบการณ์ตรงที่แดเนียลได้รับจากเหตุการณ์บุตรชายวัย 8 ปีหายตัวไปเมื่อปี 2002

ครั้งนั้นแดเนียลหวังให้เด็กชายได้สวมรองเท้าที่ฝังระบบติดตามนี้ เนื่องจากเขาไม่สามารถติดต่อหรือรับรู้ความเป็นไปของลูกชายได้เลยหลังจากทางโรงเรียนแจ้งว่าบุตรชายหายตัวไป และในที่สุดก็สามารถรับตัวลูกชายกลับมาอย่างปลอดภัย

หลังเหตุการณ์นั้นไม่นาน แดเนียลเริ่มต้นพัฒนาต้นแบบเทคโนโลยี Quantum Satellite ขึ้น แนวคิดคือระบบจะต้องสามารถระบุตำแหน่งที่อยู่ของผู้สวมใส่ไม่ว่าที่ใดบนโลก โดยระบบจะทำงานเมื่อผู้ใช้กดปุ่มเท่านั้น และจะส่งข้อมูลต่อเนื่องจนกว่าแบตเตอรี่จะหมดลง

นี่ถือเป็นการประยุกต์ใช้ระบบนำทางผ่านดาวเทียมในชีวิตประจำวันชิ้นล่าสุด หลังจากที่แพร่หลายในโทรศัพท์มือถือสำหรับป้องกันภัยลักพาตัวเด็ก รวมถึงโทรศัพท์มือถือแนะนำเส้นทางสำหรับผู้ใหญ่ หลักการทำงานของระบบติดตามในรองเท้านี้คือผู้ใช้จะต้องกดปุ่มเปิดการทำงานของระบบจีพีเอส ข้อมูลที่อยู่ของผู้ใส่จะถูกส่งในรูปสัญญาณไร้สาย ไปยังศูนย์บริการตรวจตราที่ทำงานตลอด 24 ชม.

ในกรณีฉุกเฉิน เช่นเกิดเหตุการณ์ลักพาตัวเด็ก ผู้ปกครองสามารถติดต่อที่ศูนย์บริการนี้เพื่อเปิดการทำงานระบบจีพีเอสทางไกลได้ จุดนี้ระบบจะต้องมีการยืนยันตัวผู้ติดต่อว่าเป็นผู้ปกครองที่แท้จริงหรือไม่ด้วยรหัสผ่าน เพื่อหลบหลีกจากผู้จงใจก่อกวน ซึ่งหากพบผู้กระทำผิดจะมีโทษปรับตามกฏหมายอย่างเคร่งครัด

แดเนียลระบุว่าระบบระบุพิกัดนั้นสามารถทำงานได้แม้ผู้สวมใส่อยู่บนเครื่องบิน โดยจากการทดลองของเขาเองบนเครื่องบินเส้นทางไปเมืองนิวเจอร์ซีย์ ระบบสามารถระบุตำแหน่งของเขาได้ตั้งแต่เครื่องบินแล่นผ่านชายฝั่งแอตแลนติคจนถึงท่าอากาศยานไมอามี่ สัญญาณที่ได้มีลักษณะวิ่งผ่านเมืองและอาคารไป

 GPS สามารถนำไปใช้งานหรือประยุกต์ใช้ในด้านต่างๆได้อีกมากมาย อาทิเช่น

 -          แสดงการนำร่องของยานพาหนะต่างๆจากที่หนึ่งไปที่อื่นๆตามต้องการ เช่น เครื่องบิน เรือ รถยนต์ และจักรยานยนต์ เป็นต้น
- แสดงการประยุกต์ใช้ Software GPS ในการทำแผนที่และแปลภาพถ่ายทางอากาศ
- การประยุกต์ใช้ GPSในการควบคุมเครื่องจักรกล เช่น เครื่องจักรกลในการทำเกษตรกรรม เครื่องจักรกลที่ใช้ในการขนส่งบริเวณท่าเรือ
- การประยุกต์ใช้ GPS ในด้านการขนส่งทางน้ำและทางทะเล (Maritime)
- การประยุกต์ใช้ GPS กับระบบการจราจรและการขนส่ง (Intelligent Transport Systems: ITS) ในการแก้ปัญหาจราจร การปรับปรุงความปลอดภัย การเพิ่มประสิทธิภาพระบบคมนาคมขนส่ง และการใช้ระบบการประกันรถยนต์
(L-Commerce)
- การประยุกต์ใช้ GPS กับการตรวจวัดการเคลื่อนตัวของโครงสร้างทางวิศวกรรมหรือเปลือกโลก
- การใช้อ้างอิงการวัดเวลาที่เที่ยงตรงที่สุดในโลก
- การประยุกต์ใช้ GPS ในการออกแบบเครือข่าย คำนวณตำแหน่งที่ตั้งด้านโทรคมนาคมและด้านพลังงาน เช่น ระบบไฟฟ้า ระบบน้ำมัน
- การประยุกต์ใช้ GPS ด้านสิ่งแวดล้อม เช่น การติดตามตรวจสอบด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยด้านสิ่งแวดล้อม
- การประยุกต์ใช้ GPS ในด้านอื่นๆ เช่น การเงินการธนาคาร

จัดทำโดย นาย กิตติพัฒน์ มะกรูดทอง 47550272

อ้างอิงข้อมูลจาก http://www.thaimtb.com/cgi-bin/viewkatoo.pl?id=79607



คำสำคัญ (Tags): #gps ประยุกต์
หมายเลขบันทึก: 405193เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2010 17:18 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 10:15 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท