ข้อบกพร่องของผลงานทางวิชาการ


การเป็นครูมืออาชีพที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภา ควรปฏิบัติงานอย่างมืออาชีพ คือปฏิบัติงานอย่างมีหลักวิชา และปฏิบัติงานอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการให้เป็นปกตินิสัย

ข้อบกพร่องตามหลักวิชาการของผลงานทางวิชาการ

          จากประสบการณ์ที่ได้ทำงานกับครู และได้อ่านการพัฒนานวัตกรรมของครูที่นำไปใช้จัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน และรายงานที่ครูเขียนขึ้น พบว่า แต่ละงานมีข้อบกพร่องแตกต่างกัน จึงได้รวบรวมให้กับผู้สนใจที่ต้องการพัฒนาตนเองให้เป็นนักวิชาการ หรือเป็นครูมืออาชีพตามที่ได้รับการรับรองจากคุรุสภาแล้ว และได้นำเสนอดังนี้ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ที่จะพัฒนานวัตกรรมแล้วนำไปพัฒนางานในหน้าที่จะได้ไม่นำไปปฏิบัติ มีดังนี้

นวัตกรรม

1. มีรูปแบบ หรือมีองค์ประกอบไม่ครบ หรือไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการของนวัตกรรมประเภทนั้น ๆ

2. เนื้อหาสาระของนวัตกรรมน้อยเกินไป ไม่สามารถทำให้ผู้เรียนมีความรู้ความเข้าใจที่จะทำงานได้

3. แต่ละหัวข้อ มีเนื้อหาสาระไม่ชัดเจน ไม่เพียงพอ และไม่สมบูรณ์(ไม่ครอบคลุมตามหัวข้อที่เขียน) และไม่ได้รวบรวมเนื้อหาสาระจากหลายแหล่งการเรียนรู้

4. ไม่ได้อ้างอิงที่มาของภาพ หรือ Flow chart หรืออื่น ๆ กรณีที่นำมาจากแหล่งต่าง ๆ

5. เอกสารขาดการอ้างอิงในเนื้อหา และเอกสารไม่มีบรรณานุกรม

6. เรียงลำดับเนื้อหาในเอกสาร สับสน ซ้ำซ้อน ไม่เป็นไปตามลำดับที่ควรจะเป็น

7. แหล่งที่อ้างอิงในเอกสาร ไม่มีในบรรณานุกรม

8. เขียนอ้างอิงไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

9. ให้หมายเลขหัวข้อของเนื้อหาไม่เป็นระบบ

10. พิมพ์บรรณานุกรมไม่ถูกต้อง ไม่เป็นรูปแบบเดียวกัน

11. แหล่งอ้างอิง หรือเอกสารอ้างอิงล้าสมัย

12. หมายเลขหน้า ที่สารบัญ ไม่ตรงกับเลขหน้าของเอกสาร และหัวข้อในสารบัญไม่ตรงกับหัวข้อในเอกสาร

13. พิมพ์ตก พิมพ์ผิดหลายแห่ง พิมพ์แยกคำเมื่อขึ้นบรรทัดใหม่หลายแห่ง

14. การจัดพิมพ์หัวข้อ ย่อหน้า เว้นบรรทัด ตาราง ไม่เรียบร้อย และไม่สม่ำเสมอ

15. ผลงานไม่แสดงให้เห็นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์

รายงานผลงานทางวิชาการ

1. นำเสนอบทคัดย่อไม่กระชับ(ยาวเกินไป) นำเสนอไม่เป็นลำดับ นำเสนอสับสน ไม่ครอบคลุมงานที่ทำ และขาดความสมบูรณ์ตามรูปแบบการเขียนบทคัดย่อ

2. บทที่ 1 มีข้อค้นพบดังนี้

    2.1 ขาดการแสดงความสำคัญของงานที่ทำว่ามีความสำคัญอย่างไร  

    2.2 ขาดการแสดงที่มาของปัญหาที่ชัดเจนว่า ได้มาอย่างไร(โดยวิธีใด) เมื่อไร ปัญหามีปริมาณมากน้อยเพียงใด                                                        

    2.3 กำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจน ไม่เขียนตามรูปแบบของการเขียนวัตถุประสงค์

    2.4 กำหนดวัตถุประสงค์ไม่ตรงกับชื่องานที่ทำ

    2.5 ขาดการกำหนดขอบเขตของประชากร และกลุ่มตัวอย่างว่าเป็นใคร มีลักษณะอย่างไร

    2.6 ขาดการแสดงจำนวนของประชากร และจำนวนของกลุ่มตัวอย่าง

    2.7 ขาดการแสดงวิธีการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างว่าได้มาอย่างไรตามวิธีการสุ่มที่บอก

    2.8 ขาดการกำหนดขอบเขตด้านเนื้อหา              

    2.9 ขาดการกำหนดขอบเขตด้านระยะเวลาการดำเนินงาน                                       

    2.10 นิยามศัพท์เฉพาะ ให้ความหมายของคำ หรือข้อความที่ใช้ไม่ครบทุกตัวแปร และไม่ครอบคลุมงานที่ทำ  

    2.11 นิยามศัพท์เฉพาะที่ให้ ไม่เป็นการให้ความหมายว่า คำนั้นคืออะไร มีลักษณะอย่างไร  แต่เป็นการให้ความหมายโดยการระบุขอบเขตว่าเป็นอะไรที่ใช้ และความหมายที่ให้ไม่เป็นความหมายเชิงปฏิบัติการ(Operation definition) คือรายละเอียดของความหมายที่ให้ ไม่สามารถนำไปเป็นแนวทางการดำเนินงาน และไม่สามารถนำไปสร้างเครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลได้ ซึ่งถ้าให้ความหมายแต่ละตัวแปรชัดเจนแล้ว ผู้ดำเนินงานจะสามารถดำเนินการบรรลุวัตถุประสงค์ที่กำหนดได้อย่างมีประสิทธิภาพ  โดยสร้างเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลที่ครบถ้วน ครอบคลุมตัวแปรที่ศึกษา เพื่อตอบวัตถุประสงค์ของการทำงานได้อย่างสมบูรณ์

    2.12 ประโยชน์ที่ได้รับ ระบุไม่ชัดเจนว่าเมื่อทำงานเสร็จแล้ว จะได้อะไร และจะเกิดประโยชน์แก่ผู้เกี่ยวข้องอย่างไรบ้าง  และระบุประโยชน์ที่ไม่ใช่เป็นผลที่เกิดขึ้นจากการดำเนินงาน

3. บทที่ 2 มีข้อค้นพบ ดังนี้

    3.1 ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องไม่ครบทุกตัวแปรที่ศึกษา และไม่ครอบคลุมงานที่ทำ(หัวข้อการทบทวนมีน้อยเกินไป แต่ละหัวข้อค้นมาจากน้อยแหล่ง ค้นคว้ามาไม่กว้างขวาง และแต่ละหัวข้อมีเนื้อหาสาระน้อย)                                                      

    3.2 วรรณกรรมที่เกี่ยวข้องที่ทบทวน บางเรื่องไม่เกี่ยวกับงานที่ทำ

    3.3 เรียบเรียงเนื้อหาสาระไม่เป็นไปตามลำดับที่ควรจะเป็น

    3.4. การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแต่ละเรื่อง ขาดการสังเคราะห์เนื้อหาสาระที่ค้นคว้าแล้วสรุปเป็นองค์ความรู้ใหม่ที่ยังคงเนื้อหาสาระที่สำคัญไว้อย่างครบถ้วน

    3.5 การสังเคราะห์และสรุปเนื้อหาสาระแต่ละหัวข้อ/เรื่อง ไม่ได้สรุปจากเนื้อหาที่ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง แต่เป็นการแสดงความคิดเห็น หรือระบุว่า จะนำแนวคิดนี้ไปทำงาน ซึ่งไม่ถูกต้อง

    3.6 เขียนอ้างอิงในเนื้อหาไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

    3.7  เอกสารที่เกี่ยวข้องที่ทบทวนหลายรายการไม่ทันสมัย

    3.8 ไม่อ้างอิงที่มาของตารางและแผนภาพที่นำมาอ้างอิง

    3.9 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องน้อยเกินไป ไม่มากพอที่จะทำให้ได้แนวคิดมาใช้ในการทำงาน                                              

   3.10 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องแต่ละเรื่อง นำมาจากแหล่งเดียวซึ่งน้อยเกินไป ไม่ทำให้เกิดแนวคิดในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

   3.11 การทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่เป็นการคัดลอก และตัดต่อ ขาดการเชื่อมโยง เนื้อหาสาระในแต่ละเรื่อง(ควรอ่านให้เข้าใจ แล้วเขียนเป็นภาษาของเรา แต่คงเนื้อหาของแหล่งที่ค้นคว้า ทุกหัวข้อ)

   3.12 นำเสนอเนื้อหาสาระไม่เป็นไปตามลำดับ นำเสนอสับสน วกวน ซ้ำซ้อน

   3.13 ภาษาอังกฤษในวงเล็บไม่สม่ำเสมอ บางแห่งเริ่มด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ บางแห่งเริ่มด้วยตัวพิมพ์เล็ก

   3.14 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่นำเสนอ ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับงานที่ทำ

   3.15 งานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ทบทวนมีน้อยเกินไป ไม่ทำให้เกิดแนวคิดที่จะนำมาใช้ในการทำงานอย่างถูกต้อง สมบูรณ์

   3.16 การทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง ส่วนใหญ่ศึกษามาจากบทคัดย่อ ไม่ศึกษาเอกสารทั้งฉบับ ทำให้ไม่ทราบว่าเขามีวิธีการดำเนินงานอย่างไร ทำให้ไม่ได้แนวคิดจากงานวิจัยมาดำเนินงานของเรา

4. บทที่ 3 มีข้อค้นพบ ดังนี้

    4.1 ขาดการนำเสนอประชากร และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทำงาน

    4.2 ขาดการแสดงจำนวนของประชากร และจำนวนของกลุ่มตัวอย่างที่ใช้

    4.3 ขาดการแสดงวิธีการได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างว่าได้มาโดยวิธีอะไร และได้มาอย่างไร

    4.4 ขาดการแสดงรายละเอียดการหาคุณภาพของนวัตกรรม และการหาคุณภาพของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูล พร้อมผลการหาคุณภาพของเครื่องมือทุกชนิดที่ใช้

    4.5 ขาดการแสดงค่าความตรง และค่าความเชื่อมั่นของเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลทุกฉบับ

    4.6 ขาดการแสดงค่าอำนาจจำแนก และค่าความยากง่ายของแบบทดสอบทุกฉบับ

    4.7 แสดงค่าความตรง ค่าอำนาจจำแนก และค่าความยากง่ายเป็นค่าเฉลี่ย ไม่ถูกต้อง เนื่องจากค่าต่าง ๆ ดังกล่าว เป็นค่ารายข้อ ดังนั้นต้องนำเสนอค่าต่ำสุด-ค่าสูงสุด

    4.8 ขาดการนำเสนอรายละเอียดผลการวิเคราะห์ข้อมูลการหาคุณภาพของเครื่องมือที่ใช้ทั้งหมดในภาคผนวก(ขาดการแนบ Print out ผลการวิเคราะห์เครื่องมือทุกฉบับ)

    4.9 ขาดการระบุชื่อ ตำแหน่ง วุฒิ ประสบการณ์ และความเชี่ยวชาญของผู้เชี่ยวชาญที่ตรวจเครื่องมือว่ามีความถนัดสาขาใด

   4.10 เสนอจำนวนประชากร และกลุ่มตัวอย่างจำนวนเท่ากัน ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

   4.11 ขาดการนำเสนอการดำเนินงาน ว่าดำเนินการพัฒนาผู้เรียนโดยใช้นวัตกรรมอย่างไร มีการเก็บข้อมูลอย่างไร เมื่อไรอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ ที่เป็นการปฏิบัติจริง

   4.12 ขาดการนำเสนอเกณฑ์การแปลความหมายของข้อมูลที่วิเคราะห์ได้

   4.13 ระบุสถิติที่ใช้ไม่ครบกับการปฏิบัติจริง

   4.14 แสดงสูตรสถิติไม่ถูกต้อง

   4.15 แสดงสัญลักษณ์ทางสถิติไม่ถูกต้อง

   4.16 ใช้สูตรสถิติสำหรับประชากรไม่ถูกต้อง

   4.17 แบบทดสอบไม่สอดคล้อง และไม่ครอบคลุมจุดประสงค์การเรียนรู้

   4.18 ขาดการระบุวิธีการเก็บรวบรวมข้อมูลว่าเก็บรวบรวมอย่างไร เก็บเมื่อไร

5. บทที่ 4 มีข้อค้นพบ ดังนี้

   5.19 ไม่นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้ตรง และเป็นลำดับตามวัตถุประสงค์ของการทำงาน

   5.20 นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ครบตามวัตถุประสงค์ของการทำงาน

   5.21 แปลผลการวิเคราะห์ข้อมูลไม่ตรงกับเกณฑ์การแปลผลที่ได้ระบุไว้ในบทที่ 3

   5.22 คำนวณค่า S.D.ในภาพรวม โดยการคำนวณเป็นค่าเฉลี่ยของค่า S.D.ทั้งหมด ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ ต้องเป็นค่าของข้อมูลทั้งหมด

   5.23 นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ โดยการใช้ค่า t-test          โดยนำเสนอรูปแบบของตารางไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ

   5.24 นำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ของกลุ่มประชาการโดยใช้ค่า  t-test แสดงผล ไม่ถูกต้องตามหลักวิชาการ เนื่องจากค่า t-test จะใช้ได้กับกลุ่มตัวอย่างเท่านั้น ดังนั้น จึงต้องใช้วิธีอื่นแสดงผลความก้าวหน้าของผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนที่ศึกษา

   5.25 คำนวณค่าตัวเลขไม่ถูกต้อง

   5.26 อธิบายตารางโดยไม่ระบุตารางที่ ไม่แสดงค่าตัวเลขที่วิเคราะห์ได้ประกอบการอธิบาย และอธิบายไม่สมบูรณ์ คืออธิบายเพียงภาพรวมเท่านั้น

   5.27 อธิบายตาราง ไม่ตรงกับเกณฑ์การแปลผลที่แสดงในตาราง

   5.28 ขาดการนำเสนอผลการดำเนินงานตอบสมมติฐานของการทำงาน(กรณีกำหนดสมมติฐานของการทำงานไว้ในบทที่ 1)

6. บทที่ 5 มีข้อค้นพบ ดังนิ้

    6.1 นำเสนอสรุปผลการดำเนินงานไม่กระชับ คือนำเสนอโดยการคัดลอกข้อมูลมาจากทุกบทที่ผ่านมา

    6.2 อภิปรายผลการดำเนินงานโดยไม่มีงานวิจัยสนับสนุน

    6.3 งานวิจัยที่นำมาสนับสนุนการอภิปรายผลการดำเนินงาน ไม่แสดงให้เห็นว่าสนับสนุน หรือสอดคล้อง หรือขัดแย้งกับข้อค้นพบอย่างไร ไม่ใช่ระบุว่าผลสอดคล้องเพียงอย่างเดียว

    6.4 อภิปรายผลการดำเนินงานไม่ครบทุกประเด็นของข้อค้นพบ

    6.5 ไม่นำข้อค้นพบมาให้ข้อเสนอแนะแก่หน่วยงาน และบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนางานต่อไป

7. บรรณานุกรม มีข้อค้นพบ ดังนี้

    7.1 บรรณานุกรมมีรูปแบบไม่ถูกต้อง

    7.2 บรรณานุกรมมีรูปแบบไม่สม่ำเสมอ

    7.3 เรียงลำดับเอกสารในบรรณานุกรมไม่ถูกต้อง(ไม่เรียงตามอักษร)

    7.4 พิมพ์ตก พิมพ์ผิด และพิมพ์ไม่เรียบร้อย หลายแห่ง

8. ภาคผนวก มีข้อค้นพบ ดังนี้

    8.1 ไม่แสดงร่องรอยหลักฐานการทำงาน เช่น การตรวจสอบคุณภาพเครื่องมือ การวิเคราะห์เครื่องมือที่ใช้ คะแนนที่ได้ของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง การวิเคราะห์ข้อมูลอื่น ๆ ต่าง ๆ

    8.2 ไม่แสดงเครื่องมือที่ใช้ทุกฉบับ

    8.3 ไม่แสดงตัวอย่างผลงานของประชากรหรือกลุ่มตัวอย่าง

                ดังนั้น เวลาทำผลงานทางวิชาการ อย่าลืมเหลือบดูเอกสารฉบับนี้ด้วย เพื่อจะได้ถูกให้แก้ไขน้อยลง

หมายเลขบันทึก: 405179เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2010 15:39 น. ()แก้ไขเมื่อ 31 พฤษภาคม 2012 16:12 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
หริณยาภรณ์ คิดชัย

ขอขอบพระคุณอาจารย์มากนะคะที่ให้ความกระจ่างในการจัดทำผลงานทางวิชาการ ทำให้หนูมีความรู้เพิ่มขึ้นมากค่ะ

ช่วยด้วย จะส่งผลงานที่ปรับปรุง แต่เขียนข้อแก้ไขไม่ได้ ข้อสังเกตมีอยู่ว่า"การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลสับสนและผิดหลายแห่ง ผลงานทางวิชาการเหมือนตัดต่อจากหลายแห่งแล้วทำไม่สมบูรณ์" ไม่ทราบว่าจะใช้คำพูดแก้ข้อนี้ว่าอย่างไร คิดมาหลายวันแล้ว จะส่งวันที่ 1 สิงหาคมนี้ค่ะ ขอความกรุณาผู้เชี่ยวชาญทุกท่านช่วยตอบให้เร็วด้วย จะส่งแล้ว

การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลให้นำเสนอตามวัตถุประสงค์ที่กำหนด ที่ว่าิเหมือวนตัดต่อคืออาจารย์ไม่ได้เขียนโดยใช้สำนวนของตนเอง(อ่านของคนอื่นให้เข้าใจแลัวจึงเขียนตามความเข้าใจของเรา)จึงจะทำให้อ่านแล้วราบรื่นไม่สดุดเหมือนคัดลอกเอาหลายสำนวนมาต่อกัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท