หลักสูตร วิธีการสอบคัดเลือกและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก เกณฑ์การตัดสินการขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผุ้สอบคัดเลือกได้เป็นลูกจ้างประจำ


หลักสูตร วิธีการสอบคัดเลือกและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก เกณฑ์การตัดสินการขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผุ้สอบคัดเลือกได้เป็นลูกจ้างประจำ

 

 

 

 

"หลักสูตร  วิธีการสอบคัดเลือกและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับ

การสอบคัดเลือก เกณฑ์การตัดสินการขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชี

ผุ้สอบคัดเลือกได้เป็นลูกจ้างประจำ"

 

                กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว  เพื่อให้การดำเนินการดังกล่าวของส่วนราชการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน  อาศัยอำนาจตามความในข้อ 11  แห่งระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537  จึงยกเลิกหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนมาก ที่ กค 0527.6/ว 104 ลงวันที่ 21 สิงหาคม 2539  และกำหนดหลักสูตร  วิธีการสอบคัดเลือกและวิธีดำเนินการเกี่ยวกับการสอบคัดเลือก  เกณฑ์การตัดสิน  การขึ้นบัญชีและการยกเลิกบัญชีผู้สอบคัดเลือกได้เป็นลูกจ้างประจำ  ศึกษารายละเอียดตามไฟล์ที่แนบมาด้านล่างนี้...

 

http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas656.PDF

 

ศึกษา  ระเบียบกระทรวงการคลัง

ว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537

ได้ตามไฟล์ด้านล่างนี้...

 http://gotoknow.org/file/bussayamas/bussayamas4545.PDF

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 405175เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2010 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 08:59 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (33)

อาจารย์ตอนนี้ทำไมในทุกส่วนราชการถึงจ้างตำแหน่งจ้างเหมาเยอะจังและการสอบถามคิดเห็นของพนักงานราชการดำเนินการหรือยังครับน่าจะเป็นรูปร่างแน่นอนเมื่อไหรครับ และทำไมพนักงานราชการจึงใช้คำว่า"ค่าตอบแทน"แทนคำว่าเงินเดือน..กองทุนพนักงานราชการเหมือน กบข.น่าจะเกิดขึ้นไหมครับ

ตอบ...คุณ amnat...

  • การที่ส่วนราชการจ้างตำแหน่งจ้างเหมา น่าจะเป็นเพราะว่ารัฐให้เงินสนับสนุนในส่วนนี้ค่ะ ตำแหน่งจ้างเหมา เช่น ยาม คนครัว คนทำความสะอาด คนงานภาคสนาม ค่ะ
  • การจ้างตำแหน่งจ้างเหมา เป็นเพราะว่า ส่วนราชการไม่ต้องการผูกพันในด้านการจ้างในระยะยาวค่ะ เพราะการจ้างแบบจ้างเหมา อยู่ที่การทำสัญญาจ้าง ถ้าส่วนราชการไม่พอใจ ในครั้งต่อไปก็สามารถเปลี่ยนบริษัทหรือคนทำงานใหม่ได้ค่ะ พูดง่าย ๆ ส่วนราชการไม่ต้องรับผิดชอบ ทางบริษัทจะเป็นผู้รับผิดชอบตามสัญญาที่ทำไว้ค่ะ
  • สำหรับเรื่องสอบถามความคิดเห็น พี่ไม่ทราบเหมือนกัน แต่ที่ มรพส. ยังไม่มีค่ะ ต้องสอบถามไปที่ คพร. ค่ะ ที่แน่นอน คือ ปี 2556 ค่ะ
  • การที่พนักงานราชการใช้คำว่า "ค่าตอบแทน"  เนื่องมาจาก ระบบพนักงานราชการเป็นระบบการทำสัญญาจ้าง เพราะ พนักงานราชการใช้ "ค่าตอบแทน" ข้าราชการใช้ คำว่า "เงินเดือน" เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่ใช้จ่ายประจำทุกเดือน ไม่ใช่การทำสัญญาจ้างเช่นพนักงานราชการ เป็นการทำงานยาวถึงเกษียณอายุราชการ 60 ปี ค่ะ ส่วนลูกจ้างประจำ ใช้คำว่า "ค่าจ้าง"  โดยทั้ง 3 คำ เป็นนิยามในความหมายของอัตราการจ้างให้กับประเภทของกลุ่มบุคลากรภาครัฐ ตามพระราชบัญญัติ ระเบียบและกฎหมายของภาครัฐค่ะ
  • สำหรับกองทุนก็เหมือนกัน ต้องคอยติดตามต่อไปค่ะ เพราะถ้าปัจจุบันรัฐยังทำระบบพนักงานราชการไม่คงที่แบบนี้ จะทำค่อนข้างยากค่ะ
  • การทำกองทุนขึ้นมา เช่น กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ หรือ กบข. ต้องขึ้นอยู่กับจำนวนของพนักงานราชการด้วย และเป็นกระบวนการที่ยากที่จะทำให้เพราะการเข้า - ออก การหมดสัญญาจ้าง ก็มีผลต่อการจัดตั้งกองทุนเหมือนกัน
  • เหตุที่ กบข. เขาทำได้ เพราะไม่ได้เป็นการจ้างตามสัญญาจ้าง คือ อัตรากำลังคงที่จะทราบจุดหมายว่าจะออกได้ก็ต่อเมื่อเกษียณอายุราชการ แต่พนักงานราชการเป็นไปตามระบบสัญญาจ้าง 4 ปี ต่อครั้งไงค่ะ...
  • สำหรับของ มรพส. จะดำเนินการทำกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้กับพนักงานมหาวิทยาลัย ก็คล้าย ๆ กับกองทุนของพนักงานราชการค่ะ  แต่มีข้อแม้ว่า ม. หักเงิน จนท. 3 % เพื่อสมทบเข้ากับกองทุน แล้ว ม. ก็ต้องออกให้กับ จนท. 3 % อีกเหมือนกัน
  • นี่เป็นการบริหารจัดการของภาครัฐแนวใหม่ โดยให้ส่วนราชการเป็นผู้ดำเนินการเองค่ะ พอครบอายุ 60 ปี แล้ว พนักงานมหาวิทยาลัยก็จะมีเงินก้อนหนึ่งในการดำเนินชีวิตหลังเกษียณอายุราชการ คล้าย ๆ กับ กบข.  แต่ตอนนี้ขึ้นอยู่กับแต่ละ ม.
  • ในภาพรวม ถ้าพนักงานมหาวิทยาลัยทั้งประเทศ สามารถรวมกลุ่มกันได้ น่าจะตั้งเป็นกองทุนที่เข็มแข้งได้ไม่แพ้กับระบบข้าราชการ คือ กบข.เลยค่ะ...แต่ขอบอกก่อน...งานช้างค่ะ...เราคิด คิดได้  แต่เวลาที่ปฏิบัตินี่สิค่ะ ค่อนข้างยาก ต้องขึ้นอยู่กับความสมัครใจของพนักงานมหาวิทยาลัยแต่ละคน + ผู้บริหารของแต่ละ ม. เพราะพวกหลัง อัตตาในตัวของแต่ละคนแตกต่างกันค่ะ...

สวัสดีครับ ท่าน ผอ. บุษยมาศ ผมได้อ่านบันทึกของท่าน เกี่ยวกับการบรรจุลูกจ้างประจำแล้ว จึงขอเรียนถามดังนี้ครับ

1. หมายความว่าจะมีการบรรจุลูกจ้างประจำใหม่แทนตำแหน่งเดิมใช่หรือไม่ครับ (ขออภัยทีผมตีความไม่ถูก)

2. ผมเคยได้เข้าประชุมกับสมาคมลูกจ้างฯ หลายครั้ง แต่ละครั้งจะมีเจ้าหน้าที่จากทางสมาคมฯ และวิทยากรจากกระทรวงฯ มาอธิบายว่าจะมีการปรับเปลี่ยนลูกจ้างประจำเป็นข้าราชการโดยการสอบภายใน  แต่ ณ เวลานี้ผมเห็นไม่มีความเคลื่อนไหวใด ๆ ทั้งสิ้น อยากทราบว่าโอกาสและความเป็นไปได้มีมากน้อยแค่ไหนครับ

3. ปัจจุบันผมได้ปฏิบัติหน้าที่ในด้านการสอน (16 ชั่วโมง/สัปดาห์) และเป็นครูที่ปรึษาชั้น ปฏิบัติงานด้านงบประมาณ แต่ดำรงตำแหน่งพนักงานพิมพ์ดีด ผมสามารถจะปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นได้หรือไม่  (เป็นข้าราชการ)  หรือเป็นลูกจ้างประจำเหมือนเดิม แต่เปลี่ยนตำแหน่งเป็นตำแหน่งอื่น

         ผมเชื่อว่ายังมีลูกจ้างประจำอีกหลายท่านที่ปฏิบัติหน้าที่เหมือนผม และตำแหน่งเดียวกัน  มันเหมือนครึ่งบกครึ่งน้ำ  จะเป็นครูก็ไม่ใช่

ถ้าท่านผอ. ได้เข้าประชุมกับผู้มีอำนาจ ผมขอฝากให้ท่านโปรดช่วยเสนอเรื่องการปรับเปลี่ยนลูกจ้างประจำเป็นข้าราชการด้วยนะครับ อาจจะเป็นการสอบภายในแบบ พนักงานราชการ หรืออัตราจ้างที่ทำงานมาครบ 3 ปีก็ได้   ลูกจ้างฯ ทุกคนย่อมมีความฝันที่จะเป็นข้าราชการเหมือนกัน แต่จะเป็นด้วยวิธีการใด เช่น   (1)เลื่อนไหลเอง    (2) สอบบรรจุเป็นข้าราชการ โดยทิ้งเงินเดือนและอายุราชการไว้ แล้วไปเริ่มต้นใหม่  ตัวผมเองก็รอโอกาสทั้ง 2 อย่าง แต่ก็ยังสอบไม่ติดซักที

           ท้ายนี้ ผมขอขอบคุณท่าน ผอ. เป็นอย่างสูงที่กรุณาสละเวลาอันมีค่าของท่านมาตอบคำถามให้ชาวลูกจ้างฯ ทั้งหลายได้เข้าใจ

ชัยยศ  มานะดี

 

 

 

ตอบ...คุณชัยยศ...

  • ถ้าพูดถึงหนังสือราชการ นั้น เป็นเกณฑ์ กติกาของการบรรจุเป็นลูกจ้างประจำค่ะ
  • สำหรับว่าจะบรรจุหรือไม่นั้น  เรื่องนี้ ผู้เขียนยังไม่ทราบเรื่องค่ะ
  • เพียงแต่ มีเกณฑ์ให้ปฏิบัติ เลยนำมาแจ้งให้ทราบค่ะ
  • ตอนนี้ ผู้เขียนยังไม่ทราบข่าวนะค่ะ  แต่ยังสงสัยอยู่เหมือนกันว่า ทำไมเมื่อปีที่แล้ว จึงไม่ให้อัตราที่ลูกจ้างประจำเกษียญ มาเป็นพนักงานราชการ สำหรับ มรภ.ค่ะ
  • การเปลี่ยนตำแหน่งเป็นข้าราชการนั้น  ก็ยังไม่ได้ข่าวเหมือนกันนะค่ะ
  • แต่ถ้าเปลี่ยนตำแหน่งให้สูงขึ้นนั้น ก็คงพอทำได้  แต่ลองศึกษาตำแหน่งที่จะปรับเปลี่ยนดูสิค่ะ ว่าจะไปตำแหน่งใดได้บ้าง ให้ตรงกับหน้าที่ของเราที่ทำด้วยนะค่ะ
  • ถ้ามีแววได้ตำแหน่งแล้ว ลองไปปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + จนท.ที่รับผิดชอบดูนะค่ะ ว่าจะทำได้หรือไม่ ถ้าได้ก็ให้ส่วนราชการดำเนินการให้เลยค่ะ
  • การเปลี่ยนเป็นข้าราชการ ไม่แน่ใจนะค่ะ
  • เพราะภาครัฐลดอัตราข้าราชการอยู่ ลดมาตั้งแต่ปี 2535 แล้ว  มา ณ ปัจจุบันก็ยังบอกว่าอัตราข้าราชการเกินภาระงานอยู่ค่ะ ก็เลยงง ว่า ทำไมได้ข่าวว่าให้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งไปเป็นข้าราชการ...
  • การที่พนักงานราชการเปลี่ยนเป็นข้าราชการนั้น ก็เป็นอัตราที่ ครม. อนุมัติให้ ไม่มากหรอกค่ะ เช่น จำนวนคนเกษียณ 100 คน อนุมัติเป็นข้าราชการ 20 คน เป็นพนักงานราชการ 80 คน ประมาณนี้ค่ะ เพราะในอนาคต รัฐต้องการให้ข้าราชการหมดไปค่ะ...บางครั้งก็ต้องใช้เวลาในการสลายค่ะ  จะฮวบฮาบทำทีเดียวก็คงไม่ได้ค่ะ...
  • เพราะการเป็นข้าราชการทุกวันนี้ ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย  มีอะไรลึก ๆ อีกมากมายค่ะ ที่รัฐก็ไม่ต้องการจะพูด 
  • เพียงเพื่อต้องการให้เกิดการพัฒนาให้มากขึ้นค่ะ...

ขอบคุณท่าน ผอ. บุษยมาศ มากครับ ที่กรุณาสละเวลามาให้ความรู้และความเข้าใจครับ

ตอบ...คุณชัยยศ...

  • ขอบคุณค่ะ
  • ยินดีให้คำแนะนำค่ะ...

อ่านอาจารย์ตอบคำถามของหลายๆท่านได้ความรู้อีกเยอะเลยครับ ที่โรงเรียนผมก็มีลูกจ้างชั่วคราว 2 ท่าน ในตำแหน่งนักการภารโรง คนหนึ่งสพป.ขก เขต 4 เป็นคนจ้าง แต่อีกคนหนึ่งโรงเรียนดำเนินการจัดจ้างเอง เนื่องจากนักการภารโรงคนก่อน

ท่านเข้าโครงการเออรี่ จึงไม่มีตำแหน่งมาให้ อยากให้ท่านเป็นลูกจ้างประจำเหมือนกัน เพราะคำว่า ประจำ ต้องดีกว่าชั่วคราวแน่นอนครับ

ขอบคุณอาจารย์มากครับ

สวัสดีค่ะ...อาจารย์ ว.วังชัย...

  • ปัจจุบันลูกจ้างประจำ ตามที่ทราบมานะค่ะว่า จะไม่มีการบรรจุใหม่กันแล้วค่ะ
  • แต่ทำไมแจ้งเรื่องหลักสูตร วิธีการสอบคัดเลือก ฯ มาให้ลูกจ้างประจำรับทราบก็ไม่ทราบเหมือนกันค่ะ
  • สำหรับอัตราที่เกษียณอายุราชการของลูกจ้างประจำ ถ้าเกษียณจะได้อัตราของพนักงานราชการกลับมาค่ะ
  • แต่สำหรับ มรภ.พิบูลสงคราม ปีที่แล้วลูกจ้างประจำเกษียณ 4 คน สำนักงบประมาณ ก็ให้เป็นเงินอุดหนุนมาแทน คือ ให้มาจ้างเป็นพนักงานมหาวิทยาลัยแทนค่ะ ไม่ได้ในอัตราของพนักงานราชการ
  • สำหรับช่วงนี้เป็นช่วงเปลี่ยนผ่านของการบริหารจัดการภาครัฐแนวใหม่  โดยมีการกระจายอำนาจให้ส่วนราชการค่ะ...
  • ทำให้คนทำงานในระบบราชการ งง ๆ กันค่ะ
  • ผู้เขียนก็จะพยายามนำสิ่งที่ผู้เขียนทราบมาแบ่งปันให้ทราบกันเท่าที่กำลังของผู้เขียนจะทำได้ก็แล้วกันค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ...

ขอเรียนถามเพราะไม่เข้าใจจริง ดิฉันทำงานมา 15 ปี ยังเป็นลูกจ้างชั่วคราวอยู่ คนมาทีหลังเขาได้ก่อน ทุกคนท่ทำงานยังสงสัยกันเรามาก่อนกลับไม่ได้ เรามันวาสนาน้อยกว่าเขา จะมีการบรรจุพนักงานราชการเหมือนแต่ก่อนไหมค่ะ ลูกจ้างประจำเกษียณน่าจะบรรจุลูกจ้างชั่วคราวแทนเป็นพนักงานราชการเพื่อเป็นการสร้างขวัญและกำลังใจ ตอนนี้ทำงานอยู่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง

เมื่อไหร่จะมีการบรรจุพนักงานราชการเหมือนเมื่อก่อนไม่ต้องสอบบรรจุให้เลย น่าจะระบุทำงาน 5-10 ปี น่าจะบรรจุเป็นพนักงานราชการได้ แบบนี้เราทำงานมากว่า 12 ปี เงินเดือนเท่าเก่าไม่มีปรับให้ คนมาทีหลังแซงเราหมดเลย หมดกำลังใจจริงๆๆๆ ความยุติธรรมอยู่ตรงไหน ประเมินก็ได้ท่ดีๆๆกว่าเพื่อน ประเมินเพื่ออยู่หรือไปแค่นี้เหรอค่ะ ประเทศไทย

เรียนถามลูกจ้างชั่วคราวมีสิทธิได้รับค่าครองชีพไหมค่ะ เพราะเงินเดือนไม่ขึ้นเท่าเก่าตลอด ทำไงค่ะถึงจะได้เหมือนหน่วยงานอื่นๆ เขา เพราะค่าครองชีพสูงมากในปัจจุบัน

ตอบ...คุณมุกดาหาร...

  • ลูกจ้างชั่วคราวไม่มีสิทธิได้รับค่าครองชีพค่ะ เพราะระเบียบจะได้เฉพาะข้าราชการ กับลูกจ้างประจำเท่านั้นค่ะ...

ตอบ...คุณนครพนม...

  • การเป็นพนักงานราชการได้นั้น ต้องมีการสอบบรรจุค่ะ เพราะต้องเป็นไปตามระเบียบของพนักงานราชการค่ะ...ถ้าสอบได้จึงจะได้รับการบรรจุ...เพราะการสอบบรรจุเป็นกระบวนการคัดเลือกบุคคลเข้าทำงานค่ะ...สำหรับการสอบก็อยู่ที่แต่ละส่วนราชการค่ะ...ไม่สามารถตอบแทนให้ได้ค่ะ...

เรียน อ.บุษยมาศ ที่เคารพ

ข้อความข้างล่างนี้พอจะเป็นไปได้ไหมครับท่านอาจารย์

สพฐ.หาลู่ยกลูกจ้างเป็นขรก.[5ก.ย.51]

เมื่อ ศุกร์, 05/09/2008 - 12:36 | แก้ไขล่าสุด ศุกร์, 05/09/2008 - 13:17 | By benz_narak9

สพฐ.หาลู่ยกลูกจ้างเป็นขรก.

คุณหญิงกษมา วรวรรณ ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำลังเร่งพัฒนาประสิทธิภาพและศักยภาพลูกจ้างประจำ สพฐ.ทั้งในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (สพท.) และสถานศึกษาทั่วประเทศ เพื่อเตรียมความพร้อมในการประเมินลูกจ้างประจำให้มีตำแหน่งสูงขึ้น ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2537 และเป็นการเตรียมความพร้อมในการยกระดับลูกจ้างที่มีคุณสมบัติและมีศักยภาพสูง เพื่อประเมินเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่นด้วย เลขาธิการ กพฐ.กล่าวต่อไปว่า ในการพัฒนาบุคลากรดังกล่าว จะมีหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพทั้งภาคทฤษฎี ที่เป็นการเพิ่มสมรรถนะหลัก โดยใช้หลักสูตรการสร้างสมรรถนะแกนกลาง และภาคปฏิบัติงาน ที่เป็นหลักสูตรวิชาสมรรถนะเฉพาะตำแหน่ง ซึ่งลูกจ้างประจำทุกคนต้องผ่านการเข้ารับการอบรมตามสถาบันฝีมือแรงงาน หรือสถาบันอื่นที่ทางราชการรับรองด้วยตนเอง โดยให้หน่วยงานสนับสนุนการอบรม และเมื่อได้ใบรับรองผลงานแล้วจึงจะมาประเมินเข้าสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้ ส่วนการยกระดับลูกจ้างที่มีคุณสมบัติและมีศักยภาพสูง เพื่อประเมินเข้าสู่ตำแหน่งข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่นนั้น สพฐ.กำลังให้ผู้ทรงคุณวุฒิหาความเป็นไปได้อยู่.

ตอบ...หมายเลข  2344020...

  • ผู้เขียนไม่ขอตอบดีกว่านะค่ะ...เพราะเท่าที่ทราบ...อัตรากำลังเกี่ยวกับข้าราชการ รัฐก็บอกว่าจะพยายามให้ลดลง....แต่ก็มีบางส่วนราชการบอกว่า เช่นที่คุณบอก...เลยปัจจุบันทำให้ข้าราชการส่วนมาก ก็งง ว่ารัฐจะเอาอย่างไรกันแน่ ว่าจะลดอัตราข้าราชการให้ลดลง เนื่องจากงบประมาณไม่เพียงพอ...ผู้เขียนก็เลยงง ว่า จะเอาแบบไหนกันแน่ ขนาดของมหาวิทยาลัย รัฐยังจัดสรรอัตรากำลังให้กับมหาวิทยาลัยเป็นเพียงแค่พนักงานมหาวิทยาลัย ไม่เคยได้ให้อัตรากำลังเป็นข้าราชการเลย แล้ว มติ ครม. เขาจะให้หรือค่ะ...เรียกว่า "ความเป็นไปได้น้อยค่ะ"...ถ้าไม่ใช่เรื่องอื่น...จึงไม่ขอพูดดีกว่า...การจะปรับเปลี่ยนนี้ ต้องขึ้นอยู่กับความเห็นชอบจากมติ ครม. ค่ะ...
  • แต่ถ้าสำหรับการปรับตำแหน่งลูกจ้างประจำให้สูงขึ้น นั้นอาจเป็นไปได้ เพราะไม่ได้เปลี่ยนประเภทเป็นข้าราชการ ยังคงเป็นลูกจ้างประจำเช่นเดิม เพียงแต่ลูกจ้างประจำจะโต หรือมีความก้าวหน้าในตำแหน่งหน้าที่ของตนเองตามเส้นทางความก้าวหน้าของลูกจ้างประจำเอง เช่นเดียวกับข้าราชการ ที่มีเส้นทางความก้าวหน้าของตนเองนั่นแหล่ะค่ะ...ผู้เขียนจึงไม่ขอตอบค่ะ ถ้าเป็นไปได้ก็ดีค่ะ...แต่ก็ไม่ต้องการให้หวังมากนัก เพราะดูสถานการณ์แล้ว...ก็เป็นอย่างที่บอกข้างต้นค่ะ...
  • แล้วยิ่งงบประมาณปีหน้านี้ จะมีการลดงบประมาณ แล้วจะได้อีกหรือค่ะ...
  • เอาเป็นว่า ถ้าได้ก็ดี ถ้าไม่ได้ ก็ขอให้ทำหน้าที่ของเราต่อไปก็แล้วกันนะค่ะ...เพราะเป็นฝันที่เลือนลางจริง ๆ ยังไม่เคยมีมาก่อนเลยในประวัติศาสตร์นะค่ะ...ถ้าเป็นไปได้อายุราชการก็จะมานับรวมกันไม่ได้อีก มันติดหลายประเด็นค่ะ...
  • พูดในฐานะที่เคยทำงานบุคคลมานานนะค่ะ เลยไม่เคยเห็นความเป็นไปได้หรอกค่ะ...แต่ในสมัยใหม่ อาจเป็นไปได้ หรือ เป็นไปไม่ได้ค่ะ...

 

   สวัสดีครับ ผมขอรบกวนถาม ผอ.ดังนี้ครับ ลูกจ้างประจำของกระทรวงศึกษาธิการ ใช้กฏระเบียบ ข้อบังคบ ของ ก.พ. หรือว่าใช้กฏระเบียบของ ก.คลัง ครับ     ลูกจ้างประจำ (นัการภารโรงกับยาม )ใช้กฏระเบียบเดียวกันหรือไม่ครับ เพราะที่โรงเรียนของผม ผอ.ท่านให้นักการฯมีวันหยุดประจำสัปดาห์แต่ยามไม่ให้มีวันหยุดเลย     การที่ ผอ.สั่งให้ยามอยู่ยามกลางคืนทุกคืน ๆ ละ 12 ชั่วโมง และไม่มีวันหยุดประจำสัปดาห์ เป็นคำสั่งที่เป็นธรรมหรือไม่ ชอบด้วยกฏหมายหรือไม่ และถุกต้องตามกฏระเบียบของ ก.พ. และกฏระเบียบของ ก.คลัง หรือไม่ครับ   และถ้าไม่เป็นธรรม ไม่ชอบด้วยกฏหมาย และผิดระเบียบของ ก.พ. หรือ ก.คลัง  ผมต้องทำอย่างไรเพื่อที่ผมจะได้มีวันหยุดประจำสัปดาห์  เพราะผมเคยพูดกับ ผอ. แล้วแต่ท่านไม่ยอมให้ผมได้มีวันหยุดประจำสัปดาห์.  ขอขอบคุณมากครับ

ตอบ...คุณเมธี...

  • ให้ดูว่าใช้ระเบียบลูกจ้างประจำของส่วนราชการ พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2537 หรือไม่ค่ะ...การเป็นนักการ ฯ กับยาม ก็ต้องดูที่มาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิมด้วยนะค่ะว่า...ยาม ทำหน้าที่ใด และนักการภารโรงทำหน้าที่ใดค่ะ...การที่จะเป็นธรรมหรือไม่นั้น ก็ให้ดูคำจำกัดความของ "ยาม" "นักการภารโรง" ค่ะ ถึงบอกว่าให้ดูมาตรฐานกำหนดตำแหน่งลูกจ้างประจำ (เดิม) ไงค่ะ เขาจะระบุไว้ค่ะลองสอบถามที่ เขตพื้นที่หรือ สพฐ. ดูนะค่ะ...
  • ถึงบอกให้ดูในมาตรฐานกำหนดตำแหน่งเดิม เขาจะระบุไว้ค่ะว่า ยามทำหน้าที่ใด นักการภารโรงทำหน้าที่ใดค่ะ...

พนักงานราชการเขาก็ได้ค่าครองชีพนะค่ะ สำนักงานต่างๆก็ได้ค่าครองชีพกัน ไม่เข้าใจเหมือนกันบางที่ได้บางท่ไม่ได้

ตอบ...คุณนครพนม...

  • ให้คุณสังเกตจากเงินค่าตอบแทนของพนักงานราชการในแต่ละคนว่าได้รับเท่าไร การให้ค่าครองชีพจะมีเกณฑ์การให้นะค่ะ
  • ถ้าค่าตอบแทนจะได้รับไม่เกิน 11,700 บาท โดยในแต่ละเดือนค่าครองชีพจะไม่เกิน 1,500 บาท
  • ให้สังเกตว่าค่าตอบแทนปัจจุบันได้รับเท่าไร ถ้าเกิน 11,700 บาทแล้วก็จะไม่ได้รับค่าครองชีพอีกนะค่ะ...

เรียนถามอาจารย์ผู้รู้ลูกจ้างประจำ ตำแหน้งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา เงินเดือนจะตันที่กี่หมื่นค่ะ สามารถโอนไปท่องคืการบริหารส่วนตำบลได้ไหมค่ะ

เรียนถามอาจารย์ผู้รู้ลูกจ้างประจำ ตำแหน้งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา เงินเดือนจะตันที่กี่หมื่นค่ะ สามารถโอนไปที่องค์การบริหารส่วนตำบลได้ไหมค่ะ

ตอบ...คุณ [IP: 202.143.172.194] ...

  • ตามที่คุณตำแหน่งพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบานั้น ถ้าปัจจุบันอยู่ในระดับ 1 กล่มบัญชีค่าจ้างของคุณจะอยู่ที่กลุ่ม 1 ซึ่งขั้นค่าจ้างขั้นต่ำ = 5,840 ขั้นสูง = 18,190 บาท ค่ะ ถ้าคุณปรับเปลี่ยนเป็นระดับ 2 หรือปัจจุบันอยู่ในระดับ 2 แล้ว ขั้นค่าจ้างขั้นต่ำ = 7,100 ขั้นสูง = 22,220 บาท
  • ผู้เขียนไม่ทราบว่าทำไมจึงจะโอนไปอยู่ที่ อบต. เสียละค่ะ และผู้เขียนก็ไม่แน่ใจนะค่ะ ว่าเมื่อโอนไป อบต.แล้ว ยังจะใช้ระเบียบของลูกจ้างประจำของส่วนราชการนี้หรือไม่ หรือต้องไปใช้กฎหมายของ อบต. ลองคิดดูให้ดี ๆ นะค่ะ...
  • ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของ อบต. ก่อนก็ได้ ว่าถ้าไปแล้วสภาพของเรายังเป็นลูกจ้างประจำของส่วนราชการอยู่หรือไม่ ใช้กฎหมายฉบับนี้อยู่อีกหรือไม่ค่ะ...

เรียน อาจารย์ที่เคารพ

ไม่ทราบว่าจ้างเหมาบริการมีสิทธิรับอัตราค่าจ้างเพิ่ม 5 % หรือไม่ครับ ตอนนี้ค่าครองชีพสูงมากครับ

ตอบ คุณ b

  • ให้สอบถามส่วนราชการของคุณค่ะ ว่าได้ทำเรื่องการของบประมาณไปเข้า ครม. หรือไม่ค่ะ...

ขอเรียนถามเกี่ยวกับ มาตรฐานกำหนดตำแหน่ง ยาม

สำหรับพนักงานจ้างทั่วไป (ต้องการมากจริงๆๆ )

ตอบ...คุณบุคลากร (น้ำตาล)...

  • มาตรฐานกำหนดตำแหน่งของยาม นั้น ลองสอบถามไปที่กรมบัญชีกลาง หรือสำนักงาน ก.พ. สิค่ะ เพราะในสมัยก่อนจะมีค่ะ
  • สำหรับปัจจุบันส่วนใหญ่ส่วนราชการจะใช้ระบบจ้างเหมาให้บริษัทเข้ามาดำเนินการแล้วค่ะ...

เรียน อาจารย์ที่เคารพ

ขอเรียนถามว่า ในเมื่อไม่มีการบรรจุลูกจ้างประจำ แต่ให้เป็นพนักงานราชการแทน แต่ทำไมสวัสดิการต่างๆไม่ดีขึ้นเลยคิดว่าอนาคตน่าจะดีกว่านี้หรือเปล่าครับเพราะปัจจุบันได้รับแต่เงินเดือนสวัสดิการต่างๆไม่มีเลย

ตอบ...คุณนครราชสีมา...

  • สิ่งแรกที่ต้องเข้าใจก่อน นั่นคือ "ระบบ" ระบบข้าราชการ ระบบลูกจ้างประจำ ระบบพนักงานราชการ ระบบพนักงานมหาวิทยาลัย เป็นต้นค่ะ
  • ในแต่ละระบบหรือแต่ละประเภทนั้น สิทธิ สวัสดิการต่าง ๆ ของการเป็นบุคลากรภาครัฐในแต่ละระบบหรือประเภทนั้น จะไม่เหมือนกันค่ะ ขึ้นอยู่ที่ว่าบุคลากรคนนั้นอยู่ในระบบหรือประเภทใด ก็จะได้รับสิทธิ สวัสดิการของระบบหรือประเภทนั้นค่ะ
  • ในปัจจุบันการที่อยู่ในระบบพนักงานราชการ จะไม่มีสวัสดิการต่าง ๆ มากนัก เพราะเกี่ยวเนื่องกับการทำสัญญาจ้าง 4 ปี ต่อ ครั้ง ไงค่ะ สำหรับเรื่องสวัสดิการกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ถ้าจะทำก็ขึ้นอยู่กับส่วนราชการที่สังกัดอยู่เป็นผู้จัดทำให้ ถ้าส่วนราชการใดไม่ทำให้พนักงานราชการท่านนั้นก็จะไม่มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพค่ะ...ส่วนสวัสดิการด้านอื่น ๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ก็ขึ้นอยู่กับประกันสังคมค่ะ
  • ต้องเข้าใจในเรื่องของระบบนะคะ จึงจะทำให้เข้าใจในเรื่องความแตกต่างระหว่างสวัสดิการ สิทธิประโยชน์อื่น ๆ ด้วยค่ะ...
  • การจะทำให้สวัสดิการต่าง ๆ เหมือนกัน ขึ้นอยู่กับนโยบายภาครัฐค่ะ ว่าจะดำเนินการให้อย่างไรต่อไปค่ะ...

1.ขอสอบถามครับว่ากรณีที่ผมเป็นลูกจ้างประจำ แล้วไปสอบบรรจุได้บัญเป็นข้าราชการได้แล้วทางกรมสามารถเรียกบรรจุเป็นข้าราชการได้เลยหรือไม่เหมือนกับข้าราชการที่สอบบัญชีเดียวกันแล้วทางกรมเรียกบรรจุโดยไม่ต้องเลียงลำดับได้เลย

2.ถ้าได้มีกรณีตัวอย่างไหมครับช่วยแนะนำด้วยครับ

ตอบ...คุณชัยพัทธ์...

  • คำว่า "ลูกจ้างประจำ" กับ "ข้าราชการ" เป็นบุคลากรที่ทำงานให้กับรัฐคนละประเภทกัน เนื่องจากสิทธิ ประโยชน์ สวัสดิการต่าง ๆ มีความแตกต่างกัน จึงทำให้เมื่อคุณสอบบรรจุเป็นข้าราชการได้แล้ว ไม่สามารถโอนตำแหน่งหรือเงินค่าจ้างตามตัวไปได้ค่ะ แต่ถ้าเป็นข้าราชการซึ่งเป็นประเภทเดียวกันก็สามารถทำได้ แต่ลูกจ้างประจำเมื่อบรรจุเป็นข้าราชการไม่สามารถโอนเวลาราชการหรือเงินค่าจ้างตามตัวไปได้ค่ะ
  • เมื่อไม่ได้แล้ว จำเป็นจะต้องลาออกจากการเป็นลูกจ้างประจำ เพื่อไปบรรจุเป็นข้าราชการ ซึ่งบางครั้งเงินเดือนที่บรรจุเป็นข้าราชการอาจน้อยกว่าเงินค่าจ้างของลูกจ้างประจำอีกค่ะ
  • สำหรับข้าราชการจะเรียกว่า "เงินเดือน" แต่ลูกจ้างประจำ จะเรียกว่า "ค่าจ้าง" ค่ะ สำหรับคำสองคำนี้ ก็เรียกไม่เหมือนกันแล้วค่ะ จึงไม่สามารถจะกระทำได้ค่ะ
  • ไม่มีกรณีตัวอย่างค่ะ เพราะเป็นไปไม่ได้ อีกอย่างลูกจ้างประจำจะมีหน้าที่สนับสนุนงานของข้าราชการ ซึ่งไม่ใช่บุคลากรภาครัฐประเภทเดียวกันไงค่ะ จึงไม่สามารถโอนเวลาราชการและเงินค่าจ้างไปเป็นข้าราชการได้...

ขอถามใหม่นะครับ

1.ผมเป็นลูกจ้างประจำกรมประชาสัมพันธ์ และสอบขึ้นบัญชีนักสื่อสารมวลชนของกรมประชาสัมพันธ์ได้ทางกรมสามารถเรียกบรรจุได้เลยหรือไม่โดยไม่ต้องเรียงลำัดับ

2.ผมทราบดีว่าไม่สามารถโอนเงินและและอายุราชการได้ ต้องลาออกอย่างเดียว แต่อยากทราบว่าทางกรมสามารถบรรจุได้เลยหรือไม่เท่านั้นครับ

3.ทาง ท้องถิ่น ต้องตัวผมไปรับราชการเพื่อช่วยในเรื่องการประชาสัมพันธ์กิจกรรมของท้องถิ่น และต้องการขอใช้บัญชีนี้เพื่อบรรจุผมเป็นราชการส่วนท้องถิ่่นสามารถขอระบุตัวเลยได้หรือไม่ ขอความกรุณาตอบด้วยครับ

ตอบ...คุณชัยพัทธ์...

1. ต้องรอเรียกบรรจุตามลำดับที่ที่สอบได้ค่ะ เพราะเป็นบุคลากรคนละประเภทกัน เนื่องจากใช้กฎหมายคนละฉบับกันค่ะ

2. เป็นไปตามข้อ 1 ค่ะ

3. ให้สอบถามไปที่ส่วนราชการที่ทำการเปิดสอบคุณไว้นะคะ...แต่ผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า การที่ส่วนท้องถิ่นต้องการคุณนั้นก็จริง แต่ก็ต้องเป็นไปตามหลักของการเรียกบรรจุข้าราชการ ต้องเรียกตามลำดับที่เช่นกันค่ะ...ยกเว้น ให้ส่วนท้องถิ่นประสานกับส่วนราชการที่คุณสอบได้ แล้วก็รอจนกว่าจะเรียกถึงอันดับที่คุณติด แล้วส่วนท้องถิ่นก็ทำหนังสือขอใช้บัญชีลำดับที่ของคุณไงค่ะ...

ตอบ...คุณชัยพัทธ์

1. ไม่สามารถเรียกบรรจุได้เลยหรอกค่ะ การเรียกบรรจุต้องเรียกตามลำดับเลขที่ที่ติดไว้ค่ะ เพราะใคร ๆ ก็รอเรียกบรรจุกันทั้งนั้น ในกรณีที่คน ๆ นั้น ก็สอบติดเช่นกันค่ะ ซึ่งเป็นกระบวนการของการสอบบรรจุเข้ารับราชการค่ะ

2. เป็นไปตามข้อ 1 ค่ะ

3. เช่นเดียวกันค่ะ...ไม่สามารถเรียกข้ามไปยังลำดับที่ของคุณได้ จนกว่าเมื่อถึงระยะใกล้ ๆ ที่จะถึงลำดับที่ของคุณแล้ว ส่วนท้องถิ่นประสานเป็นการภายในไปยังส่วนราชการที่คุณสอบติดแล้วแจ้งว่าต้องการคุณมาทำงาน ก็สามารถทำได้ หากส่วนราชการที่คุณเปิดสอบนั้น ยินยอมให้ส่วนท้องถิ่นใช้บัญชีที่คุณสอบติดค่ะ...

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท