สิ่งที่ควรรู้ก่อนเขียนเบี้ยเลี้ยง


การเขียนเบี้ยเลี้ยงจะไม่ยากอีกต่อไป

                           สิ่งที่ควรรู้เมื่อจะเขียนเบิกเบี้ยเลี้ยง

หลายๆคนคงเคยมีคำถามเกี่ยวกับการจะเขียนเบิกเบี้ยเลี้ยงและบางคนไม่รู้ว่าจะเขียนอย่างไรต่อไปนี้การเขียนเบิกเบี้ยเลี้ยงจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไปลองๆอ่านข้างล่างนี้ดูนะคะ

อ้างอิงตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. 2550

1 . อัตราค่าเบี้ยเลี้ยง  ในการเดินทาง

                            ข้าราชการ   

ระดับชำนาญงาน                               เบิกได้                    210         บาท
ระดับปฏิบัติการ                                 เบิกได้                    210         บาท
ระดับชำนาญการ                               เบิกได้                    210         บาท 
ระดับชำนาญการพิเศษ                        เบิกได้                    210         บาท  
ระดับเชี่ยวชาญ                                 เบิกได้                    240         บาท       

                            ลูกจ้างประจำ      เบิกได้                    180         บาท

          กรณีถ้าที่ประชุมมีอาหารเลี้ยง  ให้หักค่าอาหารมื้อละ  70  บาท  เช่น  จะต้องได้เบี้ยเลี้ยง 210 บาทในวันนั้นแต่ที่ประชุมเลี้ยงอาหารกลางวัน ก็จะเบิกเบี้ยเลี้ยงในวันนั้นได้แค่ 140 บาท  และถ้าที่ประชุมเลี้ยงอาหารเย็นอีกก็จะเบิกได้ 70 บาท เท่านั้น

 2. การนับเวลาในการเบิกค่าเบี้ยเลี้ยง 

 กรณีเดินทางที่มีการพักค้างคืน  ให้นับ 24 ชั่วโมงเป็น 1 วัน  ถ้าไม่ถึง 24  ชั่วโมง  หรือเกิน 24 ชั่วโมง ส่วนที่ไม่ถึงหรือเกิน ต้องนับให้ได้  12ชั่วโมง  ถึงจะถือว่าเป็น 1 วัน

กรณีไม่ได้พักค้างคืน  หากนับเวลาได้ไม่ถึง 24  ชั่วโมง แต่นับได้ 12 ชั่วโมง ให้ถือเป็น 1 วันแต่ถ้านับได้ไม่เกิน 12 ชั่วโมง แต่เกิน 6 ชั่วโมงให้นับเป็น  ครึ่งวัน

3. อัตราค่าเช่าที่พัก ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยการเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการพ.ศ. 2550

               ข้าราชการระดับ ชำนาญการพิเศษลงมาถ้า ไปราชการ     เบิกแบบเหมาจ่ายได้คืนละ  1,000  บาท

                ข้าราชการระดับ เชี่ยวชาญ  เบิกแบบเหมาจ่ายได้คืนละ  1,600  บาท

      **แต่ สสจ.ชัยนาทเราไปประชุมอบรมให้เบิกได้ตามใบเสร็จของโรงแรมนะคะ   **

4. ค่ายานพาหนะ  ถ้าไปรถโดยสารประจำทางสามารถ เบิกได้ตามที่จ่ายจริง แต่ถ้าขึ้นรถแท็กซี่  เบิกค่ารถแท็กซี่ได้เพียง 2 เที่ยว  คือ  ไป และกลับเท่านั้น     
        กรณี  นำรถยนต์ส่วนตัวไป  สามารถเบิกค่าน้ำมันรถได้  กิโลเมตรละ  4 บาท  โดยเวลากลับมาเขียนเบิกเบี้ยเลี้ยงให้เขียนว่า  “ค่าชดเชยยานพาหนส่วนตัวในการเดินทางไปราชการ ระยะทางไป-กลับ กี่...........กิโลเมตร กิโลเมตรละ 4 บาท  เป็นจำนวนเงิน ..............บาท แต่รถยนต์ส่วนตัวไม่สามารถเบิกค่าทางด่วนได้  นะคะ 
แต่ถ้าเป็นรถยนต์ราชการ  สามารถนำใบเสร็จค่าทางด่วนมาเบิกได้คะ ระเบียบเขียนไว้อย่างนี้ค่ะ

5.ค่าลงทะเบียนประชุม/อบรม  เบิกได้เท่าที่จ่ายจริงตามใบเสร็จของที่ประชุมออกให้

                                                                                         อารมย์

หมายเลขบันทึก: 405173เขียนเมื่อ 28 ตุลาคม 2010 15:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 8 ตุลาคม 2012 09:22 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

ขอบคุณ มาแล้วบริหาร แต่ยากจัง ให้คนอื่นเขียนให้ดีกว่า/boss

จำอะไรจำได้ จำเรื่องนี้ไม่ได้ซักที
ต้องถามพี่เล็กอยู่เรื่อยๆ ...ขอบคุณค่ะ/By Jan

ขอบคุณค่ะ แต่ว่าได้อ่านหลังจากเขียนไปแล้ว แถมเขียนผิดและงงมากมาย

ดีที่มีคนน่ารัก ๆ ช่วยตรวจให้ อิอิ/doc Nid

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท