อ.ผัก
อาจารย์ พท. ศุภฤกษ์ ภมรรัตนปัญญา

พิธีกรรม : ร่างทรง


พิธีกรรม : ร่างทรง

พิธีกรรม : ร่างทรง 

ความสำคัญ
ความเชื่อเป็นเจตคติที่สำคัญอย่างหนึ่งในความรู้สึกนึกคิด ของบุคคลในการที่จะยอมรับไม่ยอมรับในสิ่งหนึ่งสิ่งใด ความเชื่อเป็นเรื่องเฉพาะของแต่ละบุคคล ความเชื่อที่บุคคลยอมรับอาจเกิดจากพื้นฐานที่เหมือนกันหรือที่แตกต่างกัน แต่ที่คล้ายกันอยู่อย่างหนึ่งคือ ในศูนย์รวมของความเชื่อนั้นเกิดมาจากความเคารพและความศรัทธา แม้แต่ความเชื่อในเรื่องเดียวกันแต่บางครั้งยังมีรายละเอียดปลีกย่อยที่แตกต่างกันออกไป เกี่ยวกับความเชื่อที่พบเห็นได้ในจังหวัดกาฬสินธุ์ในเรื่อง "ร่างทรง" ยังแยกเป็นกลุ่ม ๆ เช่น พระพรหม (พรหมโลก, ปู่พรหม) ย่าโม หลวงเตี่ย กุมารทอง และองค์ประกอบอื่น ๆ เช่น หมอดูไพ่ยิปซี เป็นต้น

พิธีกรรม
จากความเชื่อที่ว่า "ร่างทรง" เป็นภาคหนึ่งของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และจุติมาเพื่อช่วยขจัดปัดเป่าบรรเทาทุกข์ทั้งปวง โดยเทพจะสื่อกับมนุษย์ได้โดยผ่าน "ร่างทรง" ดังนั้น จึงต้องจัดแต่งเครื่องเซ่นสรวงสังเวย เพื่อที่จะอัญเชิญ "เทพ" มาประทับร่างและบอกกล่าวชี้แนะช่วยเหลือขจัดปัญหาทุกข์ภัยต่าง ๆ ของคนผู้นั้นให้หมดไป ส่วนมากมักจะเน้นไปในทางให้การรักษาผู้เจ็บป่วย มักปรากฏว่าได้ผล จึงทำให้เป็นที่เลื่อมใสศรัทธาเพิ่มมากขึ้นโดยลำดับ
การปฏิบัติตนเมื่อจะเข้าพิธีกรรมจะต้องสะอาด (ร่างกาย) เงินค่าบูชา ๓๙ บาท แต่งพานดอกไม้ ๕ คู่ (ขันธ์ ๕) เมื่อมาพบ "ร่างทรง" นั้น เทพ อาจจะ "ลง" หรือ "ไม่ลง" ก็ได้ ดังนั้น ผู้มาเข้าพิธีก็อาจจะต้องเสี่ยงหาก "ไม่ลง" อาจหมายถึงถูกเชิญไปที่อื่นก่อน ช่วงเข้าพรรษา "ร่างทรง" จะต้องถือศีลกินเจ
ร่างทรงถือเป็นเพียงผู้รับปฏิบัติหน้าที่เป็นสื่อให้เท่านั้น จึงไม่มีสิทธิ์เรียกร้องเงินทองสิ่งของจากผู้เดือดร้อนแต่ในทางตรงกันข้าม เมื่อเดือดร้อนมาขอความช่วยเหลือแล้วประสบความสำเร็จแก้ปัญหาได้แล้วไม่กลับมาปฏิบัติหรือมาแก้ตามที่สัญญาไว้ก็ให้ตกเป็นหน้าที่ของ "ร่างทรง" ที่จะต้องแก้แทนให้โดยให้ถือเป็นการชดใช้หนี้ (กรรมเก่า) การปฏิบัติต่อ "เทพ" จะต้องปฏิบัติอย่างดียิ่งในทุกสถานการณ์ และนอกเหนือจากนี้ในแต่ละปีจะต้องมีการบวงสรวง เพื่ออัญเชิญให้เหล่าเทพทั้งหลายมาชุมนุมกัน เพื่อรับการเคารพสักการะของมวลสานุศิษย์ ซึ่งถือว่าเป็นที่สุดของพิธีกรรม (ความเชื่อ) ที่จะต้องแสดงและปฏิบัติอย่างถูกต้องเต็มใจ และบริสุทธิ์

สาระ

การประทับร่างทรงมีสาระสำคัญที่เป็นจุดเน้นคือ ให้มนุษย์ทุกคนละเว้นจากกิเลส สิ่งชั่วร้ายทั้งหลายเพื่อขจัดความสับสนวุ่นวาย ความเสื่อมของสังคมให้หมดไป เพื่อมนุษย์จะได้อยู่อย่างสงบสุข ให้ทุกคนทำความดีช่วยเหลือเกื้อกูลกัน ศรัทธาในศาสนาเพื่อความสุขในชีวิต

 

 โดย  ศุภฤกษ์  ภมรรัตนปัญญา

หมายเลขบันทึก: 404540เขียนเมื่อ 25 ตุลาคม 2010 20:08 น. ()แก้ไขเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2014 07:24 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะคุณหลวงฯ ยินดีด้วยค่ะที่หายป่วยแล้ว วันนี้ไปตรวจงานร่างทรงมารึคะ ;)

เคยไปพักกับครอบครัวลุงป้าที่ร้อยเอ็ด คืนนั้นป้าเตรียมพานดอกไม้ เสื้อผ้าอาภรณ์สวยงาม จะไปรำผีฟ้า แบบนี้ลักษณะเดียวกันไหมเอ่ย ;) คะ

ความเชื่อในเรื่องร่างทรงเพื่อขจัดทุกข์ภัยนับเป็น health belief อย่างหนึ่งนะคะ เราไม่ควรไปขัดหวางหรือต่อต้านหากความเชื่อนั้นไม่เป็นอันตราย HARMLESS BELIEFS และความเชื่อนั้นมีผลต่อสุขภาพในทางที่ดีขึ้น POSITIVE HEALTH OUTCOMES

เราต้องมีความเข้าใจเรื่อง Health Belief Model (HBM) นะคะ

ว่าเรื่องการทรงเจ้านี่ หลากหลายเหลือเกินครับ ว่าแต่ว่าคุณหลวงหายดีแล้วหรือครับ มีหลวงปู่หลวงพ่ออะไรก็แบ่งกันบ้างนะครับ

สวัสดีครับคุณปู

     ขอบคุณมากครับที่เป็นห่วง   การรำผีฟ้า  ก็เป็นอย่างหนึ่งของการทรงเจ้าครับ

สวัสดครับคุณนก

         ขอบคุณมากครับที่มาเเลกเปลียนเรียนรู้  ความเชื่อเป็นที่พึงทางใจครับ ยาใจนี้เป้นยาวิเศษที่สุดในโลกครับ 

Photo by :: ลายคราม

สวัสดีครับอาจารย์โสภณ

    ขอบคุณครับสำหรับความเป็นห่วง  สำหรับพระที่ห้อยคออยู่ตอนที่เกิดอุบัติเหตุนั้นก็คือ " สมเด็จวัดระฆัง ปี 2534 ครับ "

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท