เรื่องเล่าของชาวเรือนจำ


             การฝึกวิชาชีพเป็นภารกิจหนึ่งของกรมราชทัณฑ์ ที่จะช่วยให้ผู้ต้องขังสามารถไปประกอบอาชีพที่สุจริตภายหลังพ้นโทษ ไม่กระทำความผิดอีก ที่สำคัญคือวิชาชีพที่ฝึกให้ต้องให้ตรงกับความต้องการตลาดแรงงาน เพื่อให้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้จริง อีกทั้งจะต้องมีการพัฒนาฝีมือ ตลอดจนรูปแบบผลิตภัณฑ์จากฝีมือผู้ต้องขังให้เป็นที่ต้องการของตลาด กรมฯจึงมีนโยบายให้มีการแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานผู้ต้องขังขึ้น

        ข้าพเจ้าซึ่งเป็นหัวหน้างานฝึกวิชาชีพ ฝ่ายฝึกวิชาชีพพร้อมด้วยเพื่อนเจ้าพนักงาน รวม 3 คน จึงได้รับมอบหมาย ให้ควบคุมผู้ต้องขังจำนวน 5 คนเป็นชาย 3 คน หญิง 2 คน เดินทางไปแข่งขันทักษะฝีมือแรงงานผู้ต้องขัง ของเรือนจำและทัณฑสถานในเขต 8 ณ เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี เมื่อวันที่ 23-24 ส.ค. 2548  ที่ผ่านมา  ซึ่งมีการแข่งขัน 5 สาขาวิชาชีพ ได้แก่

1. สาขาวิชาชีพช่างไม้ เครื่องเรือน 2. สาขาวิชาชีพ ช่างก่ออิฐ ฉาบปูน 3. สาขาวิชาชีพ ช่างสี เครื่องเรือน 4. สาขาวิชาชีพ การทำอาหารและขนม 5. สาขาวิชาชีพ นวดแผนไทย

เมื่อทราบคำสั่ง ข้าพเจ้าในฐานะหัวหน้าชุดจึงเรียกประชุม ทีมงานเพื่อวางแผน เตรียมตัวเข้าแข่งขัน เมื่อศึกษารูปแบบและหลักเกณฑ์การแข่งขัน ในส่วนของผู้ต้องขังหญิง ที่แข่งขันการทำ อาหาร และนวดแผนไทย มีเจ้าพนักงานหญิงรับผิดชอบ อุปกรณ์ เครื่องมือ ต้องจัดเตรียมไปเอง มีเตาแก๊ส กระทะ จาน หม้อ ฯลฯ บางส่วนต้องจัดเตรียมเพิ่มเติม แต่ก็มีปัญหาตรงรูปแบบของช่างไม้และช่างปูน ที่เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานีจัดส่งมาให้ ขาดรายละเอียดของชิ้นงาน ที่จะทำการแข่งขันข้าพเจ้าได้ เรือนจำกลางสุราษฎร์ธานีขอรายละเอียดเพิ่มเติม แต่ก็ไม่ได้รายละเอียดอะไรมากนัก

ปรากฏว่า เมื่อ เหลือเวลาอีก 1 อาทิตย์ จะมีการแข่งขัน ข้าพเจ้าได้รับคำสั่งให้เข้าฝึกอบรม ที่สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน ภาค 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ในหลักสูตรการผลิตเครื่องงาน

เครื่องเรือนจากไม้จากยางพารา ข้าพเจ้ามีความกังวลใจเป็นอย่างมาก ถึงปัญหาการเตรียมตัวฝึกซ้อมของผู้ต้องขัง ซึ่งยัง ไม่สามารถเริ่มได้ เพราะรูปแบบยังไม่มีรายละเอียด

วันแรกของการเปิดอบรมฯ ผู้เข้าอบรมส่วนใหญ่ เป็นอาจารย์จากสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานทั่วภาคใต้ มีข้าพเจ้าคนเดียวที่ไปจากเรือนจำ จึงได้รับความสนใจเป็นพิเศษ จากอาจารย์ผู้สอน และคงเป็นความโชคดีที่ทราบว่าท่านจะเข้าร่วมเป็นกรรมการตัดสิน การแข่งขันทักษะ ฝีมือแรงงานผู้ต้องขัง ข้าพเจ้าได้บอกถึงปัญหา รูปแบบที่ยังขาดรายละเอียด อาจารย์จึงนำต้นแบบเดิมมาให้ข้าพเจ้าดู ปรากฏว่าทางเรือนจำกลางสุราษฎร์ธานี ถ่ายสำเนาแบบตกไปบางส่วน เมื่อได้เห็นของจริงทำแล้ว ทั้งงานไม้และงานปูน จึงประสานยังเรือนจำจังหวัดชุมพร ให้ผู้ต้องขังเริ่มทำการฝึกซ้อมตามแบบที่กำหนด

เมื่อถึงกำหนดก็ได้เดินทางไปนำผู้ต้องขังไปแข่งขัน ในวันแรกมีการแข่งขัน 2 สาขา ได้แก่ ช่างไม้ ช่างปูน ปรากฏว่า มีเรือนจำต่างๆ ส่งผู้ต้องขังเข้าแข่งขันถึง 12 เรือนจำ คงต้องลุ้นกันมากหน่อย ส่วนสาขาการทำอาหารและนวดแผนไทย มีเรือนจำส่งเข้าแข่งขันเพียง 3 เรือนจำ ต้องติดอันดับแน่นอน แต่หวังว่าคงไม่ได้อันดับ 3

เมื่อเริ่มแข่งขัน ข้าพเจ้าต้องเดินไป เดินมาให้กำลังพวกเราทั้งสองคน บอกเวลาและวิธีการตลอดถึง หาน้ำดื่ม ผ้าเย็นมาให้ จนทำให้กรรมการและเพื่อนเจ้าพนักงานเรือนจำ แซวว่า "น่าจะให้ข้าพเจ้าลงแข่งขันด้วย" ข้าพเจ้าจึงนั่งพักด้วยความเขิน แต่สักพักก็ลุกขึ้นเดินอีก ลุ้นด้วยความลืมตัว กลัวว่าจะแพ้

วันที่ 2 ของการแข่งขัน วันนี้มีการแข่งขันเพิ่ม 3 สาขา มีช่างสี ทำอาหาร และนวดแผนไทย ส่วนช่างไม้ ช่างปูนก็แข่งขันต่อจากเมื่อวาน วันนี้ข้าพเจ้าต้องเดินลุ้นมากกว่าเดิม เพราะมีการแข่งขันถึง 5 สาขา แต่ก็มีความสบายใจกว่าเมื่อวาน เพราะว่างานช่างไม้ และช่างปูนของพวกเรา เป็นรูปเป็นร่างกว่าของ เรือนจำอื่น ตอนพักเที่ยง ข้าพเจ้าทานอาหารร่วมโต๊ะกับคณะกรรมการ ท่านแซวว่า เรือนจำชุมพร ทำเหมือนกับมืออาชีพเลยนะ

เมื่อหมดเวลาการแข่งขัน คณะกรรมการเข้าตรวจชิ้นงาน ของแต่ละคน ข้าพเจ้าสังเกตเห็นว่า กรรมการจะเข้าตรวจชิ้นงาน ของเรือนจำจังหวัดชุมพรมากเป็นพิเศษทำให้คิดว่าพวกเรามีสิทธิลุ้นอันดับ 1,2,3 แน่นอน

ถึงเวลาประกาศการผลแข่งขัน ปรากฏว่าเรือนจำจังหวัดชุมพร สามารถพิชิตรางวัลได้ครบทุกสาขาวิชาชีพ มีรายการดังนี้

   - สาขา ช่างไม้เครื่องเรือน             ได้อันดับที่ 2

  - สาขา ช่างสีเครื่องเรือน                        "      1

 - สาขา ช่างก่ออิฐฉาบปูน                      "      1

 - สาขา ทำอาหารและขนม                    "       2

  - สาขา นวดแผนไทย                             "      2

          เป็นผลงานที่พวกเราภูมิใจกันอย่างมาก ที่พวกเราสามารถพิชิตรางวัลได้ถึง 5 สาขา ซึ่งเกิดจากการร่วมมือ ร่วมใจฝึกฝน ฝึกซ้อม มีขวัญ กำลังใจที่ดี ของผู้ต้องขัง และเจ้าพนักงานเรือนจำทุกๆท่าน หวังว่าแรงงานจากฝีมือผู้ต้องขังเรือนจำจังหวัดชุมพรคงจะเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงานต่อไป

เล่าโดย นายไมตรี บดิกาญจน์  เจ้าหน้าที่บริหารงานอบรมและฝึกวิชาชีพ 6 และผู้ร่วมทีม  นายสิทธิโชค วิทยายงค์ นางนพพร ธามณี

คำสำคัญ (Tags): #uncategorized
หมายเลขบันทึก: 4034เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2005 09:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 15:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงานจังหวัดชุมพร

-  ขอแสดงความยินดีด้วยครับกับความสำเร็จครั้งนี้

 

ขอแสดงความยินดีครับ    เล่าต่อได้ไหมครับว่ามีการฝึกฝีมืออย่างไรจึงแข่งขันได้

ขอแสดงความยินดีด้วยนะค่ะ เล่าได้เห็นภาพเลยค่ะ

เก่งจริงๆเลยน่ะค่ะ ขอให้เรือนจำฝึกนักโทษที่ก้าวผิดไปก้าวหนึ่งจนกรายเป็นนักโทษที่ดีในสังคม สู้ๆๆๆๆ

ผมรักพ่อโหน่งมากคับ

วุฒิ ละแมวิท

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท