ห้องสมุด 3D


บรรณารักษ์ห้องสมุดดี หมายถึง ครูบรรณารักษ์ ที่คอยดูแลห้องสมุดต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานห้องสมุด สพฐ.จะจัดให้มีการอบรมพัฒนา ครูบรรณารักษ์ห้องสมุด ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และให้ครูบรรณารักษ์สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น

ย้อนรอย..เมื่อปี 2552 กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดแผนยุทธศาสตร์ตามนโยบายสถานศึกษา 3 ดี (3 D) ซึ่งมีกรอบแนวคิดเพื่อให้ การจัดการศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน ในด้านการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมที่จะส่งเสริมสนับสนุน และพัฒนาผู้เรียนอย่างเหมาะสม โดยการประสาน ความร่วมมือกับทุกภาคส่วนจัดกิจกรรมที่มุ่งเน้นภารกิจทั้ง 3 ด้าน (3 D) ได้แก่ ด้านประชาธิปไตย (Democracy – D 1) ด้านคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย (Decency – D 2) และด้านภูมิคุ้มกันภัย จากยาเสพติด (Drug – Free – D 3) ซึ่ง

ด้วยเหตุนี้ดิฉันจึงได้รู้จัก สถานศึกษา 3 ดี มาก่อน และนำไปใช้ในการตอบคำถามในการสอบรรจุพนักงานเทศบาลเมืองลำพูน ซึ่งกรรมการได้ให้จับฉลากคำถามขึ้นมา และได้ให้ยกตัวอย่างว่าจะพัฒนางานด้านนักวิชาการศึกษาอย่างไร จึงได้นำนโยบายสถานศึกษา 3 ดี มาใชตอบคำถามทำให้ดิฉันสอบได้ที่ 22 จาก สามพันกว่าคน

และไม่นานจากนั้น นโยบายห้องสมุด 3 ดีก็ได้ถูกกำหนดขึ้น โดยเป็นที่รู้จักของสำนักงานกศน.ก่อน เพราะการจัดการศึกษาตลอดชีวิต ในอนาคตจะต้องปรับปรุง และพัฒนาไปตามทิศทางของการปฏิรูปการศึกษารอบ 2 และก็ทำให้ดิฉันได้รู้จัก ห้องสมุด 3 ดี มากขึ้นว่ามีอะไรบ้าง? ห้องสมุดโรงเรียนที่ดิฉันทำงานอยู่ สามารถเป็นห้องสมุด 3 ดีได้หรือไม่ ? ก็ต้องมาดูว่ามาตรฐานของ 3 ดี มีอะไรบ้าง

ดีที่ 1 : หนังสือ สื่อสิ่งพิมพ์และสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ดี หมายถึง ในห้องสมุดยุคใหม่นี้ จะต้องมีหนังสือจำนวนมากและดี ๆ ให้เด็กอ่าน รวมถึง สื่ออิเล็กทรอนิกส์ สื่อมัลติมีเดีย ดี ๆ ให้เด็กได้ศึกษา ค้นคว้า และดู

ดีที่ 2 : บรรยากาศ และกิจกรรมส่งเสริมการอ่านภายในห้องสมุด ดี คือ ลักษณะภายในห้องสมุดต้องดูสะอาด สว่างไสว สดใส งามตา บรรยากาศต้องชวนให้นักเรียนเข้าห้องสมุด และต้องมี อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกในห้องสมุดให้ครบครัน เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์สำหรับการสืบค้นทางอินเทอร์เน็ต เครื่องถ่ายเอกสาร นอกจากนี้ ครูต้องรู้จัก การตบแต่งสิ่งแวดล้อมภายในห้องสมุดให้ดูดี มีการจัดวางหนังสือให้ชวนเด็กหยิบอ่าน อากาศภายในต้องเย็นสบาย กิจกรรมส่งเสริมการอ่านต้องจัดให้มีบ่อย ๆ และหากต้องทาสีใหม่ให้ห้องสมุดดูสวยงาม โรงเรียนก็ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามนโยบาย

ดีที่ 3 : บรรณารักษ์ห้องสมุดดี หมายถึง ครูบรรณารักษ์ ที่คอยดูแลห้องสมุดต้องมีความรู้ความเข้าใจในงานห้องสมุด สพฐ.จะจัดให้มีการอบรมพัฒนา ครูบรรณารักษ์ห้องสมุด ให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และให้ครูบรรณารักษ์สามารถจัดกิจกรรมส่งเสริมการอ่านให้เด็กมีนิสัยรักการอ่านเพิ่มขึ้น

ด้วยเหตุนี้เองทำให้ทางโรงเรียนได้รับงบ SP2 รอบแรก (ไทยเข้มแข็ง) มาใช้ในการจัดซื้อทรัพยากรสารสนเทศเข้าห้องสมุด

และเป็นที่หนักใจของดิฉันยิ่ง เพราะไม่รู้ว่า ขณะนี้ห้องสมุดที่ปรับปรุงกับมือจะเข้าข่ายมาตรฐาน 3 ดีหรือไม่ เพราะมีแต่ดีที่ 3 เท่านั้นที่ตรงประเด็นมากที่สุด

ขอเล่าถึงกิจกรรมส่งเสริมการอ่าน ทางโรงเรียนของดิฉันก็จัดให้มีประจำ มีการรายงานผลทุกสิ้นปีการศึกษา ได้รับรางวัลระดับเขตมาแล้ว แต่ก็มาถึงวันที่คณะกรรมการจากสบย.เข้ามาประเมิน ทางโรงเรียนของดิฉันเพิ่งทราบเรื่องตอนเช้าก่อนคณะกรรมการจะมาถึง ผู้บริหารระดับสูงก็ไปราชการ จึงทำให้การนำเสนอผลงานทางด้านเอกสารยังขาดอีกเยอะ คณะกรรมการจึงได้แนะนำในเรื่องเอกสารว่ายังขาดขาดการประเมินไว้ท้ายรายงาน จึงควรนำไปปรับปรุงด้วย   แต่ถือว่าโชคดีที่สัปดาห์นั้นทางรร.ของพวกเราได้จัดกิจกรรมสัปดาห์ห้องสมุด และสัปดาห์ภาษาไทยขึ้นมาพอดี ได้งบมา 30,000 บาท จากรางวัลห้องสมุดส่งเสริมการอ่านประจำปี 2552 จึงต้องขอขอบคุณทางทีมงานของห้องสมุด คุณครูและบุคลากรทั้งหมด ตลอดจนนักเรียนที่น่ารักทุกคนด้วย ที่ทำให้การจัดกิจกรรมส่งเสริมนิสัยรักการอ่านในครั้งนี้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี

ณ ปัจจุบันนี้ โรงเรียนของดิฉันกำลังเตรียมประเมินโรงเรียนต้นแบบในฝัน (รร.ดีประจำตำบล) ก็คงจะได้กลับไปวางแผนใหม่ เรื่องบรรยากาศ แต่อยากจะขอความร่วมมือนักเรียนที่เข้าใช้บริการให้รักษาดูแลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดให้ดีที่สุด

หมายเลขบันทึก: 402868เขียนเมื่อ 16 ตุลาคม 2010 00:27 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 20:03 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ทำไมทำมากลัวได้ 4 ดี ค่ะ ห่าห่า

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท