หลักธรรมาภิบาล...ในองค์กรมีแล้วหรือยัง?...


K-Sharing Day ครั้งที่ 7 เรื่อง หลักธรรมาภิบาล(Good Governance) สถาบันมะเร็งแห่งชาติ 28 ก.ย.2553

           หลักธรรมาภิบาล(Good Governance) นั้นเป็นหลักการบริหารบ้านเมืองที่ดี ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลาย ช่วยสร้างสรรค์และส่งเสริมให้องค์กรมีศักยภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น การโปร่งใส หลักการมีส่วนร่วม เป้าหมายในการใช้หลักธรรมาภิบาลเพื่อประโยชน์สุขของคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมด ซึ่งหลักธรรมภิบาลนั้นมีมาตั้งแต่สมัยโบราณ ในสมัยพระพุทธเจ้า พระเจ้าแผ่นดินก็ใช้ทศพิศราชธรรม และเมื่อพระเจ้าอยู่หัวขึ้นครองราชย์พระองค์ตรัสว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์ความสุขส่วนรวม”

 

 

         การเปิดประเด็น K-Sharing ด้วยการให้ทุกคนมีส่วนร่วม โดยการช่วยกันแชร์ความคิดเห็น เริ่มจากความหมายของธรรมาภิบาลด้วยการส่งต่อคำถามไปคนข้างๆและเนื่องจากการจัดห้องเป็นรูปตัวยูซึ่งเอื้อประโยชน์อย่างมากในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน  คำตอบซึ่งก็มีหลากหลายซึ่งนพ.อาคมได้สรุปให้คำจำกัดความของหลักธรรมาภิบาลไว้ว่า

         หลักธรรมาภิบาล(Good Governance) คือการปกครอง การบริหาร การจัดการ การควบคุมดูแลกิจการต่างๆให้เป็นไปตามครรลองและการบริหารจัดการที่ดี ซึ่งสามารถนำไปใช้ได้ทั้งภาครัฐและเอกชน ครอบคลุมถึงศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรมและความถูกต้องชอบธรรมทั้งปวง ซึ่งวิญญูชนพึงมีพึงปฏิบัติ เช่นความโปร่งใส ตรวจสอบได้ การปราศจากการแทรกแซงจากองค์กรภายนอก

          หลักการพื้นฐานของการสร้างธรรมาภิบาล  สำนักงานกพ.ได้กำหนดไว้โดยได้เสนอเป็นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าหลักธรรมาภิบาลนั้นประกอบด้วย 6 หลักการคือ

1. หลักคุณธรรม  ประกอบด้วย 1) ปลอดจากการทุจริต 2) ปลอดจากการทำผิดวินัย 3) ปลอดจากการทำผิดมาตรฐานวิชาชีพ นิยามจรรยาวิชาชีพ 4) ความเป็นกลางของผู้บริหาร

2. หลักนิติธรรมประกอบด้วย 1) หลักการแบ่งแยกอำนาจ 2) หลักการคุ้มครองสิทธิ์และเสรีภาพของประชาชนและฝ่ายการปกครอง 4) หลักความชอบธรรมด้วยกฎหมายในทางเนื้อหา 5) หลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษา 6) หลักไม่มีความผิดและไม่มีโทษโดยไม่มีกฎหมาย 7) หลักความเป็นกฎหมายสูงสุดของรํฐธรรมนูญ

3. หลักความโปร่งใส  ประกอบด้วย 1) ด้านโครงสร้าง 2) ด้านการให้คุณ 3) การร่วมตัดสินใจ 4) การพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม

4. หลักการมีส่วนร่วม  ประกอบด้วย 1) การให้ข้อมูล 2) การรับฟังความคิดเห็น 3) การร่วมตัดสินใจ 4) การพัฒนาศักยภาพในการมีส่วนร่วม

5. หลักการสำนึกความรับผิดชอบ  ประกอบด้วย 1) การบริการอย่างมีประสิทธิภาพ 2) การมีระบบติดตามประเมินผล 3) การมีเป้าหมายที่ชัดเจน 4) การจัดการกับผู้ไม่มีผลงาน 5) การมีการสร้างความเป็นเจ้าของร่วมกัน 6) การมีแผนสำรอง

6. หลักความคุ้มค่า  ประกอบด้วยการบริหารจัดการและการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดให้เกิดประโยชน์คุ้มค่า เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ส่วนรวม

 

 

บรรยากาศการร่วมแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างกัน

           เมื่อทุกคนได้เข้าใจความหมายหลายแง่มุมของธรรมาภิบาลแล้วนพ.อาคมจึงให้แชร์ความคิดเห็นของแต่ละคนว่าในธรรมาภิบาล 6 ข้อนั้นข้อไหน?สำคัญที่สุดเพราะอะไร? ซึ่งบรรยากาศการแลกเปลี่ยนความรู้บ่ายนี้ทำให้เกิดการตื่นตัวของผู้เข้าร่วมและทุกคนมีโอกาสได้แสดงความคิดเห็นและเป็นการรวมกันของสองรุ่นที่ไปอบรมมาร่วมกันดำเนินการ ทำให้บรรยากาศคึกคักและรู้สึกสนุกสนาน

         วิทยากรก็ตั้งใจมากในการที่จะทำให้การนำความรู้เรื่องธรรมาภิบาลมาวิเคราะห์เปรียบเทียบกับองค์กรของเราว่า มีอะไรและยังขาดตรงไหน?บ้างที่ต้องการเพิ่มเติม ซึ่งคำตอบที่ได้ในแต่ละคนนั้นก็มีหลากหลายและความสำคัญนั้นขึ้นอยู่กับว่าองค์ขาดอะไร แล้วนำจุดบกพร่องมาแก้ไข ก็จะได้รับประโยชน์สูงสุด

         มีคำถามว่าในชีวิตนี้มีไหม?ที่ปลอดจากคนทำผิดวินัย ทั้งๆที่มีกฎระเบียบชัดเจน ซึ่งให้แต่ละคนลองวิเคราะห์ดู  หลายความคิดเห็นบอกว่าไม่มีครบบริบูรณ์ทุกข้อในหลักการสำนึกรับผิดชอบ

คุณศิริลักษณ์ กล่าวถึงเรื่องสิทธิบัตรของคนไข้ ถูกมองว่าสองมาตรฐาน เนื่องจากระบบอุปภัมถ์

คุณพิกุล  เน้นว่าหลักความรับผิดชอบมาเหนือว่าหน้าที่ เช่นผู้ป่วยที่มาจากต่างจังหวัดมารักษารู้สึกหว้าเหว่ ไม่มีใครน่าสงสารมากว่าที่มีพักพวก(ระบบอุปภัมถ์) ซึ่งเราต้องควรช่วยเหลือให้เต็มที่ทำเกินหน้าที่เป็นความรับผิดชอบที่ควรทำ

คุณศิริพรรณ  ถามว่าสุขมากกว่าทุกข์หรือทุกข์มากกว่าสุขในการทำงาน

นพ.อาคม  หลีกเลี่ยงสังคมอุปภัมถ์ไม่ได้ ความเท่าเทียมพื้นฐานเท่ากันไหม? สังคมอุปภัมถ์บ้านเราต่างจากต่างชาติ ซึ่งสังคมไทยอุปภัมถ์จนเกินขอบเขตกฎกติกา แต่ฝรั่งเพียงช่วยให้ขั้นตอนเร็วขึ้น แต่ก็ยังมีกฎกติกาอยู่ ซึ่งมันเป็นเรื่องแนวความคิดและความเชื่อ เชื่ออย่างไรก็คิดอย่างนั้น 

           ในองค์กรเรานั้นมีธรรมาภิบาล แต่มีไม่สมบูรณ์ขึ้นอยู่กับวัฒนธรรมองค์กร ถ้ารู้จักมาช่วยกันมาเติมเต็ม หลักการเป็นเพียงเครื่องมือ ถ้าอะไรดีอยู่แล้วก็มาช่วยกันในจุดบกพร่อง

คุณพิกุล  ถ้าผู้นำนั้นมีเมตตาต่อลูกน้องแล้วช่วยแก้ปัญหาได้เยอะ คนเก่งซึ่งทุ่มเทช่วยงานมีเยอะ มองเห็นคนเป็นคน ลูกน้องก็ทำงานทุ่มสุดตัวอยากทำงานให้มีความสุข ถึงแม้ว่าจะทำงานแล้วไม่รวย

คุณศิริพรรณ  กล่าวว่าเดิมก็มีอยู่แล้ว มารื้อฟื้นธรรมาภิบาลในใจ ถ้าทำงานไม่เต็มร้อยก็ช่วยกันสะกิดให้มาทำงานร่วมกัน

 

 

สิ่งที่ได้จากการแบ่งปันและแลกเปลี่ยนเรียนรู้

  1. การสร้างบรรยากาศเชิงรุกคือการส่งต่อความคิดเห็นไปรอบๆห้อง แล้วมาสรุปรวมความคิด ทำให้ได้เห็นภาพของมุมมองความคิดที่หลากหลาย อีกทั้งทำให้เกิดเกลียวความรู้ขึ้นขณะนั้นๆ

  2. การที่ผู้เข้าร่วมประชุมมาจากหลายหน่วยงาน ทำให้ทราบถึงจุดบกพร่องในมุมมองต่างๆในเรื่องธรรมาภิบาลในองค์กรที่เกิดจากการยอมรับฟังความคิดเห็นของสมาชิกทุกคน นำมาซึ่งการปรับปรุงแก้ไขในอนาคต

  3. สมาชิกส่วนมากจะให้ความสำคัญถึงหลักคุณธรรม ซึ่งหลายคนให้ความเห็นว่าถ้ามีคุณธรรมแล้วจะมีการยึดมั่นความถูกต้องดีงาม สำนึกในหน้าที่ของตนเอง มีความซื่อสัตย์สุจริต จริงใจ ขยัน อดทน มีระเบียบวินัยและเคารพในสิทธิ์ของผู้อื่น จะทำให้องค์กรเราอยู่ร่วมกันอย่างเป็นสุข

  4. บรรยากาศการแลกเปลี่ยนเรียนรู้แบบมองเห็นหน้ากันหมดทุกคนหรือตัวยู มีส่วนทำให้องค์ความรู้มีการเปลี่ยนถ่าย หมุนเวียน แลกเปลี่ยน เรียนรู้ร่วมกัน โดยที่ทุกคนได้มีโอกาสแสดงความคิดเห็นร่วกันได้ตลอดเวลา เป็นการสื่อสารสองทางซึ่งดีกว่าการจัดโต๊ะแบบห้องเรียน ซึ่งเป็นการสื่อสารทางเดียวเป็นส่วนมาก ดังนั้นการคำนึงถึงสิ่งนี้ มีส่วนสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนเรียนรู้อย่างมาก

        การเรียนรู้เรื่องราวของหลักธรรมาภิบาลนั้นจะเกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ถ้าคนในองค์กรช่วยกันนำมาคิดวิเคราะห์หาจุดบกพร่องที่มีอยู่และนำมาแก้ไข เพื่อประโยชน์ของส่วนรวมเป็นที่ตั้ง เมื่อหันมามององค์กรของท่าน ......ท่านคิดว่าในองค์กรท่านมีธรรมาภิบาลแล้วหรือยัง?....

หมายเลขบันทึก: 402821เขียนเมื่อ 15 ตุลาคม 2010 17:20 น. ()แก้ไขเมื่อ 24 มิถุนายน 2012 02:43 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท