ครั้งที่ 7 “สมมติฐาน”


ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง

     สมมติฐาน (Hypothesis) เป็นสิ่งสำคัญมากในการวิจัย เพราะวิจัยที่ขาดสมมติฐานก็เหมือนกับการปิดตาตีหม้อ ขาดทิศทาง มืดมิด มองไม่เห็นอะไรเลย เนื่องจากสมมติฐานเปรียบเสมือนเข็มทิศชี้นำทางให้เราสามารถค้นหาคำตอบได้ในที่สุด

    สมมติฐานเป็นการเดาคำตอบอย่างมีเหตุผล เป็นการใช้สติปัญญาอย่างรอบคอบ เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ธรรมชาติ เพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบการทดลองเพื่อทดสอบสมมติฐานต่อไป

ชนิดของสมมติฐาน  สมมติฐานมี 2 ชนิด คือ สมมติฐานการวิจัย และ สมมติฐานทางสถิติ

1) สมมติฐานการวิจัย (Research hypothesis) เป็นข้อความที่ระบุหรือแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร มีการคาดเดาผลลัพธ์ที่จะเกิดขึ้นจากการวิจัย ผลการวิจัยอาจแตกต่างหรือไม่แตกต่างกันก็ได้

ตัวอย่างที่ 1. นักเรียนที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยการค้นคว้าและทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบฟังบรรยายอย่างเดียว

     >>>  ตัวแปรต้น           การเรียนวิทยาศาสตร์โดยการค้นคว้าและทดลอง กับ   การเรียนวิทยาศาสตร์แบบฟังบรรยาย        

     >>>  ตัวแปรตาม          ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

ตัวอย่างที่ 2. เด็กในชุมชนแออัดมีเชาว์ปัญญาโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเด็กทั่วไป       

     >>>  ตัวแปรต้น           เด็กในชุมชนแออัด กับ เด็กทั่วไป        

     >>>  ตัวแปรตาม          เชาวน์ปัญญา         

ตัวอย่างที่ 3. นักเรียนหญิงต่อนักเรียนชายมีความรักชาติเหมือนกัน

     >>>  ตัวแปรต้น           นักเรียนชาย กับ นักเรียนหญิง 

     >>>  ตัวแปรตาม          ความรักชาติ       

ตัวอย่างที่ 4. เด็กในชุมชนแออัดมีเชาว์ปัญญาโดยเฉลี่ยเท่ากับเด็กทั่วไป       

     >>>  ตัวแปรต้น           เด็กในชุมชนแออัด กับ เด็กทั่วไป        

     >>>  ตัวแปรตาม          เชาวน์ปัญญา         

หมายเหตุ    

              *  ตัวอย่างที่ 1 และ 2      เป็นสมมติฐานการวิจัย “แบบมีทิศทาง”

              *  ตัวอย่างที่ 3 และ 4      เป็นสมมติฐานการวิจัย “แบบไม่มีทิศทาง”

ข้อสังเกต    

              >> สมมติฐานการวิจัยแบบมีทิศทาง (Directional) มักจะพบคำว่า...มากกว่า...น้อยกว่า...สูงกว่า...ต่ำกว่า เป็นต้น

เช่น   ครูประจำการมีความท้อถอยมากกว่าครูฝึกสอน , ผู้นับถือศาสนาอื่นละเมิดศีลน้อยกว่าผู้นับถือศาสนาพุทธ , ตัวอย่างที่ 1. นักเรียนที่เรียนวิทยาศาสตร์โดยการค้นคว้าและทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่านักเรียนที่เรียนแบบฟังบรรยายอย่างเดียว , ตัวอย่างที่ 2. เด็กในชุมชนแออัดมีเชาว์ปัญญาโดยเฉลี่ยต่ำกว่าเด็กทั่วไป        

              >> สมมติฐานการวิจัยแบบไม่มีทิศทาง (Nondirectional) มักจะพบคำว่า...สัมพันธ์กัน...เท่ากัน...เหมือนกัน...ไม่แตกต่างกัน  เป็นต้น

เช่น   สติปัญญาของลูกกับพ่อมีความสัมพันธ์กัน , นิสิตชายและนิสิตหญิงไปใช้สิทธิลงคะแนนเลือกตั้งเท่ากัน , ตัวอย่างที่ 3. นักเรียนหญิงต่อนักเรียนชายมีความรักชาติเหมือนกัน , ตัวอย่างที่ 4. เด็กในชุมชนแออัดมีเชาว์ปัญญาโดยเฉลี่ยเท่ากับเด็กทั่วไป       

2) สมมติฐานทางสถิติ (Statistical hypothesis) เป็นการเขียนสมมติฐานการวิจัยให้อยู่ในรูปสัญลักษณ์ สมมติฐานทางสถิติ มี 2 ประเภท คือ

     2.1  สมมติฐานว่าง (Null hypothesis) สัญลักษณ์ คือ H0 โดยมากแล้วจะเขียนเป็นค่ากลางเสมอ    มักเขียนด้วยเครื่องหมาย = , ≤ , ≥

เช่น 

     H  :   μ  =  100

     H  :   μA - μ=  0  หรือ อาจเขียนอีกแบบหนึ่งได้ว่า  H  :   μ= μB   

     H  :   μ1  =  μ2

     H  :   σ1  =  σ2

     H  :   μ1  ≤  μ2

     H  :   μ1  ≥  μ2

     2.2  สมมติฐานทางเลือก (Alternative hypothesis) สัญลักษณ์ คือ H1 เป็นสมมติฐานที่กำหนดทิศทางของการทดสอบ มักเขียนด้วยเครื่องหมาย ≠ , < , >    

           สมมติฐานว่าง      H  :   μ= μB

           สมมติทางเลือก    H1  :   μ< μB    (One-tailed test  ,  ทางด้านซ้าย)

                         หรือ    H1  :   μ> μB    (One-tailed test  ,  ทางด้านขวา)

หมายเหตุ

              * การเขียนสมมติฐานทางสถิติ จะเขียนสมมติฐานว่าง คู่กับ สมมติฐานทางเลือกเสมอ

              * การเขียนสมมติฐานทางสถิติ จะเขียนค่าพารามิเตอร์ (Parameter) แทนค่าความจริงของประชากร ไม่เขียนค่าสถิติ (Statistic) ของตัวอย่าง

                     

ตัวอย่าง การเขียนสมมติฐาน

ตัวอย่างที่ 1

สมมติฐานการวิจัย              “หลังการฝึกอบรมนักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน”

ตัวแปรทดลอง                   ชุดฝึกอบรม

ตัวแปรต้น                          ช่วงเวลา

ตัวแปรตาม                        ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

สมมติฐานทางสถิติสามารถเขียนได้หลายแบบดังนี้

                         แบบที่ 1  สมมติฐานว่าง             H0  :  μpost  =  μpre

                                                 สมมติฐานทางเลือก     H1  :  μpost  >  μpre

                         แบบที่ 2  สมมติฐานว่าง             H0  :  μpost  ≤  μpre

                                                  สมมติฐานทางเลือก     H1  :  μpost  >  μpre

ตัวอย่างที่ 2  เป็นสมมติฐานแบบมีทิศทาง  (ทดสอบทิศทางเดียว : One-tailed test)                 

                   สมมติฐานว่าง             H0  :  μA  =  μB

                   สมมติฐานทางเลือก     H1  :  μA  <  μB   (One-tailed test ด้านซ้าย)

                                      หรือ     H2   :  μA  >  μB   (One-tailed test ด้านขวา)

ตัวอย่างที่ 3  เป็นสมมติฐานแบบมีทิศทาง  (One-tail test  , ทางด้านขวา)

                   สมมติฐานว่าง             H0  :  ρAB  =  0

                   สมมติฐานทางเลือก     H1  :  ρAB  >  0                                   

ตัวอย่างที่ 4  เป็นสมมติฐานแบบไม่มีทิศทาง  (ทดสอบสองทิศทาง : Two-tail test)   

                   สมมติฐานว่าง             H0  :  σ1  =  σ2

                   สมมติฐานทางเลือก     H1  :  σ1  ≠  σ2 

                                   

หมายเลขบันทึก: 402194เขียนเมื่อ 12 ตุลาคม 2010 06:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 14:15 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

มาเยี่ยมมาดูมาให้กำลังใจครับ

มั่นด้วยปัญญาและสติ คิดดี สู้สู้เป็นกำลังใจให้นะครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท