การประเมิน


การประเมินงานวิจัย

การประเมินงานวิจัย   

         ในกระบวนการของการดำเนินงานวิจัย ผู้วิจัยจะต้องศึกษาทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องเพื่อที่จะให้นำแนวคิด วิธีการและผลการวิจัยนั้นมาใช้เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานวิจัย งานวิจัยที่จะนำมาเป็นประโยชน์ได้ดังกล่าว ควรเป็นงานวิจัยที่มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถือได้ ซึ่งจะทราบได้จากการประเมินงานวิจัยนั้น    การประเมินงานวิจัย ควรพิจารณาทั้ง 2 มิติ คือ พิจารณาในด้านคุณค่าและด้านคุณภาพด้าน

 ด้านคุณค่า   เป็นการพิจารณาเกี่ยวกับ ประโยชน์หรือ ความสำคัญของงานวิจัยนั้น ซึ่งมีเกณฑ์พิจารณาหลายเกณฑ์ เช่น

       - ช่วยแก้ปัญหาที่ประสบอยู่ (โดยเฉพาะปัญหาเร่งด่วน ปัญหาสำคัญ)

       - ได้พัฒนาสิ่งใหม่ขึ้นมา

       - เป็นประโยชน์ต่องานวิชาการ เช่น ทดสอบทฤษฎี สร้างสูตรใหม่

ด้านคุณภาพ เป็นการพิจารณาถึงความถูกต้อง เหมาะสมตามหลักการของการวิจัยที่ดีมีเกณฑ์พิจารณาดังนี้

       1. ชื่อเรื่องที่วิจัย

           1.1 ชื่อเรื่องชี้ให้เห็นถึงขอบข่ายปัญหาอย่างชัดเจน

           1.2 ชื่อเรื่องมีความแจ่มชัด รัดกุมไม่ใช้คำฟุ่มเฟือย

       2. ความเป็นมาของปัญหา

           2.1 กล่าวถึงปัญหาอย่างชัดเจน ชี้ให้เห็นความสำคัญของปัญหาที่วิจัยนั้น คือ มีเหตุผลที่ทำการวิจัยชัดเจน และเหตุผลที่ทำการวิจัยก็เป็นเหตุผลที่สำคัญ

           2.2 กล่าวถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ที่มีในปัญหา ความสัมพันธ์ระหว่างกันของ องค์ประกอบเหล่านั้น และเกี่ยวข้องกับปัญหา

           2.3 มีหลักเหตุผลที่หนักแน่น เพียงพอในการเลือกตัวแปร หรือองค์ประกอบที่จะศึกษา และแสดงถึงความสัมพันธ์กับปัญหาที่วิจัย

           2.4 ชี้ถึงความสัมพันธ์ระหว่างข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับมโนภาพ (Concept) ที่อยู่ เบื้องหลังปัญหาอย่างเป็นระบบไปตามลำดับ

           2.5 แยกประเด็นปัญหาที่ชัดเจนโดยใช้หัวข้อ หรือการย่อหน้า (Paragraph) ที่เหมาะสม

           2.6 ใช้ข้อความที่รัดกุม ไม่คลุมเครือ

       3. การกำหนดขอบเขตของปัญหาการวิจัยกำหนดขอบเขตของปัญหาการวิจัยอย่างชัดเจน

       4. นิยามศัพท์เฉพาะ

           4.1ให้นิยามตัวแปรและศัพท์เฉพาะที่สำคัญอย่างชัดเจนโดยเขียนให้เป็นเชิงปฏิบัติการ คำศัพท์ที่ไม่จำเป็นก็ไม่ต้องให้นิยาม

           4.2 ในรายงานการวิจัย ใช้คำศัพท์เฉพาะและมโนภาพ (Concept) ตรงตามที่ได้นิยามไว้

       5. สมมุติฐาน

           5.1 สมมุติฐานสร้างจากหลักของเหตุผล และผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง

           5.2 สมมุติฐานที่สอดคล้องกับข้อความที่ทราบกันดี หรือสอดคล้องกับทฤษฎีที่เป็นที่ยอมรับ

           5.3 สมมุติฐานที่สร้างขึ้นมีความชัดเจน สามารถทดสอบได้

           5.4 สมมุติฐานสอดคล้องกับจุดมุ่งหมาย

       6. ข้อตกลงเบื้องต้น มีข้อตกลงเบื้องต้น(Assumption) หรือสัจพจน์ในปัญหาที่ศึกษาเกี่ยวกับการวัด การเป็นตัวแทนของกลุ่มตัวอย่าง ความสอดคล้องและเหมาะสมในการใช้สถิติทดสอบ

       7. ทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้อง

           7.1 การอ้างถึงทฤษฎีและการวิจัยที่เกี่ยวข้องในปัญหาการวิจัย การออกแบบการวิจัยกระบวนการในการวิจัย สรุปและอภิปรายผลอย่างเพียงพอ และตรงกับเรื่อง

           7.2 กล่าวถึงพัฒนาการของหลักเหตุผล หรือทฤษฎีที่เป็นกรอบ (Theoretical  Framework) จากผลการวิจัยในเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยอ้างอิงมายังปัญหาที่วิจัย

           7.3 การจัดลำดับเรื่องเป็นไปอย่างเหมาะสม

           7.4 การกล่าวอ้างแหล่งอ้างอิงใด จะต้องปรากฏแหล่งอ้างอิงในบรรณานุกรม และบรรณานุกรมจะต้องไม่มีแหล่งอ้างอิงที่ไม่ได้ระบุในรายงานการวิจัย

       8. วิธีดำเนินการวิจัย

           8.1 กำหนดหลักเหตุผล โครงสร้าง และวิธีการศึกษาที่รอบคอบรัดกุม

           8.2 กล่าวถึงประชากรและกลุ่มตัวอย่างโดยชัดเจน

           8.3 กล่าวถึงวิธีการในการเลือกกลุ่มตัวอย่าง และรายละเอียดของกลุ่มตัวอย่างโดยชัดเจนวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างมีความเหมาะสม

           8.4 เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นมาตรฐาน มีความตรง (Validity) มีความเที่ยง (Reliability) สูง มีวิธีการตรวจให้คะแนนเป็นมาตรฐาน (กรณีที่เป็นแบบตรวจให้คะแนน) สามารถรวบรวมข้อมูลที่จำเป็น ในการศึกษาได้อย่างครบถ้วน ข้อมูลที่รวบรวมมีความเชื่อถือได้

           8.5 กรณีที่ใช้สถิติทดสอบ ไม่ฝ่าฝืนข้อตกลงเบื้องต้นของการใช้สถิตินั้น

           8.6 รายงานกระบวนการดำเนินการวิจัยไว้อย่างละเอียดชัดเจน

       9. การวิเคราะห์ข้อมูล

           9.1 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างเป็นปรนัย ปราศจากอคติ

           9.2 กรณีใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล สถิติที่ใช้จะต้องสอดคล้องกับสมมุติฐานในการวิจัย และสมมุติฐานหลัก (Null Hypothesis)

           9.3 วิธีการทางสถิติที่ใช้ในการวิจัยมีความเหมาะสม

           9.4 การวิเคราะห์ข้อมูลกระทำได้ถูกต้อง

       10. ผลการวิจัย

            10.1 เสนออย่างเป็นปรนัยมากกว่าอัตนัย

            10.2 แปลผลจากการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างถูกต้อง ไม่อ้างสรุปเกินข้อมูลหรือใช้ข้อความที่ครอบคลุมกว้างเกินไปจากข้อมูลที่มีอยู่

       11. การสรุปผลการวิจัย

            11.1 กล่าวถึงปัญหา วิธีการศึกษา ผลการศึกษา โดยใช้ข้อความที่กระชับ โดยไม่กล่าวถึงสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

            11.2 สรุปผลการศึกษาภายในขอบเขต และระดับของการอ้างอิงเหตุผลตามข้อมูลและผลการวิเคราะห์

            11.3 สรุปผลการศึกษาได้เหมาะสม ไม่มีความลำเอียงหรือคติส่วนตัวเจือปน ผู้วิจัยคนอื่นสามารถเข้าใจ และศึกษาเพื่อตรวจสอบต่อไปได้

       12. การอภิปรายผลและข้อเสนอแนะ

            12.1 อภิปรายผลที่ได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลสมเหตุสมผล น่าเชื่อถือได้

            12.2 แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของผลการศึกษากับผลการวิจัยที่แล้วมาอย่างชัดเจน

            12.3 อภิปรายจุดอ่อนของข้อมูล วิธีวิเคราะห์ องค์ประกอบที่ไม่ได้ควบคุมที่มีอิทธิพลต่อผลการศึกษา

            12.4 กล่าวถึงขอบเขต ข้อควรระวังในผลการศึกษา (ความขัดแย้ง ความไม่คงเส้นคงวา หรือสิ่งที่จะนำไปสู่ความเข้าใจผิดในผลการศึกษา)

            12.5 อภิปรายความสำคัญของผลการศึกษา

            12.6 กล่าวถึงความจำเป็นสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม

            12.7 มีการเสนอแนะเกี่ยวกับการนำผลวิจัยไปใช้ เมื่อผลวิจัยสอดคล้องกับจุดมุ่งหมายที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมายของการศึกษา

            12.8 มีข้อเสนอแนะสำหรับการวิจัยเพิ่มเติม ที่สมเหตุสมผล กว้างขวางและปฏิบัติได้

       13. การอ้างอิง

            13.1ใช้แบบแผนการอ้างอิงที่เหมาะสม และเป็นแบบเดียวโดยตลอด

            13.2 อ้างอิงได้ตรงความเป็นจริง และมีความสมบูรณ์

            13.3 ไม่ใช้ภาษาแสลง ภาษาพูด แต่ละประโยคมีความหมายชัดเจน ถูกหลักไวยากรณ์ 

แบบประเมินผลการวิจัย

       ในการประเมินผลการวิจัยอาจใช้แบบประเมินผลที่พิจารณาภาพรวมของส่วนที่เป็นโครงสร้างสำคัญหรือใช้แบบประเมินผลในจุดต่าง ๆ ที่เป็นรายละเอียดซึ่งเป็นแบบที่สร้างเกณฑ์การประเมินผลการวิจัยที่กล่าวมาแล้ว เป็นสำคัญ ถึงแม้จะมีผู้พยายามสร้างแบบประเมินผลงานวิจัยขึ้นมากมายแต่ก็ยังไม่มีแบบประเมินงานวิจัยที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน แบบประเมินงานวิจัยที่มีผู้สร้างไว้แล้วนั้นมีสิ่งที่ประกอบด้วยรายการประเมินจำนวนน้อยประมาณ 10-20 ข้อ ไปจนถึงแบบที่ประกอบด้วยรายการประเมินจำนวนมากประมาณ  80-90 ข้อ ซึ่งผู้ต้องการใช้แบบประเมินสามารถเลือกใช้ได้ตามต้องการ

 

 

 

 

เอกสารอ้างอิง
รัตนะ บัวสนธ์. (2551).  ปรัชญาวิจัย (Philosophy of Research). กรุงเทพฯ. สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อรุณี  อ่อนสวัสดิ์. (2553).  เอกสารประกอบการบรรยาย วิชา ระเบียบวิธีวิจัยขั้นสูง (390611).

พิษณุโลก. มหาวิทยาลัยนเรศวร.

หมายเลขบันทึก: 401112เขียนเมื่อ 6 ตุลาคม 2010 04:29 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มีนาคม 2012 09:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท