10 อาชีพเสี่ยง "เศร้า-เหงา-เซง (ซึมเศร้า)"


อาจารย์ Tammy Worth ตีพิมพ์เรื่อง '10 Careers with high rates of depression' = "10 อาชีพเสี่ยงเซง (ซึมเศร้า)" ในนิตยสาร 'Health' ออนไลน์, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ Health ]

อ.ดร.เด บอร์รา เลกก์ ผู้เชี่ยวชาญสาขาสุขภาพจิต กล่าวว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องของความน่าจะเป็น... หรือเป็นแนวโน้ม ไม่ใช่ว่าคนทุกคนในอาชีพต่อไปนี้จะต้อง "เศร้า-เหงา-เซง" ไปเสียหมด เพียงแต่ว่า ถ้าเรารู้และเข้าใจธรรมชาติของอาชีพต่างๆ แล้ว, เราจะป้องกัน เ้ข้าใจ เห็นใจ และอาจขอความช่วยเหลือจากมืออาชีพได้ (ถ้าจำเป็น)

...

(1). Nursing home / Child-care workers = คนทำงานในสถานเลี้ยงเด็ก-คนสูงอายุ

สถิติ สหรัฐฯ พบว่า คนอาชีพนี้มีโอกาส "เศร้า-เหงา-เซง" อย่างน้อยช่วงหนึ่งได้มากถึง 11%, สูงกว่าประชากรทั่วไป (7%), ความเสี่ยงนี้จะเพิ่มขึ้น... ถ้าคนในอาชีพนี้ตกงาน (13%)

กลไก ที่เป็นไปได้ คือ อาชีพนี้มักจะต้องเผชิญหน้ากับคนสูงอายุ คนป่วย หรือเด็กๆ เจ้าปัญหา, แถมยังต้องคอยให้กำลังใจคนอื่นจนลืมให้กำลังใจตัวเอง

...

(2). Food service staff = พนักงานบริการอาหาร / เด็กเสิร์ฟ / บริกร

ดร.เลกก์ กล่าวว่า อาชีพนี้เป็นอาชีพที่ไม่ค่อยได้รับคำขอบคุณ (thankless job) แถมแขกๆ หรือผู้ใช้บริการยังมองว่า พนักงานเหล่านี้มีฐานะต่ำกว่าลูกค้า ต้องคอยเอาอกเอาใจ และลูกค้าหลายๆ คนยังหยาบคาย เช่น พูดตะคอก ลวนลาม ตามจีบ ฯลฯ อีกต่างหาก

อย่า ว่าแต่อาชีพบริกรเลย... พยาบาลท่านหนึ่ง (ขอสงวนนาม) เล่าให้ผู้เีขียนฟังว่า คุณลุงคนไข้รายหนึ่งชอบแต๊ะอั๋ง... เวลาทำแผลก็เอามือลูบก้น ทำแบบนี้กับพยาบาลหลายท่านแล้ว

...

หมอ 2 ท่านอยู่โรงพยาบาลชุมชน (ขอสงวนนามเช่นกัน) เล่าว่า ตอนตรวจคนไข้รู้สึกมีอะไรไหลๆ ที่หน้าขา ปรากฏว่า คนไข้ยื่นมือลอดใต้โต๊ะไปลูบหน้าขา (คนไข้แบบนี้ก็มี!)

วิธี ที่จะช่วยให้พนักงานบริการมีความสุขง่ายๆ คือ เมื่อไปใ้ช้บริการ... ช่วยให้เกียรติบริกร (พนักงานเสิร์ฟ) บ้าง, เวลาไปโรงพยาบาลก็ไม่ควรไปลูบไล้พยาบาลหรือหมอ (บาปนะ... ขอบอก)

...

(3). Social workers = นักสังคมสงเคราะห์

เป็น ที่ทราบกันดีว่า อาชีพนี้เหมาะกับคนที่มากด้วยความกรุณา หรือปรารถนาจะบรรเทาทุกข์ให้คนอื่น ทว่า... ศัตรูใกล้ของกรุณาคือ โทมนัส หรือความ "เศร้า-เหงา-เซง" โดยเฉพาะเมื่อต้องพบกับอะไรๆ ที่มักจะทำให้ดีขึ้นไม่ค่อยได้

อ.ดร.เลกก์ แนะนำว่า วิธีสงเคราะห์คนอื่นโดยไม่ให้ตัวเราเข้าไปสู่วงจร "เศร้า-เหงา-เซง" คือ การเข้าไปช่วยเหลือโดยไม่ทุ่มเทสุดตัว ทำส่วนของเราให้ดี... อะไรที่ทำไม่ได้ก็ขอให้ปล่อยวาง (เข้าใจว่า ดร.เลกก์ได้รับอิทธิพลจาก "อุเบกขา" ในพระพุทธศาสนา)

...

(4). Health care workers = บุคลากรสุขภาพ

อาชีพ เหล่านี้รวมบุคลากรทุกฝ่ายในสถานพยาบาล ตั้งแต่ผู้ช่วยเหลือคนไข้ คนงาน พยาบาล และหมอ ซึ่งมีช่วงเวลาทำงานค่อนข้างนาน และอยู่ท่ามกลางเรื่องร้ายๆ

อ.ดร.เลกก์ แนะนำว่า ควรแบ่งเวลาให้เป็น คือ พักผ่อนให้พอ ให้เวลากับตัวเองบ้าง และขอให้ีหาโอกาสมองโลกในมุมมองอื่นบ้าง เช่น หางานอดิเรกที่ชอบ ลาพักผ่อน ฯลฯ เพื่อออกนอกวงการ หรือออกนอก "กะลา" เป็นครั้งครา่ว

...

(5). Artists, entertainers, writers = ศิลปิน นักให้ความบันเทิง นักเขียน

อาชีพเหล่านี้ใช้ความคิดสร้างสรรค์ หรือครีเอทีฟ (creative) สูง ทำให้ต้องผลักดันตัวเองค่อนข้างมาก...

...

คน ที่เป็นศิลปินมีโอกาสเป็นโรคอารมณ์ 2 ขั้ว หรือไบโพลาร์ (bipolar = มีช่วงอารมณ์เศร้า สลับกับช่วงที่ร่าเริงผิดปกติ) โดยมักจะขยันทำงาน ผลิตผลงานได้มากในช่วง "อารมณ์ขาขึ้น (ร่าเริงผิดปกติ)" และผลิตผลงานได้น้อยในช่วง "อารมณ์ขาลง (ซึมเศร้า)"

ทุกวันนี้มียาที่ช่วงรักษาโรคซึมเศร้าได้ค่อนข้างดี ทั้งชนิดขั้วเดียว (ซึมเศร้าอย่างเดียว) และอารมณ์ 2 ขั้ว

...

(6). Teachers = ครูบาอาจารย์

ครู บาอาจารย์เป็นอาชีพที่ใช้พลังชีวิตเข้าไปทำงานมากกว่าอาชีพอื่นๆ ทั้งต่อลูกศิษย์หรือนักเรียน-นักศึกษา พ่อแม่ผู้ปกครอง และสังคม ทำให้เสี่ยงต่ออารมณ์ "เศร้า-เหงา-เซง" มากกว่าอาชีพอื่นๆ

...

(7). Administrative support staff = พนักงานฝ่ายบริหาร

กล่าว กันว่า ผู้บริหารนั้นคล้ายไฟ... ใกล้ไปก็ร้อน ไกลไปก็หนาว คือ ผู้บริหารนั้นเป็นตำแหน่งที่มากไปด้วยอำนาจ ทำให้ลูกน้องที่อยู่ใกล้ โดยเฉพาะฝ่ายบริหารเสี่ยงที่จะตกเป็นเครื่องรองรับอารมณ์มากกว่าคนที่อยู่ ไกล หรือทำงานสายอื่นๆ

ขณะ เดียวกัน... คนที่อยู่ไกล ไม่ค่อยเสนอหน้าให้ผู้บริหารเห็นหน้า มักจะไม่ค่อยมีความเจริญในหน้าที่การงาน เปรียบคล้ายคนอยู่ไกลไฟมักจะหนาว

...

(8). Maintenance and ground workers = พนักงานฝ่ายบำรุงรักษา

พนักงาน กลุ่มนี้มักจะเป็นสายช่าง เช่น ช่างไฟ ช่างประปา ช่างแอร์ ฯลฯ ซึ่งก็เป็นอาชีพที่ไม่ค่อยได้รับคำขอบคุณ (thankless job) เช่นกัน

...

กล่าว กันว่า ถ้าน้ำไหล-ไฟสว่าง (ช่างประปา ช่างไฟทำงานได้ดี) ก็จะไม่มีใครโทร.ไปขอบใจช่าง แต่ถ้าน้ำไม่ไหล-ไฟดับละก็... จะมีคนบ่นกันทันที

ถ้าใครจะเข้าไปสู่วงการช่างละก็... ขอให้ "ทำใจ" ไว้ล่วงหน้าเลย เพราะ "ธรรมดาของโลกก็เป็นเช่นนี้เอง"

...

(9). Financial advisors & accountants = ผู้ให้คำแนะนำด้านการเงิน-สินเชื่อ และนักบัญชี

การแก้ปัญหาการเงินของตัวเองก็หนักหนาสาหัสสุดๆ อยู่แล้ว... ยิ่งใครต้องไปแก้ไขปัญหาการเงินให้คนอื่นแล้ว ยิ่งหนักหนาสาหัสยิ่งขึ้น

อาชีพ เหล่านี้รวมพนักงานด้านสินเชื่อด้วย ยิ่งพนักงานธนาคาร-สินเชื่อ-ไฟแนนซ์-ลีสซิ่งทุกวันนี้ยิ่งน่าเห็นใจ เพราะจะถูกบีบให้ "ทำยอด" มากขึ้นเรื่อยๆ ตราบเท่าที่ยังมีลมหายใจ

...

(10). Salespeople = พนักงานขาย

อาชีพ นี้มีความมั่นคงค่อนข้างน้อย รายได้ประจำ เช่น เงินเดือน ฯลฯ มักจะไม่พอใช้ ต้องอาศัยค่านายหน้า (commission) เป็นแรงเสริม ซึ่งก็ได้บ้างไม่ได้บ้าง

แถมยังต้องถูกบีบให้ "ทำยอด" ซึ่งก็หนักหนาสาหัสเช่นกัน

...

ถ้าเราเป็น ผู้ใช้บริการของอาชีพ 10 กลุ่มข้างต้นนี้แล้ว... ขอให้ช่วยกันเข้าไปใช้บริการแบบ "เอาใจเขามาใส่ใจเรา" บ้าง, และถ้าเลือกใช้คำ "ขอโทษ-ขอบคุณ-ขอบใจ" ให้เป็นแล้ว เราคงจะได้อะไรดีๆ ตอบแทนกลับมาไม่มากก็น้อย

คนเรามักจะคิดว่า อาชีพหรือชีวิตของเราหนักหนาสาหัสกว่าอาชีพอื่นๆ, ทว่า... คนอื่นก็มีความทุกข์ยากเช่นกัน

...

ความทุกข์และความยากเป็นธรรมดาของโลก ซึ่งถ้าใช้ยา "ทำใจ" ให้เป็นแล้ว... ความทุกข์และความยากก็จะบรรเทาเบาบางลงไป ไม่มากก็น้อย

ถึงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

> [ Twitter ]

ที่ มา

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 5 ตุลาคม 2553.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 401105เขียนเมื่อ 5 ตุลาคม 2010 23:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:40 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท