ทำไมติวเตอร์ผู้ไม่มีแผนการจัดการเรียนรู้ ชอล์กแอนด์ทอล์กเหมือนกัน ทำไมจึงทรงพลังและีมีประสิทธิภาพ


ความเป็นระบบ มีความยุ่งเหยิง (chaos) ภายในได้เหมือนกัน

ขณะนี้ติวเตอร์ทั้งหลายได้นำพาบุตรหลานของท่านไปกวดวิชา
และทำคะแนนหลายวิชาอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้หลายท่านได้รับ
โอกาสดี ๆ หลายประการ ได้เรียนคณะที่ตั้งใจฝันไว้ ได้งานทำหรือ
สอบบรรจุเข้าทำงานได้

ผู้เขียนมีเพื่อนคนหนึ่งเป็นติวเตอร์ ได้มาพักผ่อนประำจำปีที่โรงเรียน
เขาทำให้ผมขนลุก เพราะเขาไม่ได้จบมาทางครูและไม่มีวุฒิทางครู
จบมาทางวิศวะด้วยซ้ำไป แต่เขาสามารถทำให้เด็กที่ไม่เก่งคณิตศาสตร์
เรียนคณิตศาสตร์ไม่รู้เรื่อง เขาสามารถอธิบายจนทำให้เ้ด็กนั้นเข้าใจ
และรู้เรื่องคณิตศาสตร์ ผมถามเขาว่ามีแผนการสอนอะไรไหม เขาบอกว่า
ไม่ได้เรียนมาทางคุรุศาสตร์  เขาบอกว่าเรื่องต่าง ๆ ที่สอนนั้นจะต้องเข้าใจ
ชัดเจนจนเคลียร์ทุกแง่ทุกมุม  แล้วจึงสอนด้วยการอธิบาย นักเรียนที่จ่าย
แพง ๆ เขาก็ต้องการให้เข้าใจอย่างแจ่มแจ้งในหลักวิชา ถ้าเราเคลียร์ตัว
ความรู้ชัดเจนแล้ว วิธีการนั้นจะไม่ยาก นอกจากนั้นแล้วก็ต้องหาเทคนิค
การทำข้อสอบ ลูกค้านั้นมีเป้าหมายต้องการจะได้คะแนนมากขึ้น สอบเข้า
มหาวิทยาลัยให้ได้ สังเกตเขาสอนเขาใจเย็นและมีสมาธิกับเด็กมากและ
สอนไ่ม่ต่างจากพวกเรียนคุรุศาสตร์เท่าไรก็คือชอล์แอนด์ทอล์ก แต่ผล
ที่ออกมา นักเรียนเหล่านั้นเก่งขึ้นในเรื่องที่ติวเตอร์นั้นสอน

คำถามแรกก็คือทำไมวิธีการเหล่านี้จึงมีประสิทธิภาพสามารถทำให้บรรลุ
จุดมุ่งหมายของการศึกษาคือการรับรองความรู้ ผ่านการวัดและประเมินผล
ซึ่งเมื่อทราบเทคนิคการทำข้อสอบ ผู้เรียนก็ทำข้อสอบได้ แม้ว่าจะไ่ม่ได้
เรียนในห้องเีรียนเลย  วิธีการที่ไม่มีแผนการสอนใด ๆ เมื่อเทียบแล้วก็เหมือน
กับการสอนของครูสมัยก่อนก็จะไม่มีแผนการสอนใด ๆ แต่มีความชัดเจน
ในเรื่องที่จะสอน ครูรุ่นก่อนที่ไม่มีแผนการสอนก็สามารถผลิตชนชั้นนำ
ของสังคม และผลิตผู้หลักผู้ใหญ่นักเรียนนอกที่ดำรงตำแห่งสำคัญที่เกี่ยว
กับการศึกษา แม้แต่ดำรงตำแหน่งสำคัญขององค์กรปฏิรูปการศึกษาก็เป็น
ผลผลิตของการศึกษาแบบเดิม ๆ แต่ยังทรงประสิทธิภาพจนถึงทุกวันนี้

ทำไมติวเตอร์และครูรุ่นเก่าจึงมีประสิทธิภาพเป็นอย่างยิ่ง เป็นคำถามที่
ต้องตอบ ในขณะปัจจุบันมีการเขียนแผนกันจนไม่มีเวลาสอนหนังสือ
ใช้เวลาในการเตรียมค่อนข้างมาก แต่ทำไมประสิทธิภาพจึงไม่เหมือน
ครูรุ่นก่อนหรือติวเตอร์ที่ไม่รู้จักวิชาชีพครูเลย 

สรุปแล้ว ระบบที่มนุษย์จัดขึ้นนั้น ต้องมีความยุ่งเหยิงเป็นเรื่องธรรมดา
แม้ process จะไ่ม่ดีเท่าไร แต่output ออกมามีคุณภาพอย่างยั่งยืนนั้น
เราเอาเป้าหมายเป็นตัวตั้ง เหมือนแมวดำ แมวขาว เป้าหมายคือเอามาจับหนู
ให้ได้ ไม่ว่าการศึกษาแบบใด สีดำ หรือ สีขาว แต่ถ้าจับหนูได้ก็มีประสิทธิภาพแล้ว

หมายเลขบันทึก: 400318เขียนเมื่อ 2 ตุลาคม 2010 00:03 น. ()แก้ไขเมื่อ 10 มิถุนายน 2012 16:53 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (7)

คงมองไปที่กระบวนการ (Process)เหมือนที่ท่าน ผอ.ให้ความเห็น และเห็นด้วยครับ เพราะเป็นส่วนสำคัญของความยุ่งเหยิงทั้งหลายภายในระบบ

ประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตของภาคเอกชน ไม่ได้เกิดจากการนำชุดสำเร็จจากห้อง Lab R&D มาใช้โดยไม่มีการปรับใหม่เลย สิ่งที่ได้เป็นกระบวนการที่ใช้อยู่จริงจะมีการปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับสายการผลิต ณ.จุดนั้นอยู่เสมอ เมื่อเวลาเปลี่ยนไปหรือมีปัจจัยอื่นๆเปลี่ยนไป กระบวนการอาจมีการปรับเปลี่ยนตามไปด้วย

การให้ความสำคัญกับกระบวนการนี้จึงได้มีผู้รับผิดชอบที่เรียกว่า Process Engineer เพื่อทำการศึกษาและพัฒนารูปแบบกระบวนการโดยเฉพาะ การศึกษาเหล่านี้รวมถึงการวิเคราะห์สิ่งที่ทำให้กระบวนการผลิตดำเนินไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพสูงสุดโดยมีต้นทุนน้อยที่สุด เช่นการหาจุดที่เป็นคอขวด(bottle neck) จุดที่อาจทำให้เกิดของเสีย(defective) จุดที่มีการรองาน(idle)และเรื่องของการจัดลำดับการเคลื่อนของงาน(process flow) เป็นต้น

สิ่งที่ผมอยากจะบอกก็คือแม้กำเนิดของกระบวนการจะมาจากส่วนนโยบาย(ทฤษฎี) แต่กระบวนการที่นำมาใช้จริงจะต้องมาจากจุดที่ทำการดำเนินกิจกรรมหรือจุดผลิตจริง การผลิตสิ่งเดียวกันแต่ต่างสถานที่ต่างบริบทกันกระบวนการก็อาจต่างกันได้

หากเปรียบห้องเรียนเป็นไลน์การผลิต(production line) กระบวนการที่ใช้อยู่ก็ได้ถูกกำหนดมาจากระดับนโยบายจัดมาให้เป็นแพกเกจสำเร็จรูปที่ออกแบบโดยกลุ่มคนที่เรียกว่า "ผู้เชี่ยวชาญ" เรียบร้อยแล้ว การนำมาใช้หากผู้ปฏิบัติจะปรับเปลี่ยนให้เกิดประสิทธิภาพที่สูงขึ้นหรือให้เหมาะสมกับหน่วยผลิต(ห้องเรียนและผู้เรียน) ก็ไม่สามารถทำได้ เพราะพร้อมกับแพกเกจที่ให้มา เขาได้ให้คู่มือวิธีการปฏิบัติที่ไม่เปิดโอกาสให้ปรับเปลี่ยนอะไรได้อีกแนบมาด้วย

ที่สำคัญ..การปฏิรูปการศึกษาก็ไม่เคยพูดถึงประเด็นนี้เลยเหมือนกัน..

ผมจึงไม่สงสัยครับว่าทำไมติวเตอร์เขาทำได้ดีกว่าการจัดการศึกษาในระบบ ทั้งที่เรามีครูที่มีศักยภาพแบบเดียวกันหรือมากกว่าแฝงอยู่ในระบบการศึกษาอีกมากมาย

(ผมนึกไม่ออกว่าได้ยินชื่อโรงเรียนของ ผอ. ที่ไหนมันคุ้นๆอยู่ ลองสืบค้นดูถึงได้นึกออก..บอกได้ด้วยความจริงใจครับว่าผมศรัทธา และถือว่าเป็นเกียรติที่ได้แสดงความเห็นครับ)

ขอบคุณคุณ outsider ที่ให้เกียรติและคอมเมนท์ผม

ผมแ่ค่ฝึกหัดเขียนบทความ พยายามให้เป็นวิชาการอีกสายหนึ่ง

ยังทำได้ไม่ค่อยดีเท่าไรนัก เหมือนการเขียนแบบบ่น ๆ ไป

ของคนตัวเล็ก ๆ ในสังคมที่อยู่ในชายขอบ

ผมมองแบบนี้ครับท่าน ผอ. ติวเตอร์บางท่านมีความแม่นในเนื้อหามากกว่า และอธิบายได้ชัดเจน แต่ที่น่ากลัวคือ ติวเตอร์บางท่านและอีกหลายๆๆท่านสอนการทำข้อสอบ ไม่ได้สอนการค้นหาความรู้ครับ เมื่อนักเรียนที่ผ่านการเรียนแบบสอนการทำข้อสอบผ่านเข้ามาในระดับมหาวิทยาลัย พื้นฐานบางคนไม่ดี เหมือนกับฆ่าเด็กทางอ้อมเลยครับ...

ขอบคุณครับท่านอาจารย์ขจิต ฝอยทอง เพราะการศึกษาในระบบของเรามีเป้าหมายอยู่ที่กระบวนการขั้นสุดท้าย (end)

คือการรับรอง เครื่องมือศักดิ์สิทธิ์ในการรับรองก็คือ การวัดประเมินผลด้วยข้อสอบ เขาวัดผลสัมฤทธิ์หรือวัด

อะไรในระดับชาติ ก็คือคุณภาพระดับสุดท้าย ไม่ได้วัดว่านักเรียนมีการศึกษาตลอดชีวิตก็คือ สนใจค้นคว้าเรื่อง

ที่ขยายตัวเชื่อมโยงจากหลักสูตร สร้างองค์ความรู้ เพราะถ้าสนใจอย่างนี้อาจสอบไม่ได้ หรือสอบกลาง ๆ

หลายโรงเรียนสมัยก่อนที่เขาใช้กิจกรรมการบูรณาการหลักสูตรรวมกัน ใช้กระบวนการกลุ่ม หรือทักษะกระบวนการ

แต่สุดท้าย กลับสอบวัดระดับชาติหรือวัดผลด้วยวิชาเป็นตัวตั้ง ไม่ได้เอาทักษะกระบวนการเป็นที่ตั้ง ติวเตอร์เขาเห็น

ช่องว่างตรงนี้ ซึ่งไม่ต้องทำหรือค้นคว้าอะไรมาก แค่เก็งข้อสอบ และเทคนิคการสอบ ก็จัดว่าเป็นการศึกษาที่มีคุณภาพแล้ว

เพราะเห็นว่าจุดสำคัญไม่ได้อยู่ที่กระบวนการที่เขาคิดกันทำอย่างนี้ แต่จุดสำคัญอำนาจอยู่การวัดประเมินเพื่อต้องการ

ีที่จะรับรองมากกว่า และสุดท้ายก็เหมือนกัน ก็คือไม่มีพฤติกรรมในการศึกษาเรียนรู้ เพราะคำตอบที่ถูกต้องในการสอบ

คือการตอบให้ถูกใจคนออกข้อสอบ เมื่อได้ผลสัมฤทธิื์์แบบประเิมินค่าแล้วมีสองอย่าง คือ อหังการณ์คิดว่าการตอบข้อสอบ

ได้ถูกต้องคือความเก่ง ความมีคุณภาพ ส่วนผู้ที่ไม่มีโอกาสเข้าถึงเทคนิคของติวเตอร์คือคนจน ๆ ก็จะกลายเป็นคนมีคุณภาพ

(ตามนิยาม คุณภาพคือการวัดประเมิน) ก็จะคิดกลายว่าเป็นคนต่ำต้อยไม่เก่ง (เพราะไม่มีโอกาสทราบช่องว่างของการประเมินผล)

ผลระดับที่หนึ่งผลแห่งอหังการณ์ก็คือ เมื่อความถูกต้องได้ถูกรับรองแล้วก็จะไม่มีการศึกษาเรียนรู้ต่อ เพราะความรู้นั้นมีลักษณะ

เป็นพลวัตร ไม่หยุดนิ่ง ส่วนผู้ด้อยโอกาสทั้งหลายเมื่อไม่ผ่านคุณภาพ (คือทำข้อสอบไม่ถูก ไม่รู้เทคนิคการสอบ ไม่สามารถเข้าถึง

แหล่งความรู้ที่เจาะช่องโหว่ของการวัดประเมินผล) ก็จะประทับตราตนเองว่าไม่เก่ง ไม่มีกำลังใจในการศึกษาเรียนรู้ต่อไป

เพราะสิ่งเหล่านี้จะประทับตราเขาไปชั่วชีวิต ยกเว้นคนที่ฉลาดได้มองเห็นสาระจริง ๆ ก็จะเรียนรู้ตลอดชีวิต ได้ความรู้แบบไม่หยุดนิ่ง

และพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างจริง ๆ

เห็นด้วยกับทั้งสองท่านครับ แต่ก็อดแปลกใจไม่ได้ว่าทำไมภาครัฐโดยเฉพาะกระทรวงศึกษาธิการให้การตอบรับกิจกรรมนี้อย่างออกหน้าออกตาจนเกินควร

กิจกรรมกวดวิชาและติวเตอร์ผมไม่ถือว่าเป็นระบบนะครับเพราะมันขาดองค์ประกอบมากมายหลายอย่าง แต่มันเป็นปรากฏการณ์(Phenomenon) ซึ่งก็แน่นอนว่ามันเป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเป็นปกติทั่วไป กิจกรรมกวดวิชาจึงไม่สามารถรับประกัน หรือยืนยัน(Assure) ได้ว่าจะผู้รับบริการจะประสบความสำเร็จทุกคน

สิ่งที่น่าวิตกที่สุดก็คือผู้บริหารการศึกษาระดับของบ้านเรา โดยจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตามแต่ก็ได้กำหนดกฎเกณฑ์และกติกาต่างๆในการรับรองคุณภาพผู้เรียน การกำหนดเกณฑ์ในการเข้าเรียนต่อสถาบันอุดมศึกษาล้วนแต่เป็นการส่งเสริมกิจกรรมเหล่านี้ทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นการประเมินคุณภาพมาตรฐานของ สมศ. การวัดและประเมินผลโดย สทศ. การกำหนดวิธีการสอบเข้ามหาวิทยาลัยของ ทปอ. (หรือ สทอ.) ซึ่งหากเราดูเพียงหลักการนโยบายอย่างผิวเผินโดยไม่ได้เข้ามาวิเคราะห์ผลกระทบของการดำเนินงานเหล่านี้ก็คงไม่มีใครทราบ

อาจจะไม่มีตัวชี้วัดอะไรที่ชัดเจน แต่ถ้าเราให้ความสนใจเราจะเห็นว่าวันนี้ธุรกิจประเภทเครื่องดื่มบำรุงสมอง(ไม่ใช่เครื่องดื่มบำรุงกำลังนะครับ) และแม้แต่ธุรกิจบะหมี่สำเร็จรูปยังเข้ามาแข่งขันกันจัดกิจกรรมกวดวิชากันอย่างดุเดือด มีนักเรียนระดับมัธยมฯเข้าร่วมจนไม่มีที่จะนั่ง ที่สำคัญภาครัฐก็ให้การตอบรับอย่างออกหน้าออกตา หากมองกันอย่างผิวเผินก็อาจจะเข้าใจว่าเด็กๆมีความกระตือรือร้นในการเรียน แต่สิ่งที่เรามองข้ามไปคือมุมสะท้อนจากครูผู้สอนที่มองว่าเด็กให้ความสำคัญกับการติวมากกว่าการเรียนในห้องเรียน แม้ว่าเด็กบางคนจะเชื่อมั่นในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในห้องเรียนของครู แต่เมื่อเพื่อนๆพากันไปร่วมกิจกรรมกับติวเตอร์ก็จะขาดความมั่นใจในตนเองและต้องเข้าร่วมไปด้วยโดยอัตโนมัติ และเมื่อกิจกรรมเหล่านี้เคลื่อนตัวไปอย่างเป็นพลวัตรในที่สุดเด็กๆก็จะมีความคิดว่าไม่ติวไม่ได้ ถ้าไม่ติวจะไม่รู้ในขณะที่คนอื่นรู้ และเมื่อกิจกรรมเหล่านี้มีผู้เข้าร่วมมากขึ้น มีเสียงดังขึ้นเราจะแน่ใจอย่างไรว่าแนวโน้มของการออกข้อสอบต่างๆจะไม่จะไม่เอนเอียงเข้ามาอยู่ในกรอบของขบวนการเหล่านี้

ผมไม่แน่ใจว่าในยุคนี้ อุปทานมันจะสามารถสร้างอุปสงค์ได้ แต่ก็ไม่รู้จะเรียกปรากฏการณ์แบบนี้ว่าอย่างไรดี

อีกอย่าง ปรากฏการณ์นี้ได้ทำให้ประเทศของเราแบ่งผู้เรียนในระบบเป็นสองประเภทคือกลุ่มที่เข้าถึงโอกาส..

..และกลุ่มที่ขาดโอกาสตลอดกาลครับ

มองอนาคตเด็กบ้านเราในอีกสิบยี่สิบปีข้างหน้าไม่ออกจริงๆ !

ผมก็ยังมองไม่ออกเหมือนกับคุณ Outsider คำพูดกับการกระทำมันสวนทางกันครับ อยาก(ต้องการ)ให้ครูสอนให้เด็กคิดเป็น ทำเป็น ฯลฯ แต่เกณฑ์ประเมินมาตรฐานโรงเรียน เกณฑ์อะไรต่อมิอะไรมากมาย ก็จะมีประมาณว่า เด็กโรงเรียนนี้สอบนั่นสอบนี่ได้ที่เท่าใด อันดับไหน มากน้อยแค่ไหน

ผมไม่แปลกใจหรอกครับที่สังคมเรายังเป็นแบบนี้ ใครควรเปลี่ยน แต่ไม่เคยเปลี่ยนแปลงอะไร

อีกไม่นานครับ อาเซียนจะรวมกันเหมือนยุโรป ประเทศไทยจะไปทางไหนครับ

เดินทางไปที่ไหนๆ ไม่ว่าช่วงเปิด ปิดเทอม เห็นนักเรียนอยู่ตามรร. กวดวิชาจนค่ำมืดมิหยุดหย่อน . เดี๋ยวนี้ลามไปถึงลูกตาสี ตาสาก็ส่งลูกกวดวิชาด้วยแล้ว เฮ้อ. เลยงงว่า จะกวดกันไปทำไมหนักหนา แทนที่หางานอดิเรกอย่างอื่นทำกัน ..กวดวิชาสอนเทคนิคทำข้อสอบ ประเมิน เลือก ตัดข้อที่ไม่ใช่ออก ทำบ่อยๆ รู้แนว ซ้ำซาก จนจับทางได้ .เพื่อแค่สอบได้ค่ะ;) . แต่เหตุผลหลักคือ. เรียนกันตามกระแส ชัดเจน ค่ะ เผลอๆ แค่ให้มีกิจกรรมทำ รึพ่อแม่ไม่ค่อยมีเวลา และค่านิยมผิดๆ แล้วคุณครูประจำหลายๆ ท่านก็ ทำงานสอนพิเศษค่ะ ;)  .. พูดไม่ออก บอกไม่ถูกค่ะ คงต้องโหมสร้างกระแสใหม่ไหมคะ เพราะบ้านเรา ถ้าไม่มีกระแสในวงกว้าง ก็หาความแตกต่างมิค่อยเจอ ..ยังหวัง ยังรอค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท