KM:Trauma Case Management


What, Why ,Who and How to Trauma Case Management

29 กันยายน 2553 เวลาระหว่าง 13.00-14.30 น.

คณะกรรมการดำเนินงานแพทย์อุบัติเหต ร่วมกับ แผนกการพยาบาลอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน โรงพยาบาลศรีนครินทร์  ขอเชิญ พยาบาลผู้สนใจ ฟังการบรรยายพิเศษ 

เรื่อง Trauma case management

วิทยากรโดย        Miss Beverly Dinnel และ Miss Esther  Cahal

                        Neuromedical  Center Baton Rouge, Louisiana , USA

วันที่  29   กันยายน   2553  เวลา 13.00 – 14.30 น. 

ณ ห้องพิสิฏฐ์  - เนตรเฉลียว อาคาร 89 พรรษสมเด็จย่า 

งานนี้ผู้บรรยายหลัก คือ Miss Esther  Cahal ตั้งประเด็นตอบโจทย์

"What Why Who and How to trauma case management " 

What  เป็นระบบการรับรองคุณภาพการดูแลผู้ป่วยโดยมีพยาบาลกำกับและติดตาม ประสานงานระหว่างแพทย์เจ้าของไข้ ผู้ป่วย ญาติของผู้ป่วย เพื่อให้การดูแลได้มาตรฐานและคุณภาพสูงสุด

Why เพื่อพิทักษ์สิทธิ์ของผู้ป่วยและการพัฒนาคุณภาพการดูแลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีทั้งในโรงพยาบาลและกลับไปอยู่ที่บ้าน

Who คือ พยาบาลที่มีประสบการณ์ >5 ปี

and How พยาบาลผู้จัดการผู้ป่วยรายกรณี จะเริ่มให้การดูแลตั้งแต่วันแรกที่ผู้ป่วยเข้าโรงพยาบาล จวบจนวันออกโรงพยาบาล นอกจากนั้นยังติดตามไปที่บ้าน โดยประสานงานกับหน่วย Home health Care

ตัวอย่างการจัดอัตรากำลัง Case Manager ที่แผนกICU จำนวน 38 เตียงจะมี 3-4 คน หรือประมาณ 1 ต่อ 10 และผู้ป่วยทุกคนจะได้รับการดูแลจากCase Manager

คำถาม ห้องฉุกเฉินควรมี Case Manager หรือไม่

ตอบ ไม่มีเพราะเวลาสั้น ผู้ป่วยอยู่ไม่นาน ไม่เกิน 3 ชั่วโมง

คำถาม Case Manager ต้องจบ ป โท หรือไม่

ตอบ ไม่ค่ะ เพียงแต่ต้องมีประสบการณ์ด้านนั้นๆมา> 5 ปี และผ่านการอบรมมาค่ะ

สิ่งสำคัญ คือ ต้องมีระบบ Home health Care รองรับด้วย เพื่อการดูแลที่ต่อเนื่อง ตรงนี้ผู้บรรยายเน้นมาก

สำหรับบ้านเรา ผู้เขียนแลกเปลี่ยน มีระบบ Disease Management และ มี APN ซึ่งประยุกต์แนวคิดของCase Management มาใช้บ้างแล้ว แต่ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาค่ะ

ผู้เข้าร่วมท่านเป็นแพทย์ ถามว่า ระบบนี้ใช้มานานมั๊ยในโรงพยาบาลของท่าน

ตอบ > 20ปี

ค่ะก็ก้าวไปไกลมากๆ ถือว่าเป็นต้นแบบได้ แต่การประยุกต์มาใช้ในประเทศของเรา

 เราต้องวิเคราะห์บริบทหลายอย่าง เช่น ความสัมพันธ์ของแพทย์กับพยาบาล อัตรากำลัง การเชื่อมโยงของระบบ Hospital service และ Home Health Care

เมื่อการบรรยายสิ้นสุดลง เพื่อเป็นการขอบคุณท่านวิทยากร

โดย รศ นพ " ไชยยุทธ ธนไพศาล เลขาฯและดิฉัน พนอ เตชะอธิก ผช เลขาฯ ศูนย์ตติยภูมิการแพทย์อุบัติเหตุ โรงพยาบาลศรีนครินทร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวทาลัยขอนแก่น มอบผ้าไหมไทยเป็นของที่ระลึกให้กับท่านวิทยากรค่ะ

หมายเลขบันทึก: 399724เขียนเมื่อ 30 กันยายน 2010 08:21 น. ()แก้ไขเมื่อ 23 มิถุนายน 2012 01:39 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

พี่แขกคะ

ที่ ER รพ.ศรีนครินทร์ มี trauma case management หรือเปล่าคะ บทบาทเป็นอย่างไรคะ ขอบคุณมากคะ

สวัสดีค่ะ น้องแหม่ม ที่รัก

พี่แขกก็อยากจัดให้มีระบบ Case Management อยู่เหมือนกัน เท่าที่วิเคราะห์ระบบน่าจะมีโอกาสจัดการให้มีได้ ในส่วนของแผนกอุบัติเหตุ ฉุกเฉิน เพราะเรามี Trauma ward มีผู้ป่วยต้องการการจัดการเรื่องนี้

ตอบว่าปัจจุบัน ยังไม่มี แบบเต็มรูปแบบ แต่สามารถประยุกต์ใช้บางส่วน โดย พยาบาล APN หรือ head nurse

ต้องการทราบวิธีการจัดอัตรากำลังในระบบ case management ที่ใช่ในปัจจุบันของโรงพยาบาลพี่ค่ะพอดีว่าน้องอยู่โรงพยาบาลที่เชียงใหม่แล้วทางหัวหน้าหอผู้ป่วยเดิมไปรับเอาระบบนี่มาจาก ม.ช. ซึ่งขณะนั้นไม่ได้พัฒนาเต็มรูปแบบหรือว่าทางพี่ๆเอาแบบมาไม่หมดปัจจุบันนี้ได้ใช้ระบบนี้มานานประมาณ 10 ปี ก็มีปัญหาเดิมๆ คือขาดอัตรากำลัง ปัจจุบัน ICU surg มีอัตราครองเตียงที่ 10 เตียง ใช้อัตราการดูแล 2:1 ไม่ได้แบ่งประเภทผู้ป่วยนะคะ ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วย truma และผ่าตัดสมอง อยากขอทราบแนวทางปฏิบัติของระบบนี้และวิธีการจัดอัตรากำลังที่ถูกต้องด้วยค่ะ ที่ร.พน้องใช้พยาบาล 1 คนดูแลผู้ป่วย 2 คน ผู้ป่วยบางคนก็ NR แล้วพี่พอจะมีข้อแนะนำให้หน่อยได้ไหมคะ แล้วจะรอคำตอบนะคะ ขอบคุณมากค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท