อินเตอร์เน็ต


อินเตอร์เนต : คือ ระบบเน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ ที่ต่อเชื่อมระบบต่างๆ ทั่วโลก เข้าด้วยกัน เปรียบเสมือนห้องสมุด สาธารณะชน ขนาดมหึมา ที่ใหญ่ที่สุด ในโลก ก็ว่าได้ ที่มีข้อมูลต่างๆมากมาย และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ต่างๆ ได้ไม่ว่าจะเป็นการ ค้นคว้าวิจัย หรือ เพื่อความ บันเทิง เป็นต้น

อินเตอร์เนต เป็นคำ ที่หลายคนคุ้นหูและเป็นที่รู้จักกันดีในขณะนี้ นอกจากนั้นมัน ไม่ใช่เป็นแค่ระบบ เน็ตเวิร์กขนาดใหญ่ธรรมดา เท่านั้น แต่มันเป็น อภิมหาเน็ตเวิร์กโลก ( เน็ตเวิร์ก ที่เชื่อต่อกันหลายๆ เน็ตเวิร์ก จาก ทั่วทุกมุมโลกเข้าไว้ด้วยกัน ) ที่ๆ เสมือนถนนที่จะพาผู้ที่เป็นสมาชิกบน เน็ตเวิร์ก ไปได้ ทุกแห่งทุกหนบนโลก อินเตอร์เนต

                                               กว่าจะมาเป็น อินเตอร์เนต

 

 

อินเตอร์เนต มีการพัฒนาการมาจาก อาร์พาเน็ต ( ARPAnet หรือที่เรียกกัน สั้นๆว่า อาร์พา ที่ตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2512 เป็นเครือข่าย คอมพิวเตอร์ ของกระทรวงกลาโหม ที่ใช้กันในงานวิจัยทางด้าน การทหาร ( ARPA : Advanced Research Project Agency ) จนกระทั่ง มาถึงในปี พ.ศ. 2515 หลังจากที่เครือข่าย ทดลอง ของ อาร์พา ประสบกับความสำเร็จเป็นอย่างมาก ก็ได้มีการปรับปรุง หน่วยงาน จาก อาร์พา มาเป็น ดาร์พา ( Defence Comunication Agency ) และ ในปี พ.ศ. 2526 อาร์พาเน็ต ก็ได้แบ่งออกเป็น 2 เครือข่ายด้วยกัน คือ เครือข่ายด้านงานวิจัย ใช้ชื่อ อาร์พาเน็ต เหมือนเดิม ส่วนเครือข่ายของกองทัพใช้ มิลเน็ต ( MILNET : Military Network ) ซึ่งมีการเชื่อมต่อ โดยใช้ โพรโตคอล TCP / IP ( Transmission Control Protocol / Internet Protocol ) เป็น ครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2528 โดย มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ ของ อเมริกา NSF ได้ให้เงิน ทุนในการสร้าง ศูนย์ซุปเปอร์คอมพิวเตอร์ จำนวน 6 แห่ง และให้ใช้ชื่อว่า NSFNET แลพจนกระทั่งพอมาถึงปี พ.ศ. 2533 อาร์พาเน็ต รองรับ ภาระที่เป็น กระดูกสันหลัง ( BackBone ) ของระบบ ไม่ได้ จึงได้ยุติ อาร์พาเน็ต และเปลี่ยนไปใช้ NSFNET และ เครือข่ายอื่นๆ แทน จนมาเป็นเครือข่ายขนาดมหึมา จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ และเรียก เครือข่ายนี้ว่า อินเตอร์เนต ( Internet ) โดย เครือข่ายส่วนใหญ่จะอยู่ในประเทศ สหรัฐอเมริกา และ ปัจจุบันนี้ได้มี เครือข่ายย่อย มากถึง 25,000 เครือข่ายเลยทีเดียว
ที่อยู่บนอินเตอร์เนต หรือ Internet Address จะประกอบด้วยชื่อของผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ ( User ) และ ชื่อของ อินเตอร์เนต ( Internet Name ) โดยจะมีรูปแบบคือ ....

ชื่อผู้ใช้@ชื่อของอินเตอร์เนต , [email protected]

 

 

ตัวอย่างเช่น [email protected] จะหมายถึงว่า ผู้ใช้ ใช้ชื่อ tick เป็นสมาชิก ของศูนย์บริการ หรือ ศูนย์คอมพิวเตอร์ ชื่อ mail ที่มีชื่ออินเตอร์เนตเป็น ksc.net.th หรือ [email protected] หมายถึงว่าผู้ใช้ ใช้ชื่อ thanop เป็นสมาชิกของศูนย์คอมพิวเตอร์ที่มีชื่อเป็น thaiware.com หมายเลขอินเตอร์เนต หรือ IP Address จะเป็นรหัสประจำตัวของคอมพิวเตอร์ที่ต่อเข้ากับอินเตอร์เนต โดยหมายเลขนี้จะมีรหัสไม่ซ้ำกัน ประกอบไปด้วยตัวเลขจำนวน 4 ชุด ด้วยกัน ที่คั่นด้วย เครื่องหมายจุด (.) ยกตัวอย่างเช่น 203.151.217.158 ครับ จะเป็นหมายเลข IP Address ของเครื่อง thaiware.com

 

ชื่ออินเตอร์เนต ( DNS : Domain Name Server ) จะเป็นชื่อที่อ้างถึง คอมพิวเตอร์ ที่ต่อเข้ากับ อินเตอร์เนต เนื่องจาก IP Address เป็น ตัวเลข 4 ชุด ซึ่งเป็นที่ยากในการจำเป็นอย่างมาก และ ไม่ได้สะดวกต่อผู้ใช้ ซึ่ง DNS นี้จะทำให้จดจำได้ง่ายยิ่งขึ้น เป็น mail.ksc.net.th , [email protected] ( mail คือ ชื่อ คอมพิวเตอร์ , ksc คือชื่อ เครือข่ายท้องถิ่น , net คือ ซับโดเมน , th คือ ชื่อโดเมน )

                                          ความหมายของโดเมน

 

 

สำหรับ ความหมายของโดเมน ในเครือข่าย อินเตอร์เนต ก็ได้จำแนกออกมาทั้งหมด 6 ประเภท ด้วยกัน คือ :
  • .com - กลุ่มองค์การค้า ( Commercial )
  • .edu - กลุ่มการการศึกษา ( Education )
  • .mit - กลุ่มองค์การทหาร ( Military )
  • .net - กลุ่มองค์การ บริการเครือข่าย ( Network Services )
  • .org - กลุ่มองค์กรอื่นๆ ( Organizations )
  • .int - หน่วยงานที่ตั้งขึ้นโดยสัญญาหรือข้อตกลงระหว่างประเทศ ( International )
ถ้า สังเกตุดีๆ จะเห็นว่า ในประเทศ สหรัฐอเมริกา เท่านั้น ที่จะมี โดเมน เป็นตัวอักษร 3 ตัว ในกรณีที่ ประเทศอื่นๆ เช่น ประเทศไทย ของเรา จะเป็นเพียงแค่ 2 ตัว เท่านั้น !!! เช่น microsoft.com ของประเทศ สหัรฐอเมริกา กับ ksc.net.th ของไทย นั่นเอง นอกจากนี้ ในบ้านเรามีการกำหนดชื่อโดเมน ขึ้นมา ใหม่ !!! อีก ด้วย อย่างเช่น internet.th.com จะหมายถึงว่า เครื่องที่ชี้ว่า internet อยู่ใน ประเทศไทย ( th ) และ เป็นบริษัททางการค้า ( com )

 

 

 

คำสำคัญ (Tags): #โดเมน
หมายเลขบันทึก: 399586เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 21:00 น. ()แก้ไขเมื่อ 30 พฤษภาคม 2012 15:07 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท