EK-KARIN CHUAYCHOO
นาย เอกรินทร์ EK-KARIN CHUAYCHOO ช่วยชู

ปัจจัยของสิ่งไม่มีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด


การที่เห็ดจะให้ผลผลิตดอกเห็ดสูงนั้น สภาพแวดล้อมจุดนั้นๆ จะต้องมีความเหมาะสม ซึ่งแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สิ่งไม่มีชีวิตและสิ่งมีชีวิต

การที่ดอกเห็ดจะเจริญเติบโตได้ดีนั้นจะต้องมีปัจจัยที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของเห็ดด้วย ฤดูฝนจะเป็นฤดูกาลที่พบการออกดอกของเห็ดในธรรมชาติมากที่สุด ซึ่งสามารถแบ่งปัจจัยที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของเห็ดโดยกว้างๆได้ 2  ปัจจัยดังนี้

ข้อแรก : พันธุกรรม ก่อนทำการเพาะเห็ดจะต้องมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงและมีลักษณะตามที่ต้องการ เช่น แข็งแรง ปราศจากศัตรูเห็ด ดอกเห็ดตรงต่อความต้องการของตลาด เจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อม ฤดูกาล แหล่งที่เพาะนั้นๆ

ข้อสอง : สิ่งแวดล้อม การที่เห็ดจะให้ผลผลิตดอกเห็ดสูงนั้น สภาพแวดล้อมจุดนั้นๆ จะต้องมีความเหมาะสม ซึ่งสามารถแบ่งออกได้ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ สิ่งไม่มีชีวิต และสิ่งมีชีวิต

สำหรับปัจจัยของสิ่งไม่มีชีวิตที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของดอกเห็ด เนื่องจากเห็ดเป็นพืชชั้นต่ำจำพวกราไม่สามารถสังเคราะห์แสงได้อย่างพืชสีเขียวทั่วไป อาหารของเห็ดได้จากการย่อยสลายของอินทรียวัตถุที่ผุพังและอาหารที่เห็ดย่อยง่ายนั้นคือกลูโคส เห็ดหลายชนิดสามารถเจริญได้ดีบนอาหารจำพวกแป้ง เซลลูโลส ลิกนิน  แต่สำหรับเห็ดบางชนิดก็เลือกที่ย่อยไม้ มูลสัตว์ และปุ๋ยหมัก

1.1 วัสดุเพาะที่ใช้เพาะเห็ดจึงมีความแตกต่างกัน เช่น

-  เห็ดที่ขึ้นได้ดีบนท่อนไม้ เช่น เห็ดหูหนู เห็ดหอม เห็ดมะม่วง เห็ดขอนขาว

-  เห็ดที่ขึ้นได้ดีบนปุ๋ยหมัก เช่น เห็ดกระดุม เห็ดฟาง เห็ดตีนแรด

-  เห็ดที่ขึ้นเนื่องจากการทำกิจกรรมของแมลง เช่น เห็นโคนใหญ่ (เห็ดปลวก)

-  เห็ดที่ขึ้นบนรากร่วมกับต้นไม้หรือเห็ดไมคอร์ไรซ่า เช่น เห็ดเสม็ด เห็ดตับเต่า เห็ดตีนแรด

สำหรับวัสดุเพาะเห็ดควรเป็นวัสดุที่หาได้ง่ายในท้องถิ่นนั้นๆ ราคาถูก ใช้ได้สะดวก เห็ดเจริญเติบโตและพัฒนาให้ผลผลิตสูง อันได้แก่ ขี้เลื่อย ฟางข้าว ซังข้าวโพด ชานอ้อย ทะลายปาล์ม เป็นต้น

1.2 อาหารเสริมที่นิยมใช้คลุกผสมในวัสดุเพาะก่อนบรรจุถุงหรือแปลงเพาะเห็ดฟาง อย่างเช่น

-  รำละเอียด จะให้อาหารพวกโปรตีน วิตามินบี

-  ข้าวโพดป่น จะให้อาหารพวกกลูโคสและแร่ธาตุต่างๆ

-  กากถั่ว จะให้อาหารพวกโปรตีน

-  ใบกระถิ่น จะให้อาหารพวกโปรตีน (ห้ามใส่มากเนื่องจากจะทำให้ดอกเห็ดกระด้าง)

-  กากเหล้า (โรงงานสุรา)จะให้อาหารพวกโปรตีน

-  แป้งข้าวเหนียว เป็นอาหารที่ให้พลังงานต่อจุลินทรีย์ ในขบวนการย่อยสลายอินทรีวัตถุ ซึ่งส่วนใหญ่ใส่ในส่วนผสมของเห็ดนางฟ้าภูฐานและเห็ดฟาง

-  ไส้นุ่น ช่วยดูดซับความชื้นและมีคุณค่าทางอาหารต่อการเพาะเห็ดฟาง

-  ขี้ฝ้าย (สำลีสีเทา) ช่วยดูดซับความชื้นและมีคุณค่าทางอาหารต่อการเพาะเห็ดฟาง

-  ทะลายปาล์ม ช่วยดูดซับความชื้นและมีคุณค่าทางอาหารสูง แต่ต้องผ่านขบวนการหมักก่อนนำมาใช้ ส่วนใหญ่ใช้เพาะเห็ดฟาง (กองเตี้ย,โรงเรือน)

1.3อาหารเสริมที่ได้จากแร่ธาตุ (ธาตุอาหาร)จากปุ๋ยหรือสารอนินทรีย์ต่างๆ ประโยชน์ต่อการทำงานของจุลินทรีย์หลังจากการย่อยสลายแล้วเห็ดนำไปใช้ต่อ ซึ่งได้แก่

- ปุ๋ยยูเรีย (46-0-0) ให้กรดอะมิโนแก่เห็ด

- ปุ๋ยเคมีสูตรต่างๆ(ขึ้นอยู่กับโรงเรือนหรือท้องถิ่นนั้นๆ)เช่น แอมโมเนี่ยมซัลเฟต(21-0-0)

-  ดีเกลือ (MgSo4) เป็นองค์ประกอบของเซลล์เห็ด ช่วยเร่งปฏิกิริยาในการย่อยของเส้นใยเห็ด

-  ยิปซั่ม (CaSo4) เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เห็ด ทำให้ดอกเห็ดแข็งแรง ดอกสมบูรณ์ขึ้น

-  ปูนขาวหรือแคลเซี่ยม (CaO) มีฤทธิ์เป็นด่าง ช่วยปรับค่าpH (Potential of Hydrogen ion) ปุ๋ยหมักให้มีสภาพเป็นกลางทำให้เห็ดดูดซึมธาตุอาหารได้ดีขึ้น นอกจากนี้ยังให้แคลเซี่ยม (Calcium)แก่เห็ด ช่วยป้องกันโรคแมลงศัตรูเห็ด

-  ภูไมท์ หรือแร่พัมมิช เป็นสารอาหารที่ได้จากหินแร่ภูเขาไฟ ใช้ปรับสภาพความเป็นกรดด่าง ทำให้โครงสร้างเส้นใยและดอกเห็ดมีความแข็งขึ้น ป้องกันไรศัตรูเห็ด นอกจากนี้ยังให้ธาตุอาหารแก่เส้นใยเห็ดจำพวก แคลเซี่ยม แมกนีเซี่ยม ซิลิก้า เป็นต้น ทำให้ดอกเห็ดมีรสชาติดี กรอบ ยืดอายุหลังการเก็บเกี่ยวได้นานกว่าเดิม (เหี่ยวช้า)

-  แร่ม้อนท์ (Montmorillonite) เป็นสารอาหารที่ได้จากเถ้าภูเขาไฟ ที่เกิดจากการระเบิดขึ้นจากปล่องภูเขาท่ามกลางลาวา ถูกผลักดันจนลอยขึ้นระเบิดกลางอากาศต่อ หนึ่ง สอง หรือสามครั้ง ทำให้เกิดรูพรุนโปร่งอุดมไปด้วยธาตุอาหาร เทรซซิลิเม้นท์ต่างๆ ช่วยดูดซับความชื้น ช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตของเส้นใยเห็ดให้มีปริมาณมากขึ้น ยืดอายุการเก็บเกี่ยวดอกเห็ดให้นานกว่าเดิม

1.4 อุณหภูมิ มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของเห็ดมาก ทั้งระยะเจริญเติบโตของเส้นใย ออกดอกและการปล่อยสปอร์ ปกติอุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเส้นใยจะสูงกว่าช่วงออกดอกประมาร 3-5 องศาเซลเซียส ซึ่งเห็ดแต่ละชนิดมีความต้องการอุณหภูมิแตกต่างกัน ดังนี้ (ตามตารางที่ 1)

    ตารางที่1  แสดงอุณหภูมิ ความชื้นสัมพัทธ์ ที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเห็ด

รายการ

อุณหภูมิช่วงเจริญเติบโตของเส้นใย

(องศาเซลเซียส)

อุณหภูมิช่วงดอกเห็ด

(องศาเซลเซียส)

ความชื้นสัมพัทธ์ต่อการออกดอก (%)

(โรงเรือน)

เห็ดฟาง

32-38

28-32

80-85

เห็ดนางรม

28-32

25-28

70-90

เห็ดนางฟ้า

28-32

25-28

80-90

เห็ดเป๋าฮื้อ

30-32

28-32

70-90

เห็ดหูหนู

28-32

28-35

80-95

เห็ดหอม

20-24

12-20

70-80

เห็ดหลินจือ

25-35

25-28

80-90

เห็ดแชมปิญอง

23-25

15-20

80-85

    ที่มา : อรัญ   ภมร ,  2541

1.5 ความชื้นสัมพัทธ์ ในธรรมชาติเห็ดสามารถเจริญเติบโตได้ดีในสภาพความชื้นสูง แบ่งย่อยออกได้ 2 ประเภท คือ

  1. ความชื้นในวัสดุเพาะ (Moisture) หมายถึงความชื้นในปุ๋ยหมักเพาะเห็ดและกองฟางที่เหมาะสมคือประมาณ 60-65 เปอร์เซ็นต์ ถ้ามากเกินไปเส้นใยจะขาดออกซิเจนทำให้เส้นใยอ่อนแอเชื้อราศัตรูและแบคทีเรียเจริญเติบโตได้ดี ส่งผลทำให้เส้นใยเห็ดเกิดความเสียหาย
  2. ความชื้นในอากาศ (Humidity) หมายถึงความชื้นรอบก้อนเชื้อเห็ดหรือในกองเห็ดฟาง ถ้าน้อยเกินไปทำให้ดอกเห็ดแห้งเป็นสีเหลือง ชะงักการเจริญเติบโต แต่ถ้ามากเกินไปดอกเห็ดจะฉ่ำน้ำ คุณภาพต่ำไม่ได้ราคา

1.6  ความเป็นกรด-ด่าง (pH ย่อมาจาก Potential of Hydrogen ion) เห็ดเจริญเติบโตได้ดีในอาหารที่มีสภาพเป็นกลาง หรือกรดอ่อนๆ (pH 6.5-7)ถ้าอาหารเป็นกรดเส้นใยเห็ดเจริญเติบโตปกติแต่ไม่ออกดอกหรือออกบ้างเล็กน้อย สำหรับ pH ของน้ำก็เช่นเดียวกันจะต้องมีความเหมาะสมนั้นคือเป็นกลาง (pH 7)หรือน้ำที่ใช้ดื่มกินในชีวิตประจำวันและจะต้องสะอาดปราศจากสารเคมีตกค้าง

ตารางที่ 2 แสดงสภาพแวดล้อมในการเจริญเติบโตของเห็ด

ชนิดเห็ด

ระยะบ่ม

ระยะออกดอก

การเปิดก้อน

เงื่อนไขการออกดอก

ระยะห่างระหว่างรุ่น (วัน)

ผลผลิตกรัม/ถุง

องศา C

วัน

องศา C

วัน

ความชื้น

แสง

การถ่ายเทอากาศ

เห็ดนางรม

28-38

25-40

28-35

90

ดึงสำลีออกถอดคอขวดเห็ดขอนขาวและเห็ดลมออก

70-90%

น้อย

ดี

10-15

200-300

เห็ดนางฟ้า

เห็ดขอนขาว

เห็ดลม

เห็ดเป๋าฮื้อ

28-30

45-60

28-35

90

ดึงสำลีคอขวดออก

70-80%

ปานกลาง

ดี

30-40

200-300

เห็ดหูหนู

28-38

35-40

28-35

90

รัดจุก,กรีดข้าง

80-90%

น้อย

ดี

15-20

200-300

เห็ดหอม

24-32

60-70

24-30

90

ปาดเหลือก้น

70-80%

ปานกลาง

ดี

15-20

200-300

เห็ดแครง

28-35 

15-20 

32 

30 

รัดจุก, กรีดข้าง 

80% 

ปานกลาง

ดี

7

150-200

เห็ดตีนแรด

30-38 

30-38 

35 

240 

แกะถุงฝังดิน 

80% 

ดี

30-45

300-400

เห็ดฟาง

35-38 

7-9 

30-35 

3-5 

 80-90%

น้อย

ดี

5

1-2 กก./ตร.ม.

ที่มา : เห็ดไทย 2544 ,สมาคมนักวิจัยเพาะเห็ดแห่งประเทศไทย

1.7 การถ่ายเทอากาศ เห็ดมีความต้องการออกซิเจนโดยเฉพาะระยะออกดอก ซึ่งต้องการออกซิเจนมากกว่าระยะของเส้นใย สำหรับคาร์บอนไดออกไซด์ช่วยทำให้เส้นใยเจริญเติบโตดี แต่ในระยะออกดอกบวกกับโรงเรือนทึบและการถ่ายเทอากาศไม่ดีส่งผลทำให้ดอกเห็ดไม่บาน ดอกเล็ก ก้านยาวผิดปกติ ซึ่งอาการดังกล่าวมักพบเห็นในเห็ดถุง

1.8 แสง มีผลต่อการเจริญเติบโตของเส้นใย ถ้าแสงน้อยเส้นใยจะเจริญเติบโตได้เร็ว  สำหรับระยะออกดอกแสงจะช่วยกระตุ้นการสร้างตุ่มดอกเห็ด ( Primodia ) และการเจริญเติบโตของดอกเห็ด ดังนี้

-  เห็ดหูหนู แสงจะช่วยให้สีเข้มขึ้น หากแสงน้อยดอกจะซีด

-  เห็ดฟาง แสงจะทำให้ดอกสีคล้ำ หากแสงน้อยดอกเห็ดจะมีสีขาว

-  เห็ดนางรม นางฟ้า นางฟ้าภูฐาน แสงจะช่วยให้การปล่อยสปอร์ดีขึ้น โดยเฉพาะแสงแดดตอนสายๆ

เผยแพร่โดย ... นายเอกรินทร์(วัชนะ)   ช่วยชู

หมายเลขบันทึก: 399299เขียนเมื่อ 29 กันยายน 2010 06:52 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 23:36 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

สนใจเรื่องเห็ดมากๆ ความรู้นี้มีประโยชน์มากๆเลย

ขอบคุณคนโพสมากๆ

ขอบคุณมากครับสำหรับ ความรู้ที่แบ่งปันครับ<p> ผมกำลังทำโรงเรืองจำรองควบคุม อุณหภมิและความชืัน อยู่ครับ</p>

อนุญาตให้แสดงความเห็นได้เฉพาะสมาชิก
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท