เวทีแก้จนคนบ้านบางหลวง ตำบลท่าไร่


ดีที่ผู้นำ ผู้ตามทำไม่ติดขัด

        วันนี้มีโอกาสได้ร่วมกับคณะคุณอำนวยตำบลท่าไร่ ในการทำเวทีแก้ปัญหาความยากจน ที่บ้านบางหลวงนำทีมโดย ครูแต้ว (อ.มนัสชนก  จันทิภักดิ์) พี่จุรี  พัฒนากรประจำตำบล  และน้องพรรษา  ดาษนิกร เจ้าพนักงานพัฒนาชุมชน อบต.ท่าไร่  และยังมีพี่จากหน่วยงานเกษตรไปร่วมด้วย ส่วนครูนงเมืองคอน (อ.จำนง  หนูนิล) ตอนนี้คงสนุกอยู่กับการเล่าเรื่องบนเวที           ที่กรุงเทพฯ กับท่านผู้ว่าเมืองคอน พร้อมด้วย น้องพัช จาก พอช. และน้องติ่ง ตัวแทนกลุ่มเกษตรชุมชนบ้านมะขามเรียง  
           เริ่มต้นวันนี้ด้วยการนำแนวทางการดำเนินงานตามโครงการ     โดยแกนนำของหมู่บ้านท่านรองเสถียร รัตนโชติ  ข้าราชการบำนาญผู้อุทิศตนเพื่อการพัฒนาชุมชน การทำเวทีวันนี้เป็นไปด้วยความราบรื่น  บรรยากาศระหว่างผู้เข้าร่วมประชุมเป็นไปด้วยความสนุกสนาน  วันนี้วิทยากรผู้นำกระบวนการของหน่วยงานเพียงแต่เริ่มเล่าความเป็นมาของโครงการ ก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการกลุ่มในการกำหนดเป้าหมายแนวทางในการแก้จน หลังจากนั้นก็ให้แบ่งกลุ่ม  8  กลุ่มตามแกนนำเพื่อกำหนดเป้าหมายโดยใช้หัวข้อ  แนวทางแก้จนด้วยการ ลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ และการออม  เวลา  1  ชั่วโมงในการกำหนดเป้าหมายและวิธีการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้  หลังจากนั้นให้ทุกกลุ่มออกมาเล่าสู่กันฟัง
          ท่านรองเสถียร  รัตนโชติ  เป็นผู้ที่สรุปและคอยเสริมให้ความคิด  ของทุกกลุ่มสมบูรณ์ ผลสรุปของเป้าหมายในวันนี้อยู่ที่วิถีการดำเนิน  ชีวิตของชาวบ้านบางหลวง ทั้งในเรื่องของการลดรายจ่าย  การเพิ่มรายได้  การออมซึ่งเป็นเรื่องที่อยูในวิ4การดำเนินชีวิต ประจำวันและชาวบ้านสามารถทำได้ทันที
        ในการเสนอแนวคิด ต้องยกนิ้วให้ น้าเริญ (นายเจริญ  ยุทธชัย) ชาวบ้านบางหลวง น้าเริญบอกว่าทุกโครงการที่เป็นโครงการ CEO  ดีมาก ที่สำคัญคือการเดินไปพร้อมกันระหว่างโครงการผู้ว่าฯ และประชาชน ในเมื่อประชาชนเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนา หากมีตัวแทนจากประชาชนที่สามารถคุยได้เป็นใครก็ได้ไม่จำเป็นต้อง มีตำแหน่งยศถา บรรดาศักดิ์ แต่เป็นคนที่สามารถเสนอแนวทาง การพัฒนาชุมชนได้และเป็นผู้นำตัวความต้องการของประชาชนชุมชนงบประมาณที่ลงไปในแต่ละโครงการก็จะมีค่ามากที่สุด และโครงการก็จะประสบผลสำเร็จ ซึ่งจากแนวคิดนี้แสดงให้เห็นว่า คุณกิจบ้านบางหลวงรู้แล้วว่าตอนนี้ตนเองมีปัญหาอะไร  และวางเป้าหมายไว้อย่างไร และผมคิดว่าน่าจะมีแนวทางในการ พัฒนาตนเองและชุมชนอยู่แล้ว น้าเริญบองว่ามีความยินดีที่มี โครงการนี้และคิดว่าได้เดินมาถูกทางแล้ว
        สรุปแล้ววันนี้คณะวิทยากรได้แต่เกริ่นนำ และสรุปในช่วงท้าย ส่วนในเรื่องกระบวนการเป็นเรื่องของ  แกนนำ 8  คนที่มีความรู้ ความเข้าใจถึงวิธีการภายใต้การนำทีมของท่านรองเสถียร  รัตนโชติ  ผู้ซึ่งมีใจเป็นสาธารณะเสียสละเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง…..

หมายเลขบันทึก: 39817เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 14:25 น. ()แก้ไขเมื่อ 20 มิถุนายน 2012 11:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)
ขอบคุณนะค่ะที่บันทึกมา เปิดมุมมองได้กว้างขึ้นค่ะ
ชื่นใจจริงๆกับเวทีเรียนรู้นี้ครับ หาก อ.สำราญ และทีมคุณอำนวยตำบลท่าไร่จะได้เผยแพร่ประสบการณ์ของท่าไร่ไปที่อื่น ไม่ว่าเรื่องแกนนำหมู่บ้าน 8 คน ซึ่งตอนนี้เป็นคุณอำนวยหมู่บ้านได้ดีเยี่ยมแล้วก็ดี ตัวคนดีที่มีจิตสาธารณะอย่างท่านรองเสถียร น้าเริญก็ดี และเรื่องดีๆอื่นๆซึ่งเชื่อว่ามีอีกแน่นอน ขยายผลเพื่อการเรียนรู้ไปหมู่บ้านอื่น ตำบลอื่น อำเภออื่น อาจจะในรูปของการเล่าในวงเรียนรู้อำเภอ (ไม่ทราบเมื่อไรจะได้ฤกษ์) การเชิญบุคคลทั้ง2ท่านทีมีจิตสาธารณะไปเล่าประสบการณ์ การสัมภาษณ์เจาะลึกเป็นสกูปลงหนังสือพิมพ์ หรือไปออกอากาศวิทยุชุมชน เป็นต้น คนดีๆอย่างนี้คุณอำนวยต้องรีบกระจายความดีออกไปครับ ส่งผลแรงมากๆต่อการขับเคลื่อนโครงการแก้จนเมืองคอนของเรา ขอบคุณอาจารย์สำราญที่เก็บเรื่องเล่าดีๆมาฝาก

พูดถึงท่านรองอธิบดีเสถียร คุณพ่อที่เคารพของผมเอง พ่อเกิดที่นี้แต่ไปเรียนและเติบโตที่อื่น ท่านทำงานทั้งชีวิตในงานที่ช่วยเหลือคน และวันนี้ถึงเวลาที่ท่านเกษียรต้องพักแล้ว ท่านก็กลับมาที่ที่ท่านเกิด ช่วยกันพัฒนาชุมชนแห่งนี้ น่าชื่นชมนะครับ

ขอเป็นกำลังใจ(ห่าง ๆ)สำหรับงานที่ท่านทำ ขอให้สำเร็จนะครับ อย่างไรก็ต้องพักผ่อนมาก ๆ ด้วยเพราะ จะ 70 แล้วครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท