สมุนไพรไทย


มหัศจรรรย์สมุนไพรไทย
ขิง
จากตำราพืชสมุนไพรไทย (THAI MEDICINAL PLANTES) ฉบับภาษาอังกฤษ ทำให้เราได้เรียนรู้ว่า ขิงซึ่งเป็นอาหารและเครื่องดื่มมาช้านานแล้วนั้น จริง ๆ แล้วเป็นสมุนไพร ที่ออกฤทธิ์บำบัด ได้กว้างขวางแทบจะสารพัดโรค ซึ่งแน่ละว่าเราคงไม่หวังพึ่งขิงแต่เพียงลำพัง ในการบำบัดโรคต่าง ๆ แต่การได้รับทราบสรรพคุณมากมายของขิง ทำให้เราบริโภคขิง ในรูปแบบต่าง ๆ อย่างมั่นใจ และอุ่นใจว่าสิ่งที่เราดื่มหรือรับประทานลงไปนั้น นอกจากจะเสริม รสชาติของอาหารและเครื่องดื่มแล้ว สารประกอบต่าง ๆ ที่มีอยู่ในขิงยังจะช่วยบำบัดรักษาโรคต่าง ๆ ให้แก่เราด้วยไม่มากก็น้อย
ตำราพฤกษาศาสตร์ ให้ชื่อขิงไว้เต็มยศว่า ZINGIBER OFFICINALE ROSCOE เป็นพืชที่ชอบอากาศร้อนชื้น จึงปลูกได้ทั่วไปในภูมิประเทศแถบร้อน
ตำราแพทย์แผนไทย บรรยายสรรพคุณจากส่วนต่าง ๆ ของขิงไว้มากมายอย่างไม่น่าเชื่อ เช่น รากบริโภคแล้วจะมีอายุยืน, เสียงหวาน, ทำให้อยากอาหาร, ลดอาการท้องอืด, ท้องเฟ้อ, บรรเทาอาการนอนไม่หลับ, แก้ความผิดปกติของธาตุทั้งสี (ดิน น้ำ ลม ไฟ) เป็นต้น
ลำต้นเองก็มีประโยชน์ ในการบรรเทาอาการปวดท้อง, ปัสสาวะขัด, แก้ท้องอืด, ท้องเสีย ส่วนใบใช้บรรเทาไข้ ปัสสาวะขัด หรือบรรเทาอาการท้องอืดได้
ในบันทึกการใช้ขิงบำบัดความเจ็บป่วยต่าง ๆ มีกล่าวเป็นตัวอย่างไว้ เช่น น้ำขิงหนัก 5 กรัม มาบดหรือตำเป็นชิ้นเล็ก ๆ เพื่อต้มน้ำแล้วดื่มแก้ปวดท้อง หรือใช้ขิงถูกับหินแล้วผสม น้ำมะนาวเกลือ เพื่อจิบบ่อย ๆ แก้ไอ เป็นต้น
เมื่อใช้กรรมวิธีตรวจสอบทางเคมีสมัยใหม่ก็ทำให้เราทราบว่า ในขิงนั้นมีสารเคมีต่าง ๆ มากมายนับ 100 ชนิด รวมทั้งกรดอะมิโน, น้ำมัน, จินเจอรอล, กรดไขมัน, โชกาออล, แทนนิน เป็นต้น เมื่อเป็นเช่นนี้จึงไม่น่าแปลกใจที่ขิง มีสรรพคุณเป็นยาบำบัดอาการเจ็บป่วยต่าง ๆ และยังมีคุณสมบัติเป็นอาหาร หรือเครื่องดื่มได้
การออกฤทธิ์ทางเภสัชสิทยาเท่าที่วิจัยพบแล้วมีอาทิเช่น
1. ลดระดับไขมันโคเลสเตอรอล โดยการลดดูดซึมโคเลสเตอรอลจากอาหารในลำไส้ แล้วปล่อยให้ร่างกายกำจัดออกทางอุจจาระ
2. ช่วยลดความอยากของคนติดยาเสพติดได้
3. มีฤทธิ์ต่อระบบประสาทส่วนกลาง เช่น ช่วยระงับการชักในสัตว์ทดลอง, เสริมฤทธิ์ของยานอนหลับ กลุ่ม BARBITURATE บรรเทาปวดลดไข้, ลดอาการเวียนศีรษะ
4. ออกฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย
5. ป้องกันฟันผุ
6. ออกฤทธิ์ยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกร็ดเลือด
7. บรรเทาอาการไอ
8. ป้องกันและบำบัดอาการปวดศีรษะจากไมเกรนได้
9. ลดการหลั่งกรดของกระเพาะอาหาร
คำสำคัญ (Tags): #สมุนไพรไทย
หมายเลขบันทึก: 39769เขียนเมื่อ 20 กรกฎาคม 2006 11:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 28 มีนาคม 2012 14:06 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท