การจัดการความรู้


KM

การจัดการความรู้ในการวิจัยและพัฒนาการเกษตร โดย อาจารย์ทิพวัลย์

รู้สึกชอบมากค่ะจากความหมายที่อาจารย์กล่าวนำว่า การจัดการความรู้หมายถึง กระบวนการปลดปล่อยมนุษย์สู่ ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข นำความรู้ไปใช้ให้เกิดผล ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ ในความหมายนี้โดนใจมากค่ะโดยเฉพาะคำว่า “ศักยภาพ เสรีภาพ และความสุข” ซึ่งมีไม่กี่คนที่มีโอกาสได้ทำเพราะส่วนมากจะทำตามที่ผู้อื่นกำหนดให้ทำและหากทำนอกกรอบก็จะไม่มีใครยอมรับในกลุ่ม การทำงานถ้าขาด ศักยภาพและเสรีภาพก็จะไม่มีความสุขเพราะไม่ได้ทำด้วยความชอบหรือทำในสิ่งที่ตัวเองอยากจะทำ อีกความหมายหนึ่งของการจัดการความรู้ที่อาจารย์ให้ไว้คือ การทำให้เป้าหมายของเราสำเร็จโดยกระบวนการได้มาของความรู้และการใช้ความรู้มาจัดการ ซึ่งความรู้ในที่นี้หมายถึง ทักษะ การปฏิบัติ ทัศนะคติและอารมณ์ความรู้สึก  ความรู้แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ ความรู้ที่ฝังอยู่ในตัวคน(tacit knowledge) และความรู้ที่ชัดแจ้ง(explicit knowledge) การเรียนรู้ทำได้หลายวิธี เช่น เรียนรู้จากการเล่าเรื่องหรือการฟังจากผู้มีประสบการณ์  ชุมชนแห่งการเรียนรู้  การหมุนเวียนการทำงาน ทีมงานสายงานอื่น พี่เลี้ยง สัมมนาแลกเปลี่ยนความรู้ "พลังแห่งการเรียนรู้ประกอบด้วย ใจ หัว และมือ"

การนำความรู้ควรจะนำความรู้จากประสบการณ์ขับเคลื่อนไปอย่างมีทิศทาง อย่าใช้แต่ความรู้สำเร็จรูป  ประโยคที่ชอบอีกอันหนึ่งคือ “ไม่รู้ไม่ชี้ ดีกว่าไม่รู้แล้วชี้”  

คำสำคัญ (Tags): #km
หมายเลขบันทึก: 397469เขียนเมื่อ 23 กันยายน 2010 20:24 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:30 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท