แผนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์ กฎหมาย ภาคพิเศษ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553


ประวัติศาสตร์จะสอนให้เรารู้จักตัวเราเอง

แผนการสอน (Lesson Plan) Concise and incomplete

 

ชื่อวิชา     ประวัติศาสตร์กฎหมาย              รหัสวิชา  230406                             จำนวนหน่วยกิต  3

 

จำนวนชั่วโมงที่ใช้สอน         บรรยาย  3 ชั่วโมง/สัปดาห์         

อาจารย์ผู้สอน     อ.จตุภูมิ  ภูมิบุญชู* 

           

           “... ข้าพเจ้าเองทราบดีถึงสถานะและความสำคัญอันจำกัดของวิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย เท่าที่เป็นอยู่และที่ควรจะเป็นในหลักสูตรการศึกษาทั้งปวงของมหาวิทยาลัย กระนั้นก็ตาม ข้าพเจ้าเชื่อมั่นอย่างยิ่งว่า ฯพณฯ มิได้มองข้ามความสำคัญของวิชานี้  อีกทั้งเห็นความจำเป็นในอันที่จะต้องบุกเบิกสานต่อการศึกษาค้นคว้าในวิชานี้ให้ยิ่งขึ้นไปกว่าที่เป็นอยู่ ในขณะที่สาขาวิชาอื่นๆ ส่วนใหญ่กำลังเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง โดยเป็นผลเนื่องมาจากการศึกษาค้นคว้าทั้งหลายที่ได้กระทำไว้แล้วแต่กาลก่อนโดยชาวไทยและชาวต่างชาติ วิชาประวัติศาสตร์กฎหมายในประเทศสยามยังคงเป็นแต่เพียงการเริ่มต้น และยังมีคนจำนวนมาเชื่อด้วยว่า การเริ่มศึกษาค้นคว้าวิชานี้ให้เกิดผลจะเป็นไปได้อย่างไร เราควรเร่งเร้าความสนใจใฝ่รู้ของนักศึกษาทั้งหลาย ชักชวนให้เขาเหล่านั้นใฝ่ใจในการศึกษาเชิงประวัติศาสตร์ อีกทั้งแสดงให้พวกเขาเห็นซึ่งวิธีการศึกษาในอันที่จะนำไปสู่ผลการศึกษาที่น่าพึงพอใจ เป็นเวลานับทศวรรษแล้วที่ทางประเทศอินเดีย จีนและญี่ปุ่น มีการจัดพิมพ์ตำราอันเกี่ยวด้วยประวัติศาสตร์สถาบันทั้งหลายของชาติตน ในภาษาของแต่ละประเทศหรือบ้างก็เป็นภาษาตะวันตก ซึ่งบางเล่มก็ต้องนับว่ามีคุณภาพยอดเยี่ยมทีเดียว

          ดังนี้ จึงเป็นการสมควรที่จะกระตุ้นให้เกิดความก้าวหน้าทางวิชาความรู้ในประเทศสยาม ในทำนองเดียวกันในหมู่นักศึกษา วิชาที่ข้าพเจ้าสอนจึงมิได้มีจุดประสงค์อื่นนอกไปจากนี้...”[1]

 

          “กฎจะต้องสัมพันธ์กับกายภาพของประเทศ คือสัมพันธ์กับภูมิอากาศหนาวเย็น ร้อนแรง หรือปานกลาง สัมพันธ์กับลักษณะพื้นที่ ที่ตั้งและขนาดของประเทศ สัมพันธ์กับวิถีชีวิตของประชาชน ซึ่งอาจจะเป็นชาวนา ชาวไร่ พรานไรหรือคนเลี้ยงสัตว์ กฎจะต้องสัมพันธ์กับระดับเสรีภาพซึ่งโครงสร้างการปกครองสามารถรับได้ สัมพันธ์กับศาสนาของพลเมือง ความโน้มเอียงต่างๆ ของพวกเขา ความมั่งมี จำนวน การติดต่อสัมพันธ์กันในหมู่พลเมือง ขนบธรรมเนียมความเป็นอยู่ วิถีของพวกเขา ประการสุดท้าย กฎจะต้องมีลักษณะสัมพันธ์ซึ่งกันและกันด้วย กฎจะต้องสัมพันธ์กับที่มาของกฎกับวัตถุประสงค์ของผู้บัญญัติกฎหมาย กับระเบียบของสรรพสิ่งทั้งหลายซึ่งเป็นพื้นฐานของกฎนั้นๆ ในทัศนะต่างๆ ที่กล่าวมานี้แหละที่จะต้องพิจารณา”[2]

คำอธิบายรายวิชา 

          ที่ มาของกฎหมายไทยตั้งแต่ยุคสุโขทัยจนถึงยุคก่อนการปฏิรูประบบกฎหมาย การปฏิรูประบบกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมของไทย กำเนิดและวิวัฒนาการของระบบกฎหมายต่างๆ เช่น ระบบกฎหมายโรมาโน- เยอรมานิค กฎหมายแองโกลแซกซอน กฎหมายสังคมนิยม ฯลฯ ตลอดจนอิทธิพลของกฎหมายดังกล่าวที่มีต่อกฎหมายไทย

 

1. วัตถุประสงค์ 

         - นิสิตรู้และสามารถอธิบายคุณค่าในการศึกษารายวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายได้

       - นิสิตสามารถจำแนกระยะเวลาในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยได้

       - นิสิตสามารถอธิบายแนวความคิดธรรมศาสตร์ราชศาสตร์ในกฎหมายไทยโบราณและเปรียบเทียบกับแนวความคิดในกฎหมายไทยในปัจจุบันได้

2. แผนการสอน


 

สัปดาห์ที่ 1-2 :  การศึกษาวิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย ที่เป็นการศึกษานิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริงความหมายของประวัติศาสตร์ และคุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย

Download  Bio data & Pre Class Questionnaire !

เอกสารที่เกี่ยวข้อง Related Materials

 - ปรีดี เกษมทรัพย์. นิติปรัชญา. พิมพ์ครั้งที่ 9, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ : กรุงเทพฯ  2551. หน้า 17 - 62  ***

 - นิธิ เอียวศรีวงศ์. หลักฐานประวัติศาสตร์ในประเทศไทย.  พิมพ์ครั้งที่ 1, สำนักพิมพ์บรรณกิจ : กรุงเทพฯ 2525. หน้า1-28, 87-175   

เอกสารประกอบการบรรยายครั้งที่ ๑

Questions !!!

1. "ความรู้" กับ "ศาสตร์" แตกต่างกันอย่างไร?

2. การศึกษา ประวัติศาสตร์กฎหมายจัดอยู่ในการศึกษานิติศาสตร์สาขาใด?

3. กระบวนการแสวงหาความจริงในทางประวัติศาสตร์ เรียกว่าอะไร มีกระบวนการอย่างไร และมีจุดเหมือนและต่างจาก กระบวนการแสวงหาความจริงในทางกฎหมายอย่างไร?(วิเคราะห์ผ่านกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง และกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา)

4. การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายมีคุณค่าอย่างไร?

Home work

ลิงคอล์น ใช้วิธิใดในการเข้าใจปัญหา และแก้ปัญหาเรื่องทาสของสหรัฐอเมริกา และจากการค้นคว้าของลิงคอล์น ได้ค่นพบว่าอย่างไร?

 อ่าน

ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ. 200 ปี เอบราแฮม  ลิงคอล์น. ว.สารคดี. ปีที่ 25 ฉบับที่ 297 พฤศจิกายน 2552 หน้า 53-73. กดลิงค์เพื่ออ่านเอกสาร !

ข้อถกเถียงเกี่ยวกับศิลาจารึกหลักที่ ๑ กด link เพื่ออ่าน

ศิลาจารึกหลักที่ ๑ กด Link เพื่อดูและอ่าน

หัวข้อรายงานหน้าชั้น กดเพื่ออ่าน


สัปดาห์ที่ 3-5: การจำแนกยุคสมัยในทางประวัติศาสตร์ในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทย และกระบวนวิธีในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย

Questions

1.  มีผู้โต้แย้งว่า ศิลาจารึกหลักที่ ๑ นั้นทำขึ้นในสมัยพระบามสทเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้นจึงไม่มีคุณค่าในการศึกษาในเชิงประวัติศาสตร์กฎหมาย  นิสิตเห็นด้วยกับคำกล่าวนี้หรือไม่  ให้นิสิตอภิปราย และแสดงเหตุผล ทั้งสองด้านเพื่อสนับสนุนและคัดค้านคำกล่าวนี้

2. แนวคิดสัมยอาณาจักรทวาราวดี เชื่อมโยงกับแนวคิดทางกฎหมายสมัยอยุธยาอย่างไร

3. กฎหมายกับศิลธรรมแยกจากกันได้หรือไม่ เพราะอะไร?

 

สัปดาห์ที่ 6-7 : แนวความคิดและพัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน

                        - แนวความคิดว่าด้วย “มานวธรรมศาสตร์ของฮินดู

                   - แนวความคิดทางกฎหมายว่าด้วยธรรมศาสตร ราชศาสตรที่ปรากฏในกฎหมายไทยก่อนปี พ.ศ. 2398

หนังสืออ่านประกอบ

______.,Laws of Manu in the Sacred book of the east

______., กฎหมายลักษณะพยาน. , available from  www.panyathai

พิศาล  บุญผูก., ธรรมศาสตร์มอญเค้ากฎหมายไทย(ตอนที่ ๑ถึง ๔), available from http://www.monstudies.com

สัปดาห์ที่ 8 สอบกลางภาค

สัปดาห์ที่ 9 :           แนวความคิดและพัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน

                        - การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่แนวความคิดกฎหมายแบบตะวันตก         

สัปดาห์ที่ 10-11 แนวความคิดและพัฒนาการทางความคิดเกี่ยวกับกฎหมายของไทยจากอดีตจนกระทั่งปัจจุบัน 

                   - แนวความคิดในกฎหมายไทยปัจจุบัน (นับจาก ปี พ.ศ. 2475 - ปัจจุบัน)

                   - การละเลยการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายไทยในปัจจุบัน และผลลัพธ์

สัปดาห์ที่ 12-13 : สังเขปการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายโบราณบางลักษณะ                                             (การนำเสนอผลงานทางวิชาการโดยนิสิต)                 

สัปดาห์ที่ 14-15 : สังเขปการศึกษาเปรียบเทียบกฎหมายโบราณบางลักษณะ               

          (การนำเสนอผลงานทางวิชาการโดยนิสิต)

 

3.   การดำเนินการจัดการเรียนการสอน

          3.1   บรรยาย                              

3.2   การถาม-ตอบในชั้นเรียน

          3.3    รายงาน / Present หน้าห้องเรียน          

3.4 ดูงานนอกสถานที่

 

4.   การวัดและประเมินผลการเรียน 

          4.1   หลักการจัดสรรคะแนน                                 

  • ความมีส่วนร่วมในห้องเรียน

      และการทดสอบย่อยระหว่างเรียน         10    คะแนน

  • สอบกลางภาค                                30    คะแนน
  • สอบปลายภาค                               60    คะแนน

                   คะแนนรวม                       100   คะแนน

          4.2   เกณฑ์การวัดผลและประเมินผล

                   80   คะแนนขึ้นไป                 A        75 – 79   คะแนน       B+

                   70 – 74   คะแนน                 B        65 – 69   คะแนน       C+

                   60 – 64   คะแนน                 C        55 – 59   คะแนน       D+

                   50 – 54   คะแนน                 D        ต่ำกว่า   50   คะแนน   F

 

5.   หนังสือประกอบการเรียน

5.1 แสวง   บุญเฉลิมวิลาศ. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. สำนักพิมพ์วิญญูชน กรุงเทพฯ

5.2 ร.แลงกาต์. ประวัติศาสตร์กฎหมายไทย. สำนักพิมพ์ไทยวัฒนาพาณิช, กรุงเทพฯ

5.3 จรัญ  โฆษณานันท์. ปรัชญากฎหมายไทย. สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำแหง, กรุงเทพมหานคร, 2536 กด Link เพื่ออ่าน

5.4 (เอกสารอื่นๆที่อาจารย์มอบหมาย)

 

6.เว๊บไซต์ที่เกี่ยวข้อง

  ฐานข้อมูลศิลาจารึกประเทศไทย ใน โดยศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

 สังสารวัฏ

เอกสารมาใหม่ มหานิทานนังสูตร

เอกสารมาใหม่ คัมภีร์พระธรรมศาสตร์

หมายเหตุ  แผนการสอนรายวิชาประวัติศาสตร์กฎหมายโดยละเอียด จะแจกในวันเิปิดเรียนครั้งแรก

 


*เค้าโครงคำบรรยายนี้ผู้จัดทำได้รับความกรุณาแลอนุญาตจากท่านอาจารย์ ดร. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล ให้ดำเนินการจัดทำตามต้นฉบับเค้าโครงคำบรรยายของเดิมที่ท่านได้มอบให้คณะนิติศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวรไว้  ซึ่งผู้จัดทำขอกราบขอบพระคุณไว้ ณ ที่นี้

[1] จดหมายลงวันที่ 30 มิถุนายน 2480 ของ ร.แลงกาต์ ถึง ศาสตราจารย์ ดร.ปรีดี  พนมยงค์ ผู้ประศาสน์การมหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง จากเอกสารแฟ้มที่ 8 เรื่อง ม.แลงกาต์ ที่ปรึกษากระทรวงยุติธรรมขอค้นคว้าวิชา ประวัติศาสตร์กฎหมาย ณ มหาวิทยาลัยวิชาธรรมศาสตร์และการเมือง (30 มิถุนายน 2480) ในหอจดหมายเหตุแห่งชาติ กต. 35.1/42 เอกสารกระทรวงการต่างประเทศ เรื่อง การจ้างชาวต่างประเทศ (การศาลและกฎหมาย) แปลจากต้นฉบับภาษาฝรั่งเศสและเน้นข้อความโดย ดร. ฐาปนันท์ นิพิฏฐกุล

[2] มงเตสกิเออ,บารอน ชารลส์ เดอะเซอะกงดาต์,เจตนารมณ์แห่งกฎหมาย,แปลจาก De l’ esprit de la Lois  โดย                                วิภาวรรณ ตุวยานนท์,กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528 น.13


หมายเลขบันทึก: 397016เขียนเมื่อ 22 กันยายน 2010 15:56 น. ()แก้ไขเมื่อ 21 มิถุนายน 2012 13:27 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

  ประกาศงดการเรียนการสอนและสอนชดเชย

ด้วยครูจะต้องเดินทางไปประชุมสัมมนาเรื่องปัญหาสิทธิมนุษยชน ระหว่างวันที่ 17-29 ตุลาคม และ 5-11 ธันวาคม 2553 ในการนี้ทำให้ครูไม่สามารถมาสอนได้ตามปกติ จึงขอประกาศงดสอน ในวันที่ 19,26 ตุลาคม 2553 และ 7 ธันวาคม 2553 โดยทั้งนี้ครูจะทำการสอนชดเชย ในวันที่ 15 ตุลาคม, 5 และ 12 พฤศจิกายน 2553  ณ ห้อง 4308 คณะนิติศาสตร์ ระหว่างเวลา 17.00-20.00 แทน

จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน

เกร็ดประวัติศาสตร์ น่ารู้ Rosetta Stone

http://en.wikipedia.org/wiki/Rosetta_Stone

Although wikipedia will be criticized from the scholar as an untrustworthy website, it can be a good step to start finding out the fact.

แม้ ว่า wikipedia จะถูกวิจารณ์จากนัหวิชาการว่าเป็นเว็บไซต์ที่ไท่น่าเชื่อถือ แต่ว่า Wikipedia เป็นจุดเริ่มต้นที่ดีในการแสวงหาข้อเท็จจริง และการศึกษาก้าวแรก

ประกาศ นิสิตสามารถมาลงชื่อเลือกหัวข้อ เพื่อเตรียมตัวรายงานหน้าชั้นในรายวิชาประวัติศาสตร์กฎหมาย ณ บริเวณ หน้าห้อง LAW 4303 ได้ตั้งแต่วันที่  ๑๔ ตุลาคม ๒๕๕๓ เป็นต้นไป

โดยสามารถดูหัวข้อได้จากlinkนี้

ลืมบอกไปครับ

ครูอาหัวข้อรายงานหน้าชั้นแปะ ไว้ให้หน้าห้องพักครูLaw 4303แล้วครับ นิสิตมาลงชื่อเลือกได้ครับ

อนึ่งคนที่เลือกแล้ว หลังจากเซ็นชื่อในเอกสารหน้าห้องพักครูแล้ว ให้ช่วยเมล์มาบอกชื่อ เลขประจำตัว และหัวข้อที่เลือกให้ครูทราบที่ [email protected] ด้วยครับ

เกณฑ์การให้คะแนน

1. โครงสร้างการนำเสนอข้อมูล มุมมอง และ ความน่าสนใจข้อข้อมูล

2. สื่อ และวิธีการนำเสนอข้อมูล

3. บุคลิกท่าทางในการนำเสนอข้อมูล

 เริ่มการพรีเซนต์หน้าชั้นในวันที่ ๕ พฤศจิกายน ๒๕๕๓ วันละ  ๕ คน คนละ ไม่เกิน ๔ นาที

อาจารคณะไม่มีสไลอันปัจจุบันเหรอค่ะ

เดี๋ยวครูจะแก้ไขและอัพโหลดขึ้นให้ภายในวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายนนี้นะครับ

ขอโทษทีที่ช้าครับ

แนวคำถามสำหรับการเตียมพร้อมทำข้อสอบ

คำชี้แจง คำถามฉบับนี้มิใช่ข้อสอบ แต่เป็นคำถามที่จะช่วยให้นิสิตเข้าใจและมองเห็นแนวทางในการออกข้อสอบของอาจารย์ได้ดี

๑.ให้นิสิตอธฺบายความหมายของคำต่อไปนี้

- การศึกษานิติศาสตร์อย่างที่เป็นศาสตร์ เพื่อให้เป็นผู้รอบรู้

- คุณค่าในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายต่อการเรียนกฎหมายสัญชาติ

-ความเหมือนและความต่างของ "ฐานะของผู้ปกครอง" ตามความหมายของแนวคิดอินเดียโบราณ และ "ฐานะของผู้ปกครอง"ตามแนวคิดพระพุทธศาสนา"

ครูแนะนำให้นิสิตลองจับกลุ่มวิเคระห์และลองถกเถียงในประเด็นแนวทางในการตอบข้อสอบเพื่อให้ได้คำตอบสมบรณ์ที่สุดดูนะครับ จะฃ่วยในการเตรียมตัวตอบคำถามได้มากครับ

1.ต้องอธิบายไหมว่าที่นั้นรับอิทธิพลที่ไหนมาก่อนจึงมารวมกันจึงทำให้ที่รวมกันนั้นได้รับอิทธิเหล่านั้นไปด้วย

2.การสั่งสมบุญต้องอธิบายความทต่างของพุทธกับพราหมณ์หรือไม่อย่างไร

3.ในกรณี เรื่องฐานะ ต้องอธิบายถึงธรรมก่อนใช่ไหม

4.ในกรณีคุณค่าเราต้องอธิบายความหมาย ของประวัติ การศึกษา แล้วจึงบอกถึงคุรค่าใช่ป่าวคับ

ขอบคุณคับ ท่านอาจารย์

ตุ๊กครับ เบื้องต้นต้องจับให้ได้ก่อนว่า คำถามนั้นอะไรเป็นประเด็ฯหลักอะไรเป็นประเด็นรอง เพื่อจะได้จัดวางน้ำหนักในการเขียนและการบริหารเวลาในการเยนได้ถูก

สำหรับคำถามเรื่องสถานะผู้ปกครองตามแนวความคิดแบบฮินดู และแบบพุทธนี้ คำถามหลักคือ

-ความเหมือนและความต่าง ของแนวคิดเรื่องผู้ปกครอง

คำถามรองที่เกี่ยวข้องคือ

-อะไรทำให้แนวคิดของพราหมณ์ และพุทธเกี่ยวกับผู้ปกครองต่างกัน

ดังนั้นตอบคำถามตุ๊กข้อที่ ๑ คำถามเรื่องไทยรับเอาอิทธิพลเรื่องความคิดเกี่ยวกับสถานะของผู้ปกครองมาในสมัยใด และอย่างไรนั้นเป็นคำถามรองครับที่ ไม่เกี่ยวกับประเด็นหลักมากนัก ถ้ามีเวลาเหลือค่อยเขียน แต่จำไว้ว่าถ้าเขียนต้องเขียนให้ถูก ถ้าเขียนตอบผิดจะถูกัหกทั้งที่ไม่ใช่ประเด็นหลัก

ตอบคำถามที่ ๒ คำถามที่สองนั้น เป็นคำถามรองที่ต้องอธิบายเพราะทำให้เราได้คำตอบของคำถามที่ว่า อะไรทำให้แนวคิดเกี่ยวกับสถานะของผู้ปกครองแบบพราหมณ์ และพุทธต่างกันอย่างไร

(พุทธ ให้สถานะของผู้ปกครอง เป็นพระโพธิสัตว์ คือเป็นผู้สั่งสมบุญเพื่อไปให้ถึงพระนิพานและเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคต และเมื่อเป็นพระโพธิสัตว์ ในส่วนหนึ่ง ก็เป็นการให้เกียรติผู้ปกครอง ในอีกมุมหนึ่งก็เป็นการกำหนดไปกลายๆว่า ผู้ปกครองก็จะต้องปฏิบัติธรรม คือ จะต้องปกครองโดยธรรมนั่นเอง

ด้วยเหตุนี้ แนวคิดเรื่อง บุญและการสั่งสมบุญจึงเข้ามาอธิบายสถานะของผู้ปกครอง แบบพุทธ คือความเป็นพระโพธิสัตว์ ในขณะที่แบบ พราหมณ์ แนวคิดเรื่องบุญของพราหมณ์ คือการปฏิบัติธรรมตามวรรณะ เพื่อไปให้ถึง การรวมกับปรมาตมัน แต่ไม่ได้เกี่ยวกับการให้สถานะผู้ปกครอง เป็นเทวราชาแต่อย่างไร)

ตอบคำถามที่ ๓ ในเรื่องฐานะ ตุ๊กอาจจะตอบโดยยกฐานะที่เหมือนและต่างของ พราหมณ์ และพุทธที่เป็นคำถามหลักก่อน หรือหลังก็ได้ แล้วค่อย ดู เรื่องความเหมือน และความแตกต่างของความหมายของคำว่า ธรรมะ ตามแนวคิดพราหมณ์ และพุทธ แต่ครูย้ำว่าต้องเขียนให้เชื่อมโยงกับ เรื่องสถานะของผู้ปกครองที่เป็นคำถามหลัก

ตอบคำถามที่ ๔

คำถามนี้เป็นเชิงวิเคราะห์ครับ วัตถุประสงค์ คืออยากเห็นว่า นิสิตทราบ และเข้าใจถึงคุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์ กฎหมายต่อการศึกษากฎหมายสัญชาติหรือไม่ เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ จึงต้อง เขียนเน้นไปที่เรื่องคุณค่าของการเรียนประวัติสศาสตร์กฎหมายซึ่งเป็นประเด็นหลัก โดยอาจจะเริ่มจากการอธิบายว่า คำถามหลักในการเรียนประวัติศาสตร์กฎหมายคืออะไร (๓ ข้อ; แบบแผนเกิดขึ้นได้อย่างไร แบบแผนพัฒนาไปอย่างไร และปัจจัยอะไรทำให้แบบแผนพัฒนาไปแบบนั้น) และคำถามหลักของการเรียนนนี้ทำให้เราได้ประโยชน์ในการศึกษาประวัติศาสตร์ กฎหมายอย่างไร (ดูในหัวข้อ คุณค่า เชิงประวัติศาสตร์ และคุณค่าเชิงวัฒนธรรม และ นิสิตอาจจะเอาคุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์ มาร่วมวิเคราะห์ด้วยก็ได้) อย่างไรก็ตามครูไม่ทราบว่า ที่ตุ๊กบอกว่า คุณค่าเราต้องอธิบายความหมาย ของประวัติ การศึกษา นั้นหมายถึงอะไร ตุ๊กตั้งใจจะบอกว่า เราต้องอธิบายถึง ความหมายของประวัติการศึกษากฎหมายสัญชาติ หรือประวัติการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายกันแน่ครับ ในส่วนนี้ครูไม่สามารถตอบตุ๊กได้เพราะครูไม่เข้าใจคำถามครับ

มีอะไรถามได้นะ พรุ่งนี้เช้าก่อนครูลาไปบวช ครูจะรีบมาตอบให้ก่อนครับ

สู้ๆ นะ โชคดีครับ

คำถาม

๑. การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายมีคุณค่าอย่างไร และจะช่วยสังคมไทยปัจจุบันได้อย่างไร? (๑๕ คะแนน)

๒. การศึกษานิติศาสตร์ เชิงข้อเท็จจริง เหมือน และต่างกับการศึกษานิติศาสตร์ เชิงคุณค่า และ การศึกษานิติศาสตร์ โดยแท้อย่างไร (ให้นิสิตอธิบายพร้อมยกตัวอย่างประกอบเพื่อความเข้าใจ) (๑๕ คะแนน)

เกณฑ์การให้คะแนน

ข้อ ๑.

คะแนนส่วนของ "หลักการ" ๖ คะแนน

คุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย

คุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์

คำถามหลักในการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย (ตอบหรือไม่ก็ได้ เป็นส่วนเสริม)

คะแนนส่วนของการวิเคราะห์ ๖ คะแนน

การนำเอาประโยชน์ หรือคุณค่าของการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายมาประยุกต์กับข้อเท็จจริงทางสังคมในปัจจุบัน

คะแนนส่วนข้อมูล ๓ คะแนนคะแนนส่วนการวิเคราะห์ ๓ คะแนน

คะแนนส่วนของการเขียน ๓ คะแนน

ลำดับการนำเสนอข้อมูล ๑ คะแนน

การเชื่อมโยงข้อมูล ๑ คะแนน

การใช้ภาษาไทย ๑ คะแนน

เกณฑ์การให้คะแนน

ข้อ ๒.

คะแนนส่วนของ "หลักการ" ๘ คะแนน ความหมายของการศึกษาวิชานิติศาสตร์

- การศึกษานิติศาสตร์ โดยแท้ ( เนื้อหากฎหมาย/นิติวิธี)

- การศึกษานิติศาสตร์ เชิงข้อเท็จจริง (ประวัติศาสตร์ กฎหมาย/ สังคมวิทยากฎหมาย / มานุษยวิทยาทางกฎหมาย)

- การศึกษานิติศาสตร์ เชิงคุณค่า (นิติบัญญัติ / กฎหมายเปรียบเทียบ)

คะแนนส่วนการวิเคราะห์เปรียบเทียบ ๖ คะแนน

- การเปรียบเทียบ

- ตัวอย่าง

คะแนนส่วนการเขียน ๑ คะแนน

ธงคำตอบข้อที่ ๑

การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย เป็นสาขาหนึ่งของการศึกษานิติศาสตร์ ในฐานะของการศึกษานิติศาสตร์ เชิงข้อเท็จจริง อันเป็นการศึกษาที่จะพิจารณากฎหมายในฐานะข้อเท็จจริงหนึ่งในสังคม โดยทั่วไปแล้ว การประวัติศาสตร์กฎหมายมีคำถามหลักสามประการได้แก่

ก. กฎหมายหรือแบบแผนของสังคมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

ข. กฎหมายหรือแบบแผนของสังคมมีพัฒนาการไปอย่างไร

ค. ทำไม แบบแผนหรือกฎหมายจึงพัฒนาไปในลักษณะนั้น มีปัจจัยอะไรทำให้กฎหมายหรือแบบแผนพัมนาไปเช่นว่านั้น (ที่กล่าวมาในส่วนนี้เป็นเกริ่นนำจะมีหรือไม่มีก็ไม่มีผลกระทบต่อคะแนนมาก นัก เป็นเพียงอารัมภบทให้ผู้อ่านทราบว่า เราเข้าใจว่า การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายหมายถึงอะไร)

การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายนั้นมีคุณค่าอย่างยิ่งในสองส่วนคือ คุณค่าในเชิงนิติศาสตร์ และคุณค่าในเชิงวัฒนธรรม

สำหรับคุณค่าในเชิงนิตศาสตร์นั้น การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายจะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึง แนวทางการแก้ไขปัญหาของสังคมในอดีต ซึ่งอาจสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหาของสังคมในปัจจุบันได้ เช่น การศึึกษากฎหมายเหมืองฝายของสังคมล้านนาในอดีตทำให้เราทราบถึงกระบวนการ บริหารจัดการน้ำแบบมีส่วนร่วมของคนในสังคม ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในสังคมปัจจุบัน โดย นำเอาบทบัญญัติในส่วนของการมีส่วนร่วมของคนในอดีต มาปรับใช้กับกฎหมายการบริหารจจัดการน้ำของคนในสังคมปัจจุบันได้ (นิสิตอาจจะยกตัวอย่างเรื่องอื่นๆก็ได้)

สำหรับคุณค่าในเชิงวัฒนธรรมนั้น การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายจะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึง จารีตประเพณี วิถีชีวิต ขนบธรรมเนียบของคนในอดีต ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อความเข้าใจตัวบทกฎหมายของคนในอดีต เช่น ความคิดในทางศาสนาพุทธของคนไทยในอดีตที่ส่งผลอย่างชัดเจนถึงฐานะของผู้ ปกครองในอดีต โดยยกให้ผู้ปกครองในอดีตให้มีฐานะเป็นพระโพธิสัตว์ สำหรับคุณค่าเชิิงวัฒนธรรมของการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายนนี้ เห็นได้ชัดผ่านคำกล่าวของ ศ. ปรีดี เกษมทรัพย์ ที่ว่า "ตัวบทกฎหมายนั้นมิใช่กฎหมาย แต่ความคิดที่ตัวอักษรแสดงออกมา และความเข้าใจนั้น คือ กฎหมาย" ซึ่งสะท้อนให้เ้ห็นชัดว่า ความเข้าใจกฎหมายของคนในอดีตนั้นเป็นผลโดยตรงจากความเข้าใจวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม วัฒนธรรมของคนในอดีต

นอกจากนั้นการศึกษาประวัติศาสตร์ กฎหมายนั้นยังอาจจะมีคุณค่าเช่นเดียวกับการศึกษาประวัติศาสตร์ทั่วๆ ไป อีก กล่าวคือ การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายย่อมจะทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจกฎหมาย และ ปัญหาของสังคมที่กฎหมายนั้นๆ มุ่งแก้ปัญหา อย่างชัดเจน โดยผ่านกรบวนการที่เรียกว่า "การเข้าสู่ปัญหาโดยวิธีการทางประวัติศาสตร์" และสามารถแก้ไขปัญหาของสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพและตรงจุด

อีกทั้งการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายจะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึงข้อดี และข้อเสียของกฎหมายในอดีตได้อย่างชัดเจนโดยไม่มีอคติในการศึกษา เนื่องจากเป็นการศึกษา โดยผ่านหลักฐานต่างๆ และผู้ศึกษาจะต้องระลึกเสมอว่า ข้อมูล หรือข้อสนเทศในทางประวัติศาสตร์นั้นมิได้บอกความจริงแก่เราเสมอไป

ท้ายสุด การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายจะทำให้ผู้ศึกษาคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนา ตคนได้ อย่างแม่นยำ และหากมีการจัดการกับประวัติศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ย่อมจะทำให้เราสามารถจัดการกับการออกกฎหมาย แก้ไขกฎหมาย และบังคับใช้กฎหมายในสังคมไทยในปัจจุบันและอนาคตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ในส่วน "ผล"ของการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายที่จะสามารถช่วยประเทศไทยในปัจจุบันได้ นั้น เราจะพบว่าปัญหาของประเทศไทยในปัจจุบันที่มีอยู่เป็นจำนวนมากนั้น เป็นปัญหาที่ซับซ้อน และหมักหมมมาเป็นเวลาช้านาน ข้าพเจ้าขอยกตัวอย่าง หนึ่งตัวอย่างดังนี้

ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยในปัจจุบัน ปัญหาความเหลื่อมล้ำของสังคมไทยในปัจจุบันหากพิจารณาในมุมมองของประวัติ ศาสตร์กฎหมายจะพบว่า กฎหมายไทยในปัจจุบันไม่สามารถกระจายการถือครองทรัพยากรไปให้คนในชาติได้ อย่างทั่วถึง อาทิเช่น ปัญหาที่ดินทำกิน ที่ดิน ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยการผลิตตามแนวความคิดของคาร์ล มารกซ์ (ทุน ที่ดิน แรงงาน ผู้ประกอบการ) จะเห็นว่ากฎหมายไทยตั้งแต่อดีต จนกระทั่งปัจจุบัน ไม่ได้มุ่งกระจายทรัพยากรให้ประชาชานอย่างเท่าเที่ยมกัน เห็นได้จาก ในอดีตการถือครองที่ดิน จะเป็นไปตามศักดินา ซึ่งกำหนดสถานะทางสังคม คนชั้นล่างยิ่งได้รับสิทธิในการถือที่ดินน้อย อย่างไรก็ตามระบบนี้ก็ยังมีข้อดีคือ ไม่ก่อให้เกิดการสะสมที่ดิน เนื่องจากคนธรรมดา หรือไพร่นั้นสามารถถือครองที่ดินได้เพียงคนละ ๒๕ไร่เท่านั้น การสะสมที่ดินคงมีเฉพาะในหมู่ขุนนาง และ ชนชั้นผู้ปกครองเท่านั้น

อย่างไรก็ดีระบบนี้ได้ถูกยกเลิกไปตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และในภายหลัง คือในปีพุทธศักราช ๒๔๙๗ ประเทศไทยได้ประกาศใช้ประมวลกฎหมายที่ดิน ซึ่งมีบทบัญญัติการจำกัดสิทธิในการถือครองที่ดิน ให้ประชาชนทั่วไปมีสิทธิถือครองที่ดินได้ไม่เกินคนละ ๕๐ ไร่ ซึ่งบทบัญญัติดังกล่าวนี้ถือได้ว่าเป็นบทบัญญัติที่มุ่งก่อให้เกิดความเป็น ธรรมในการถือครองที่ดินอย่างแท้จริง แต่ในปีพุทธศักราช ๒๕๐๔ ซึ่งประเทศไทยประกาศใช้ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ ๑ นั่้นเอง ธนาคารโลกได้ให้คำแนะนำว่า กฎหมายดังกล่าวก่อให้เกิดปัญหาเพราะขัดขวางการพัฒนาและสะสมทุนในการพัฒนา ประเทศทำให้มีการยกเลิกบทบัญญัติการจำกัดสิทธิในการถือครองที่ดินดังกล่าวไป อันก่อให้เกิดปัญหาการกระจุกตัวในการถือครองที่ดินมาจนกระทั่งปัจจุบัน

ดังนั้น ประเทศไทยควรมีมาตรการในการแก้ไขปัญหาการกระจุกตัวในการถือครองที่ดินโดยการ นำบทบัญญัติการจำกัดสิทธิในการถือครองที่ดินมาใช้อีก หรือใช้มาตรการทางภาษีเกี่ยวกับที่ดิน มาบังคับใช้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการกระจายตัวของการถือครองที่ดิน (ในส่วนนี้นิสิตอาจจะยกตัวอย่างอื่นๆ ได้)

โดยสรุป อาจกล่้าวได้ว่าการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายนั้นมีคุณค่าทั้งในเชิง นิติศาสตร์ ในเชิงวัฒนธรรม และทำให้ผู้ศึกษาเข้าใจกฎหมาย และปัญหาต่างๆในสังคมได้อย่างถ่องแท้อันจะทำให้การแก้ไขปัญหาของสังคมเป็นไป อย่างมีประสิทธิภาพ

ข้อ ๒

การ จะทำความเข้าใจความเหมือนและความแตกต่่างของการศึกษานิติศาสตร์โดยแท้ การศึกษานิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริง และการศึกษานิติศาสตร์เชิงคุณค่านั้น จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องทราบความหมายของการศึกษานิติศาสตร์ในแต่ละสาขาก่อน ดังนั้น ผู้สอบจะได้แยกตำตอบออกเป็นสองส่วนเพื่อความสะดวกในการทำความเข้าใจ ดังนี้

๒.๑ ความหมายของการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในสาขาต่างๆ

ก. ความหมายของการศึกษาวิชานิติศาสตร์ โดยแท้

ข. ความหมายของการศึกษาวิชานิติศาสตร์ เชิงข้อเท็จจริง และ

ค. ความหมายของการศึกษาวิชานิติสาสตร์ เชิงคุณค่า

๒.๒ ความเหมือนและความแตกต่างของการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในสาขาต่างๆ

๒.๑ ความหมายของการศึกษาวิชานิติศาสตร์ในสาขาต่างๆ มีดังนี้

ก. การศึกษาวิชานิติศาสตร์ โดยแท้ คือการศึกษากฎหมายในสองส่วน คือ ศึกษาเนื้อหาของกฎหมายเพื่อเข้าใจความหมายของบทบัญญัติแ่ห่งกฎหมาย และศึกษาวิธีการใช้กฎหมายที่เรียกว่า "นิติวิธี" เพื่อ ทราบถึงการใช้ การตีความกฎหมาย เมื่อมีคดีเกิดขึ้น

ข. ความหมายของการศึกษาวิชานิติศาสตร์ เชิงข้อเท็จจริง จะมีการศึกษาโดยจำแนกออกเป็นสามส่วนคือ

- การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมาย เป็นการศึกษากฎหมายในฐานะข้อเท็จจริงหนึ่งของสังคมในอดีต โดยมีคำถามพื้นฐานอยู่สามข้อ คือ กฎหมายหรือแบบแผนของสังคมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร/ กฎหมายหรือแบบแผนของสังคมมีพัฒนาการไปอย่างไร และทำไม แบบแผนหรือกฎหมายจึงพัฒนาไปในลักษณะนั้น มีปัจจัยอะไรทำให้กฎหมายหรือแบบแผนพัมนาไปเช่นว่านั้น ทั้งนี้ การศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายนอกจากจะทำให้ผู้ศึกษาตอบคำถามทั้งสามประการได้ แล้ว ยังจะทำให้ผู้ศึกษาทราบถึง ผลกระทบของการใช้กฎหมายที่มีกับสังคมในอดีต และการเปลี่ยนแปลงของสังคมด้วย

- การศึกษาสังคมวิทยาทางกฎหมายเป็นการศึกษากฎหมายในฐานะข้อเท็จจริงหนึ่งของ สังคม ทั้งนี้เป็นการศึกษาผลกระทบของกฎหมายที่มีต่อสังคมโดยการนำกระบวนการทาง วิทยาศาสตร์ เข้ามาศึกษาสังคมดังเช่นวิชาสังคมวิทยา โดยการเก็บสถิติ เช่น การศึกษาผลของคดีการทำร้ายทางเพศ ภายหลังจากการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญาในส่วนบทบัญญัติว่าด้วยการกระทำความผิด ทางเพศ

- การศึกษามานุษยวิทยาทางกฎหมาย เป็นการศึกษา แแบบแผนของสังคมหรือจารีตประเพณีที่ใช้บังคับการกระทำของคนในสังคมในยุคบุพ กาล หรือในสังคมที่ยังไม่มีกฎหมาย เช่น คนป่าต่างๆ

ค. การศึกษากฎหมายเชิงคุณค่า เป็นการศึกษาในสองส่วน คือ การศึกษานิติบัญญัติ และการศึกษากฎหมายเปรียบเทียบกฎหมาย

สำหรับ การศึกษา ในส่วนของ "นิติบัญญัติ" นั้นจะมีคำถามที่สำคัญคือ การนิติบัญญัตินั้นมีขอบเขตแค่ไหน และการนิติบัญญัตินั้นจะบัญญัติกฎหมายอย่่างไรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด แก่ประชาชน ส่วนการเปรียบเทียบกฎหมายนั้นเป็นการ นำบทบัญญัติของกฎหมายที่ทำหน้าที่แก้ไขปัญหาอย่างเดี่ยวกันใน แต่ละประเทศมาเปรียบเทียบกัน เพื่อเป็นการแสวงหาข้อดีของกฎหมายของแต่ละประเทศ ทั้งในสกุลกฎหมายเดียวกัน และต่างสกุลกัน เพื่อนำมาใช้ในการพัฒนากฎหมายในประเทศต่างๆ เช่น การเปรียบเทียบ กระบวนการบังคับใช้กฎหมายป้องกันการฟอกเงินในประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศในยุโรปเพื่อนำมาปรับปรุงกฎหมายไทย

ในส่วนที่สองจะเห็นได้ว่าสิ่งที่เหมือนกันของการศึกษานิติศาสตร์ ในทุกสาขา คือวัตถุของการศึกษาอันได้แก่กฎหมาย

อย่าง ไรก็ตามอาจจะมีความแตกต่างกันในส่วนปลีกย่อยของวัตถุในการศึกษา คือ การศึกษากฎหมายโดยแท้ นั้นเป็นการศึกษากฎหมายในปัจจุบัน และการใช้กฎหมายที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน ส่วนการศึกษาประวัติศาสตร์กฎหมายเป็นการศึกษากฎหมาย และบทบัญญัติของกฎหมายในอดีตและพัฒนาการของกฎหมายในอีตที่ส่งผลมายัง ปัจจุบัน

ในส่วนการของความแตกต่างของการศึกษานิติศาสตร์ในสาขาต่างๆ นั้น ความต่างที่เด่นชัดได้แก่กระบวนการ หรือวิธีการในการศึกษา

เช่น ในขณะที่การศึกษาสังคมวิทยากฎหมายนั้นเป็นการศึกษาผลกระทบของกฎหมายที่มีต่อ สังคมในปัจจุบัน โดยผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์โดยมีการเก็บสถิติ นั้นกระบวนการศึกษานิติศาสตร์เชิงคุณค่านั้นใช้การเปรียบเทียบกฎหมาย ส่วนการศึกษานิติศาสตร์โดยแท้ โดยเฉพาะการศึกษานิติวิธีนั้น ทำโดยผ่านการศึกษา การใช้และตีความกฎหมายของศาลในคดีต่างๆ ที่ผ่านมา

เพื่อความชัดเจน อาจจะนำเสนอความเหมือนและความแตกต่างของการศึกษานิติศาสตร์ในสาขาต่างๆ โดยผ่านตัวอย่างดังนี้

การศึกษาบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทย ฉบับปี พุทธศักราช ๒๕๕๐

หาก เป็นการศึกษาในเชิงนิติศาสตร์ โดยแท้ จะเป็นการศึกษาเพื่อทราบว่ารัฐธรรมนูญไทย ฉบับปี พ.ศ. ๒๕๕๐ มีเนื้อหาอย่างไร และมี การใช้ และตีความกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร ต่างจากการใช้กฎหมายแพ่งทั่วไปอย่างไร อันเป็นการศึกษานิติวิธี

หากเป็นการศึกษานิติศาสตร์เชิงข้อเท็จจริง ในทางประวัติศาสตร์กฎหมาย ก็จะศึกษาว่า กฎหมายรัฐธรรมนูญไทย ปี ๒๕๕๐เกิดขึ้นมาได้อย่างไร มีความต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับที่แล้วๆมา อย่างไร และทำไม จึงต่างจากรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ผ่านๆมา มีเหตุผลอย่างไร หรือปัจจัยทางสังคม อย่างไร จึงทำให้ รัฐธรรมนูญไทยในปี ๒๕๕๐ ต่างจากรัฐธรรมนูญฉบับอื่นๆที่ผ่านมา

หากเป็นการศึกษารัฐธรรมนูญในเชิงสังคมวิทยาก็อาจจะศึกษาผลกระทบต่อ สังคมไทยอันเนื่องมาจากการบังคับใช้บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทย ปี ๒๕๕๐ โดยศึกษาผลการบังคับใช้บางมาตรา เช่น ความขัดแย้งทางสังคมจากการมี วุฒิสมาชิกที่ได้มาจากการสรรหา

และหากเป็นการศึกษารัฐธรรมนูญในด้าน นิติศาสตร์เชิงคุณค่านั้น ก็จะ เป็นการศึกษารัฐธรรมนูญในแง่ที่ว่า จะบัญญัติรัฐธรรมนูญอย่างไรจึงจะเกิดประโยชน์ แก่คนไทยมากที่สุด และขอบเขตของรัฐธรรมนูญควรมีบทบัญญัติเรื่องอะไรบรรจุบ้าง หรือ อาจจะเป็นการศึกษาเปรียบเทียบบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญไทยกับรัฐธรรมนูญของ ต่างประเทศเพื่อ ปรับปรุงประสิทธิภาพของรัฐธรรมนูญไทย

โดย สรุป การศึกษานิติศาสตร์ในเชิงข้อเท็จจริงนั้นมีข้อที่เหมือนและต่างกับการศึกษา นิติศาสตร์โดยแท้ และการศึกษานิติศาสตร์เชิงคุณค่า ในแง่ของวัตถุในการศึกษา และกระบวนการและวิธีีในการศึกษา อย่างไรก็ตาม ในการศึกษาเพื่อจะเป็นผู้รอบรู้ในทางนิติศาสตร์ และสามารถนำกฎหมายมารับใช้และแก้ปัญหาสังคมได้อย่างแท้จริงนั้น เราจำเป็นที่จะต้องศึกษานิติศาสตร์ทั้งสามสาขา โดยไม่อาจจะแยกศึกษาเพียงสาขาใดสาขาหนึ่งเพียงสขาเดียวได้

อาจารย์ค่ะหาชีตของอาจารย์ฐาปนันท์กับอาจารย์สุรพล บนหน้าเว้ปไม่เจอค่ะ

อาจารค่ะ พาวเว่อพ้อยครั้งสุดท้ายมีไหมค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท