โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก


เด็กและเยาวชน

1. ความเป็นไปได้ในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ  การดำเนินงานตามนโยบายและแผนพัฒนาเด็กตามแนวทาง “โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก” มีวิธีการดำเนินงานที่เป็นไปตามหลักสากลของการบริหารจัดการคุณภาพ โดยเฉพาะการบริหารจัดการคุณภาพตามแนวคิดของ เดมมิ่ง ซึ่งมีวงจรในการดำเนินงาน 4 ขั้นตอนคือ การวางแผน (Plan)  การดำเนินการตามแผน (Do) การติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงาน (Check) และการปรับปรุง (Act) กับทั้งการที่มีทรัพยากรเพียงพอในการดำเนินการ

ทั้งทรัพยากรที่เป็นตัวเงินงบประมาณ และทรัพยากรที่เป็นทรัพยากรบุคคล และหน่วยงาน (อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ในการดำเนินงาน) ทั้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด รวมทั้งการมีเครือข่ายการมีส่วนร่วมในการดำเนินการเป็นจำนวนมากทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด  ดังนั้น จึงมีความเป็นไปได้ในการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ

                2. การประสานงาน  การดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์ด้านการพัฒนาเด็ก ตามแนวทาง “โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก” มีการใช้แนวทางในการประสานงานอย่างหลากหลายลักษณะ ซึ่งสอดคล้องกับสภาพการดำเนินงานที่มีขอบเขตกว้างขวาง และมีความซับซ้อน กับทั้งเกี่ยวข้องกับบุคคล หน่วยงาน เป็นจำนวนมาก และเป็นไปตามหลักการ/แนวทางในการประสานงาน จึงถือได้ว่า การประสานงานในภาพรวมมีความเหมาะสม

              การดำเนินงานเพื่อพัฒนาเด็กและครอบครัว ตามยุทธศาสตร์ที่ 1 มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยมีสาระสำคัญคือ การที่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี และอายุต่ำกว่า 17 ปี ได้อาศัยอยู่กับพ่อและแม่ ร้อยละ 78.7  และร้อยละ 63  ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีเด็กอายุ 0-23 เดือน ที่ได้ร่วมกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้และการเตรียมตัวไปโรงเรียนกับคนในครอบครัวมีร้อยละ 63.7 และเป็นเด็กเล็กอายุ 24-59 เดือน ร้อยละ 88.6 ส่วนเด็กอายุ  0-5 ปี ได้ร่วมกิจกรรมกับพ่อตั้งแต่ 4 อย่างขึ้นไป ร้อยละ 81.2 และมีเด็กอายุ  6-12 ปี ได้ทำกิจกรรมร่วมกับผู้ใหญ่ในครอบครัว มากกว่า 4 อย่าง ขึ้นไป ร้อยละ 89.9 ส่วนเวลาที่เด็กใช้ช่วยงานบ้านต่อวัน (นาที) นั้นพบว่า เป็นเด็กอาชีวศึกษามากที่สุด ร้อยละ 74.87 รองลงมาได้แก่ เด็กม.ต้น ร้อยละ 74.59 เด็กม.ปลาย ร้อยละ 73.30 และเด็กประถมศึกษา ร้อยละ 67.39 สำหรับสตรีวัย 15 – 49 ปี ที่แต่งงานแล้วและใช้วิธีการคุมกำเนิดแบบต่างๆ ร้อยละ 71.5 มีสตรีที่อายุน้อยที่สมรสหรืออยู่กินกับชาย และมีการให้กำเนิดบุตรอยู่อีกจำนวนหนึ่งซึ่งควรได้รับการแนะนำ ดูแล ในด้านครอบครัวที่มีความอบอุ่น พบว่า ปี 2551 ครอบครัวที่มีความอบอุ่นมีจำนวน 7,626,391ครัวเรือน (ร้อยละ 98.71) ส่วนอีก 99,917 ครัวเรือน (ร้อยละ 1.29) เป็นครัวเรือนที่ยังไม่มีความอบอุ่น เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2550 พบว่า มีครอบครัวที่ยังไม่มีความอบอุ่นเพิ่มขึ้นจากปี 2550 จำนวน 68,332 ครัวเรือน

 

     ยุทธศาสตร์ที่ 2  ด้านการส่งเสริมสุขภาพกายและสุขภาพจิตของเด็ก

                การดำเนินงานเพื่อพัฒนาสุขภาพกายและจิตของเด็กและครอบครัว ตามยุทธศาสตร์ที่ 2 มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีสาระสำคัญคือ การเสียชีวิตเด็กจากการคลอดมีเพียงจำนวนน้อย โดยมีเด็กเกิดใหม่ที่มีชีพรอด ร้อยละ 99.95 และมีทารกแรกคลอดได้รับการชั่งน้ำหนัก ร้อยละ 99.74 แต่ก็ยังมีทารกเกิดใหม่มีน้ำหนักแรกคลอดต่ำ ร้อยละ 9.01 (จำนวน 71,493 คน) ซึ่งถือว่ามีจำนวนค่อนข้างสูง ส่วนเด็กวัยเรียน (อายุ 6-15) มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 8 มีน้ำหนักเกินเกณฑ์ ร้อยละ 6  และมีน้ำหนักตามเกณฑ์ ร้อยละ 86 โดยมีส่วนสูงต่ำกว่าเกณฑ์ ร้อยละ 6  และมีส่วนสูงตามเกณฑ์ ร้อยละ 94  สำหรับภาวะทุพโภชนาการแต่ละประเภทในเด็กจะเกิดขึ้นในช่วงแรกคลอดจนถึง 18 เดือน จากนั้นก็จะลดลงเมื่อเด็กมีอายุมากขึ้น และที่น่าสังเกตก็คือ มีเด็กประถมศึกษาทาน fast food มากที่สุด รองลงมาได้แก่เด็ก ม.ต้น ม.ปลาย และอาชีวศึกษา และทานในวันหยุดมากกว่าในวันธรรมดา ที่สำคัญ เด็กเล็กกว่าจะทาน fast food มากกว่าเด็กที่โตกว่า นอกจากนี้ ยังมีเด็กประถมฯ ที่ทั้งทานขนมกรุบกรอบ และดื่มน้ำอัดลมเป็นประจำ มีจำนวนเพิ่มขึ้น และปัจจุบันมีเด็กไทยอ้วนเพิ่มขึ้น

                ในด้านการป้องกันโรคนั้น มีเด็กอายุไม่เกิน 1 ปี ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคมาแล้วอย่างน้อย 3 ครั้ง มีร้อยละ 83  ส่วนที่ได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคน้อยกว่า 3 ครั้ง มีร้อยละ 17  และมีเด็กอายุ 1-2 ปี ได้รับวัคซีนป้องกันโรควัณโรค ร้อยละ 98  ได้รับวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก ครั้งที่ 1 ร้อยละ 97.1  ครั้งที่ 2 ร้อยละ 95.6  และครั้งที่ 3 ร้อยละ 91.4  ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโปลิโอ ครั้งที่ 1 ร้อยละ 97.6 ครั้งที่ 2 ร้อยละ 95.9 และครั้งที่ 3 ร้อยละ 91.5  ได้รับวัคซีนป้องกันโรคหัด ร้อยละ 91.4  และได้รับวัคซีนป้องกันโรคทุกชนิด ร้อยละ 83.3 

                ในด้านการดูแลสตรีที่ให้กำเนิดบุตร พบว่า สตรีมีครรภ์ที่ฝากครรภ์กับสถานพยาบาลต่างๆ ร้อยละ 93.84 โดยเป็นโรงพยาบาล โดยมีที่ไม่ได้ฝากครรภ์ ร้อยละ 6.16 ส่วนสตรีที่ให้กำเนิดบุตรได้รับการช่วยเหลือขณะคลอดจากแพทย์ ร้อยละ 63.5 พยาบาล/ผดุงครรภ์ ร้อยละ 33.4 และจากแหล่งอื่นๆ ร้อยละ 3.1 

                ในด้านการดูแลสุขภาพเด็ก พบว่า มีเด็กที่ดื่มนมมารดาน้อย ส่วนอาหารเสริม (นม) และอาหารกลางวันนั้น เด็กได้รับเพิ่มขึ้นในปี 2550 (จากปี 2549) และมีเด็กส่วนใหญ่ได้รับบริการสุขภาพ ร้อยละ 93 โดยมีที่ไม่ได้รับบริการสุขภาพอย่างเหมาะสม ร้อยละ 7  นอกจากนี้ มีนักเรียน(อายุ 6-15 ปี) ที่มีกิจกรรมแนะแนวในสถานศึกษา (ร้อยละ 91.2) มากกว่านักเรียนที่ไม่มีกิจกรรมแนะแนวในสถานศึกษา (ร้อยละ 8.8)

                ในด้านการดูแลสุขอนามัยของครัวเรือน มีครัวเรือนที่สามารถเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มน้ำที่ปลอดภัยเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 95.5 แต่มีการเข้าถึงแหล่งน้ำดื่มที่ไม่สะอาด ร้อยละ 4.5 และมีครัวเรือนที่กำจัดของเสีย (อุจจาระ) ได้อย่างถูกสุขอนามัยเป็นส่วนใหญ่ ร้อยละ 99.1 แต่มีการใช้ส้วมที่ไม่ถูกสุขอนามัย ร้อยละ 0.9  ครัวเรือนที่ร่ำรวยบริโภคเกลือที่มีไอโอดีนอย่างเพียงพอมากกว่าครัวเรือนที่ยากจน ครัวเรือนที่อยู่ในเขตเมืองบริโภคเกลือที่มีไอโอดีนอย่างเพียงพอมากกว่าครัวเรือนที่อยู่นอกเขตเมือง ในภาพรวม ครัวเรือนบริโภคเกลือที่มีไอโอดีนอย่างเพียงพอเฉลี่ยทั่วประเทศ

ร้อยละ 48.8

 ยุทธศาสตร์ที่ 3  ด้านการเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ก

                การดำเนินงานด้านการเสริมสร้างความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็กตามยุทธศาสตร์ที่ 3 มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับควรเร่งปรับปรุง โดยมีสาระสำคัญคือ

                กรณีเด็กอายุไม่เกิน 2 ปี พบว่า เด็กทารก (อายุน้อยกว่า 1 ปี) เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 122 ราย  คิดเป็นอัตราการตาย 15 คน ต่อการเกิดมีชีพ 100,000 คน เด็กอายุ 1 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 280 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 26 คน/100,000 คน เด็กอายุ 2 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 275 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 25คน/100,000 คน  โดยมีการจมน้ำเป็นสาเหตุนำของการเสียชีวิต ซึ่งพบว่าทารกเสียชีวิตจากการจมน้ำ 18 รายต่อปี เด็กอายุ 1 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ 150 รายต่อปี

เด็กอายุ 2 ปี เสียชีวิตจากการจมน้ำ 148 รายต่อปี

                กรณีเด็กอายุ 3-5 ปี พบว่า เด็กอายุ 3 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 247 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 23 คน/100,000 คน เด็กอายุ 4 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 259 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 24 คน/100,000 คน เด็กอายุ 5 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 264 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 25 คน/100,000 คน โดยมีการจมน้ำเป็นสาเหตุนำของการเสียชีวิต ซึ่งพบว่ามีการเสียชีวิตในเด็ก 3-5 ปี จำนวน 420 รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 55 เป็นเด็กอายุ 3 ปี เสียชีวิต125 รายต่อปี เด็กอายุอายุ 4 ปี เสียชีวิต 139 รายต่อปี และเด็กอายุ 5 ปี เสียชีวิต 156 รายต่อปี

                กรณีเด็กอายุ 6-8 ปี พบว่า เด็กอายุ 6 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 254 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 24 คน/100,000 คน เด็กอายุ 7 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บปีละ 234 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 22 คน/100,000 คน เด็กอายุ 8 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 204 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 19 คน/100,000 คน โดยมีการจมน้ำเป็นสาเหตุนำของการเสียชีวิต ซึ่งพบว่ามีการเสียชีวิตในเด็ก 6-8 ปี เสียชีวิต 393 รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 57  เป็นเด็ก อายุ 6 ปี เสียชีวิต 150 รายต่อปี เด็กอายุ 7 ปี เสียชีวิต132 รายต่อปี และเด็กอายุ 8 ปี เสียชีวิต 110 รายต่อปี

                กรณีเด็กอายุ 9-11 ปี พบว่า เด็กอายุ 9 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 173 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 16 คน/100,000 คน เด็กอายุ 10 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บปีละ 160 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 15 คน/100,000 คน เด็กอายุ 11 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 159 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 15 คน/100,000 คน โดยมีการจมน้ำเป็นสาเหตุนำของการเสียชีวิต ซึ่งพบว่า การเสียชีวิตในเด็ก 9-11 ปี 225 รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 45  เด็กอายุ 9 ปี เสียชีวิต 86 รายต่อปี เด็กอายุ 10 ปี เสียชีวิต 75 รายต่อปี และเด็กอายุ 11 ปี เสียชีวิต 63 รายต่อปี

                กรณีเด็กอายุ 12-14 ปี พบว่า เด็กอายุ 12 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 184 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 17 คน/100,000 คน เด็กอายุ 13 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บปีละ 254 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 23 คน/100,000 คน เด็กอายุ 14 ปี เสียชีวิตจากการบาดเจ็บ ปีละ 400 ราย คิดเป็นอัตราการตาย 37 คน/100,000 คน โดยมี  การจราจรเป็นสาเหตุนำของการเสียชีวิตจากอุบัติเหตุ ซึ่งพบว่า มีการเสียชีวิตในเด็ก 12-14 ปี 288 รายต่อปี คิดเป็นร้อยละ 34  เป็นเด็กอายุ 12 ปี เสียชีวิต 50 รายต่อปี 

เด็กอายุ 13 ปี เสียชีวิต 90 รายต่อปี และเด็กอายุ 14 ปี เสียชีวิต 148 รายต่อปี

                นอกจากนี้ ยังมีเด็กที่พยายามฆ่าตัวตาย จำนวน 33.98 ต่อประชากรแสนคน ส่วนเด็กที่ฆ่าตัวตายสำเร็จ มีจำนวน 3.52 ต่อประชากรแสนคน เด็กที่บาดเจ็บจากอุบัติเหตุจักรยานยนต์จำนวน1332.21 ต่อประชากรแสนคน และมีเด็กที่เสียชีวิตจากอุบัติเหตุจักรยานยนต์ จำนวน 28.59 ต่อประชากรแสนคน โดยมีเด็กอายุต่ำกว่า 0-5 ปี ที่มีผู้ใหญ่ดูแล ร้อยละ 83 ส่วนเด็กที่ถูกทิ้งให้อยู่กับเด็กอายุต่ำกว่า 10 ปี ร้อยละ 10 และถูกทิ้งให้อยู่ลำพัง ร้อยละ 7 และมีนักเรียนที่ได้รับการฝึกอบรมด้านการป้องกันอุบัติเหตุ อุบัติภัย เสริมจากกิจกรรมการเรียนการสอน ในระดับประถมศึกษา มีร้อยละ 50.9  ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ร้อยละ 94.7  และในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ร้อยละ 66.4

                สำหรับด้านความมั่นคงในที่อยู่อาศัยของครัวเรือน พบว่า มีครัวเรือนที่ยังไม่มีความมั่นคงในที่อยู่อาศัยฯ ในปี 2551 เพิ่มขึ้นจาก ปี 2550 ร้อยละ 0.48 (เพิ่มขึ้นจำนวน 36,929 ครัวเรือน)

และยังมีครัวเรือนที่ยังไม่มีการป้องกันอุบัติภัยฯ ในปี 2551 เพิ่มขึ้นจากปี 2550 ร้อยละ 0.62 (เพิ่มขึ้นจำนวน 47,987 ครัวเรือน)

 

  ยุทธศาสตร์ที่ 4  ด้านการให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์

                การดำเนินงานด้านการให้ความช่วยเหลือเด็กที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ ตามยุทธศาสตร์ที่ 4 มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับดี โดยมีสาระสำคัญคือ

                สตรีอายุ 15-49 ปี ส่วนใหญ่มีความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับวิธีที่ไม่ติดเชื้อเอชไอวี ในลักษณะต่างๆ และมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อ เอชไอวี ในด้านที่ทราบวิธีป้องกันการติดเชื้อ

เอชไอวี 2 วิธี ร้อยละ 72.1  การมีความเข้าใจถูกต้องเกี่ยวกับวิธีไม่ติดเชื้อ เอชไอวี 3 วิธี ร้อยละ 62.2  และการมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการติดเชื้อ เอชไอวี เป็นอย่างดี ร้อยละ 46.6  นอกจากนี้ยังมีความรู้ในการป้องกันการติดเชื้อ เอชไอวี ในวิธีการต่างๆ เสียเป็นส่วนใหญ่

                ในด้านทัศนคติ สตรีอายุ 15-49 ปี ยังมีทัศนคติต่อการอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ในลักษณะต่างๆ ไม่ค่อยดีนัก คือ มีทัศนคติว่าจะไม่ซื้ออาหารจากผู้ติดเชื้อ ร้อยละ 65  มีทัศนคติว่าจะเก็บเรื่องไว้เป็นความลับถ้ามีสมาชิกในครอบครัวติดเชื้อ ร้อยละ 37  มีทัศนคติว่าครูที่ติดเชื้อไม่ควรให้มาสอนหนังสือ ร้อยละ 29  และมีทัศนคติว่าจะไม่สนใจสมาชิกในครอบครัวที่ป่วยเป็นโรคเอดส์ ร้อยละ 5

                ในด้านการดูแลหญิงให้กำเนินบุตร พบว่า มีหญิงที่ฝากครรภ์และได้ตรวจเลือดเพื่อหาการติดเชื้อเอดส์ ร้อยละ 93.03  และมีหญิงที่ตรวจแล้วทราบผลการตรวจโรคเอดส์ ร้อยละ 88.46 และยังมี

มีหญิงที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี และคลอดเด็ก ร้อยละ 66  โดยมีทารกแรกคลอดที่ติดเชื้อ เอช ไอ วี จากมารดา ร้อยละ 34  ส่วนเด็กกำพร้าที่ได้รับผลกระทบจากโรคเอดส์ได้รับการดูแลจากเครือญาติ ร้อยละ 59  ส่วนที่อยู่ในความอุปการะของผู้อื่น ร้อยละ 41  

                 ยุทธศาสตร์ที่ 5  ด้านการศึกษาสำหรับเด็ก

                การดำเนินงานด้านการศึกษาสำหรับเด็ก ตามยุทธศาสตร์ที่ 5 มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับดี ในด้านปริมาณ ส่วนในด้านคุณภาพการศึกษายังไม่ดีนัก โดยมีสาระสำคัญคือ

                ในด้านการเตรียมความพร้อมของเด็ก พบว่า เด็กอายุ 0-3 ปี ได้รับการดูแลจากสถานอนุบาลอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 82) และเด็กก่อนวัยเรียนอายุ 3-5 ปี ได้รับการเตรียมความพร้อมอยู่ในระดับค่อนข้างมาก (ร้อยละ 74.95) และนักเรียนชั้น ป. 1 ที่ผ่านการเตรียมความพร้อมในปีที่ผ่านมา (1 ปี) คิดเป็นร้อยละ 99.4  ซึ่งถือได้ว่ามีการเตรียมความพร้อมในระดับมาก

                ในด้านการเข้าเรียนการศึกษาภาคบังคับ พบว่า อัตราการเข้าเรียน ชั้น ป. 1 ของเด็กอายุ 6 ปี มีเพียงร้อยละ 90.6 ซึ่งถือได้ว่ายังทำได้ไม่ครอบคลุม ทั่วถึงเท่าที่ควร แต่ในภาพรวมของระดับประถมศึกษามีนักเรียนชั้นประถมศึกษามีอัตราการเข้าเรียนอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 108.89) ทำนองเดียวกับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมีอัตราการเข้าเรียนอยู่ในระดับมาก (ร้อยละ 97.47) เช่นกัน

นอกจากนี้ ยังมีเด็กเรียนต่อชั้น ม.1 ร้อยละ 99.47  และเรียนต่อชั้น ม.4/ปวช.1 ร้อยละ  88.23 จะเห็นได้ว่ามีเด็กได้เรียนต่ออยู่ในระดับมาก แต่นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายมีอัตราการเข้าเรียน อยู่ในระดับที่ยังไม่ครอบคลุมทั่วถึงเท่าที่ควร (ร้อยละ 39.79)

                ในด้านความเสมอภาค นักเรียนหญิงกับนักเรียนชายมีสัดส่วนของการได้เข้าเรียนทัดเทียมกัน

ส่วนการรู้หนังสือนั้น ในภาพรวม ประชากรวัย  15-24 ปี มีอัตราการรู้หนังสือค่อนข้างสูง ร้อยละ 96.8

และในภาพรวม แรงงานไทยอายุ 15-59 ปี มีจำนวนปีเฉลี่ยการได้เรียนเท่ากับ 8.46 ปี ถือได้ว่าปัจจุบันแรงงานมีการได้รับการศึกษามากขึ้น

                 ยุทธศาสตร์ 6  ด้านเด็กกับนันทนาการ

                การดำเนินงานด้านเด็กกับนันทนาการ ตามยุทธศาสตร์ที่ 6 มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง  โดยมีสาระสำคัญคือ เด็กที่อยู่ในครัวเรือนส่วนใหญ่ มีโอกาสจะได้เล่นของเล่น และเกิดนันทนาการภายในบ้านกว่าร้อยละ 90 แต่ก็มีครัวเรือนที่มีของเล่นอย่างน้อย 3 อย่าง เพียงร้อยละ 31.1

                ในด้านการทำกิจกรรมร่วมกัน มีเด็กอายุ 0-5 ปี ได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนในบ้าน ร้อยละ 78  ส่วนเด็กวัย 6-12 ปี ได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนในบ้าน ร้อยละ 90

                สำหรับเรื่องหนังสือสำหรับเด็ก พบว่า เด็กที่อยู่ในครัวเรือนที่มีหนังสือสำหรับเด็ก ตั้งแต่ 3 เล่มขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 68.3 (ครัวเรือนไทยที่มีเด็กอ่อนจะมีหนังสือสำหรับเด็กเฉลี่ยประมาณ 7 เล่ม)

โดยที่เด็กที่อยู่ในครัวเรือนที่มีหนังสือทั่วไปตั้งแต่ 3 เล่มขึ้นไป มีเพียงร้อยละ 42.6 (ครัวเรือนไทยที่มีเด็กอ่อนจะมีหนังสือทั่วไปเฉลี่ยประมาณ 3.1 เล่ม)

                ในด้านอุปกรณ์เครื่องใช้ในการนันทนาการภายในบ้านนั้น พบว่า ครัวเรือนที่มีเด็กอาศัยอยู่

มีโทรทัศน์ภายในบ้าน ร้อยละ 85.5 มีวิทยุภายในบ้าน ร้อยละ 75 และมีเครื่องคอมพิวเตอร์ภายในบ้าน ร้อยละ 41.4

                 ยุทธศาสตร์ 7  ด้านวัฒนธรรมและศาสนาสำหรับเด็ก

                การดำเนินงานด้านวัฒนธรรมและศาสนาสำหรับเด็ก ตามยุทธศาสตร์ที่ 7  มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย  โดยมีสาระสำคัญคือ มีเด็กที่ใส่บาตร ทำบุญในวันหยุด

เสาร์ – อาทิตย์ มากกว่าในวันธรรมดา และเป็นที่น่าสังเกตว่าเด็กที่เล็กกว่ามีการใส่บาตร ทำบุญ

มากกว่าเด็กที่โตกว่า ทำนองเดียวกัน มีเด็กที่ไปวัด/โบสถ์/มัสยิด ในวันหยุด เสาร์ – อาทิตย์ มากกว่าในวันธรรมดา และเด็กที่เล็กกว่ามีการไปวัด/โบสถ์/มัสยิด มากกว่าเด็กที่โตกว่า

                สำหรับด้านการทำกิจกรรมทางศาสนา พบว่า ครัวเรือนที่มีคนอายุ 6 ปี ขึ้นไปทุกคนปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในปี 2551 (ร้อยละ 97.40) ลดลงจากปี 2550 (ร้อยละ 97.96)  ส่วนครอบครัวที่มีการทำกิจกรรมทางศาสนาเดือนละครั้งในภาพรวมของประเทศ มีร้อยละ 52.58

                 ยุทธศาสตร์ 8  ด้านสื่อมวลชนกับเด็ก

                การดำเนินงานด้านสื่อมวลชนกับเด็ก ตามยุทธศาสตร์ที่ 8  มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีสาระสำคัญคือ

                เด็กที่ดูการ์ตูนโป๊ / วีซีดีโป๊ / เว็บโป๊ และเด็กที่พูดโทรศัพท์ / ดูทีวี / เล่นอินเทอร์เน็ต จะเป็นเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก ซึ่งตรงข้ามกับการไปวัด/โบสถ์/มัสยิดที่มีเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต  โดยเด็กอาชีวศึกษาเป็นผู้ครองแชมป์ในทุกกรณี ดังนั้น จึงควรให้ความสนใจและเฝ้าระวังกับเด็กโตในเรื่องดังกล่าว โดยเฉพาะเด็กอาชีวศึกษาให้มากเป็นพิเศษ สำหรับเรื่องการเล่นเกมส์นั้น เด็กเล่นเกมส์ออนไลน์ เกมส์คอมพิวเตอร์ และเกมส์อื่นๆ จะเป็นเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต ส่วนเวลาที่ใช้เล่นเกมส์ดังกล่าว ดูจะค่อนไปทางเด็กโตใช้เวลาในการเล่นมากกว่าเด็กเล็ก

                ในด้านสื่อสำหรับเด็ก พบว่า สื่อสาระความรู้ที่เหมาะสมสำหรับเด็กยังมีค่อนข้างมีน้อย แต่สื่อที่นำเสนอเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมกับเด็กมีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางทั้งภาพและเสียง ทั้งที่มีลักษณะเป็นความรุนแรง การพนัน เกมส์ที่ไม่เหมาะสม เรื่องลามก รวมทั้งการล่อลวงต่างๆ นอกจากนี้ ปัจจุบันได้มีการจัดอันดับรายการทีวีประเภทต่างๆ ตามความเหมาะสมของผู้บริโภคโดยเฉพาะที่

เป็นเด็ก ซึ่งถือได้ว่าเป็นสิ่งที่ดี

                 ยุทธศาสตร์ 9   ด้านการมีส่วนร่วมของเด็ก

                การดำเนินงานด้านการมีส่วนร่วมของเด็ก ตามยุทธศาสตร์ที่ 9  มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีสาระสำคัญคือ มีการจัดตั้งสภานักเรียนในโรงเรียน และหรือการเลือกคณะกรรมการนักเรียนเป็นส่วนใหญ่ (ร้อยละ 87.8) แต่มีบางส่วนที่ไม่มีการจัดตั้งสภานักเรียน หรือไม่มีกรรมการนักเรียน (ร้อยละ 12.2) นอกจากนี้ ยังมีสภาเด็กและเยาวชนในทุกจังหวัด และมีกรรมการสภาฯ ทั่วประเทศจำนวนประมาณ 3,500 คน มีสมาชิกประมาณ 280,000 คน และยังมีสภาเด็กและเยาวชนแห่งประเทศไทยด้วย

                ในด้านการมีส่วนร่วมของเด็กในรายการสื่อต่างๆ พบว่า มีรายการโทรทัศน์ที่เด็กร่วมในรายการจำนวน 26 รายการ มีจำนวนรายการวิทยุที่เด็กร่วมรายการด้วย 161 รายการ และมีรายการเสียงตามสายในชุมชนที่เด็กร่วมรายการด้วย จำนวน 789 รายการ ซึ่งแสดงว่า เด็กและเยาวชนไทยได้มีบทบาททางสื่อมวลชนด้วย

                นอกจากนี้ ยังมีนักเรียนที่ได้รับการอบรมเรื่องสิทธิเด็กมีหลายระดับ โดยเป็นระดับประถมศึกษา 59,884 คน ระดับ ม. ต้น 134,400 คน  และระดับ ม. ปลาย 119,870 คน และมีเด็ก

และเยาวชนที่ได้เข้าร่วมกิจกรรมในรูปแบบต่าง ๆ ของงานฉลองวันเด็กแห่งชาติเป็นจำนวนมาก ประมาณ หกล้านคน โดยได้มีส่วนร่วมแสดงออกและร่วมกิจกรรมงานวันเด็กแบบต่างๆ อย่างหลากหลาย

 

                ยุทธศาสตร์ 10  ด้านการปกป้องคุ้มครองเด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ

                การดำเนินงานด้านการปกป้องคุ้มครองเด็กที่ต้องการการคุ้มครองเป็นพิเศษ ตามยุทธศาสตร์ที่ 10  มีผลการดำเนินงานในภาพรวมอยู่ในระดับน้อย โดยมีสาระสำคัญคือ ในด้านที่เกี่ยวข้องกับอบายมุข พบว่า เด็กที่โตกว่ามีพฤติกรรมในการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่มากกว่าเด็กที่เล็กกว่า โดยเฉพาะเด็กอาชีวศึกษา ยังคงครองแชมป์ทั้งการดื่มเหล้าและสูบบุหรี่ มากกว่าเด็ก ม. ปลาย และเด็ก ม. ต้น นอกจากนี้ เด็กอาชีวศึกษายังเสพยาเสพติดในสถานศึกษามากที่สุด ร้อยละ 17.60 รองลงมาได้แก่ เด็ก ม.ปลาย ร้อยละ 15.80 เด็ก ม.ต้น ร้อยละ 14.63 และเด็กประถมศึกษา ร้อยละ 6.39 และยังมีเด็กที่เที่ยวกลางคืนในวันหยุด เสาร์ – อาทิตย์ มากกว่าในวันธรรมดา โดยเด็กโตจะเที่ยวกลางคืนมากกว่าเด็กเล็ก ซึ่งเด็กอาชีวศึกษายังคงครองแชมป์ทั้งในวันธรรมดาและวันหยุด เสาร์ – อาทิตย์ มากกว่าเด็ก ม. ปลาย เด็ก ม. ต้น และเด็กประถมศึกษา สำหรับด้านการพนัน มีเด็กเล่นไพ่มากที่สุด รองลงมาได้แก่การเล่นพนันบอล และซื้อหวยใต้ดิน เด็กเล่นการพนันจะเป็นเด็กโตมากกว่าเด็กเล็ก โดยเด็กอาชีวศึกษาเป็นผู้ครองแชมป์ในทุกกรณีทั้งเล่นไพ่ พนันบอล และซื้อหวยใต้ดิน มากกว่าเด็ก ม. ปลาย เด็ก ม. ต้น และเด็กประถมศึกษา

                เมื่อไม่นานมานี้ คงได้รับทราบข่าวคราวเกี่ยวกับเด็กตัดไข่ เด็กดัดฟันเป็นแฟชั่น เด็กเจาะหูและที่เป็นข่าวสดๆ ร้อนๆ ในขณะนี้ก็คือ เด็กเจาะลิ้น เหล่านี้ล้วนไม่เป็นผลดีต่อเด็กทั้งสิ้น

มีรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการที่เด็กมีความคิดอยากทำศัลยกรรม พบว่า เด็กอาชีวศึกษามีความคิดอยากทำศัลยกรรมมากที่สุด ร้อยละ 18.75 รองลงมาได้แก่ เด็ก ม. ปลาย ร้อยละ 16.88 และเด็ก ม. ต้น

ร้อยละ 14.58 กรณีเหล่านี้ล้วนเป็นประเด็นแปลกๆ ใหม่ๆ ที่ควรให้ความสนใจมากขึ้น ก่อนที่สถานการณ์จะแพร่กระจายไปมากกว่านี้

                ในด้านการถูกทำร้าย พบว่า มีเด็กถูกทำร้ายร่างกายในสถานศึกษาเพิ่มขึ้น โดยมีเด็กประถมศึกษาถูกทำร้ายร่างกายมากที่สุด ร้อยละ 29.45 รองลงมาได้แก่เด็ก ม. ต้น ร้อยละ 26.07 ม. ปลาย ร้อยละ 25.24 และอาชีวศึกษา ร้อยละ 20.07 และเป็นที่น่าสังเกตว่า เด็กที่ถูกทำร้ายร่างกายในสถานศึกษามักเป็นเด็กเล็กมากกว่าเด็กโต ดังนั้น ในการปกป้องคุ้มครองเด็กจากการนี้ จึงควรเน้นไปที่เด็กเล็กมากกว่า นอกจากนี้ ยังมีการขู่กรรโชกทรัพย์กับเด็กเพิ่มขึ้น โดยมีเด็ก ม. ต้น ถูกขู่กรรโชกทรัพย์มากที่สุด ร้อยละ 16.24 รองลงมาได้แก่เด็ก ม. ปลาย ร้อยละ 13.94  อาชีวศึกษา ร้อยละ 10.26 และประถมศึกษา ร้อยละ 8.65

                ในด้านการล่วงละเมิดทางเพศ พบว่า เด็กที่ถูกละเมิดทางเพศมีแนวโน้มที่จะสูงขึ้น และมีเด็กอายุ 15-19 ปี มาทำคลอดมีแนวโน้มสูงขึ้นด้วย และมีครัวเรือนที่มีเด็กกำพร้า หรือเด็กที่อยู่ในภาวะเสี่ยงได้รับความช่วยเหลือจากรัฐค่อนข้างน้อย

                ในด้านการดูแลเด็กพิการ พบว่า มีเด็กพิการในลักษณะต่างๆ ได้เข้าเรียนในโรงเรียน รวมทั้งสิ้น 13,495 คน ซึ่งเป็นการดูแลเด็กที่ต้องการความคุ้มครองเป็นพิเศษ ตามแนวทาง “โลกที่เหมาะสมสำหรับเด็ก” ทางด้านการศึกษา และมีโรงเรียนที่เด็กพิการได้เข้าเรียนในระบบเรียนร่วมกับเด็กทั่วไป 40 โรงเรียน และมีนักเรียนที่เป็นเด็กพิการได้รับทุนการศึกษา ร้อยละ 74.32 สำหรับด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กพิการ พบว่า เด็กที่มีความบกพร่องทางร่างกายหรือสุขภาพ ได้รับการศึกษาที่มีคุณภาพการศึกษา อยู่ในระดับพอใช้ ส่วนการดูแลเด็กพิการด้านโภชนาการ พบว่า ยังมีเด็กกำพร้าที่มีภาวะทุพโภชนาการอยู่ไม่น้อย โดยมีเด็กในการดูแลของสถานเลี้ยงเด็กกำพร้า จำนวน 3,218 คน และเป็นเด็กกำพร้าที่มีภาวะทุพโภชนาการ จำนวน 414 คน คิดเป็นร้อยละ 12.87

 

หมายเลขบันทึก: 396371เขียนเมื่อ 21 กันยายน 2010 11:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 7 มิถุนายน 2012 15:09 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

น่าสนใจมากเลยครับ มีข้อมูลละเอียดมากๆๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท