การพัฒนาคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก(บทคัดย่อ)


การพัฒนาคุณภาพโรงเรียนขนาดเล็ก

   ในช่วงเวลา4 ปีที่ผ่านมา กระผมได้ศึกษา และวิจัย ระดับปริญญาเอก หัวข้อ "การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการที่ส่งเสริมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็ก" ขณะนี้จบแล้ว อยากจะเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ หรือฝากนำไปทดลองใช้ดู กระผมคิดว่าเหมาะสมหรับทุกขนาดโรงเรียน โดยเฉพาะ ขนาด 300 คนลงมา ตามเกณฑ์ สมศ.

                  "การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์   เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ที่ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  และ  เพื่อประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษา ที่ส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และ โดยการทดลองใช้จริงที่บริบทโรงเรียน2แห่ง

                      ประชากรและกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงเรียนขนาดเล็กดีเด่นที่ผ่านการประเมินระดับดี และดีมาก จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) จำนวน 6 โรงเรียน ที่ประกอบด้วย ผู้บริหาร 6 คน  และครู จำนวน 35  คน สำหรับการประเมินประสิทธิภาพของรูปแบบ ใช้กลุ่มตัวอย่างที่ได้มาโดยเจาะจง (Purposive Sampling) จำนวน 100 คน ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 17 คน โรงเรียนขนาดเล็ก 2 โรงเรียน ครูและผู้บริหาร 9 คน สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

                      ผลการวิจัยพบว่า

                      1.   รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริมคุณภาพการศึกษาในโรงเรียนขนาดเล็ก  ด้านวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาคุณภาพ ยกระดับผลสัมฤทธิ์ และมาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียนให้สูงขึ้น 2) เพื่อพัฒนาโรงเรียน  ผู้บริหาร ครู และนักเรียนให้มีคุณภาพตามมาตรฐานตามเกณฑ์    ที่หน่วยงานประเมินกำหนด  และ 3) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคคล คณะกรรมการ ชุมชน องค์กรทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษา  สำหรับแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบ คือ   1) การบริหารต้องเน้นที่คุณภาพและมาตรฐานที่เกิดกับโรงเรียน ครู และผู้เรียน 2) การบริหารจัดการต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมจาก ครู ผู้ปกครอง กรรมการสถานศึกษาชุมชนและองค์กรต่างๆ และ 3) การมุ่งมั่นทุ่มเท  สร้างศรัทธา สร้างทีมงานให้เป็นมืออาชีพของผู้บริหารเพื่อ ให้ผู้เกี่ยวข้องเกิดความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการ  ส่วนที่เป็นระบบและกลไกของรูปแบบ คือ 1) การมีสื่อ เทคโนโลยี ที่เพียงพอ และมีประสิทธิภาพ ทั้งระบบอินเตอร์เน็ต คอมพิวเตอร์ สื่อทางไกลผ่านดาวเทียม รวมทั้งใช้ระบบการนิเทศ พัฒนาครู กำกับ ติดตาม สนับสนุนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอด้วยสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีที่ทันสมัย  2) ครูมีความมุ่งมั่น ทุ่มเท เชื่อถือ ศรัทธาในระบบกลไกการบริหาร   มีความตระหนักในการปฏิบัติหน้าที่ มีความรับผิดชอบมุ่งความก้าวหน้าในวิชาชีพ  มีขวัญกำลังใจ ทำงานเป็นทีม ที่เป็นระบบ มีการวางแผนและกำหนดเป้าหมายที่เน้นคุณภาพผู้เรียน และ 3) ผู้บริหารต้องมีภาวะผู้นำเชิงบารมี (Charisma) มุ่งมั่น ทุ่มเท เสียสละ รับผิดชอบต่อภาระหน้าที่เป็นแบบอย่างและสร้างศรัทธาให้ครูและชุมชนมีความเชื่อมั่นในแนวทางการบริหารจัดการที่เน้นคุณภาพ  ส่วนยุทศาสตร์ที่สำคัญของรูปแบบ คือ 1) พัฒนาระบบการจัดการเรียนการสอนของครูให้เป็นทีมงานยกระดับคุณภาพโรงเรียน  2) สร้างความพร้อมและความเข้มแข็งของโรงเรียน และ 3) ส่งเสริมการใช้สื่อ เทคโนโลยี นวัตกรรมที่เหมาะสมอย่างหลากหลายในการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน  และด้านการประเมินรูปแบบ คือ  1) ตรวจสอบจากผลสัมฤทธิ์ผลการเรียน จาก O-Net  หรือจาก การทดสอบโดยองค์กรภายนอก 2) ใช้เครื่องมือและตัวชี้วัดของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพคุณภาพการศึกษา (สมศ.) และ 3) ใช้การประเมินแบบผสมผสาน ทั้งมีรูปแบบ ไม่มีรูปแบบ เป็นทางการและไม่เป็นทางการ

                      2.   ผลการประเมินรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริมต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็กที่เกิดจากการสังเคราะห์เอกสาร การศึกษาเชิงคุณภาพ เชิงปริมาณ และจากการประเมินความเหมาะสมจากผู้ทรงคุณวุฒิ  พบว่า  รูปแบบดังกล่าว มีค่าเฉลี่ยรวมทุกองค์ประกอบในระดับ ความเหมาะสมอย่างยิ่ง (  = 4.66)  

                  3.   ผลการทดลองรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาที่ส่งเสริมต่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก โดยนำรูปแบบไปทดลองใช้ 2 โรงเรียน ใน 1 ภาคเรียน พบว่า ผลการประเมินหลังจากนำรูปแบบบริหารจัดการที่ส่งเสริมต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียนขนาดเล็ก ไปทดลองใช้  ทั้ง 2 โรงเรียน มีผลการประเมินโดยรวมทุกมาตรฐานเพิ่มขึ้น (  = 1.06) จากระดับ พอใช้ (  = 1.96) เป็นระดับดี (  = 3.02) ทั้ง 2 โรงเรียน และผลการสอบถาม สัมภาษณ์ผู้บริหาร และคณะครู ที่โรงเรียนขนาดเล็กทั้ง 2 โรงเรียน ขณะทดลองใช้รูปแบบ และหลังการทดลองรูปแบบ     มีความเห็นต่อรูปแบบ ในระดับเห็นด้วยอย่างยิ่ง (  = 4.71)

 หมายเหตุ บทคัดย่อนี้ Copy มาจากร่าง ต้นฉบับที่นำเสนอหลังสอบจบ อาจมีบางคำที่ที่ปรับบ้าง แต่โดยภาพรวม ประเด็นต่างๆ ไม่มีการปรับเปลี่ยน)

 

หมายเลขบันทึก: 395724เขียนเมื่อ 19 กันยายน 2010 09:48 น. ()แก้ไขเมื่อ 22 มิถุนายน 2012 09:45 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (5)

        สวัสดีครับ  มีอะไรดี ๆ มาแบ่งปัน  ก็ขอขอบคุณครับ   อ่านแล้วได้ประโยชน์มากครับสำหรับนักบริหารการศึกษา

เรียนท่านผอ. ผมสนใจและมีแนวคิดเป็นแนวทางกับท่านและต้องการที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กเช่นกัน..ถ้าท่านมีข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มเติมกรุณาอัพโหลดลงเว็ปไซด์อีกนะครับ เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาอนาคตของประเทศชาติต่อไปครับ. ขอบคุณครับ.

เรียนท่านผอ. ผมสนใจและมีแนวคิดเป็นแนวทางเดียวกันกับท่านและต้องการที่จะทำวิจัยเกี่ยวกับโรงเรียนขนาดเล็กเช่นกัน..ถ้าท่านมีข้อมูลใหม่ ๆ เพิ่มเติมกรุณาอัพโหลดลงเว็ปไซด์อีกนะครับ เพื่อจะได้ช่วยกันพัฒนาอนาคตของประเทศชาติต่อไปครับ. ขอบคุณครับ.

เรียน  ท่านผู้อำนวยการ  มีสาระดีค่ะดิฉันกำลังต้องการข้อมูลเรื่องนี้อยู่ค่ะ

อ.สุรินทร์ เมืองพัทยา 7

ขออนุญาตอ้างในเล่มนะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท