แผนผังความคิด "Mind Map"


แผนผังความคิด

 

" Mind  Map "    

      การเรียนรู้ในยุคนี้ถ้าเราจำแต่เป็นตัวหนังสือเราอาจเรียนรู้แล้วปล่อยผ่านไป  แต่ถ้าเราลองหันมามองวิธีการจดจำแบบมองให้เป็นภาพอย่าง Mind Map ล่ะครับ  เราก็จะจดจำได้นานกว่าเดิมและสามารถแตกความคิดได้อย่างไม่รู้จบ

      ก่อนอื่นเรามาดูที่มา Mind  Map กันครับ แผนที่ความคิด  เป็นการนำเอาทฤษฎีที่เกี่ยวกับสมองไปใช้ให้เกิดประโยชน์  อย่างสูงสุด นาย ธัญญา ผลอนันต์  เป็นผู้นำความคิดและวิธีการเขียนแผนที่ความคิดเข้ามาใช้ และเผยแพร่ในประเทศไทย ผู้คิดริเริ่มคือโทนี บูซาน (Tony Buzan) เป็นชาวอังกฤษ  เป็นผู้นำเอาความรู้เรื่องสมองมาปรับใช้เพื่อการเรียนรู้ของเขา  โดยพัฒนาการจากการจดบันทึกแบบเดิมที่ เป็นตัวอักษร เป็นบรรทัด ๆ เป็นแถว ๆ   ใช้ปากกาหรือดินสอในการจดบันทึก เปลี่ยนมาเป็นบันทึกด้วยคำ ภาพ สัญลักษณ์ แบบแผ่รัศมี ออกรอบ ๆ ศูนย์กลางเหมือนการแตกแขนงของ  กิ่งไม้  โดยใช้สีสัน  การเขียนแผนที่ความคิดของโทนี บูซาน เป็นการบันทึกในทุกๆเรื่อง ทั้ง  ชีวิตจริงส่วนตัวและการงาน เช่น การวางแผน การตัดสินใจ การช่วยจำ การแก้ปัญหา การ นำเสนอ และการเขียนหนังสือ เป็นต้น การบันทึกแบบนี้เป็นการใช้ทักษะการทำงานร่วมกัน    ของสมองทั้งสองซีก คือ ซีกซ้าย วิเคราะห์ คำ ภาษา สัญลักษณ์ ระบบ ลำดับ ความเป็นเหตุ  เป็นผล ส่วนสมองซีกขวา  จะทำหน้าที่สังเคราะห์คิด สร้างสรรค์จินตนาการ ความงาม ศิลปะ จังหวะ โดยมีแถบเส้นประสาทคอร์ปัสคอโลซั่มเป็นเสมือนสะพานเชื่อม

           การเขียน Mind Map  ใช้กระดาษแผ่นเดียว การเขียนใช้สีสันหลากหลาย ใช้โครงสร้างตามธรรมชาติที่แผ่กระจายออกมาจุดศูนย์กลาง ใช้เส้นโยง มีเครื่องหมาย สัญลักษณ์ และรูปภาพที่ผสมผสานร่วมกันอย่างเรียบง่าย  สอดคล้องกับการทำงานตามธรรมชาติของสมอง 

วิธีการเขียน Mind Map

  1. เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
  2. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
  3. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ  ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
  4. แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
  5. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
  6. การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มีความหมายชัดเจน      
  7. คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
  8. ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน

ข้อดีของการสร้าง Mind  Map

  1. ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
  2. ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางหรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้อง เพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
  3. สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
  4. กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหา โดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
  5. สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ

       สรุป Mind Map  เป็นแผนที่ความคิดที่อัจฉริยะ เปรียบเสมือนลายแทงที่นำไปสู่  การจดจำ การเรียบเรียง การจัดระเบียบข้อมูลตามธรรมชาติ การทำงานของสมองตั้งแต่ต้น นั่นหมายความว่า การจำและฟื้นความจำ หรือการเรียกข้อมูลเหล่านั้นกลับมาใช้ในภายหลัง  จะทำได้ง่าย และมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการใช้เทคนิคการจดบันทึกแบบเดิม

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก  www.mindmap.in.th

คำสำคัญ (Tags): #แผนผังความคิด
หมายเลขบันทึก: 395552เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 14:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

ช่วยได้ดีในการแตกความคิดเลยนะเนี่ย

ขอบคุณสำหรับการแบ่งปันความรู้จ๊ะ

เยี่ยมมากเลยครับ สำหรับความรู้นำมาแบ่งปัน

เยี่ยมมากเลยครับ สำหรับความรู้นำมาแบ่งปัน

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท