KM สร้างเสริมสุขภาพ (๕)


เครือข่ายพยาบาลศาสตร์ฯ ได้ผ่านระยะก่อตัวมาแล้ว ตอนนี้กำลังเพิ่มความสวยงาม เริ่มมีชีวิตชีวามากขึ้น

ตอนที่

วันที่ ๑๗ กันยายน ๒๕๕๓ (บ่าย)

ภาคบ่าย มีอาจารย์ ดร.อาภา ยังประดิษฐ์ รับหน้าที่เป็น MC เริ่มต้นด้วยเวทีอภิปรายเรื่อง “เครือข่ายพยาบาลศาสตร์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ : โอกาสและความท้าทาย” นอกจากจะมีคุณหมอวีระพันธ์เป็นวิทยากรท่านหนึ่งแล้ว ยังมี รศ.อรทัย อาจอ่ำ จากสถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล ในฐานะที่ท่านเป็นทีมประเมินภายนอก รศ.ดร.ศิริพร ขัมภลิขิต คณบดีคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่ทำงานเกาะติดเรื่องสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ มายาวนาน มี รศ.ดร.วรรณภา ศรีธัญรัตน์ ผจก. แผนงาน พย.สสส. เป็นผู้ดำเนินการอภิปราย

ดิฉันเข้าๆ ออกๆ ห้องประชุมในช่วงแรกเพื่อเตรียมการเรื่องการมอบรางวัล Best Practice ตอนท้ายรายการ จึงไม่ได้ฟังสิ่งที่คุณหมอวีระพันธ์พูด (จะกลับไปดูจาก VDO) จับความได้จากคำพูดของอาจารย์วรรณภาว่า “อยากเห็นแม่ปูที่เป็นผู้นำ...”

อาจารย์อรทัยเสนอว่า เครือข่ายพยาบาลศาสตร์ฯ ได้ผ่านระยะก่อตัวมาแล้ว ตอนนี้กำลังเพิ่มความสวยงาม เริ่มมีชีวิตชีวามากขึ้น ต่อไปควรเพิ่มความหลากหลาย นำวิชาชีพอื่นๆ เข้ามา มองเห็นคุณค่าของความหลากหลาย เพิ่มการเรียนรู้ พยายามปรับตรงนี้ให้มาก ปรับกระบวนทัศน์ในการมองมนุษย์และสังคม ...เน้นศาสตร์อย่างเดียวไม่ได้ ต้องศาสตร์และศิลป์ ในการทำงานร่วมกันควรลดความแข็งของศาสตร์ต่างๆ ลง ความรู้อย่างเดียวไม่เพียงพอ ต้องปรับวิธีคิด

สิ่งที่เครือข่ายต้องให้ความสำคัญคือการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างกัน เข้าใจกันมากเท่าไหร่ก็จะเกิดการช่วยเหลือเกื้อกูลกันมากเท่านั้น ถ้าขยายออกไปเรื่อยๆ ก็จะยิ่งเกิดความสวยงาม ขอให้มีพัฒนาการขึ้นไปเรื่อยๆ ชวนคนมาเพิ่ม จนเกิดการตอบสนองต่อสาธารณะ พอเข้มแข็งมากขึ้นก็จะยิ่งทำให้สามารถช่วยเหลือเกื้อกูลต่อสาธารณะ เกิดปิติสุขร่วมกัน

อาจารย์วรรณภา : เรามีความหลากหลาย การประชุมครั้งนี้มาทั้งผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ นักศึกษา มาจากทั้ง ๕ โซน ...ความสุข เป็นความสุขที่เพิ่มพลังเชิงบวก จากประสบการณ์ ๒-๓ วันจะเห็นได้ว่าสะท้อนสิ่งที่อาจารย์อรทัยพูดมาทั้งหมด เราเกิดความสุข

อาจารย์ศิริพรเล่าว่าการทำงานในฐานะรองอธิการบดีฝ่ายบริหารของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ที่ผ่านมา ได้ทำงานเรื่องอะไรบ้าง มองอะไรที่เปลี่ยนไป ได้ออกนอกกรง การที่ได้ทำงานกับคนอื่นจะคิดอะไรทำอะไรต่างจากเดิม...มองการสร้างเสริมสุขภาพแบบความท้าทาย โอกาสจะทำเต็มมือเต็มไม้ เป็นโอกาสของพยาบาล เป็นโอกาสอย่างมาก ได้รับโอกาส ๑๐๐% ในการดำเนินงาน ใครๆ ก็บอกว่าพยาบาลเป็นผู้มีหน้าที่นี้ ได้รับการสนับสนุนเต็มที่

จุดแข็ง-พยาบาลมีอยู่ในทุกพื้นที่ แต่จุดอ่อนก็มีอยู่มาก เช่น
o การขาดทิศทางร่วมกันในการสร้างเสริมสุขภาพในบทบาทของพยาบาล
o ความรู้ความเข้าใจในระดับนโยบาย อาจต่างกัน
o ความรู้ความสามารถในการสร้างเสริมสุขภาพแตกต่างกัน
o ขาดความสามารถในการวางแผน การจัดทำกลยุทธ์เพื่อการสร้างเสริมสุขภาพ
o ร่วมมือกับเครือข่ายน้อยไป
o ฯลฯ

ภาวะคุกคาม - เป็นไปได้ที่สังคมจะลดความสำคัญของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพและเพิ่มโอกาสให้กับวิชาชีพอื่นและบริการอื่น

ความท้าทาย – ทำอย่างไรให้สานพลังกันได้ เชื่อมโยงแผนกลยุทธ์กับแต่ละวิชาชีพ ทำอย่างไรให้การสร้างเสริมสุขภาพในโรงพยาบาลจริงจังและได้ผล ทำอย่างไร...(อีกหลายความท้าทาย)

ความคาดหวัง – องค์กรสร้างเสริมสุขภาพ ทำอย่างไรให้เกิดองค์ความรู้ด้านการสร้างเสริมสุขภาพ สร้างพยาบาลที่มีสมรรถนะด้านการสร้างเสริมสุขภาพ เราเดินมาได้ถึงจุดหนึ่ง สร้างพยาบาลเป็นผู้ที่มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี แสดงถึงความพยายามถึงการลดปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ ทำอย่างไรให้ความคาดหวังของวิชาชีพไปสู่ความคาดหวังของตัวพยาบาล

ถ้าเป็นความคาดหวัง แต่ยังทำไม่ได้ ควรดำเนินการอย่างไร
- ต้องมีนโยบายที่ชัดเจน ผู้บริหาร involve
- Setting-based หรือ organizational based development
- Multidisciplinary approach
- Put maximum efforts
- Monitoring effectively
- KS บ่อยขึ้น

ข้อเสนอการทำงานของ พย.สสส. และ ทคพย.
o กำหนดทิศทาง นโยบาย แผนงาน ร่วมกันในการดำเนินงานสร้างเสริมสุขภาพ
o คัดเลือกหน่วยงานที่มีความพร้อมในการดำเนินงาน เป็นผู้ดำเนินงาน ไม่จำเป็นต้องเป็นผู้ดำเนินงานร่วมกันทั้งหมด
o ให้โอกาสหน่วยงานที่ยังไม่พร้อม ได้เรียนรู้กระบวนการอย่างเต็มที่
o แสวงหาเครือข่ายวิชาชีพอื่นๆ เครือข่ายบริการพยาบาลในการทำงานร่วมกันเฉพาะเรื่อง เฉพาะประเด็น
o ทำในสิ่งที่เป็นไปได้
o สร้างกระแสความตื่นตัวในบทบาทพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
o วิจัยด้านความจำเป็นของการพัฒนาพยาบาลด้านการสร้างเสริมสุขภาพ ต้องพัฒนาอะไร อย่างไร
o ร่วมมือในการพัฒนา พร้อมพัฒนาศักยภาพตัวเอง

การที่จะพัฒนาตนเองในเกิดศักยภาพและการพัฒนาเครือข่าย ยากพอๆ กัน ไม่เหมือนการพยาบาลคนที่หมดสติ ต้องเปลี่ยนกระบวนทัศน์ตนเอง I do as I believe การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ไม่ใช่เรื่องง่าย จะสำเร็จได้ด้วยความร่วมมือ ความมุ่งมั่น วางแผน ดำเนินการอย่างต่อเนื่อง จบด้วยภาพศูนย์รังสิตที่มีภูมิทัศน์สวยงามน่าอยู่

อาจารย์วีระพันธ์ฝากความหวังเรื่ององค์กรสร้างเสริมสุขภาพ... อาจารย์อรทัยเสนอโครงสร้างเครือข่ายทางสังคม ที่ประสานกันทุกช่องทาง เป็นแบบวงล้อ ไม่แตกแขนง เกิดความเท่าเทียม... ความแน่นแฟ้นของเครือข่าย มีการ...ให้บ่อยขึ้น เพิ่มผู้แสดงบทบาทเป็นศูนย์กลางของเครือข่ายเพิ่มมากขึ้น ปัจจัยที่จะทำให้เป็นเครือข่ายที่เข้มแข็งคือวิสัยทัศน์ร่วม รับรู้แบ่งปันประสบการณ์ต่อเนื่อง มีความหลากหลายของความคิดความเชื่อ ถ้าเหมือนกันหมดจะเป็น gang

การดูแลสัมพันธภาพระหว่างสมาชิก อย่าคาดหวังมากเกินไป การทำอะไร อย่านำไปสู่การสูญเสียเอกลักษณ์ความเป็นตัวตน แกนนำเครือข่ายที่มีภาวะผู้นำ ควรเพิ่มแกนนำให้มากขึ้น ทำอย่างไรให้เกิดความเชื่อมโยงกับส่วนต่างๆ ให้มากขึ้น จุดมุ่งหมายร่วมกัน ถ้ายังไม่ชัด ต้องทำให้ชัด การร่วมรับประโยชน์ เครือข่ายต้องได้รับด้วยทั้งด้านสุขภาพ ความสัมพันธ์ และอื่นๆ ต้องดีขึ้น กิจกรรมที่ควรทำ การติดต่อประสานงานอย่างเป็นมิตร

ควรเพิ่มขีดความสามารถในด้านต่างๆ ให้เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการประเมินผล...วิจัยเพื่อรู้อย่างเดียวไม่พอ ต้องวิจัยเพื่อการแก้ไขเปลี่ยนแปลง เรียนรู้เครื่องมือต่างๆ และนำไปใช้เพิ่มมากขึ้น

ช่วงท้ายเป็นการประกาศรางวัล Best Practice จากคะแนนความประทับใจของผู้เข้าเรียนรู้ในฐานทั้งหมด ๑๐ ฐาน มี ๔ รางวัล (เท่ากัน) เรียงชื่อฐานตามตัวอักษร ดังนี้
o กุหลาบงาม หนามต้องคม
o บ้านหลังที่สอง
o เรียนรู้เพศศึกษา ด้วยการดูหนัง-ฟังเพลง
o Animation ชิกุนกุนยา

 

ปิดการประชุมด้วยความสุขในระดับหนึ่ง

วัลลา ตันตโยทัย
 

หมายเลขบันทึก: 395541เขียนเมื่อ 18 กันยายน 2010 14:30 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)
  • สวัสดีค่ะ อาจารย์
  • ความท้าทาย อยู่ที่การสานพลังกันของพยาบาลจริงๆค่ะ
  • ขอบคุณค่ะ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท