KM ที่รัก ตอนที่21 "ละครเงา...เล่าชีวิต"


เขื่อน...บนความคิดของชาวบ้าน และนักวิชาการ

                                ละครเงา  นิทานริมฝั่งโขงโดยคณะสื่อสร้างสรรค์พระจันทร์พเนจร(การเดินทางไม่สิ้นสุด) มีโอกาสมาแสดงที่คณะศิลปะศาสตร์   เรานักศึกษาพัฒนบูรณาการศาสตร์ มีโอกาสเข้าร่วมชมด้วยการแสดงครั้งนี้มีความน่าสนใจมาก  เพราะเป็นแนวทางการสือสารที่เป็นสื่ออิสระ ละครเงาเป็นเทคนิคการนำเสนออีกรูปแบบหนึ่ง ที่ใช้แสงและเงาเป็นสื่อหลักในการเล่าเรื่อง  ถ้าผมเดาไม่ผิด น่าจะได้รับอิทธิพลจาก หนังตะลุง แน่นอนแต่มีการพัฒนาเทคนิคสูงขึ้นมาก  เนื่องจากเป็นการเล่าเรื่อง โดยอาศัยแสงและเงาเป็นหลักผู้เข้าชมต้องไม่ก่อให้เกิดเสียงและแสงรบกวน ต้องปิดโทรศัพท์มือถือ ถ่ายภาพได้แต่ต้องไม่ใช้แสงไฟ  เรื่องราวที่แสดงส่วนมากจะเป็นเรื่องการรักษาทรัพยากรทางธรรมชาติ โดยเฉพาะเรื่องของคนกับน้ำ  ซึ่งคณะนี้ได้รับเชิญไปแสดงที่ประเทศเยอรมันด้วย  <p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">                         ก่อนการแสดงมีเวที พูดคุยกันในมุมมอง ปัญหาเรื่องน้ำ ผ่านการเล่าเรื่องจากประสบการแต่ละคน มีทั้งนักวิชาการ อาจารย์ที่ทำงานกับลุ่มน้ำ และที่สำคัญ มีเจ้าของตัวจริงคือ ชาวบ้านจากเขื่อนปากมูลคือ แม่ลำดวล และคุณสมภาร  อ.ฤทธิชัย จากคณวิศวะ  อ.กนกวรรณ  จากคณะศิลปศาสตร์ในฐานะที่ ทำงานเป็นคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง</p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal"></p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">           ในมุมมองของชาวบ้านแล้วเห็นว่าในอดีต เราสามารถนำน้ำมูลขึ้นมาใช้ได้ทันที  แต่ปัจจุบัน น้ำเสียน้ำเน่าเนื่องจากนำไม่ไหลหมุนเวียน จึงไม่มีใครนำน้ำขึ้นมาใช้ได้ทันที  เด็กๆก็ไม่สนใจที่จะเล่น แต่พอปัจจุบัน มีการอนุญาตให้เปิดเขื่อนได้ น้ำสามารถ ใหลเวียนได้ ปลาจากน้ำโขงก็ขึ้นมาวางไข่ได้ เด็กๆกลับมาสนใจเล่นน้ำอย่างสนุกสนาน  แม่ลำดวนบอกว่าตลอดชีวิตนี้ พยายามดูแลน้ำเต็มที่ แต่ดูแลไม่ได้ ก็นึกเสียใจอยู่   เพราะชาวบ้านกับรัฐ คิดต่างกันอยู่มาก  แม้แต่คนโบราณ เวลาจะเลือกที่ตั้งถิ่นฐาน  จะต้องมีน้ำเป็นสำคัญ  เช่น บริเวณจะต้อง ไฮหนา  นาดี  มีน้ำ ชาวบ้านคิดว่าน้ำทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์     การต่อสู้ของชาวบ้าน เป็นการต่อสู้เพื่อปกป้องวิถีชีวิต  แต่รัฐกลับคิดว่า น้ำไหลไปเฉยๆ ไม่มีประโยชน์ต้องเอามาแปรเป็นเงิน..นอกจากนี้ชาวบ้านจากเขื่อนปากมูลยังได้ฝากบอกเล่าความทุกข์ แสนสาหัสตลอด 12 ปีที่ปิดน้ำสร้างเขื่อน    พอมีการเปิดเขื่อนเพียงไม่กี่เดือนก็ทำไห้ชาวบ้านมีความสุขมาก อยากไห้มีการเปิดเขื่อนตลอดไป                              ส่วนมุมมองของอ.จากคณะวิศวะก็ยังมองในมุมของตัวเลขอยู่เหมือนเดิม    ส่วน  อ. กนกวรรณ ซึ่งเป็นตัวแทนของคณะกรรมการลุ่มน้ำโขง มีความเห็นสอดคล้องกับชาวบ้าน และมีความเป็นห่วง สถานการลุ่มน้ำโขง เพราะจีนและพม่าไม่ร่วมมือกับประเทศที่อยู่ในลุ่มน้ำเดียวกัน ปัจจุบันจีนได้สร้างเขื่อนขึ้นมากมาย กำลังก่อปัญหาให้กับประเทศที่อยู่ในลุ่มน้ำตอนล่าง                               จากการบอกกล่าวเล่าเรื่องสร้างพลังให้กับทั้งคนเล่าและคนฟังจากคนที่ประสบเอง ทำเอง(คุณกิจ) จะมีการสะสมองค์ความรู้มากมายผู้ดำเนินรายการเป็นเพียงคุณอำนวย ทำให้เกิดการเปิดคลังความรู้มาสู่สาธารณะชนเท่านั้นเอง                                  ละครเงาก็สะท้านความจริงของสรรพสิ่งที่พึ่งพาแม่น้ำโขงและกำลังต่อสู้ </p><p style="margin: 0cm 0cm 0pt" class="MsoNormal">มหันต์ภัยจากมนุษย์ ด้วยความหวังจะรักษาสิ่งนี้ไว้ให้ลูกหลานรุ่นต่อไป</p> 

หมายเลขบันทึก: 39525เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 19:28 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 17:27 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท