วันนี้ภาควิชาเทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ ขอรับการประเมินตนเอง ซึ่งมีหลายๆ เรื่อง ที่ทางภาควิชาขาดหลักฐานอ้างอิง แต่ทางคณะกรรมการประเมินพบว่ามีการทำงานดังกล่าว แต่ไม่สามารถหาหลักฐานมาได้ เช่น ภาควิชามีบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถ ไปเป็นผู้บริหาร และที่ปรึกษาให้กับหน่วยงานหลายองค์กรภายในมหาวิทยาลัย ซึ่งการไปทำงานดังกล่าวให้ผลทั้งทางตรงและทางอ้อมกับภาควิชา เช่น อาจารย์ไปเป็นวิทยากร ไปเป็นที่ปรึกษาทางวิชาการ แต่ทั้งนี้การไปเข้าร่วมกิจกรรมดังกล่าว ในบางครั้งการประสานงานระหว่างหน่วยงานภายนอกกับภาควิชา ไม่ได้มีการประสานงานในทางดิ่งกับคณบดี กับภาควิชา แต่เป็นการประสานงานโดยตรง เป็นการประสานงานในเชิงแนวราบ ซึ่งถามว่าดีไหม ตอบได้ว่าดีในแง่ความรวดเร็ว ความสะดวก แต่หลักฐานข้อมูลจะไม่ค่อยมี
ส่วนอีกประเด็นหนึ่งคือ การประชุมอย่างไม่เป็นทางการ ถ้าถามว่าการประชุมบ่อยๆ คุยบ่อยๆ ดีไหม ตอบได้ว่าดี ยิ่งคุยกันมากทำให้ทำงานได้สะดวก เข้าใจกันมากขึ้น แต่ถามว่ารายงานการประชุมอยู่ไหน การประชุมที่ลากโต๊ะคุยกัน ถ้าถามหาวาระการประชุม ถามหารายงานการประชุมคงยาก แต่เมื่อมี QA สิ่งที่ QA ต้องการคือ หลักฐาน เมื่อไม่มีหลักฐาน คราวต่อไปก็ต้องการหลักฐาน เมื่อต้องการหลักฐานก็ต้องประชุมแบบเป็นทางการ ใช้โครงสร้างแนวดิ่ง ลดการประสานงานแนวราบลง แล้วอย่างนี้ถามว่า เราจะเชื่อ หรือใช้วิธีการใดดีระหว่าง หลักฐาน กับ ผลของงาน ใครมีแนวคิดดีๆ ช่วยแนะนำแนวคิดดีๆ ให้หน่อยครับ
ในความคิดของผมนะครับอาจารย์ ผมชอบและเชื่อมั่นในผลของงานมากกว่าหลักฐานครับ อุปสรรคสำคัญของการพัฒนาคือการที่เรายังยึดติดกับรูปแบบเดิมๆ การให้ความสำคัญกับหลักฐานน่าจะเป็นเรื่องของงานประจำเสียมากกว่า การพัฒนางานคือการคิดและลงมือปฏิบัติที่แตกต่างจากสภาพปัจจุบัน และถ้าจะดูหลักฐานในยุคนี้ก็ต้องมีความแตกต่าง เช่นหลักฐานในการประชุมอาจไม่ใช่บันทึก และวาระการประชุม แต่เป็นบรรยากาศของการประชุมที่มีทั้งภาพและเสียง มีวันที่มีเวลากำกับไว้พร้อมสรรพ มีความน่าเชื่อถือมากกว่า อะไรที่เป็นทางการมากไปผลที่ได้มักเป็นการเสแสร้งหรือทำตามมารยาทเสียมากกว่า ส่วนความจริงแท้มักหล่นหายไประหว่างทาง............(ก่อนจะถึง) การ ครับ