เศรษฐกิจระหว่างประเทศ


การค้าระหว่างประเทศ IMPORT&EXPORT
IMPORTER : ผู้ซื้อ เป็นผู้ที่ต้องการสินค้าเพื่อนำไปขาย,เป็นวัตถุดิบ,เป็นเครื่องจักรในกระบวนการผลิต ฯลฯ และเป็นผู้ที่ต้องมีเงินเพื่อนำไปชำระค่าสินค้าที่ตนสั่งซื้อ สิ่งที่IMPORTERต้องคำนึงถึง # คุณภาพสินค้า แน่นอนที่สุดว่าผู้นำเข้ายอมต้องมีความต้องการได้สินค้าที่มีคุณภาพตรงตามที่ตนได้ตก ลงกับผู้ขายในราคาที่ตนยินดีที่จ่ายเป็นค่าสินค้านั้นไป # เวลาในการส่งมอบ เวลาถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการซื้อสินค้า เนื่องจากว่าการนำเข้าสินค้านั้นไม่ใช่ซื้อปุ๊บ แล้วได้ปั๊บ ระยะทางในการขนส่ง, ชนิดในการขนส่ง ต่างมีผลที่จะทำให้สินค้ามาถึงมือตนได้ตรงกำหนดที่ตั้งใจไว้หรือเปล่า และที่สำคัญคู่ค้าสามารถส่งสินค้าให้ทันกำหนดหรือเปล่า เพราะมิฉะนั้น ตัว ผู้ซื้ออาจจะประสบกับความเสียหายได้ # สกุลเงิน และอัตราแลกเปลี่ยน เนื่องจากประเทศไทยเราใช้เงินในสกุลเงินบาท (Baht) ซึ่งมิใช่สกุลเงินที่นิยมใช้กันในการค้าระหว่างประเทศ ดังนั้นเมื่อผู้ซื้อต้องใช้สกุลเงินอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินบาท อัตราแลกเปลี่ยนจะมีผลกระทบกับราคาที่ซื้อสินค้าดังกล่าวนั้น ยิ่งในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินมีความผันผ่วนมาก # การประกันภัย ในการขนส่งสินค้าอาจจะเกิดความเสียหายได้ระหว่างทาง ดังนั้นการทำประกันภัยอาจจะจำเป็นสำหรับผู้ซื้อได้ ในกรณีที่ตนเป็นฝ่ายที่จะต้องรับความเสี่ยงในการขนส่งสินค้านั้น # ค่าขนส่ง เป็นปัจจัยหนึ่งที่จะบ่งบอกถึงต้นทุนสินค้า ว่าจะถูกแพงแค่ไหนอย่างไร และผู้ซื้อต้องทำการต กลงกับผู้ขายในเรียบร้อย เพราะราคาที่ถูกอาจจะไม่ได้รวมค่าขนส่งก็ได้ EXPORTER : ผู้ขาย เป็นผู้ที่มีสินค้าไว้เพื่อขายให้กับผู้ที่สนใจ แลกกับการได้รับการชำระค่าสินค้า ผู้ง่ายๆ ว่าเป็นผู้ที่ต้องการได้เงินนั่นเอง สิ่งที่EXPORTERต้องคำนึงถึง # การรับการชำระเงิน สิ่งที่ผู้ขายปรารถนามากที่สุด เพราะคงไม่มีผู้ขายรายใดที่ต้องการขายสินค้า โดยไม่สนใจว่าจะได้รับค่าสินค้าหรือเปล่า ดังนั้นการพิจารณาว่าตนจะได้รับค่าสินค้าหรือไม่, ครบถ้วน, ล่าช้า หรือเปล่า # คุณภาพสินค้า เป็นที่ต้องการของผู้ซื้อแค่ไหน คุณภาพเหมาะสมกับราคาขายหรือเปล่า การแข่งขันเป็นอย่างไร # คู่ค้า มีความน่าเชื่อถือได้มากน้อยขนาดไหน อย่าง น้อยน่าจะมีการเช็คประวัติบ้างว่าเป็นอย่างไรยิ่งเป็นคู่ค้ารายใหม่ๆ เพราะท่านจะถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ก็อยู่ตรงคู่ค้านั่นแหละ # ประเทศคู่ค้า ต้องมีความเข้าใจในวัฒนธรรม และประเพณีปฏิบัติไม่ว่าจะเป็นด้านศุลกากร ,การควบคุมด้านการเงิน หรือประเทศที่ถูกชาติอื่นๆ กีดกัน # อัตราแลกเปลี่ยน ผู้ขายต้องอย่าลืมว่าหากมิได้ตกลงซื้อขายกันในสกุลเงิน บาท แล้วต้องเสี่ยงกับการที่อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลบาทเป็นอย่างไร ตอนตกลงกันอัตราหนึ่ง ตอนได้รับเงินเป็นอีกอัตรานึง ก็อาจจ ะโชคดีเอา (หรือย่ำแย่เอาก็เป็นได้)
หมายเลขบันทึก: 39505เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 16:59 น. ()แก้ไขเมื่อ 13 มิถุนายน 2012 09:33 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (4)

เป็นข้อมูลที่อ่านเข้าใจอย่างง่ายๆดีค่ะ กำลังเรียนเรื่องที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจระหว่างประเทศก็เลยสนใจข้อมูลพวกนี้อยู่พอดีเลย

     อ่านแล้วนะค่ะ **IMPORTER** : ถ้าหากผู้ซื้อกับผู้ขายมิได้ตกลงซื้อขายกันในสกุลเงินบาท แล้วต้องเสี่ยงกับการที่อัตราแลกเปลี่ยนของสกุลบาทเป็นอย่างไร

 

 

 

ประเทศไทยจะใช้เงินสกุลบาท (Bath) แต่ไม่ได้เป็นค่าเงินที่เป็นที่นิยมในระหว่างประเทศ ดังนั้นเมื่อผู้ซื้อต้องใช้สกุลเงินอื่นๆ ที่ไม่ใช่เงินบาท อัตราแลกเปลี่ยนในแต่ละช่วงขณะจะมีผลกระทบกับราคาที่ซื้อสินค้าดังกล่าวนั้น ยิ่งในกรณีที่อัตราแลกเปลี่ยนเงินมีความผันผ่วนมากคะ  
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท