125. กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning)


สเปนเซอร์ เคแกน (Spenser Kagan, 1994) นักการศึกษาชาวสหรัฐ ได้ทำการวิจัยและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจอย่างจริงจังมาตั้งแต่ปี ค.ศ. 1985 และได้เผยแพร่ผลงานอย่างกว้างขวางในสหรัฐอเมริกา รวมถึงหลายประเทศในเอเซีย...
     วันนี้ที่โรงเรียนมีกิจกรรมหลายอย่าง โดยเฉพาะช่วงวันที่ 16-19 กันยายน 2553 มีผู้บริหาร ตัวแทนครู และตัวแทนนักเรียน ไปร่วมกิจกรรม งานมหกรรมสื่อ ICT สพฐ./ โรงเรียนในฝัน กลุ่ม 46 ICT ที่ ร.ร.เตรียมอุดมน้อมเกล้าฯ อุตรดิตถ์...วันนี้จึงมีเพียงครูบางส่วน และนักเรียนทั้งโรงเรียน ปฏิบัติหน้าที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอนตามปกติ (ตามสภาพ) กันเท่าที่จะเป็นได้  กิจกรรมการเรียนรู้ในวันนี้ จึงเป็นแบบบูรณาการกันในหลายๆ รายวิชา หลายห้องเรียน และหลายชั้นเรียน แล้วแต่ว่าจะเป็นกรณีชั่วโมงการเรียนรู้รายวิชาใด
     จนชั่วโมงสุดท้ายของระดับชั้น ม.ต้น ซึ่งเป็นรายวิชากิจกรรมลูกเสือ ด้วยที่ผู้กำกับลูกเสือ ไม่อยู่หลายท่าน กิจกรรมเลยกลายเป็นกิจกรรมลูกเสือบูรณาการกันโดยอัตโนมัติ เช่น ลูกเสือ ม. 1 ก็ไปเรียนรวมกับลูกเสือ ม.2 (เรียนควบชั้น) ส่วนลูกเสือ ม.3 ซึ่งมี 3 ห้องเรียน ก็นำมาเรียนด้วยกัน และด้วยสภาพอากาศครึ้ม มีฝนพร่ำๆ เลยมีผลต่อกิจกรรมวันนี้... ที่ต้องจัดกิจกรรมแบบ IN DOOR คือ เรียนกิจกรรมลูกเสือในชั้นเรียน
     หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการเปิดกองตามกระบวนการเรียนกิจกรรมลูกเสือเสร็จเรียบร้อย ครูผู้สอนจึงนำกิจกรรม แบบ "กระบวนการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ" (Cooperative Learning) มาใช้กับการจัดกิจกรรมลูกเสือในวันนี้
>>>
    จุดประสงค์การจัดกิจกรรมแบบร่วมมือร่วมใจ
  • พื่อใช้กระบวนการกลุ่มในการฝึกกระบวนการคิด
  • เพื่อให้นักเรียนทุกคนในกลุ่มมีบทบาทในการทำกิจกรรมกลุ่มร่วมกัน
  • เพื่อฝึกกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันภายในกลุ่ม
    กระบวนการจัด "กิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ"
  • นักเรียนแบ่งกลุ่มตามหมู่ลูกเสือของตนเอง
  • นักเรียนแต่ละคนจะได้รับ กระดาษ ขนาด 5x5 ซม. เขียนชื่อ ชั้น และหมู่ลูกเสือของตน บนมุมกระดาษด้านขวา
  • มีเวลาให้คนละ 3 นาที เพื่อนักเรียนจะได้วาดภาพที่ตนเองต้องการวาดบนกระดาษของตนเอง คนละ 1 ภาพ
  • เมื่อหมดเวลา ให้แต่ละคนเข้ากลุ่ม เพื่อแสดงภาพของตนเอง และเล่าว่าทำไมจึงวาดภาพนี้
  • จากนั้น ให้แต่ละกลุ่มนำภาพทั้งหมดมารวมกัน เพื่อเล่าเป็นเรื่องราวให้สัมพันธ์กัน โดยทุกคนจะต้องร่วมกันสร้างเรื่องราวและเล่าเนื้อเรื่องตามภาพที่ตนเองวาด นำเสนอต่อกลุ่มใหญ่
  • แต่ละกลุ่มออกมานำเล่าเรื่องจากภาพของตนเอง เป็นกลุ่ม เป็นเรื่องราวที่สัมพันธ์กัน
  • ให้แต่ละกลุ่มแสดงการชื่นชมซึ่งกันและกัน รวมทั้งทบทวนเรื่องที่กลุ่มแต่ละกลุ่มนำเสนอ
  • เมื่อเล่าครบทุกกลุ่ม ให้ตัวแทนออกมาสรุปข้อคิดที่ได้จากการทำกิจกรรมในวันนี้
>>>
      บรรยากาศการเรียนรู้เป็นไปด้วยความสนุกสนาน และทุกคนมีส่วนร่วมในกิจกรรม เพราะทุกคนต้องมีบทบาทในการทำหน้าที่อธิบายภาพของตนเองในเรื่องของกลุ่ม เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ภายใต้กระบวนการเรียนแบบร่วมมือร่วมใจ อย่างแท้จริง
>>>
     เก็บผลงานของเด็กๆ แต่ละกลุ่ม  มาฝากคะ

    >>>
    ปล. ด้วยต้องมีการจัดการระบบอย่างดีและให้กระบวนการต่อเนื่อง เลยไม่มีภาพกระบวนการจัดกิจกรรมมาฝากคะ ...^_^

   >>>

    เก็บสาระมาฝาก
      การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) เป็นกระบวนการเรียนรู้ที่สามารถ นํามาใช้ในการเรียนการสอนได้อย่างเหมาะสมวิธีหนึ่ง เนื่องจากขณะที่นักเรียนทํากิจกรรมร่วมกันในกลุ่ม นักเรียนจะได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความรู้กับสมาชิกของกลุ่ม และการที่แต่ละคนมีวัยใกล้เคียงกัน ทําให้สามารถสื่อสารกันได้เป็นอย่างดี แต่การเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจที่มีประสิทธิผลนั้น ต้องมีรูปแบบหรือมีการจัดระบบอย่างดี
แนวคิดหลักมีองค์ประกอบ ดังนี้
1.  การจัดกลุ่ม กลุ่มที่จะเรียนรู้ด้วยกันอย่างมีประสิทธิผล ประกอบด้วยนักเรียนที่มีความสามารถคละกัน เช่น ผลสัมฤทธิ์ในการเรียนสูง ปานกลาง ค่อนข้างตํ่า และตํ่า และหญิงชายเท่า ๆ กัน เป็นต้น
2.  อุดมการณ์ หมายถึงความมุ่งมั่นของนักเรียนที่จะร่วมงานกัน นักเรียนจะต้องมีความมุ่งมั่นที่จะเรียนรู้ และมีความกระตือรือร้นในการทํากิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกัน
3.  การจัดการ เพื่อให้กลุ่มทํางานอย่างมีประสิทธิภาพ รวมการจัดการของครูและการจัดการของนักเรียนภายในกลุ่ม การจัดการที่ดีเพื่อให้การทํางานกลุ่มประสบความสําเร็จ เช่นการควบคุมเวลา การกําหนดสัญญาณให้นักเรียนหยุดกิจกรรม ฯลฯ
4.  ทักษะทางสังคม เป็นทักษะในการทํางานร่วมกัน มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกันให้ความช่วยเหลือกัน ให้กําลังใจซึ่งกันและกัน รับฟังความคิดเห็นของกันและกัน
5.  หลักการพื้นฐาน ได้แก่
  • การช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
  • ยอมรับว่าแต่ละคนในกลุ่มต่างมีความสามารถและมีความสําคัญต่อกลุ่ม
  • ทุกคนในกลุ่มต้องให้ความร่วมมือและมีส่วนร่วมในงานของกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน
  • ทุกคนในกลุ่มต้องมีปฏิสัมพันธ์กันตลอดเวลาที่ทํางานในกลุ่ม
6.  โครงสร้างของกิจกรรม หมายถึง รูปแบบของกิจกรรมในการทํางานกลุ่ม ซึ่งมีหลากหลาย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปัญหาหรือสถานการณ์
>>>
       สรุปได้ว่า จากแนวคิดการเรียนรู้แบบร่วมมือร่วมใจ (Cooperative Learning) นั้น กิจกรรมส่วนใหญ่ภายในห้องเรียนจะดำเนินไปด้วยตัวของผู้เรียนเอง โดยผู้สอนทำหน้าที่เป็นผู้กระตุ้นการเรียนรู้ วางแผนจัดกิจกรรม และจัดหาแหล่งข้อมูลที่จะให้เกิดการเรียนรู้รวมทั้งเป็นผู้ขยายความรู้ ความคิดของผู้เรียนให้สมบูรณ์ ผู้สอนจึงมีบทบาทสำคัญหลายประการมากกว่าเป็นผู้สอนอย่างเดียว จากการวิจัยพบว่า การจัดการเรียนแบบร่วมมือร่วมใจนี้ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนทุกคนพัฒนาก้าวหน้าขึ้นอีกด้วย
>>>
หมายเลขบันทึก: 394868เขียนเมื่อ 16 กันยายน 2010 17:22 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:32 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (2)

ขอบคุณค่ะ สำหรับการแบ่งปัน

  • สวัสดีค่ะ
  • แวะมาเยี่ยมเยือนกันค่ะ หลังจากที่ไม่ได้มาทักทายกันนานเลย สบายดีนะค่ะ 
  • ขอบคุณนะค่ะ

                       

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท