ภาษากาย เพ่ือสร้างความประทับใจแรกพบ


ภาษากาย เพื่อสร้างความประทับใจแรกพบ

งจะน่าตกใจมาก หากบอกว่าจากข้อมูลในนิตยสารรีเดอร์ส ไดเจสท์ให้คำตอบมาว่า เพียง 30 วินาทีเท่านั้น! แถมยังต่อท้ายด้วยว่า นักวิจัยด้านพฤติกรรมซึ่งศึกษาเรื่องนี้บอกว่า บางครั้งยังไม่ทันเอ่ยปากสวัสดี พฤติกรรมที่เห็นเพียงเศษเสี้ยว สามารถสื่อเกี่ยวกับตัวคน ๆ นั้นได้มากมาย

ไม่ว่าคุณจะมีตำแหน่งทางธุรกิจอย่างไร ความประทับใจแรกพบที่คุณสร้างขึ้นมานี่สิที่จะชี้ขาด ท่ายืน เสียงของคุณ ความหมายของสิ่งที่พูดความมั่นอกมั่นใจ สามารถสร้างผลแตกต่าง 2 ด้าน คือความสำเร็จ และความล้มเหลว ซึ่งหากคุณต้องการประการแรก ไม่ใช่อย่างหลัง ก็ต้องพัฒนาให้อีกฝ่ายสนใจจะฟังคุณ
เริ่มจาก?ถามตัวเองด้วย 3 คำถามสำคัญต่อไปนี้
1. ความรู้สึกอะไรที่คุณกำลังถ่ายทอดอยู่ ระหว่าง?อบอุ่น หรือ คลุมเครือ เยือกเย็น หรือกระตือรือร้น มั่นใจ หรือหวั่นเกรงคนที่คุยด้วย
2. ท่าทางและการแต่งตัวของคุณเป็นอย่างไร
3. เสียงของคุณฟังดูเป็นไง
อากัปกิริยาที่แสดงออก การทำไม้ทำมือจะช่วยบรรยายถึงสิ่งที่คุณกำลังพูด มือต้องวาดให้เห็นภาพคำพูดตามเสียงที่เปล่งออกมา หลีกเลี่ยงการชี้มือชี้ไม้ซึ่งบอกถึงความลังเลใจแม้เพียงเล็กน้อย เพราะจะทำให้คุณดูเหมือนคนที่กำลังวิตกกังวลอยู่ ฝึกหน้ากระจก หรือถ่ายวิดีโอไว้ดูว่าคุณทำมือยังไงบ้าง สอดคล้องกับคำพูดมากหรือน้อย ทำท่าลอกแลกบ้างหรือไม่
ประสานสายตา หากคุณต้องยืนพูดอยู่บนเวที ให้กวาดสายตาไปรอบ ๆ ห้อง แล้วมองไปยังผู้ฟังคนใดคนหนึ่งสักระยะ แม้ว่าคุณจะพูดกับผู้ฟังเพียงคนเดียว ก็ยังทำให้ดูเหมือนว่าคุณกำลังพูดอย่างต่อเนื่องแก่ผู้ฟังทั้งห้อง
เสียง ขณะที่คุณกำลังมองผู้ฟัง อย่าลืมคิดถึงประโยคที่กำลังพูดตามไปด้วย พยายามเลี่ยงคำว่า อืม อา เอ้อ ซึ่งบอกถึงความรีรอ ลังเล ตัดความเคอะเขินโดยตั้งสติคิดว่าคุณกำลังพูดอะไรอยู่ คุณจะได้ไม่พูดเร็วเกินไป
การเคลื่อนไหว เมื่อคุณอยู่หน้าห้องหรือบนเวที ?เดินแบบมีเจตนา? ซึ่งก็คือหยุดพูด แล้วเดิน กฎก็คือให้เดินสัก 3 ก้าวแล้วหยุด และพูดต่อจะทำให้ผู้ฟังกลับมาสนใจ และเปิดโอกาสให้คุณได้รวบรวมความคิดอีกครั้ง
วิธีการออกเสียง ไม่จำเป็นว่าต้องการจะเป็นผู้ที่เชี่ยวชาญในการพูดในที่สาธารณะ ถึงจะมาเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะแสดงออกทางเสียง ปรับเสียงให้มีเสียงสูงต่ำเบาหรือ ค่อยมีจังหวะเร็วหรือช้าได้เป้าหมายในการพูดก็คือเพื่อทำให้ผู้ฟังรับรู้ถึงความมั่นใจ และกระตือรือร้นด้วย อย่างไรก็ตาม ควรจะพูดด้วยท่าทางสบาย ๆ และพูดด้วยภาษาที่ง่ายต่อความเข้าใจ แต่สิ่งที่สำคัญกว่านั้นคือคุณต้อง ?เชื่อ? ในสิ่งที่พูดด้วย ลองอัดเทปเสียงตัวเองมาฟัง ดูว่าอะไรที่ต้องปรับปรุง และพัฒนาเพิ่มเติม
พูดอะไรออกไป สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งในการพรีเซ้นต์ก็คือความจำ ไม่ว่าจะเป็นการพรีเซ้นต์โดยใช้รายงานเล่ม หรือใช้พาวเวอร์พอยต์ ไม่ว่าผู้ฟังจะเป็นกลุ่ม หรือเพียงคนเดียว ก็ล้วนต้องอาศัยการพูดจากความทรงจำเป็นเบื้องต้น เพื่อหลีกเลี่ยงความล้มเหลว เราไม่รู้ว่าในสถานการณ์ตรงนี้จะมีใครถามอะไรนอกเหนือจากที่คุณอธิบายรึเปล่า ฉะนั้นอย่าเบื่อที่จะท่องจำ
มิเช่นนั้นคุณอาจต้องยืนอยู่บนเวทีด้วยความกลัวนะคะ
หมายเลขบันทึก: 39365เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 10:12 น. ()แก้ไขเมื่อ 11 กุมภาพันธ์ 2012 15:23 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

ดีจัง แต่ขี้เกียจอ่านนะ วาสนา ฮ่าฮ่าฮ่า

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท