การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เกี่ยวกับการสอนผู้ป่วยซีเอพีดี


CAPD Patient Education
  Patient education: the core of successful treatment
การสอนในผู้ป่วยซีเอพีดี หมายถึง  
    *  กระบวนการที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ เกิดความคิดที่จะนำความรู้ไปใช้เกิดทักษะหรือ
        ความชำนาญที่จะแก้ปัญหาได้อย่างเหมาะสม
    *  การจัดให้ผู้เรียนได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมไปในทางที่ดี
สิ่งที่ไม่เหมาะสมในการสอนผู้ป่วยซีเอพีดี
  1. เป้าหมายการเรียนการสอนสอนที่ไม่สอดคล้องกัน
      • เป็นเป้าหมายของพยาบาลผู้สอน  หรือเป้าหมายที่ตกลงร่วมกันระหว่างพยาบาลและผู้ป่วย/ผู้ดูแล  
         เกี่ยวกับบทบาทผู้เรียน    บทบาทผู้สอน  เวลาที่เรียน  ผลลัพธ์ที่คาดหวัง
                      ท่านซึ่งเป็นพยาบาลมีจุดมุ่งหมายในการสอนผู้ป่วยซีเอพีดีอย่างไร
  2. ไม่ประเมินผู้เรียนก่อนการสอน
       • ท่านทราบหรือไม่ว่าผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องการอะไร
          ▫ ประเมินความต้องการผู้ป่วยและผู้ดูแล (ต้องการรู้อะไรบ้าง  สมัครใจมาเรียนเองหรือเป็นมติ
            ของครอบครัว
          ▫ ประเมินความเชื่อผู้ป่วยและผู้ดูแล
          ตัวอย่างคำถามที่ใช้ถามผู้ป่วย/ผู้ดูแล
          –คุณมีความคิดเห็น/รับรู้เกี่ยวกับการล้างไตอย่างไร
          –เมื่อพูดถึงการติดเชื้อคุณคิดอย่างไร
          –เวลาไหนเป็นเวลาที่มีความสุขที่สุดในชีวิตของผู้ป่วย
          –อะไรคือปัญหาที่สำคัญที่สุดเมื่อรับการล้างไต
การประเมินผู้เรียนทำให้ ทราบถึง   1. แรงจูงใจในการเรียนรู้    2.ประสบการณ์เดิม  ความเชื่อ  ค่านิยม 
ที่ผู้สอนจะนำไปเชื่อมโยง  ส่งเสริมหรือปรับแก้ไขความคิดที่ไม่เหมาะสมได้
จากการสัมภาษณ์ผู้ป่วยซีเอพีดีที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
  “ผมรู้ตัวเองว่าป็นคนนิสัยเสียตั้งแต่ไตเสื่อม  หมอก็บอกแต่ไม่เชื่อกินเหล้าเหมือนเดิม ก็ไตวาย พอเปลี่ยนไต  ก็เหมือนเดิมมีลืมกินยาบ้าง  สุดท้ายไตวายอีกครั้ง  คราวนี้มาล้างไตก็ติดเชื้อเพราะตอนนั้นฟังแล้วไม่เชื่อที่หมอพูด  คิดว่าไม่เป็นไร ทำมาตั้งหลายทีก็ไม่เห็นเป็นไรเลย” 
“บางครั้งไม่ได้กินยา เพราะนอนหลับ ก็ไม่เห็นเป็นอะไร”
“ไม่รู้ว่าให้กินทำไม  บางครั้งก็ลืมบ้าง”
“ล้างไตมา 1 เดือน  ล้างมือครั้งเดียว  เปลี่ยนน้ำยาล้างไต     มาก็ไม่เคยติดเชื้อเลย” 
  3. ผู้สอนมีความรู้ ความสามารถอย่างลึกซึ้งหรือไม่
      • ผู้สอนที่มีความน่าเชื่อถือ  ทำให้ผู้เรียนมีศรัทธา การรับสารต่าง ๆ จะง่ายขึ้น
          ▫ผู้สอนต้องมีการเตรียมความรู้อย่างดี  รู้จริง        ▫ทักษะต้องแม่นยำ   การสาธิตที่ถูกต้อง  ดูง่าย
          ▫มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับ หลักการเรียนรู้แบบผู้ใหญ่  การให้เกียรติผู้เรียน การรับฟังความคิดเห็น  
           การยืดหยุ่น
  4.  สื่อการสอนเหมาะสมหรือไม่  ทันสมัยหรือไม่
       • สื่อการสอนภาคทฤษฎี น่าสนใจหรือไม่ ขนาดตัวหนังสือ  ภาพประกอบ 
       • สื่อภาคปฏิบัติ  สภาพดี  สะอาด  พร้อมใช้งานหรือไม่  
       • เอกสารศึกษาเพิ่มเติม  ทบทวนมีหรือไม่  
       • สื่ออื่น ๆ ที่กระตุ้นความสนใจ  ทบทวน  เช่น สื่อวีดิทัศน์  เพลง  คู่มือ
       • การจัดสื่อต่างๆ ให้เอื้อที่ผู้เรียนเข้าถึงได้ง่าย เช่น มุมหนังสือ โมเดลต่างๆสื่อวีดีทัศน์  บทเรียน
          โปรแกรม
       • ผู้สอนต้องมีความรู้ ความเข้าใจในการใช้สื่อแต่ละชนิดอย่างเหมาะสม
  มีการศึกษาในผู้ป่วย HT พบว่าผู้ป่วยลืมข้อมูลที่ได้รับอย่างรวดเร็ว ประมาณ 40%
ของข้อมูลที่ได้รับจากแพทย์
  6.  การประเมินผลการเรียน
       - ประเมินผลการเรียนรู้อย่างไร  เกณฑ์เหมาะสมหรือไม่
       - มีการประเมินอย่างต่อเนื่องหรือไม่ - พบว่าดี ให้แรงเสริมทางบวก
  7. ไม่มีแผนการทบทวนการให้ให้ความรู้ผู้ป่วย
      - ทบทวนเมื่อใด เมื่อพยาบาลว่าง? หรือเมื่อผู้ป่วยและผู้ดูแลต้องการ?
      - ทบทวนเมื่อเกิดปัญหา  หรือทบทวนเชิงส่งเสริม ป้องกัน
      - ผู้ป่วยมีส่วนร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้หรือไม่ หรือเป็นผู้รับสาร
 ปัญหาที่พบจากการสัมภาษณ์ผู้ป่วย
  • ไม่ล้างมือ ล้างไม่ถูกวิธี ไม่ผูก mask     
  • การประยุกต์ใช้อุปกรณ์ที่เห็นพยาบาลใช้ในโรงพยาบาล เช่น ถ้วยใส่น้ำเกลือล้างแผล การใช้แอลกอฮอล์
      เช็ดแผล  การใช้ขวดน้ำยาฆ่าเชื้อแบบกด
  • ตระหนักในการดูแลในด้านอื่น ๆ น้อย เช่น activity  อาหาร  การดูแลความสะอาดร่างกาย 
  • การไปรับยาฆ่าเชื้อไม่ครบถ้วน
  Key success
  • Attitude ผู้สอนต่อการทำซีเอพีดี                
  • สัมพันธภาพผู้สอนและผู้เรียน (ดีในเชิงวิชาชีพ)
  • Assessment เพื่อนำไปวางแผนการสอน    
  • พัฒนาการสอนให้ทันเทคโนโลยี  ยุคข้อมูลข่าวสาร  Empowerment
  • การติดตามผลอย่างต่อเนื่อง (ระบบในหน่วยงาน การบันทึกเชิงคุณภาพ)
  • ทบทวนผลลัพธ์
  • ถอดบทเรียนจากผลลัพธ์ที่ได้และพัฒนาการสอน
  • อัตรากำลังที่พอเหมาะ  การสอนใช้เวลา 

 

 
คำสำคัญ (Tags): #capd#patient education
หมายเลขบันทึก: 393524เขียนเมื่อ 12 กันยายน 2010 15:32 น. ()แก้ไขเมื่อ 15 พฤษภาคม 2012 09:41 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)
ฉวีวรรณ ใจรักเรียน

กำลังจะทำโครงการพัฒนางานเรื่องการควบคุมความดันในผู้ป่วยซีเอพีดีโดยใช้กระบวนการกลุ่ม แต่ไม่ร้จะเริ่มต้นอย่างไร ช่วยแนะนำด้วยค่ะ

กำลังจะทำสัมมนาเกี่ยวกับการเสริมสร้างพลังอำนาจในการดูแลผู้ป่วยที่ทำ CAPD อยากได้ตัวอย่างคนไข้ที่น่าสนใจมาเป็นกรณีศึกษาค่ะ รบกวนถ้าใครมีก็บอกด้วยนะคะ

ลองมองหาในรายที่มีภาวะแทรกซ้อน หรือ รายที่ self care ยังไม่ค่อยดีค่ะ

รายที่ควบคุมสมดุลน้ำได้ไม่ดี หรือในรายที่มีภาวะทุพโภชนาการค่ะ

น้องวรรณค่ะ

ก่อนทำกระบวนการกลุ่ม น่าจะสำรวจก่อนมั้ยค่ะว่าสาเหตุการควบคุม

ระดับความดันโลหิตไม่ได้ในกลุ่มผู้ป่วยเราคืออะไร เป็นเรื่องการควบคุม

เกลือโซเดียม หรือเรื่องการรับประทานยา หรืออื่น ๆ จะได้แก้ไขถูกจุดค่ะ

มีผป.ฟอกไต หนึ่งรายที ลงไปดูร่วมกับหมอ รพ.จังหวัด ตั้งใจจะเขียนมาเล่า แต่เรื่องอื่นเบียดบังจนข้อมูลเลือนไป

คุณวอญ่าค่ะ ว่างๆ เขียนมาเล่าบ้างนะค่ะ ขอบคุณสำหรับกำลังใจค่ะ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท