KM (แนวปฏิบัติ) วันละคำ : 113. วัฒนธรรมการอ่าน


การฝึกอบรมเด็กให้รักการอ่านจึงเป็นการสร้างทุนปัญญาให้แก่ชาติบ้านเมือง

       การอ่านเป็นกิจกรรมกระตุ้นสมอง     กระตุ้นอารมณ์ ความคิดคำนึง จินตนาการ ฯลฯ    
  
       ในการทำ KM ต้องมีการจดบันทึก  จึงต้องมีการอ่าน  นำ "ขุมความรู้" ที่บันทึกไว้มาทบทวน     และร่วมกันตีความยกระดับความเข้าใจ    ทำให้เกิดการยกระดับความรู้ให้สูงขึ้น หรือเชื่อมโยงขึ้น ลึกซึ้งขึ้น

        นอกจากอ่านบันทึกของตนเองและทีมงานแล้ว     ต้องอ่านเพื่อเรียนรู้ความรู้เชิงทฤษฎี หรือความรู้แจ้งชัดด้วย     แล้วนำมาร่วมกันตีความ    ทั้งตีความทฤษฎี และตีความตามบริบทของหน่วยงาน สำหรับหาทางนำมาประยุกต์ใช้

        ในองค์กรเรียนรู้ สมาชิกขององค์กรซึ่งเป็นบุคคลเรียนรู้ต้องอ่านตำรา และเรื่องราวของความรู้เชิงทฤษฎี และความรู้ปฏิบัติ เพื่อดูดซับความรู้จากภายนอกเข้ามาปรับใช้อย่างสม่ำเสมอ

         คนที่มีนิสัยรักการอ่าน รู้จักเลือกอ่านหนังสือที่ประเทืองปัญญา จะพัฒนาตนเองเป็นบุคคลเรียนรู้ได้ง่ายกว่าคนมีนิสัยไม่อ่านหนังสือ    การฝึกอบรมเด็กให้รักการอ่านจึงเป็นการสร้างทุนปัญญาให้แก่ชาติบ้านเมือง    

วิจารณ์ พานิช
๒๙ มิย. ๔๙

คำสำคัญ (Tags): #เครื่องมือkm
หมายเลขบันทึก: 39334เขียนเมื่อ 18 กรกฎาคม 2006 08:31 น. ()แก้ไขเมื่อ 26 พฤษภาคม 2012 10:56 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (1)

คนไทยอ่านหนังสือน้อยมาก จากการวิจัยหลายๆชิ้น

ได้ดูรายงาน แผ่นดินไท มีการจัดโครงการ book start "หนังสือเล่มแรก" ของโรงพยาบาล (จำชื่อไม่ได้ ) ผลที่ได้ดีมาก น่าจะนำไปใช้กันมากๆ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท