อยากให้มีผู้อาวุโส..ส่ง Blog กลับมามาก ๆ


สวัสดีครับชาว Blog

ผมใช้ Blog นี้เป็นช่องทางสื่อสารกับผู้อาวุโส เป็นการพูดถึงเรื่องสำคัญ ๆ ในชีวิต และแนวทางการดำรงชีวิตด้วยความสุขทั้งร่างการและจิตใจของทุกท่าน และหวังว่าจะได้รับข้อมูลจากทุกท่านมาแบ่งปีน แลกเปลี่ยนประสบการณ์กันบ้าง วันนี้..

  • ข้อแรกผู้สูงอายุไม่ควรจะกลัว IT หรือ การใช้ Internet หากเริ่มต้นใช้มัน..ท่านก็จะได้รับความรู้ที่เป็นประโยชน์ และได้เพลิดเพลินไปกับสังคมการเรียนรู้ออนไลน์
  • ถ้ามี WISDOM อย่าเก็บไว้ ต้องแบ่งปันกัน เรียกว่า เอาของดีมาแบ่งปันกัน (tacit)
  • ผมอยากให้มีผู้เกษียณอายุส่งข้อมูลกลับมา เสนออะไรที่เด็กรุ่นใหม่สนใจ

จีระ หงส์ลดารมภ์

คำสำคัญ (Tags): #สูงอายุ
หมายเลขบันทึก: 391825เขียนเมื่อ 7 กันยายน 2010 12:16 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:13 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (3)

เห็นด้วยอย่างรุนแรงครับอาจารย์

เพราะความจริงแล้วท่านผู้สูงวัยทั้งหลายล้วนสะสมประสบการณ์กันมา มากเท่าความลึกของริ้วรอยทีเดียวเชียว แล้วยิ่งคนไทยนี่ผมว่าอย่างฉลาดเลยครับ อย่างมีวันผมไปทานข้าวบ้านเพื่อนที่ต่างจังหวัด พอตักข้าวสวยเข้าปากคำแรก โห...สุดยอด ข้าวสวยบ้านนี้ทั้งนิ่มกำลังดี ที่สำคัญหอมแปลกๆ เพื่อบอกว่าบ้านนี้จะหุงข้าวหม้อดินมาตั้งแต่สมัยคุณทวด แล้วเดี๋ยวนี้เป็นไง เรากินข้าวหม้อเทปร่อน...กรรม

จะดีแค่ไหนที่ถ้าผู้อวุโสทั้งหลายเอาเกร็ดความรู้เล็กๆน้อยๆมาลงไว้ คนรุ่นหลังจะได้รู้ และเก็บเป็นคลังความรู้ต่อไป จะให้ไป "ครูพักลักจำ" ก็คงจะไม่ทันละครับ ความรู้หลายๆอย่างสูญหายไป น่าเสียดายมากเพราะมันคือ อัตลักษณ์ของไทย

กุ๊ก กฤษณพงศ์

(Ph.D Communication Innovation/Krirk)

เห็นด้วยอีกคนคะ

Konow How มากมายที่เราน่าจะรวบรวมเก็บไว้ เป็นสารานุกรม (Encycropaedia) หรือว่า Wiki ก็ได้หรืออะไรประมาณนี้  

Tukta (Phd. Inovative Communication / Krirk)

ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช

การพัฒนาคุณภาพทุนมนุษย์รุ่น Digital ร่วมกับรุ่นผู้สูงอายุที่มีผลกระทบตลาดแรงงานในอนาคต

องค์การแรงงานระหว่างประเทศ( International Labor Organization : ILO ) ได้ประเมินไว้ว่า ปัจจุบันมีแรงงานต่างด้าวในทุกประเทศทั่วโลกประมาณ 86 ล้านคน ยอดเงินที่ แรงงานต่างด้าวส่งเงินกลับไปยังครอบครัวของตนในประเทศกำลังพัฒนานั้น คิดเป็นเงินประมาณ 160,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ซึ่งมากกว่าเงินช่วยเหลือเพื่อการพัฒนา ( Development Aid ) ที่ประเทศกำลังพัฒนา ได้รับถึง 3 เท่า แต่แม้จะมีจำนวนมหาศาลเพียงใด เม็ดเงินรายได้ของแรงงานต่างด้าวส่งกลับบ้านนั้นเป็นเพียง 13% ของรายได้ที่แรงงานกลุ่มดังกล่าวได้รับเท่านั้น หมายความว่า รายได้ที่เหลืออีก 87% ของแรงงานต่างด้าวจะยังคงอยู่ในประเทศเจ้าบ้านคิดเป็นมูลค่าประมาณ 1 ล้านล้านดอลลาร์ นับได้ว่าแรงงานต่างด้าวได้ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศเจ้าบ้านอย่างมากมาย( ที่มา: คัดบางส่วนจากบทความ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ) มองภาพ MacroILO ได้ประเมินผลประโยชน์ที่ตกได้แก่ประเทศเจ้าบ้าน แต่มองภาพ Micro ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมไทย พบว่า ด้านเศรษฐกิจมีข้อดี ในการเคลื่อนย้ายแรงงาน ส่งผลดีต่อระบบเศรษฐกิจ มีการขยายตัวดี ข้อเสีย เกิดการแย่งงานคนไทย ด้านสังคม และวัฒนธรรมไทย มีข้อดีการเรียนรู้วัฒนธรรมของคนชาติพันธุ์ต่างๆ ข้อเสีย ภัยความมั่นคงแรงงานหลบหนีเข้าเมือง ภัยสาธารณสุข ภัยการค้ามนุษย์ การใช้แรงงานเด็ก เป็นต้น สังคมผู้สูงอายุ( Aging Society ) เป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นปัญหาด้านแรงงานของหลายประเทศ ประเทศไทยได้เริ่มมีสัดส่วนของประชากรที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปต่อประชากรทั้งประเทศมากกว่าร้อยละ 10 มาตั้งแต่ปี 2548 อีก 20 ปีข้างหน้า สัดส่วนเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 25 ( TRF Policy Brief ปีที่ 1 ฉบับที่ 10/2553 ) โครงสร้างประชากรมีผลกระทบต่อ อนาคต ด้านการบริโภค การออมและการลงทุนรวมถึงการคลังของประเทศ การผลิตได้รับผลกระทบโดยตรงจากการลดลงของแรงงาน รัฐควรมีมาตรการกระตุ้นให้มีการเพิ่มผลิตภาพโดยการปรับปรุงทุนมนุษย์( Human Capital ) เทคโนโลยีและนวัตกรรม และการนำเครื่องจักรเข้ามาร่วมใช้ในการผลิตมากขึ้น ( สมประวิณ มันประเสริฐ(2510) แนวโน้มที่ประชากรมีอายุเฉลี่ยที่ยืนยาวขึ้นจะส่งผลให้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประมาณ 1 ใน 4 ของประชากรทั้งหมดของประเทศหรือคิดเป็นจำนวนกว่า 17.7 ล้านคนจะเป็นประชากรสูงอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป( ข้อมูลจาก The World Bank ) Technology ก้าวหน้าสู่ยุค Digital นำพาให้สังคมต้องปรับตัวเปลี่ยนแปลง สังคมอาเซียน พลเมืองอาเซียน สังคมผู้สูงอายุ ภัยคุกคาม วิกฤตภัยธรรมชาติ สภาพแวดล้อมโลกร้อน อยู่ใกล้ตัวเราทุกวัน มนุษย์รุ่น Digital กับสังคมผู้สูงอายุ( Aging Society ) จะปรับตัวเข้าหากัน หรือเปิดช่องว่างมากขึ้น

การปรับปรุงทุนมนุษย์( Human Capital ) 8 K’s, 5K’s เป็นทฤษฎีที่ ศจ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ กูรูพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ใช้เป็นกระบวนการ ในการปลูกฝังคุณภาพของคน ให้สามารถนำมาปรับใช้ในการเตรียมความพร้อม เพื่อให้สามารถก้าวไปสู่การเป็นพลเมืองอาเซียน( ASEAN Citizen ) ได้อย่างยั่งยืน การศึกษาในอนาคตหากประชากรผู้สูงอายุได้รับการปลูกฝังคุณภาพคน คนเกือบ 18 ล้านคน ทั้งประเทศ ภูมิปัญญาที่มีการบ่มเพาะ กระตุ้นความเป็นเลิศในคนที่มีอยู่แล้ว ด้วย 8 K’s, 5K’s สามารถสร้างมูลค่าเพิ่ม และมูลค่าความหลากหลายที่จะเกิดขึ้น ด้วยกระบวนการการเรียนรู้และปะทะปัญญาอย่างสร้างสรรค์ ขุมทรัพย์ความรู้ถูกจัดเก็บ ถ่ายทอดเป็นประสบการณ์ให้คนรุ่นDigital นำไปประยุกต์และบูรณาการเป็นความรู้ใหม่ไม่มีที่สิ้นสุด เทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการความรู้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาที่จับต้องไม่ได้( Intangible Asset )เป็นความท้าทายที่พัฒนาคุณภาพคน เทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการความรู้ในระดับบุคคล ระดับองค์กร และระดับประเทศ เป็นการสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้ตลอดชีวิต( Life Long Learning ) ไม่ว่าโครงสร้างสังคมจะกลับหัวขึ้นหรือลง การพัฒนาทุนมนุษย์เป็นกระบวนการที่ต้องทำอย่างต่อเนื่องต่อเนื่องและต่อเนื่อง ทบทวน ประเมินผล และย้อนกลับไปสู้เป้าหมายที่พึงประสงค์ ( Back to Basic ) HRDS (Happiness Respect Dignity Sustainability ) เป็นอีกทฤษฎีที่ ศจ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ ใช้เป็นกระบวนการพัฒนาคุณภาพคนไปสู่ทุนทางจริยธรรม(Ethic Capital )และทุนที่ยั่งยืน(Sustainability Capital )

เทคโนโลยีและนวัตกรรมการจัดการความรู้ที่ดีเป็นการลงทุนด้วยกระบวนการปรับปรุงทุนมนุษย์( Human Capital ) 8 K’s, 5K’s ย่อมส่งผลโดยตรงต่อผลผลิตสินค้าและบริการที่มีคุณภาพเพิ่มขึ้นขององค์กร การสร้างคุณภาพเด็กไทยในยุคDigital สามารถ บ่มเพาะ เก็บเกี่ยวด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมการศึกษาสู่อนาคต( Future Education ) ได้เช่นกัน ทฤษฎี 8 K’s, 5K’s และ HRDS (Happiness Respect Dignity Sustainability )จะสร้างพลังความรู้ที่เข้มแข็งด้วยกระบวนการที่ต้องลงทุนทั้งปฏิบัติด้วยตนเองและแรงกระตุ้นสนับสนุนจากผู้เกี่ยวข้องที่เป็นบุคคลและองค์กรเข้าใจทั้ง2 ทฤษฎี ด้วย หลายองค์กรภาครัฐและเอกชนมีผู้ค่อนข้างเข้าสู่อายุ 50-60 ปี ที่ยอมรับกระบวนการดังกล่าวเข้ารับการพัฒนา เช่น หลักสูตรนวตกรรมปริญญาเอกทั้ง 9 รุ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา โครงการพัฒนาผู้นำการไฟฟ้าฝ่ายผลิต 12 รุ่น มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 4 รุ่น การประชุมเชิงปฏิบัติการท่องเที่ยวอารยะธรรมอีสานใต้ การประชุมเชิงปฏิบัติการท่องเที่ยวมรดกโลกด้านวัฒนธรรม โครงการพัฒนาผู้นำและนักบริหารเพื่ออนาคต มหาวิทยาลัยทักษิณ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม เป็นต้น ทุนเป็นเงินของหน่วยงานรวมกับทุนทุ่มเท (Passion)ของผู้เข้าพัฒนา จะสัมฤทธิ์ผลที่นำความรู้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้เพียงใด Digital ก้าวหน้าเพียงใดความคุ้มค่าการลงทุนคือการลงทุนในมนุษย์ ตั้งแต่เกิด วัยเรียน วัยทำงาน วัยสูงอายุ ในยุคตลาดแรงงานขาดแคลนผู้สูงอายุเป็นพลังมหาศาลที่เปลี่ยนแปลงโลกได้ ด้วยทุนปัญญาที่สั่งสมมาตลอดเวลา( Life Long Learning )

บุคคลตัวอย่างรุ่นผู้สูงอายุที่พิสูจน์ทฤษฎีดังกล่าวมากว่า 30 ปี ศจ.ดร.จีระ หงส์ลดารมภ์ อายุย่าง 72 ปี

กูรูพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มุ่งมั่น รักและรับใช้ ลูกศิษย์ ขยายเครือข่ายการเรียนรู้ รุ่นสู่รุ่น ข้ามเข้าสู่ชุมชน เชื่อมช่องว่างชาวบ้านข้าราชการนักวิชาการปราชญ์ชาวบ้านให้มีส่วนร่วมปะทะปัญญาเกิดความรู้ใหม่ เตรียมพลเมืองอาเซียนที่คิดเป็น ก้าวเป็น ทำเป็น ทำให้สำเร็จ Get thing done.ฟันฝ่าอุปสรรคด้วยทุนทางปัญญา ( Intellectual Capital ) สามารถดึงศักยภาพในกลุ่มคนออกมาเป็นโครงการทางความคิดที่เป็นประโยชน์ต่อองค์กรของตนเองและสังคม อย่างต่อเนื่องต่อเนื่องและต่อเนื่อง

เอกสารอ้างอิง

สมประวิณ มันประเสริฐ(2510) การศึกษาผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรที่มีต่อแบบแผนการบริโภคของครัวเรือนไทย.สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย

คัดบางส่วนจากบทความ ดร.อนุสรณ์ ธรรมใจ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ

TRF Policy Brief ปีที่ 1 ฉบับที่ 10/2553

The World Bank ( Data World Bank. )

WWW.Chira Academy

ประวัติย่อผู้เขียน ดร.สร้อยสุคนธ์ นิยมวานิช เกิดปี คศ.1949 พศ. 2492 บุตรนางเล็ก เจริญฉันทวิทย์ และนายณรงค์ชัย(บุ้งปิง) แซ่ลี้

-ศิษย์เก่าโรงเรียนอัสสัมชัญ คอนแวนต์ และโรงเรียน เซนต์ฟรังซีสซาเวียร์ คอนแวนต์ / ปริญญาตรี เศรษฐศาสตร์ และกฎหมาย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์/ปริญญาโท มหาวิทยาลัย NIDA/ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

-ตำแหน่งหน้าที่ ครูโรงเรียนอัสสัมชัญ คอนแวนต์ /อดีตผู้อำนวยการฝ่ายเงินฝากและตราสารหนี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย(อายุงาน 40ปี)/ ที่ปรึกษา มูลนิธิพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ระหว่างประเทศ( Foundation For International Human Resource Development)/อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

-ทุนมนุษย์ 8k5k ที่ตัวผู้เขียนมีทุนจากตั้งแต่เกิดบิดามารดา ครอบครัว จากครูทุกท่านในสถาบันทุกแห่งที่มีความสัมพันธ์มาจนทุกวันนี้ รวมเพื่อนๆด้วย

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท