“พิมพ์นิยม” น่าจะหมายถึง “ศิลปะ” มากกว่า “ตำหนิ” ของพระกรุ


“ตำหนิ” นั้นแปรปรวนมากทั้งๆที่เป็นพระแท้ๆ จากกรุเดียวกัน

เมื่อผมเข้ามาในวงการพระเครื่องใหม่ๆ ท่านเซียนใหญ่ได้แนะนำให้ผมรู้จัก “พิมพ์พระ” แต่ละยุค แต่ละกรุ และแนะนำให้จำพิมพ์ไว้ให้ดี ว่าพระกรุไหน ยุคไหนรูปพรรณสัณฐาน ของพระกรุแต่ละองค์เป็นอย่างไร

ผมยอมรับว่าในช่วงแรกๆ รู้สึกสับสนมาก เพราะยังไม่มีหลักยึดอะไรเลย

แค่ศิลปะทวาราวดี ศรีวิชัย ลพบุรี สุโขทัย ก็จับทางยากแล้ว

ไหนจะต้องมาแยกภาค แยกกรุ แยกเนื้อ แยกมวลสาร แยกพิมพ์ ออกจากกันอีกแบบพร้อมๆกัน

ที่มีปัญหาทั้งฐานข้อมูลไม่พอ ความเข้าใจไม่พอ และยังโดนวิชามารก่อกวนอีก

เรียกได้ว่า เสียรังวัดพอสมควร

พอตั้งตัวได้เล็กน้อย ก็เริ่มจับ “ตำหนิ” เพราะจัดระบบความรู้ง่ายที่สุด

แต่ก็พบว่า “ตำหนิ” นั้นแปรปรวนมากทั้งๆที่เป็นพระแท้ๆ จากกรุเดียวกัดังที่ผมได้วิพากษ์ไว้แล้ว

เมื่อตำหนิแปรปรวน ผมก็เริ่มจับ “พิมพ์” หรือ “ศิลปะ” ที่ดูจะนิ่งกว่า

แบบเดียวกับการดูหน้าคนไทยกับคนอินเดีย จะไปนั่งจำว่าต้องมีไฝตรงไหน ลักยิ้มตรงไหน แต้มจุดแดงตรงไหน ที่อาจมีโอกาสพลาดได้มากกว่าการศึกษาเค้าหน้า

ผมจึงเริ่มเข้าใจว่า “พิมพ์พระกรุ” แท้ที่จริง คือ ศิลปะที่ใช้สร้างพระกรุนั้นๆ

ที่มีภาพรวมคล้ายคลึงกันในทุกพิมพ์ของ

  • พิมพ์เดียวกัน
  • กรุเดียวกัน
  • พื้นที่เดียวกัน
  • ยุคเดียวกัน
  • ศิลปะร่วมสมัยต่างๆ
  • การใช้ศิลปะย้อนยุคต่างๆ

ที่ผมใช้เป็นหลักในการจำ ว่าเป็นเค้าโครงของ “พิมพ์พระ” ของแต่ละกลุ่มที่ศึกษา

เช่น

  • ศิลปะทวาราวดี
  • ศิลปะคุปตะ
  • ศิลปะปาละ
  • ศิลปะอมราวดี
  • ศิลปะภาคกลาง
  • ศิลปะภาคเหนือ
  • ศิลปะภาคอีสาน
  • ศิลปะภาคตะวันออก
  • ศิลปะภาคใต้
  • ศิลปะลพบุรี
  • ศิลปะลำพูน
  • ศิลปะเชียงแสน
  • ศิลปะอู่ทอง
  • ศิลปะสุโขทัย
  • ศิลปะอยุธยา
  • ฯลฯ

ที่ยังมีความแปรปรวนตามกรุ เขตพื้นที่ และพิมพ์ย่อยอีกเล็กน้อย

และใช้ตำหนิที่เคยศึกษามาเป็นตัวประกอบคร่าวๆ เท่านั้น

เพราะตำหนิในพิมพ์พระนั้นแปรเปลี่ยนได้มาก

และผมพบในระยะต่อมาว่า

การเริ่มดูที่ตำหนินั้นพลาดมากที่สุด เพราะ

 พระโรงงานเขาทำตำหนิได้เกือบหมดแล้ว แม้จะไม่เป็นธรรมชาตินักก็ใกล้เคียงมาก

และหลอกหมูสนามมือใหม่ๆได้อย่างสบายๆ

แม้ผมจะหันมาดู “พิมพ์” พระจากศิลปะ แม้จะพลาดน้อยลง ก็ยังพลาดบ้าง

ผมจึงหันมาเริ่มต้นที่ “เนื้อพระ” ที่ปลอมยากที่สุด

โดยเฉพาะเนื้อชิน จะยิ่งทำปลอมยากกว่าเนื้อดิน

ดังนั้น

ปัจจุบัน ผมจึงเริ่มต้นจาก

  • ดูเนื้อว่าเก่าหรือไม่
  • ดูพิมพ์ว่าเข้าเค้าหรือไม่
  • ดูธรรมชาติของเนื้อและพิมพ์
  • สุดท้าย ดูที่ตำหนิ (ถ้ามี) เพราะบางทีก็ไม่มี เพราะเป็นคนละพิมพ์ คนละบล็อก และหรือ ผ่านการกร่อน จนมองตำหนิได้ยาก

เป็นหลักว่า เนื้อใช่ พิมพ์ใช่ ธรรมชาติดูดี ก็ถือว่าใช้ได้

ตำหนิมีก็ดี ไม่มีก็ไม่สำคัญเท่าไหร่ เพราะแต่ละองค์ก็หล่อจากคนละบล็อกอยู่แล้ว

จึงขอฝากให้ท่านที่ชอบดูตำหนิลองคิดดู เผื่อจะได้เรียนรู้ด้วยกันครับ

 

หมายเลขบันทึก: 391718เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2010 23:36 น. ()แก้ไขเมื่อ 18 มิถุนายน 2012 22:12 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

ไม่อนุญาตให้แสดงความเห็น
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท