หนัง สั้น


หนัง สั้น

หนัง สั้น

หนัง สั้น คือ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็นเดียวสั้น ๆ แต่ได้ใจความ

ศิลปะการเล่า เรื่อง ไม่ว่าจะเป็นนิทาน นิยาย ละคร หรือภาพยนตร์ ล้วนแล้วแต่มีรากฐานแบบเดียวกัน นั่นคือ การเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นของมนุษย์หรือสัตว์ หรือแม้แต่อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นช่วงเวลาหนึ่งเวลาใด ณ สถานที่ใดที่หนึ่งเสมอ ฉะนั้น องค์ประกอบที่สำคัญที่ขาดไม่ได้คือ ตัวละคร สถานที่ และเวลา

สิ่งที่สำคัญใน การเขียนบท หนังสั้นก็คือ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขต ได้

เมื่อเราได้ เรื่องที่จะ เขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง) ว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคน อย่างไร เพราะความเข้าใจในมนุษย์ ยิ่งเราเข้าใจมากเท่าไร เราก็ยิ่งทำหนังได้ลึกมากขึ้นเท่านั้น

และเมื่อเราได้ เรื่อง ได้โครงเรื่องมาเรียบร้อยแล้ว เราก็นำมาเป็นรายละเอียดของฉาก ว่ามีกี่ฉากในแต่ละฉากมีรายละเอียดอะไรบ้าง เช่นมีใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร ไปเรื่อย ๆ จนจบเรื่อง ซึ่งความจริงแล้วขั้นตอนการเขียนบทไม่ได้มีอะไรยุ่งยากมากมาย เพราะมีการกำหนดเป็นแบบแผนไว้อยู่แล้ว แต่สิ่งที่ยาก มาก ๆ ก็คือกระบวนการคิด ว่าคิดอย่างไรให้ลึกซึ้ง คิดอย่างไรให้สมเหตุสมผล ซึ่งวิธีคิดเหล่านี้ไม่มีใครสอนกันได้ทุกคน ต้องค้นหาวิธีลองผิดลองถูก จนกระทั่ง ค้นพบวิธีคิดของตัวเอง

การ เตรียมการและการเขียนบทภาพยนตร์
การเขียนบทภาพยนตร์เริ่มต้นที่ไหน เป็นคำถามที่มักจะได้ยินเสมอสำหรับผู้ที่เริ่มหัดเขียนบทภาพยนตร์ใหม่ ๆ เช่น ควรเริ่มช็อตแรก เห็นยานอวกาศลำใหญ่แล่นเข้ามาขอบเฟรมบนแล้วเลยไปสู่แกแล็กซี่เบื้องหน้า เพื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของจักรวาล หรือเริ่มต้นด้วยรถที่ขับไล่ล่ากันกลางเมืองเพื่อสร้างความตื่นเต้นดี หรือเริ่มต้นด้วยความเงียบมีเสียงหัวใจเต้นตึกตัก ๆ ดี หรือเริ่มต้นด้วยความฝันหรือเริ่มต้นที่ตัวละครหรือเหตุการณ์ดี เหล่านี้เป็นต้น บางคนบอกว่ามีโครงเรื่องดี ๆ แต่ไม่ทราบว่าจะเริ่มอย่างไร
การเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ เราต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น ดังนั้น นักเขียนควรเริ่มต้นจากจุดนี้พร้อมด้วยโครงสร้าง (Structure) ของบทภาพยนตร์
ประเด็นอาจเป็นสิ่งที่ง่าย ๆ เช่น มนุษย์ต่างดาวเข้ามาเยือนโลกแล้วพลัดพลาดจากยานอวกาศของตน ไม่สามารถกลับดวงดาวของตัวเองได้ จนกระทั่งมีเด็ก ๆ ไปพบเข้าจึงกลายเป็นเพื่อนรักกัน และช่วยพาหลบหนีจากอันตรายกลับไปยังยานของตนได้ นี่คือเรื่อง E.T. – The Extra-Terrestrial (1982) หรือประเด็นเป็นเรื่องของนักมวยแชมป์โลกรุ่นเฮฟวี่เวทที่สูญเสียตำแหน่งและ ต้องการเอากลับคืนมา คือเรื่อง Rocky III หรือนักโบราณคดีค้นพบโบราณวัตถุสำคัญที่หายไปหลายศตวรรษ คือเรื่อง Raider of the Lost Ark (1981) เป็นต้น
การคิดประเด็นของเรื่องในบทภาพยนตร์ของเราว่าคืออะไร ให้กรองแนวความคิดจนเหลือจุดที่สำคัญมุ่งไปที่ตัวละครและแอ็คชั่น แล้วเขียนให้ได้สัก 2-3 ประโยค ไม่ควรมากกว่านี้ และที่สำคัญไม่ควรกังวลในจุดนี้ว่าจะต้องทำให้บทภาพยนตร์ของเราถูกต้องในแง่ ของเรื่องราว แต่ควรให้มันพัฒนาไปตามแนวทางของขั้นตอนการเขียนจะดีกว่า
สิ่งแรกที่เราควรฝึกเขียนคือต้องบอกให้ได้ว่าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอะไร เช่น เรื่องเกี่ยวกับความดีและความชั่วร้าย หรือเกี่ยวกับความรักของหนุ่มชาวกรุงกับหญิงบ้านนอก ความพยาบาทของปีศาจสาวที่ถูกฆาตกรรม ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นเพียงแค่ความคิดที่ยังขาดแง่มุมของการเขียนว่าจะเกิดอะไร ขึ้นต่อไป จึงต้องชัดเจนมากกว่านี้ โดยเริ่มที่ตัวละครหลักและแอ็คชั่น ดังนั้นประเด็นของเรื่องจึงเป็นสิ่งสำคัญของจุดเริ่มต้นการเขียนบทภาพยนตร์
อย่างไรก็ตาม การเขียนบทภาพยนตร์สำหรับนักเขียนหน้าใหม่ ควรค้นหาสิ่งที่น่าสนใจจากสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวของนักเขียนเอง เขียงเรื่องที่เกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองรู้ ทำให้ได้รายละเอียดในเชิงลึกของเนื้อหา เกิดความจริง สร้างความตื่นตะลึงได้ เช่นเรื่องในครอบครัว เรื่องของเพื่อนบ้าน เรื่องในที่ทำงาน ของตนเอง เรื่องในหนังสือพิมพ์รายวัน เป็นต้น

 

ดังนั้นขั้นตอน สำหรับการ เขียนบทภาพยนตร์สามารถสรุปได้คือ

1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research) เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับแรกที่ต้องทำถือเป็นสิ่งสำคัญหลังจาก เราพบประเด็นของเรื่องแล้ว จึงลงมือค้นคว้าหาข้อมูลเพื่อเสริมรายละเอียดเรื่องราวที่ถูกต้อง จริง ชัดเจน และมีมิติมากขึ้น  คุณภาพของภาพยนตร์จะดีหรือไม่จึงอยู่ที่การค้นคว้าหาข้อมูล ไม่ว่าภาพยนตร์นั้นจะมีเนื้อหาใดก็ตาม

2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise) หมายถึงความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค คือ เรื่อง West Side Story, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ดาวอังคารบุกโลก คือเรื่อง The Invasion of Mars, เกิดอะไรขึ้นถ้าก็อตซิล่าบุกนิวยอร์ค คือเรื่อง Godzilla, เกิดอะไรขึ้นถ้ามนุษย์ต่างดาวบุกโลก คือเรื่อง The Independence Day, เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ & จูเลียตเกิดขึ้นบนเรือไททานิค คือเรื่อง Titanic เป็นต้น

3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

4. การ เขียนโครงเรื่องขยาย (treatment) เป็น การ เขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง (plot) ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ (premise)  ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ

5. บทภาพยนตร์ (screenplay) สำหรับภาพยนตร์บันเทิง หมายถึง บท (script) ซีเควนส์หลัก (master scene/sequence)หรือ ซีนาริโอ (scenario) คือ บทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ (shooting script) เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน ประกอบ ด้วยตัวละครหลักบทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์ มีรูปแบบการเขียนที่ถูกต้อง เช่น บทสนทนาอยู่กึ่งกลางหน้ากระดาษฉาก เวลา สถานที่ อยู่ชิดขอบหน้าซ้ายกระดาษ ไม่มีตัวเลขกำกับช็อต และโดยหลักทั่วไปบทภาพยนตร์หนึ่งหน้ามีความยาวหนึ่งนาที

6. บทถ่ายทำ (shooting script) คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน บทถ่ายทำจะบอกรายละเอียดเพิ่มเติมจากบทภาพยนตร์ (screenplay) ได้แก่ ตำแหน่งกล้อง การเชื่อมช็อต เช่น คัท (cut) การเลือนภาพ (fade) การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ (dissolve) การกวาดภาพ (wipe) ตลอดจนการใช้ภาพพิเศษ (effect) อื่น ๆ เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีเลขลำดับช็อตกำกับเรียงตามลำดับตั้งแต่ช็อตแรกจนกระทั่งจบ เรื่อง

7. บทภาพ (storyboard) คือ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพ ประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด เป็นต้น ใช้เป็นแนวทางสำหรับการถ่ายทำ หรือใช้เป็นวิธีการคาดคะเนภาพล่วงหน้า (pre-visualizing) ก่อนการถ่ายทำว่า เมื่อถ่ายทำสำเร็จแล้ว หนังจะมีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร ซึ่งบริษัทของ Walt Disney นำมาใช้กับการผลิตภาพยนตร์การ์ตูนของบริษัทเป็นครั้งแรก โดยเขียนภาพ      เหตุการณ์ของแอ็คชั่นเรียงติดต่อกันบนบอร์ด เพื่อให้คนดูเข้าใจและมองเห็นเรื่องราวล่วงหน้าได้ก่อนลงมือเขียนภาพ ส่วนใหญ่บทภาพจะมีเลขที่ลำดับช็อตกำกับไว้ คำบรรยายเหตุการณ์ มุมกล้อง และอาจมีเสียงประกอบด้วย

การเขียนบท ภาพยนตร์จากเรื่องสั้น
การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย   เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้ สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ ซึ่งบทภาพยนตร์ต่อไปนี้ได้แปลมาจากเรื่องสั้นในนิตยสาร The Mississippi Review โดย Robert Olen Butler เรื่อง Salem แต่ในที่นี้จะไม่กล่าวถึงมาตรฐานรูปแบบการเขียนบทภาพยนตร์ว่ามีการเขียนและ การจัดหน้าอย่างไร ขอให้ศึกษาได้ใบทภาพยนตร์โดยทั่วไป

 

 

ที่มาของข้อมูล :
หนังสือ “นักสร้าง สร้างหนัง หนังสั้น” หน้า 113- 116

------------------------------------------------------------

 Plot คืออะไร ? องค์ประกอบโครงเรื่อง (Plot)

1.การ เปิด เรื่อง คือการเปิดเหตุการณ์ให้ผู้ชมเข้าใจเนื้อเรื่องเดิม เข้าใจเหตุการณ์ที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นการแนะนำตัวละครเอก ตัวละครขัดแย้ง ตัวละครสนับสนุนต่างๆ

2.การเตรียมจุดเกิดเรื่อง คือเหตุการณ์ชี้นำ ว่ากำลังจะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นปัญหา ลางร้าย

3.จุด เริ่มเรื่อง คือจุดที่เกิดความขัดแย้ง(Conflict) ทำให้ชีวิตตัวละครหลักเปลี่ยนไป ความขัดแย้งอาจเกิดกับใจตัวเอง เกิดกับมนุษย์ด้วยกัน เกิดกับสังคม เกิดกับธรรมชาติ หรือเกิดกับโชคชะตา

4.เหตุการณ์ กระตุ้น คือเหตุการณ์ที่ปมปัญหาเกิดขึ้น ทำให้ตัวละครหลักพบปัญหามากขึ้น

5.ความยุ่งยากซับซ้อน คือเหตุการณ์ขัดแย้ง (Conflict) ที่เกิดเพิ่มขึ้น ทำให้ชีวิตตัวละครหลักมีอุปสรรคมากขึ้นไปอีก

6.ช่วงวิกฤต คือเหตุการณ์ขัดแย้งที่ยิ่งทวีความรุนแรง มีความตึงเครียดเพิ่มขึ้น เป็น ช่วงที่ตัวละครหลักต้องเลือกวิธีแก้ ไขปัญหาหรือหาทางออก

7.จุด สูงสุดหรือจุดแตกหัก เมื่อเหตุการณ์วิกฤตรุนแรงยิ่งขึ้น ตัวละครหลักตัดสินใจกระทำการสิ่งใดสิ่งหนึ่งซึ่งมีผลต่อความรู้สึก และอารมณ์ขั้นรุนแรงสูงสุดทั้งต่อตัวเอง จุดหักเห เปลี่ยนแปลงและไม่มีวันหวนกลับคืนได้

8.การค้นพบ (อาจจะอยู่ระหว่างจุดวิกฤติกับจุดสูงสุดก็ได้) ตัวละครหลักอาจค้นพบความจริงที่ปรากฎขึ้น จะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม เเต่นำไปสู่การผกผันของชีวิตตัวละครในอีกสถานการณ์ที่ตามมา

9.การ คลี่คลาย เป็นเหตุการณ์หลังจุดแตกหัก ถ้าคลี่คลายไปทางที่ดี จะนำไปสู่การจบแบบมีความสุข ถ้าคลี่คลายไปทางสูญเสีย จะนำไปสู่การจบแบบมีความทุกข์โศก บทจะสนุกหรือ ไม่ ขึ้นอยู่กับ การดำเนินเรื่อง ว่าผู้เขียนจะสามารถสร้างความระทึกใจให้ผู้ชมได้เพียงใด

หากผู้เขียนทำให้ผู้ชมติดตามเรื่อง เอาใจช่วยตัวละครตลอดเวลาที่เขาเผชิญอุปสรรค หมายความว่า บทเรื่องนั้น ประสบความสำเร็จแล้ว บทที่ดีควรเสนอแนว คิดเพียงบางอย่าง ไม่ใช่เสนอทุกอย่าง ผู้เขียนควรหาวิธีถ่ายทอดแก่นความคิดให้ผู้ชมเห็นเป็นรูปธรรมอย่างชัดเจน เมื่อชมละครจบ ตัวละครควรมีบุคลิกลักษณะที่เด่นชัดเป็นพิเศษ ตรงกันข้ามกับ THEME ของเรื่อง เพื่อก่อให้เกิดความขัดแย้งได้ง่ายขึ้น

 

จากแหล่งข้อมูลเดิมอีกเช่นกัน http://www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=konsilps&id=42

 

เค้าโครงเรื่อง คืออะไร? เค้า โครงเรื่อง คือ ลำดับเหตุการณ์ที่ผูกรวมกันเป็นปมความขัดแย้ง ความ ขัดแย้ง มี 2 แบบ 1 ความขัดแย้งต่อสิ่งภายนอก(External) เช่น มนุษย์ขัดแย้งกับสังคม , มนุษย์ขัดแย้งกับธรรมชาติ, มนุษย์ขัดแย้งกับมนุษย์ , มนุษย์ขัดแย้งกับโชคชะตา 2.ความขัดแย้ง ภายในร่างกาย (Internal) เช่น ความรักกับหน้าที่ , ความริษยากับจริยธรรม , ศาสนา กับความเชื่อ ,ความถูกต้องกับความถูกใจ

 

บางคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ะเค้าโครงเรื่องนี่มันคืออะไรกัน วันนี้เราก็มีความหมาย สั้นๆ ง่ายๆจากแหล่งข้อมูลเดิมของเราอีกแล้ว คือ :

www.212cafe.com/freewebboard/view.php?user=konsilps&id=42

 

คำสำคัญ (Tags): #หนัง สั้น
หมายเลขบันทึก: 391613เขียนเมื่อ 6 กันยายน 2010 15:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 1 พฤษภาคม 2012 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (40)

น่าสนใจ อ่านแล้วนึกถึงอดีตเมื่อก่อนที่อยู่จุฬาฯ ชอบดูหนังสั้นที่นิสิตคณะนิเทศก์สร้างขึ้น แต่ก็ไม่ได้ดูมานานมากแล้ว คงพัฒนาไปมาก

ใช้คับ สอนเด็ก ๆๆ ก็นึกถึงตอนสมัยเรียน คับ

ช่วงนี้พัฒนาไปเยอะเลย คับ

นางสาว กมลรัตน์ ปานทอง ม.6 เลขที่ 20

1.ขั้นตอน สำหรับการ เขียนบทภาพยนตร์สามารถสรุปได้กี่แบบ ?

ตอบ 9 แบบ

เด็กทำเสร็จแล้วเอามาแบ่งกันดูบ้างนะคะอาจารย์....

สุระ สินธุยศกุล เลขที่21 ม.6

ขั้นตอนการประกอบของภาพยนต์มีอะไรบ้าง?

ตอบ บทพูด ฉาก แอ็คชั่น ซีเควนส์

บทภาพยนตร์ใดที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการภาพยนต์

ตอบ. บทถ่ายทำ

นาย กนกพล ธีระธนานนท์ ม.6 เลขที่13

บทภาพยนตร์ใดที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการภาพยนต์

ตอบ. บทถ่ายทำ

 

 

ลืมเขียน ชื่อๆๆ

นางสาว ธัญลักษณ์ แซ่ตั้ง ม. 6 เลขที่ 12

การเตรียมจุดเกิดเรื่อง คืออะไร

ตอบ  เหตุการณ์ชี้นำ ว่ากำลังจะเกิดเหตุการณ์ที่เป็นปัญหา ลางร้าย

วรากร นฤนาทมิ่ง ม.6 เลขที่11

ลำดับเหตุการณ์ที่ผูกรวมกันเป็นปมความขัดแย้ง ความ ขัดแย้ง มี 2 แบบ อะไรบ้าง

ตอบ ความขัดแย้งต่อสิ่งภายนอก และ ความขัดแย้งภายใน

นางสาว กนกวรรณ แซ่หวอง ม. 6 เลขที่ 18

เค้าโครงเรื่อง คืออะไร? 

ตอบ  คือ ลำดับเหตุการณ์ที่ผูกรวมกันเป็นปมความขัดแย้ง ความ ขัดแย้ง มี 2 แบบ 1 ความขัดแย้งต่อสิ่งภายนอก(External) เช่น มนุษย์ขัดแย้งกับสังคม , มนุษย์ขัดแย้งกับธรรมชาติ, มนุษย์ขัดแย้งกับมนุษย์ , มนุษย์ขัดแย้งกับโชคชะตา 2.ความขัดแย้ง ภายในร่างกาย (Internal) เช่น ความรักกับหน้าที่ , ความริษยากับจริยธรรม , ศาสนา กับความเชื่อ ,ความถูกต้องกับความถูกใจ

ทวี รุ่งเรืองทองทวี ม.6 เลขที่23

บทถ่ายทำคืออะไร

ตอบ.คือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียนคือบทภาพยนตร์ที่เป็นขั้นตอนสุดท้ายของการเขียน

 

นาย อาทิตย์ แซ่ตั้ง ม.6 เลขที่ 1

การเขียนบท ภาพยนตร์จากเรื่องสั้นเป็นเรื่องที่นำมาจากอะไร

ตอบ นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น

นางสางวโชติกา แซ่เจียง เลขที่34 ม。6

1บทภาพ คือ

ตอบ บทภาพยนตร์ประเภทหนึ่งที่อธิบายด้วยภาพ คล้ายหนังสือการ์ตูน ให้เห็นความต่อเนื่องของช็อตตลอดทั้งซีเควนส์หรือทั้งเรื่องมีคำอธิบายภาพ ประกอบ เสียงต่าง ๆ เช่น เสียงดนตรี เสียงประกอบฉาก และเสียงพูด

นาย วิภพ แซ่เบ้ เลขที่30 ม.6

การเขียนบท ภาพยนตร์จากเรื่องสั้นสามารถเขียนได้จากเรื่องอะไรบ้าง

ตอบ การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้ สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน

นาย ประสิทธิ์ ชินวรพิทักษ์ ม.6 เลขที่10

การเขียนเรื่องย่อ คืออะไร

ตอบ คือเรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย

 

นนท์ กฤดาภินิหาร เลขที่3ม.6

การเขียนบท ภาพยนตร์จากเรื่องสั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร

ตอบ เป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริง เรื่องดัดแปลง ข่าว เรื่องที่อยู่รอบ ๆ ตัว นวนิยาย เรื่องสั้น หรือได้แรงบันดาลใจจากความประทับใจในเรื่องราวหรือบางสิ่งที่คนเขียนบทได้ สัมผัส เช่น ดนตรี บทเพลง บทกวี ภาพเขียน และอื่น ๆ

นาย นักรบ วุฒโอภาส ม.6 เลขที่14

การเขียนภาพยนตร์สรับนักเขียนหน้าใหม่ควรทำอย่างไรที่ดีที่สุด

ตอบ ค้นหาจากสิ่งรอบๆตัวเองและเอาสิ่งที่ตนเองรู้ให้มากที่สุดมาเขียน

นางสาวศศิธร ชาญศรีภิญโญ ม.6 เลขที่22

1.ขั้นตอนสำหรับการเขียนบทภาพยนตร์มีกกี่ขั้นตอน

ตอบ

1. การค้นคว้าหาข้อมูล (research)

2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise)

3. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis)

4. การ เขียนโครงเรื่องขยาย (treatment)

5. บทภาพยนตร์ (screenplay)

6. บทถ่ายทำ (shooting script)

7. บทภาพ (storyboard)

นายสิทธิฃัย แซ่หวาง เลขที่17 ม.6

1.การคัท การเลือนภาพ การละลายภาพ หรือการจางซ้อนภาพ อยู่ในขั้นตอนของการเขียนบทภาพยนต์ใด

ตอบ บทถ่ายทำ (shooting script)

นาย ณัฐสิทธิ์ จงสถิตย์ไพบูลย์ เลขที่27 ม.6

 บทซีเควนส์หลัก หรือ ซีนาริโอ เป็นบทเกี่ยวกับอะไร ?

ตอบ เป็นบทภาพยนตร์ที่มีโครงเรื่อง บทพูด แต่มีความสมบูรณ์น้อยกว่าบทถ่ายทำ เป็นการเล่าเรื่องที่ได้พัฒนามาแล้วอย่างมีขั้นตอน .

นางสาวนภัสวรรณ วงศ์วาณิชย์ศิลป์ ม.6 เลขที่17

การเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์ ต้องมีเป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นหรือเรียกสั้นๆว่า

ตอบ ประเด็น

นาย ศิลป์ชัย นิมิตรพงศ์ธร เลขที่.29 ม.6

การเขียนโครงเรื่องขยายเป็นการเขียนอย่างไร

ตอบ.เป็นการเขียนคำอธิบายของโครงเรื่อง ในรูปแบบของเรื่องสั้น โครงเรื่องขยายอาจใช้สำหรับเป็นแนวทางในการเขียนบทภาพยนตร์ที่สมบูรณ์ บางครั้งอาจใช้สำหรับยื่นของบประมาณได้ด้วย และการเขียนโครงเรื่องขยายที่ดีต้องมีประโยคหลักสำหคัญ ที่ง่าย ๆ น่าสนใจ

นางสาว โสภา แซ่ว่าง เลขที่ 32 ม.6

สิ่งที่สำคัญใน การเขียนบท หนังสั้นก็คือ

ตอบ การเริ่มค้นหาวัตถุดิบหรือแรงบันดาลใจให้ได้ ว่าเราอยากจะพูด จะนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับอะไร ตัวเราเองมีแนวความคิดเกี่ยวกับเรื่องนั้น ๆ อย่างไร ซึ่งแรงบันดาลใจในการเขียนบทที่เราสามารถนำมาใช้ได้ก็คือ ตัวละคร แนวความคิด และเหตุการณ์ และควรจะมองหาวัตถุดิบในการสร้างเรื่องให้แคบอยู่ในสิ่งที่เรารู้สึก รู้จริง เพราะคนทำหนังสั้นส่วนใหญ่ มักจะทำเรื่องที่ไกลตัวหรือไม่ก็ไกลเกินไปจนทำให้เราไม่สามารถจำกัดขอบเขต ได้

นางสาว ปิยนุช แซ่ชั้น ม. 6 เลขที่ 2

การเริ่มต้นเขียนบทภาพยนตร์เราต้องมีอะไร

ตอบ เป้าหมายหลักหรือเนื้อหาเป็นจุดเริ่มต้นการเขียน เราเรียกว่าประเด็น (Subject) ของเรื่อง ที่ต้องชัดเจนแน่นอน มีตัวละครและแอ็คชั่น

นาย.นฤดม ติรวงศาโรจน์

1.การเขียนบท ภาพยนตร์จากเรื่องสั้นคือ

ตอบ.การเขียนบทอาจเป็นเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริงเรื่องดัดแปลงข่าวเรื่องที่อยรอบๆตัวนนิยาย

นาย ปกรณ์ ตันสกุล เลขที่15

สิ่งสำคัญในการทำหนังสั้นคือ

ตอบ การถ่ายทอดสื่อและเนื้อเรื่องให้ผู้ชมได้รับรู้ถึงสิ่งที่ต้องการถ่ายทอดออกมา

นาย มงคล เลี้ยงพันธุ์สกุล เลขที่ 5

หนัง สั้น คืออะไร?

ตอบ หนังยาวที่สั้น ก็คือการเล่าเรื่องด้วยภาพและเสียงที่มีประเด็ดเดียวสั้นๆ แต่ได้ใจความ

น.ส. วิภาวรรณ แซ่กง ม.6 เลขที่ 9

การกำหนดประโยคหลักสำคัญ (premise) หมายถึงอะไร

ตอบ ความคิดหรือแนวความคิดที่ง่าย ๆ ธรรมดา ส่วนใหญ่มักใช้ตั้งคำถามว่า “เกิดอะไรขึ้นถ้า...” (what if) ตัวอย่างของ premise ตามรูปแบบหนังฮอลลีวู้ด เช่น เกิดอะไรขึ้นถ้าเรื่องโรเมโอ &จูเลียตเกิดขึ้นในนิวยอร์ค

นาย ทัตพล พิพัฒน์จรัส เลขที่7 ม6

การเรื่องย่อขนาดสั้น สามารถจบลงได้ในกี่บรรทัด

ตอบ 3-4 บรรทัด

วรวิช เลี้ยงพันธุสกุล

1.การเขียนบท ภาพยนตร์จากเรื่องสั้นคือ

ตอบ.การเขียนบทเรื่องที่นำมาจากเรื่องจริงเรื่องดัดแปลงข่าวเรื่องที่อยรอบๆตัวนนิยาย

นางสาว สุวรรณี ชำนิถิ่นเถื่อน ม.6 เลขที่28

1. บทที่ดีควรเสนอแนว คิดอย่างไร ?

ตอบ ควรเสนอเพียงบางอย่าง ไม่ควรเสนอทุกอย่าง

นาย นัยวัต แซ่ล๊ก ม.6 เลขที่8

1. องค์ประกอบที่สำคัญและขาดไม่ได้คือ ?

ตอบ ตัวละคร สถานที่ และเวลา

น.ส. วันดี แซ่เยี่ยง เลขที่19 ม.6

สำหรับการ เขียนบทภาพยนตร์สามารถสรุปสั้นๆได้คือ

ตอบ 1. การค้นคว้าหาข้อมูล

2. การกำหนดประโยคหลักสำคัญ

3. การเขียนเรื่องย่อ

4. การ เขียนโครงเรื่องขยาย

5. บทภาพยนตร์

6. บทถ่ายทำ

7. บทภาพ

น.ส. วันดี แซ่เยี่ยง เลขที่19 ม.6

เรื่องที่จะ เขียนแล้วเราก็ต้องนำเรื่องราวที่ได้มาเขียน Plot (โครงเรื่อง)ในที่นี้คืออะไร

ตอบ หมายถึงว่าใคร ทำอะไร กับใคร อย่างไร ที่ไหน เมื่อไร เพราะอะไร และได้ผลลัพธ์อย่างไร ซึ่งสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ข้อมูล หรือวัตถุดิบที่เรามีอยู่ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ชีวิตของแต่ละคนว่ามีแนวคิดมุมมองต่อชีวิตคน อย่างไร

นาย รัฐวิกร ก่อปฏิภาณ เลขที่ 31

"Conflict" คืออะไร

ตอบ. จุดที่เกิดความขัดแย้ง

นาย ปรีชา แซ่เจิ้ง เลขที่ 4 ม.6

เค้าโครงเรื่อง คืออะไร? เค้า โครงเรื่อง คือ

ตอบ ลำดับเหตุการณ์ที่ผูกรวมกันเป็นปมความขัดแย้ง ความ ขัดแย้ง มี 2 แบบ 1 ความขัดแย้งต่อสิ่งภายนอก(External) เช่น มนุษย์ขัดแย้งกับสังคม , มนุษย์ขัดแย้งกับธรรมชาติ, มนุษย์ขัดแย้งกับมนุษย์ , มนุษย์ขัดแย้งกับโชคชะตา 2.ความขัดแย้ง ภายในร่างกาย (Internal) เช่น ความรักกับหน้าที่ , ความริษยากับจริยธรรม , ศาสนา กับความเชื่อ ,ความถูกต้องกับความถูกใจ

นาย โชคชัย แซ่พาน เลขที่25

1. บทที่ดีควรเสนอแนว คิดอย่างไร ?

ตอบ ควรเสนอเพียงบางอย่าง ไม่ควรเสนอทุกอย่าง

นางสาวพัชรา บุรีศรี ม. 6 เลขที่ 26

การค้นคว้าหาข้อมูล  เป็นขั้นตอนการเขียนบทภาพยนตร์อันดับที่เท่าไร

ตอบ  อันดับแรก

นาย ฐาปนา แซ่ซำ ม. 6 เลขที่ 24

1. การเขียนเรื่องย่อ (synopsis) คือ

ตอบ เรื่องย่อขนาดสั้น ที่สามารถจบลงได้ 3-4 บรรทัด หรือหนึ่งย่อหน้า หรืออาจเขียนเป็น story outline เป็นร่างหลังจากที่เราค้นคว้าหาข้อมูลแล้วก่อนเขียนเป็นโครงเรื่องขยาย (treatment)

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท