หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 เรื่อง การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่


หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 เรื่อง การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่

 

 

 

หนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83

ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553

เรื่อง การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่

 

                 ตามหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0415/ว 71 ลงวันที่ 25 เมษายน 2548 และที่ กค 0415/ว 29 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2550 ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่ และตามหนังสือสำนักงาน ก.พ. ที่ นร 1008/ว 21 ลงวันที่ 16 มิถุนายน 2553 สำนักงาน ก.พ. มอบอำนาจให้ส่วนราชการสามารถดำเนินการบบริหารอัตรากำลังลูกจ้างประจำ กรณีการปรับระดับชั้นงาน การเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) และกลุ่มงาน การตัดโอนอัตรากำลังลูกจ้างประจำภายในส่วนราชการได้  โดยให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กระทรวงการคลังกำหนด นั้น

                  กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว  เพื่อให้การบริหารงานบุคคลของลูกจ้างประจำของส่วนราชการคล่องตัวและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น จึงเห็นสมควรยกเลิกหนังสือกระทรวงการคลังที่ กค 0415/ว 71 ลงวันที่ 25 เมษายน 2548 และที่ กค 0415/ว 29 ลงวันที่ 7 มิถุนายน 2550 และให้ผู้มีอำนาจตามข้อ 13 ตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยลูกจ้างประจำ พ.ศ. 2537 ออกคำสั่งแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่ได้ โดยไม่ต้องขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลัง ในกรณีดังต่อไปนี้

                    1. กรณีการปรับระดับชั้นงาน

                         1.1 การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่ในระดับชั้นงานที่สูงกว่าเดิม  ให้ส่วนราชการปรับระดับชั้นได้ไม่เกินระดับชั้นสูงสุดที่สำนักงาน ก.พ.กำหนดไดว้ในแต่ละตำแหน่ง เมื่อลูกจ้างประจำผู้นั้นมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ในตำแหน่งที่มีระดับชั้นสูงกว่าครบถ้วน โดยได้รับค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของตำแหน่งที่สูงกว่าและไม่สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นสูงของตำแหน่งใหม่

                         1.2 กรณีตำแหน่งที่มีระดับ 1 - 3 และระดับ 3/หัวหน้า ส่วนราชการสามารถกำหนดคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งเพิ่มเติมจากที่กระทรวงการคลังได้กำหนดไว้แล้วได้  โดยให้คำนึงถึงความเหมาะสมและสอดคล้องกับหน้าที่ความรับผิดชอบตามภารกิจที่มอบหมาย เช่น เป็นผู้ผ่านการประเมินผลจากการปฏิบัติงานในหน้าที่ หรือการสอบข้อเขียนหรือการสัมภาษณ์  หรือวิธีอื่น ๆ สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน ให้ส่วนราชการกำหนดตามความเหมาะสมของแต่ละตำแหน่งได้ตามที่เห็นสมควร

                          1.3 กรณีตำแหน่งที่มีระดับ 4 หรือ ระดับ 4/หัวหน้า ซึ่งกระทรวงการคลังกำหนดให้ผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งดังกล่าวต้องเป็นผู้ที่ผ่านการประเมินนั้น สำหรับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมิน  ส่วนราชการสามารถกำหนดได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมของแต่ละตำแหน่ง เช่น ให้จัดส่งผลงานเด่นหรือผลงานสำคัญหรือวิธีอื่น ๆ ตามที่เห็นสมควร

                     2.  กรณีการเปลี่ยนสายงาน (ชื่อตำแหน่ง) และกลุ่มงาน

                             2.1 การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่ กรณีตำแหน่งต่างกัน สายงานเดียวกัน กลุ่มงานเดียวกัน หรือกรณีตำแหน่งต่างกัน สายงานต่างกัน กลุ่มงานเดียวกัน หรือกรณีตำแหน่งต่างกัน สายงานต่างกัน กลุ่มงานต่างกัน นั้น ตำแหน่งใหม่ดังกล่าวจะต้องเป็นตำแหน่งที่ถูกกำหนดหน้าที่ความรับผิดชอบโดยย่อ คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งและอัตราค่าจ้างไว้แล้วและจะต้องมอบหมายให้ลูกจ้างประจำที่ได้ปรับเปลี่ยนตำแหน่งใหม่ ปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับงานในหน้าที่โดยย่อและลูกจ้างประจำรายดังกล่าวต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งตามที่กระทรวงการคลังกำหนดสำหรับตำแหน่งใหม่

                             2.2 ในกรณีที่สายงานในตำแหน่งใหม่มีลักษณะงานใกล้เคียงกับลักษณะงานในตำแหน่งเดิม ให้นำระยะเวลาในการดำรงตำแหน่งเดิมมานับรวมกันกับระยะเวลาในตำแหน่งใหม่ได้

                      3.  การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่ที่มีอัตราค่าจ้างขั้นสูงต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นสูงของตำแหน่งเดิม ลูกจ้างประจำผู้นั้นต้องมีคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งครบถ้วนตามที่กระทรวงการคลังกำหนดไว้ในตำแหน่งที่อัตราค่าจ้างสูงต่ำกว่า โดยได้รับค่าจ้างไม่สูงกว่าอัตราค่าจ้างขั้นสูงของตำแหน่งใหม่ กรณีดำเนินการใด ๆ ดังกล่าว ให้ดำเนินการเฉพาะกรณีที่จำเป็น  พร้อมทั้งให้มีหลักฐานเป็นหนังสือแสดงความยินยอมของลูกจ้างประจำที่มีความประสงค์จะไปดำรงตำแหน่งใหม่ดังกล่าวด้วย

                       4. การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่ โดยที่ตำแหน่งของลูกจ้างประจำบางตำแหน่ง  กระทรวงการคลังได้กำหนดกลุ่มบัญชีค่าจ้างไว้มากกว่า 1 กลุ่ม ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนที่สุด ที่ กค 0428/ว 38 ลงวันที่ 1 เมษายน 2553 ในการเลื่อนขั้นค่าจ้างกรณีดังกล่าว ให้ใช้ขั้นวิ่งของกลุ่มบัญชีค่าจ้างเดิมจนถึงขั้นสูงก่อน แล้วจึงเปลี่ยนไปใช้ขั้นวิ่งในกลุ่มบัญชีค่าจ้างที่สูงกว่า โดยให้ได้รับค่าจ้างในกลุ่มบัญชีค่าจ้างใหม่ในขั้นใกล้เคียงในทางที่สูงกว่า

                        อนึ่ง  การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่ ส่วนราชการต้องยึดหลักสมรรถนะความเท่าเทียมกันในโอกาส  โดยคำนึงถึงภารกิจและประโยชน์ของทางราชการเป็นสำคัญและดำเนินการด้วยกระบวนการที่เป็นมาตรฐาน  เป็นธรรม  โปร่งใสและตรวจสอบได้

 

ศึกษารายละเอียดได้จากหนังสือกระทรวงการคลัง ที่ กค 0428/ว 83 ลงวันที่ 17 สิงหาคม 2553 เรื่อง การแต่งตั้งลูกจ้างประจำไปดำรงตำแหน่งใหม่

 

 

 

 

หมายเลขบันทึก: 390373เขียนเมื่อ 2 กันยายน 2010 21:37 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:28 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (41)

เรียนคุณบุษยมาศ

ดิฉันเรียนปนึกษาดังนี้นะค่ะ

1. การประเมินลูกจ้างตามตำแหน่งใหม่ ต้องทำอย่างไรค่ะ

2. ในการเขียนลักษณะงาน job ต้องเขียนหน้าที่ทำอยู่ ณ ปัจจุบันใช่หรือไม่ค่ะ

3. ในการคิดเงินเดือนคิดอย่างไรค่ะ

ขอบคุณมากค่ะ

ตอบ...ครูจ๋า...

1. การประเมินลูกจ้างประจำ ถ้า ก.พ. ยังไม่ได้แจ้ง ก็ทำเหมือนเดิมค่ะ...ใช้แบบประเมินเหมือนครั้งที่ 1

2. การเขียนลักษณะงาน job  ให้เขียนหน้าที่ที่ตามตำแหน่งที่เป็นอยู่ + งานที่ปฏิบัติจริงค่ะ...(เหตุที่ต้องเขียนหน้าที่ที่เป็นอยู่ตามตำแหน่งนั้น เพราะการเป็นตำแหน่งปัจจุบันนั้นเป็นงานตามมาตรฐานเดิมที่ลูกจ้างประจำเข้าสู่ตำแหน่งค่ะ)...สำหรับที่ให้เขียนหน้าที่ที่เขาปฏิบัติอยู่จริง กรณีที่เขาทำเกินหน้าที่นั้น เพื่อครั้งต่อไปเขาทำขอปรับเปลี่ยนตำแหน่งที่ได้ทำจริง ๆ ค่ะ...เพื่อให้ตรงกับตำแหน่งที่ต้องการปรับเปลี่ยน...

3. ถ้าสำนักงาน ก.พ. + กระทรวงการคลัง แจ้งว่า ยังไม่ให้เปลี่ยน ก็คงคิดเหมือนครั้งที่ 1 (1 ต.ค.52 - 31 มี.ค.53) ค่ะ...

 

 

นายสมมิตร ศิริขันธ์

สวัสดีครับอาจารย์

ผมมีเรื่องรบกวนสอบถามอาจารย์ ผมลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานบำรุงทาง เงินเดือน 15560.- ทำหน้าที่ธุรการ มีเรื่องสอบถามดังนี้

ถ้าผมทำเรื่องขอโอนย้าย จากแขวงฯ นครราชสีมา 2 ไปแขวงฯสระบุรี กรมทางหลวง ถ้าทำเรื่องขอโอนแล้ว เปลี่ยนสายงาน เป็นพนักงานธุรการพร้อมกันทีเดียว ถ้านายเซ็นให้พร้อม จะสามารถกระทำได้เลยหรือไม่

ขอขอบพระคุณมาก

ขอแสดงความนับถือ

สมมิตร ศิริขันธ์

ตอบ...คุณสมมิตร...

การเปลี่ยนตำแหน่งกับเรื่องการขอโอนย้าย ไม่ควรทำในคราวเดียวกันนะค่ะ...อันดับแรกควรเปลี่ยนตำแหน่งให้ได้ก่อน เมื่อเปลี่ยนเสร็จแล้วค่อยทำเรื่องโอนย้ายค่ะ...จะง่ายกว่าไปขอเปลี่ยนตำแหน่งในที่ใหม่ เพราะในที่เดิม ท่านมีคำสั่งให้ทำงานในเรื่องธุรการอยู่แล้ว หัวหน้าส่วนราชการก็ทราบเรื่องภาระงานในหน้าที่ที่ท่านทำดีอยู่แล้ว ควรเปลี่ยนก่อน แล้วค่อยขอทำเรื่องโอนย้ายค่ะ...หากไปเปลี่ยนตำแหน่งในที่ใหม่ ถ้าหัวหน้าส่วนทำให้ก็ดีไป...แต่หัวหน้าส่วนราชการบางท่านก็ยังไม่ทราบว่าท่านเคยทำงานในตำแหน่งใหม่เป็นอย่างไร คือ  (เรียกว่ายังไม่เห็นผลงานของท่านค่ะ)...ทางที่ดีเปลี่ยนในสถานที่ทำงานเดิมดีกว่าค่ะ...

สวัสดีครับอาจารย์

ผมมีเรื่องอยากรบกวนปรึกษาอาจารย์ ขอให้อาจารย์ช่วยให้ความกระจ๋างกับผมด้วยนะครับ คือผมเป็นลูกจ้างประจำสังกัดสพฐ.ตำแหน่งนายช่างครุภัณฑ์ 3 เงินเดือน 13,620 บาท ปัจจุบันวุฒิการศึกษาของผมคือ ปริญญาตรี เอกคอมฯธุรกิจ ถ้าผมจะปรับหรือโอนตำแหน่ง หรือเปลี่ยนสายงาน ผมต้องทำยังงั้ยบ้าง และจะทำได้ไหมครับ ผมไม่เข้าใจวิธีการปฏิบัติหรือวิธีการดำเนินการ แต่หลายๆคนบอกว่าทำได้ แต่ก็ไม่เคยมีใครอธิบายให้ผมเข้าใจได้เลยครับ มีแต่บอกว่าทำได้แค่นั้น กรุณาช่วยชี้แนะผมด้วยนะครับ

ขอแสดงความนับถือ

นายอีศไอศูรย์ สิมศรี

ตอบ...หมายเลข 5...

  • ขอให้คุณศึกษาเรื่องในบล็อกด้านล่างนี้ก่อนนะค่ะ ทุกบล็อก...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc
  • การจะเปลี่ยนตำแหน่งขึ้นอยู่ที่ว่า  ปัจจุบันคุณทำงานอะไรอยู่
  • ต้องดูงานที่ทำว่าตรงกับตำแหน่งที่คุณจะเปลี่ยนด้วยว่าคุณจะเปลี่ยนเป็นอะไร
  • แล้วตำแหน่งที่เปลี่ยนต้องมีคุณสมบัติตรงกับงานที่ทำหรือไม่
  • ศึกษาเรื่องในบล็อกให้ละเอียดนะค่ะ ลองคลิกดูแล้วศึกษาจากบล็อกด้านล่างไปจนถึงบล็อกด้านบนค่ะ
  • ค่อย ๆ ศึกษานะค่ะ เพราะปัจจุบันต้องเรียนด้วยตนเองค่ะ หรือไม่ก็อ่านที่กระทู้ที่เพื่อน ๆ ถามดูนะค่ะ
  • เพราะถ้าให้ผู้เขียนอธิบายยาวมาก ๆ ค่ะ
  • ถ้าไม่เข้าใจตรงไหนให้ถามมาใหม่นะค่ะ...
  • การเปลี่ยนทำได้ แต่ต้องขึ้นอยู่กับภาระหน้าที่ที่เราทำด้วย + คุณสมบัติของตำแหน่งที่เราต้องการเปลี่ยนด้วยค่ะ ว่าจะได้หรือไม่ ต้องศึกษาค่ะ...
สมศรี สคนธ์พัฒนบุตร

ขอเรียนถามอาจารย์คะ ว่าถ้าลูกจ้างมีวุฒิปริญญาตรีสามารถเอาไปปรับให้เข้ารับราชการได้โดยอัตโนมัติหรือไม่

สวัสดีครับอาจารย์ ขอนำบันทึกนี้ไปลิงค์ไว้ใน บันทึกของสมาคมลูกจ้างกระทรวงสาธารณสุขแห่งประเทศไทยด้วยครับท่าน

ตอบ...คุณสมศรี...

  • ไม่สามารถทำได้ค่ะ  เนื่องจากการบรรจุเป็นข้าราชการต้องมีการสอบค่ะ...
  • เพราะการบรรจุเป็นข้าราชการ จะมีกระบวนการในการสอบคัดเลือกค่ะ
  • ถ้าคุณสอบผ่าน ก็ถือว่าคุณสอบผ่านการคัดเลือกเป็นข้าราชการค่ะ
  • แต่ไม่สามารถนำวุฒิ ไปปรับให้เข้ารับราชการได้โดยอัตโนมัติหรอกค่ะ...

สวัสดีค่ะ...คุณวอญ่า...Ico32...

  • ยินดีและเต็มใจอย่างยิ่งค่ะ...
  • สิ่งใดที่เป็นประโยชน์ให้กับบุคลากรภาครัฐ  ผู้เขียนยินดีค่ะ...
  • ขอบคุณค่ะ...
นางสาวสุวิสา เจริญลอย

ลูกจ้าง สพท. ตำแหน่งช่างครุภัณฑ์ชั้น 3 ย้ายสับเปลี่ยนกับลูกจ้าง สพท. ตำแหน่งพนักงานบริการ ได้หรือไม่

ตอบ...หมายเลข 11...

  • ถ้าเป็นการสับเปลี่ยนลูกจ้างประจำ น่าจะมีตำแหน่งที่เหมือนกันนะค่ะ...ถ้าต่างกันเกรงว่าจะไม่ได้ค่ะ...ถ้าให้ชัดเจน ลองโทรถามที่ สำนักงาน ก.พ. ดูก็ได้ค่ะ...

ผมเป็นครูที่รับผิดชอบเรื่องพิจารณาเงินเดือนลูกจ้างประจำสังกัดโรงเรียน ขณะนี้มีลูกจ้างที่เป็นตำแหน่ง ช่างไม้ชั้น 3 ช่างสีชั้น 3 ช่างปูนชั้น 3 ตามหนังสือกระทรวงการคลัง ด่วนทีสุด ที่ กค 0428/ว 38 จะอยู่ในกลุ่มใด 1-4

ตอบ...คุณโชคชัย...

 

สวัสดีค่ะ ดิฉันขอสอบถาม อ. เกี่ยวกับเรื่องการปรับเปลี่ยนตำแหน่งของลูกจ้างประจำค่ะ กรณีสังกัด สพฐ. ค่ะ

1. หากตำแหน่งเดิมเป็น พนักงานสถานที่ จะปรับเปลี่ยนเป็น พนักงานบริการ ที่อยู่ในระดับ 1 เหมือนกัน จะทำได้หรือไม่ (สงสัยว่าถ้ายังงั้นจะมีการกำหนด ระดับ 2 ของพนักงานสถานที่่ ไว้ทำไม ) คือว่า ต้องให้ผ่านการเป็น พนักงานสถานที่ระดับ 2 ก่อนหรือไม่ จึงปรับเป็น พนักงานบริการ ได้

2. กรณีการปรับเปลี่ยนกลุ่มงาน เช่น ปรับจาก พนักงานบริการ เป็น กลุ่มงานช่าง ตำแหน่ง ช่างไฟฟ้า ทำได้หรือไม่ และหากทำได้จะทำแบบกระโดดเป็น ช่างไฟฟ้า ระดับ 2 เลยได้หรือไม่ หากมีวุฒิตามที่กำหนด

3. การปรับเปลี่ยนตำแหน่งลูกจ้างประจำ ตอนนี้สามารถทำได้หรือยังค่ะ หรือต้องรอหนังสือของ ก.พ. หรือ กระทรวงการคลังก่อนค่ะ

ขอขอบพระคุณอาจารย์อย่างสูงค่ะ

ตอบ...คุณรจนี...

  • การที่จะปรับเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ให้ดูที่คำสั่งในการทำงานของลูกจ้างประจำว่าส่วนราชการให้ทำหน้าที่ใดเป็นสำคัญ และในคำสั่งนั้น เอื้อให้ทำงานในตำแหน่งอื่นหรือไม่
  • จากที่อ่านข้อความของลูกจ้างประจำ บางคนก็ทำงานเกินหน้าที่ บางคนก็ทำงานแค่ตามหน้าที่ ในกรณีหลังถ้าทำงานตามหน้าที่ ต้องการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ส่วนราชการก็ต้องให้ทำงานเพิ่มขึ้น มีความสามารถด้านไหน ก็ให้พัฒนาด้านนั้น และให้ดูที่ตำแหน่งที่ลูกจ้างนั้นได้ปฏิบัติค่ะ...
  • จะปรับเปลี่ยนไม่ได้ ถ้าลูกจ้างท่านนั้น ปฏิบัติงานแบบเรื่อย ๆ ไม่มีการพัฒนาตนเองนะค่ะ...
  • เมื่อดูคำสั่งที่ตนเองได้ปฏิบัติแล้ว...ก็ให้ดูที่คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งที่ตนเองต้องการเปลี่ยนตำแหน่งค่ะ ให้ดูในแต่ละข้อ ถ้ามีคำว่า "หรือ" ให้เลือกข้อใดข้อหนึ่ง แต่ถ้ามีคำว่า "และ" ให้ใช้หมายความรวมทั้งหมดค่ะ...
  • การเป็นพนักงานสถานที่กับพนักงานบริการ ให้ดูหน้าที่ด้วยนะค่ะ ถ้าไม่ได้ ก็ให้อยู่ตำแหน่งเดิม และปรับเป็นระดับ 2 ถ้าคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งได้ค่ะ...
  • การที่จะปรับเปลี่ยนเป็นตำแหน่งช่างไฟฟ้า ให้ดูหน้าที่ที่ได้ปฏิบัติ + คุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของช่างไฟฟ้า ด้วยค่ะ ว่า ลูกจ้างประจำท่านนั้น มีคุณสมบัติเปลี่ยนได้หรือไม่ ถ้าได้ ก็สามารถเปลี่ยนได้ค่ะ...การเปลี่ยนระดับ ก็ให้ดูด้วยค่ะ ว่า ช่างไฟฟ้า ระดับ 2 สามารถปรับได้หรือไม่ เพราะคุณสมบัติบางตำแหน่งได้ บางตำแหน่งไม่ได้ ต้องศึกษาในคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งช่างไฟฟ้าค่ะ...
  • การปรับเปลี่ยนตำแหน่งให้สอบถามไปที่ สพฐ. ค่ะ เพราะเมื่อครั้งที่แล้ว มี จนท.ที่ สพป.นนทบุรีหรือไงนี่แหล่ะค่ะ บอกว่า ต้องรอหนังสือจาก สพฐ. แจ้งมาค่ะ...

ดิฉัน ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ เงินเดือน 15260 บาท ศาลอาญา สามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้หรือไม่

ตอบ...คุณจิรนันท์  จันทร์ผล...

  • การเปลี่ยนตำแหน่งนั้น ขึ้นอยู่กับงานปัจจุบันที่คุณได้ปฏิบัติค่ะ ว่าเป็นงานลักษณะไหน...และขึ้นอยู่กับคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนค่ะ...รวมทั้งขึ้นอยู่กับหัวหน้าส่วนราชการและเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบในเรื่องของลูกจ้างประจำ ด้วยค่ะ...
  • เป็นตำแหน่งพนักงานพิมพ์ก็ดีอยู่แล้วนี่ค่ะ...เพราะอีกหน่อยก็เป็นพนักงานพิมพ์ ส 3 หรือตำแหน่งพนักงานพิมพ์ ส 4 ก็ได้อีก...
  • หมั่นฝึกฝนประสบการณ์เอาไว้ค่ะ...แต่ถ้ามีหน้าอื่น ก็ต้องดูด้วยว่าปัจจุบันทำหน้าที่ด้านใดมากกว่ากันค่ะ ถ้าพิมพ์มากกว่า ก็คงเป็นตำแหน่งเดิมดีแล้ว แต่ถ้าทำหน้าที่อื่นมากกว่า ก็ลองปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการดูค่ะ ว่าจะทำให้หรือไม่...

ดิฉันได้รับมอบหมายจาก ผอ.ให้ดูแลพนักงานบริการที่โรงเรียนช่วยในการปรับตำแหน่งให้เป็นช่างไม้คะ่ แต่ดิฉันไม่เข้าใจหลักเกณฑ์และวิธีการปรับตำแหน่งดังกล่าวเลย รบกวนอาจารย์ส่งรายละเอียด วิธีการ และตัวอย่างฟร์อม การปรับตำแหน่งด้วยคะ่

ตอบ...ครูเอ๋...

  • สงสัย...ทำไมให้ผู้หญิงปรับเปลี่ยนตำแหน่งเป็นช่างไม้ค่ะ ไม่เข้าใจค่ะ...
  • อยากทราบว่าตำแหน่งเดิม คืออะไร?  และปัจจุบันทำหน้าที่อะไรค่ะ...
  • ถ้าดูแลพนักงานบริการ ให้ดูตำแหน่งอื่นจะได้ไหมค่ะ  เช่น แม่บ้าน เป็นต้นค่ะ...

พวกผมลูกจ้างประจำกรมชลเงินเดือนตันตุลาคมปี52สอบเปลี่ยนตำแหน่งแล้วผ่านแล้วกรมบัญชีกลางก็ออกหนังสือแล้วและกรวงการคลังก็ออกคำสั่งแล้วแต่กรมไม่เห้นแต่งตั้งพวกผมครั้งที่2ทั้งกรมรวมเป็นพันคนรอคำสั่งมาเป้นปีไม่ทราบว่าจะขอความเมตตาจากใครรวมทุกๆกรมกองหลายพันคนรุ่นที่1แต่งตั้งภายใน3เดือน

ตอบ...คุณ ก...

  • ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของกรมที่คุณสังกัดดูนะค่ะ...เพราะส่วนราชการอื่นจะไม่ทราบค่ะ...

ดิฉันลูกจ้างประจำตำแหน่งพนักงานผู้ช่วยเหลือคนไข้ บรรจุ 1 ก.พ.2532 ไม่ทราบว่าตำแหน่งนี้จะมีโอกาสปรับเปลี่ยนตำแหน่งได้หรือไม่ หรือว่าจะอยู่แค่นี้ตลอดไปจนกว่าจะเกษียรอายุ แต่งานที่ทำอยู่ตอนนี้คือประจำอยู่ที่ห้องทำบัตร (เวชระเบียน) มีใบประกาศนียบัตร พิมพ์ดีด - ไทยอังกฤษได้ อยากทราบจังเลยคะว่าจะมีโอกาสก้าวหน้ามั๊ย

ตอบ...คุณ น อุบลฯ...

  • ก่อนอื่นให้คุณศึกษารายละเอียดตามบล็อกข้างล่างนี้ในแต่ละบล็อกให้ละเอียดนะค่ะ... เพราะจะเป็นประโยชน์กับตัวของคุณเองค่ะ...
  • http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc
  • เมื่อศึกษาเสร็จแล้ว ให้คุณดูที่คำสั่งการมอบหมายงานที่คุณได้ปฏิบัติว่ามีงานใดบ้าง? ที่เป็นงานหลัก เรียกว่า ได้ทำบ่อยมาก เหมือนงานประจำ
  • และให้ดูว่าตำแหน่งใดบ้างที่คุณสามารถเปลี่ยนตำแหน่งได้ เช่น ตำแหน่งพนักงานพิมพ์ พนักงานธุรการ ค่ะ
  • และให้ดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนไปด้วยค่ะว่าได้หรือไม่ เพราะทาง ก.พ. จะมี Spec ไว้ค่ะ ตามบล็อกที่ได้แจ้งไว้ข้างต้นค่ะ...
  • ถ้างานที่ปฏิบัติไม่เข้าข่ายใด ๆ ตามตำแหน่งงานใหม่ คุณก็ต้องทำหน้าที่เดิม จนกว่าคุณจะได้รับมอบหมายงานในตำแหน่งที่ต้องการเปลี่ยนให้สูงขึ้นได้ค่ะ เพราะการปรับเปลี่ยนตำแหน่งนั้น อาจทำได้ดังนี้ค่ะ...
  • คุณมีภาระงานในตำแหน่งที่จะปรับเปลี่ยนให้สูงขึ้น โดยได้ทำงานนั้นอยู่
  • หรือคุณได้รับมอบหมายงานที่ให้ทำ ซึ่งเป็นงานใหม่จากหัวหน้าส่วนราชการที่มอบหมายให้ทำ เพื่อเข้าสู่ตำแหน่งใหม่นั้นได้ค่ะ
  • การปรับเปลี่ยน ถ้าเรายังทำแบบเดิม ๆ ทำไปวัน ๆ ก็ไม่สามารถที่จะปรับเปลี่ยนได้นะค่ะ...เพราะรัฐต้องการให้เราพัฒนาตัวเราเองค่ะ
  • แต่ถ้าเราทำงานที่มากกว่าเดิม แล้วทำงานที่เกินกว่าตำแหน่งในปัจจุบันก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ค่ะ...
  • ลองดูนะค่ะ...เพราะปัจจุบันไม่มีใครบอกเราให้ชัดเจนหรือกระจ่างได้ เท่ากับเราได้ศึกษาหาความรู้ด้วยของเราเองค่ะ
  • เมื่อศึกษาแล้ว สงสัยอะไร ค่อยถามมาใหม่นะค่ะ ขอบคุณค่ะ...

 

ขอเรียนถามครับ อยากเปลี่ยนตำแหน่ง จาก ช่างครุภัณฑ์ ชั้น 3 เป็น ช่างปูน จะทำได้หรือไม่ อย่างไรครับ ขอบคุณครับ

ตอบ...[IP: 125.26.245.215]

ให้คุณศึกษารายละเอียดตามบล็อกด้านล่างนี้ให้ละเอียดก่อนนะค่ะ...

http://gotoknow.org/blog/bussayamas46/toc

สอบถามว่า คุณเคยปฏิบัติงานช่างปูนหรือไม่ (เป็นไปตามคำสั่งที่คุณได้รับมอบหมายให้ปฏิบัตินะค่ะ)...ถ้าเคย ต้องไปดูคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งของช่างปูนที่คุณเคยจะเปลี่ยนตำแหน่งเป็นช่างปูน ระดับ 3 ด้วยว่า สามารถทำได้หรือไม่ค่ะ...ถ้าเข้าข่ายคุณสมบัติช่างปูนระดับ 3 ก็สามารถปรับเปลี่ยนได้ค่ะ แต่ขึ้นอยู่กับกระบวนการของส่วนราชการด้วยว่าอาจดำเนินการสอบ เช่น การฉาบปูน การก่ออิฐ ฯลฯ แล้วแต่ส่วนราชการกำหนดให้ปฏิบัติค่ะ...

อีกอย่าง ถ้าปรับเปลี่ยนเป็นช่างปูนแล้ว ก็ต้องดูด้วยว่าตำแหน่งช่างปูนนั้น ส่วนราชการมีภาระที่จะต้องให้ปฏิบัติได้มากเหมือนกับช่างครุภัณฑ์หรือไม่ด้วยค่ะ เพราะอาจเมื่อมีการปรับเปลี่ยนเป็นช่างปูนแล้ว ผู้ที่ถูกปรับเปลี่ยนอาจอ้างว่ามีหน้าที่เป็นช่างปูนอย่างเดียวแล้วงานประเภทอื่นไม่ต้องปฏิบัติ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหากับส่วนราชการได้ค่ะ...ให้คุณปรึกษาหัวหน้าส่วนราชการ + เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบดูนะค่ะ...

ขอรบกวนหน่อยนะคะ   เป็นลูกจ้างประจำ ตำแหน่ง เจ้าหน้าที่การเงินและบัญชี   ฐานเงินเดือน 12,200  บาท  จะทำเรื่องปรับเป็น ตำแหน่ง จพง.การเงินและบัญชี   ในกลุ่ม 1 หรือ กลุ่ม 2  คะ   รบกวนขอความตอบด้วยค่ะ

ตอบ...คุณ ning...

  • ให้ดูว่าปัจจุบันคุณอยู่ระดับใด ถ้าระดับ 1 หรือ ชั้น 1 ก็ปรับเป็นระดับ 1 ก่อนค่ะ แล้วค่อยปรับเข้าสู่ในระดับ 2 อีกครั้งหนึ่ง ถ้าคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งครบค่ะ...
  • ให้ดูระดับ กับกลุ่มค่าจ้างจะต่างกันนะค่ะ อย่าสับสน เพราะจะแตกต่างกันค่ะ...

ทำงานหน่วยงานเวชระเบียนตำแหน่งพนักงานช่วยเหลือคนไข้กระทรวงสาธารณสุขไม่เปิดตำแหน่ง พนักงานสถิติ และพนักงานบัตรรายงานโรค ทำให้ไม่สามารถลงตำแหน่งได้ แต่หน่วยงานทุกหน่วยงานเปิดตำแหน่งตรงหมด ยกเว้น หน่วยงานเวชระเบียน ทั้ง รพ.มีดิฉันคนเดียวที่ไม่สามารถลงตำแหน่งได้ แต่หนังสือ ว 61 ในคำชี้แจงเพิ่มเติม บอกว่า ถ้าหน่วยราชการใดต้องการตำแหน่งเพิ่มเติมเกินกว่าที่สำนักงานปลัดกระทรวงกำหนด ให้ขอทำความตกลงก่อน โดยประเมิน ค่าของงาน และผลงานย้อนหลัง 3 ปี เมื่อออกหนังสือมาแบบนี้แล้ว กระทรวงจะเพิ่มตำแหน่งให้ไหมคะ เพราะเครียดมากเลย ที่ลงตำแหน่งไม่ได้

อยากได้ความยุติธรรม หน่วยงานทุกหน่วยงานเปิดตำแหน่งตรงหมด และสามารถลงตำแหน่งได้หมด เพราะอะไรจึงยกเว้นหน่วยงานเวชระเบียนที่ไม่มี ตำแหน่ง พนักงานสถิติ และ ตำแหน่ง พนักงานบัตรรายงานโรค ทำให้เสียโอกาส แต่ ใน หนังสือ ว 61 ในคำชี้แจงเพิ่มเติม หัวข้อ 2 ให้ขอเพิ่มตำหน่งได้ อยากรบกวนช่วยเปิดโอกาส ให้ดิฉันด้วย เพราะเครียดมากเลยคะ

เรียน อาจารย์ ขอคำแนะนำการเขียนรายงานการปฏิบัติงาน เพื่อรับการประเมินจากตำแหน่งพนักงานพิมพ์เป็นพนังงานพัสดุ ด้วย เนื่องจากปัจจุบัน ดิฉันได้จัดพิมพ์เอกสารเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างของงานอาคารสถานที่ และงานประชาสัมพันธ์ด้วย ขอบคุณค่ะ

ตอบ...คุณแหม่ม...

  • ให้คุณเขียนเป็นลักษณะของคู่มือการปฏิบัติงานก็ได้ค่ะ ลองศึกษาในเว็บของกองของผู้เขียนที่นำมาขึ้นไว้ก็ได้ค่ะ แล้วประยุกต์เอาค่ะ...เพราะการรายงานผลการปฏิบัติงาน จะมีที่มาที่ไป เหตุผล วัตถุประสงค์ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ปัญหา + อุปสรรค ข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไข ปรับจากคู่มือการปฏิบัติงานมาเป็นการรายงานผลการปฏิบัติงานได้ค่ะ ศึกษาได้ตามข้างล่างนี้นะคะ...
  • http://itc.psru.ac.th/personal/man_manage.php

เรียน อาจารย์  ดิฉันตำแหน่ง ผู้ช่วยเหลือคนไข้ บรรจุลูกจ้างประจำมา 30 ปีค่ะ จอ๊บงาน จะเป็นตำแหน่งผู้ช่วยแพทย์และพบาลทั้งหมด เช่น การทำแผล เล็กๆ ไม่ใช่แค่เตรียมเครื่องมือนะคะ จัดยา วัดสัญญานชีพ ฯลฯ ดิฉันสามารถเปลี่ยนตำแหน่งเป็นผู้ช่วยแพทย์และพบาล ได้หรือไม่คะ คุณสมบัติ มีพร้อม ตามตำแหน่ง ดูตำแหน่งแล้วจะมีความก้าวหน้ากว่ากันค่ะ ดิฉันอายุ 47 ปีค่ะ ยังมีความฝันที่จะเป็นผู้ช่วยพยาบาลค่ะ แต่ผู้ช่วยพยาบล ต้องมีใบประกาศผู้ช่วยก่อน จึงจะดำรงค์ตำแหน่งนั้นได้ และจ๊อบงานปัจจุบันนี้ ก็เป็นจ๊อบงานของผู้ช่วยพยาบลค่ะ จะมีแนวทางไดบ้างมั๊ยคะ ที่จะเป็นไปได้ ขอท่านอาจารย์ช่วยชี้แนะด้วยค่ะ ขอเรียนถามทั้ง 2 ตำแหน่งเลยนะคะ คือตำแหน่งผู้ช่วยแพทย์และพบาล...และตำแหน่งผู้ช่วยพยาบาลค่ะ .......กราบขอบพระคุณอาจารย์นะคะ

ตอบ คุณนก

        การที่จะเป็นตำแหน่งใดนั้น ขึ้นอยู่ที่ job ที่รับผิดชอบ + คุณสมบัติของตำแหน่งที่ตัวเราจะสามารถไปได้ค่ะ ถ้าตำแหน่งที่เราจะไปยังมีคุณสมบัติไม่ได้ ก็ต้องรอให้ครบก่อน เจ้าหน้าที่เขาก็จะทำให้ค่ะ

สำหรับตำแหน่งผู้ช่วยแพทย์และพยาบาล ให้ดูที่คุณสมบัติค่ะ ว่าคุณสามารถเป็นได้หรือไม่ในปัจจุบันนี้ที่คุณได้ปฏิบัติอยู่

ให้นำคุณสมบัติของทั้ง 2 ตำแหน่งมาเปรียบเทียบกันนะคะ ว่า คุณมีภาระงานที่ปฏิบัติและคุณสมบัติเฉพาะตำแหน่งอยู่ที่ตำแหน่งใดค่ะ

พลายณรงค์ แก้วสภิตย์

ผมทำงานเป็นพนักงานขับรถยนต์ อยู่ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีข้อสงสัยอยู่ว่า ตามที่รัฐบาลได้ให้ 2 ขั้นแก่ลูกจ้างทั่วประเทศ ส่วนผู้ที่ในช่วงนั้น เงินเดือนตัน หรือเกือบตัน ก็จะได้เป็นตามที่เรียกกันว่า เงินดาวครับ โดยมีข้อแม้ว่าจะไม่สามารถนำเงินจำนวนนี้ไปคิคำนวนเป็นบำเน็จได้นั้น ปัจจุบันนี้ ทางที่ทำงานที่ผมทำงานอยู่ ได้ตัดเงินจำนวนนี้ไป ทำให้ผมมีความรู้สึกว่าถูกลดเงินไป 2 ขั้น ในทันที ... จึงเรียนมาขอคำปรึกษา หารายละเอียด ว่าเป็นอย่างไร ? ครับ 

เป็นลูกจ้างประจำ ปี2542 ตำแหน่งพนักงานตรวจทานข้อมูล ปัจจุบัน ตำแหน่ง พนักงานธุรการ ทำหน้าที่ รับเงินเป็นเวลากว่า 10 ปี วันๆ ต้องรับผิดชอบเงินเป็น ล้านๆ   เงินเดือน ไม่ถึง หมื่นห้า  จบปริญญาตรี มากว่า 10 ปี  เหนื่อยจัง เด็กเข้ามาใหม่ ไม่กีวัน เราต้องสอนงาน แต่เงินเดือนเขา หมื่นห้า กว่า  ช่วยหนูบ้างได้ไหมคะ หมดกำลังใจคะ

นายพลายณรงค์ แก้วสถิตย์

ถูกตัดตามข้อ 9 เขาจะดูแลให้ตามข้อ 10
http://www.mof.go.th/home/salary/nonpayroll_2547_1.pdf 

อ่านดูตามนี้ครับ ก็ได้แต่หวังว่าจะได้รับการดูแล...ครับ ..

ตอบ คุณพลายณรงค์ แก้วสถิตย์

        ถ้าตามที่คุณบอกนั้น ใช่ค่ะ แต่ปัจจุบันจะมีการขึ้นขั้น ๒ ขั้น ก็ตามปกติเพราะมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่งกันให้สูงขึ้นแล้ว ถ้าใครค่าจ้างเต็มขั้นก็จะไ้ด้รับ ๒ % ๔ % ตามหนังสือสั่งการค่ะ แต่ถ้าใครยังไม่เต็มขั้นก็ได้รับการเลื่อนขั้นตามปกตินะคะ เพราะในระยะเวลาที่ผ่านมา ภาครัฐมีการปรับ ยุบ หมวดงานกันอยู่ ไม่ทราบว่าปัจจุบันคุณได้รับค่าจ้างเท่าไร อยู่ระดับใด ไม่สามารถตอบได้ค่ะ ให้สอบถามที่งานการเจ้าหน้าที่ของเขตพื้นที่ดูนะคะ

ตอบ คุณ ณษมา

        ผู้เขียนไม่สามารถแสดงความคิดเห็นได้คะ เพราะทั้งหมดคือ นโยบายของภาครัฐที่ไ้ด้เป็นผู้ดำเนินการให้ส่วนราชการได้ปฏิบัติกันค่ะ ความจริงการที่ใครแต่ละคนจะได้รับเงินเดือนกันเท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับข้อปลีกย่อยในรายละเอียดของแต่ละคนด้วยค่ะ เพราะแต่ละคน แต่ละประเภท การได้รับเงินเดือน ค่าจ้างจะไม่เหมือนกันค่ะ ขึ้นอยู่กับระเบียบและแนวปฏิบัติค่ะ

ผมเป็นพนักงานบริการอยู่อยากจะเปลียนตำแหน่งใหม่เป็นพนักงานขับรถยนต์ต้องทำอย่างไรครับ

เด็ก กศน ครับขออาจราย์ช่วยตอบให้ผมกระจางแจ้งด้วยครับจะต้องทำผลงานหย้อนหลังกี่ปีครับ

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท