มูลนิธิสื่อเพื่อเยาวชน
ว่าที่ร้อยตรี จิรศักดิ์ กรรเจียกพงษ์

โปรแกรมบริหารเครือข่าย NetWhistler


FreeBSD

  ShareKnowledge

คลิ๊กที่ภาพ


ถึงท่านผู้บริหารระบบเครือข่ายทุกท่านนะครับ วันนี้ผมมีโปรแกรมบริหารเครือข่ายอย่างง่ายๆมาให้ลองติดตั้งกันดู เป็น open source นะครับ เจ้าโปรแกรมตัวที่ว่าชื่อว่า NetWhistler

เป็นโปรแกรมที่พัฒนาโดยใช้ภาษา Java และต้องการการแสดงผลแบบกราฟฟิกด้วยระบบ X Window ดังนั้นจึงควรเตรียมระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ให้พร้อม ตั้งแต่การมีระบบ X Window

เจ้าโปรแกรม NetWhistler ที่ว่าเนี๊ยะเป็นซอฟต์แวร์โอเพ่นซอร์สที่มีไลเซ่นส์แบบ GNU/GPL เวอร์ชั่นปัจจุบันคือ 2.9 คุณสมบัติสำคัญของโปรแกรมนี้คือ สามารถแสกนหาอุปกรณ์เครือข่ายและโฮสต์ในระบบเครือข่ายได้เอง แล้วนำมารายงานเป็นรูปแผนผัง แสดงสถานะของอุปกรณ์ (การ Up หรือ Down ของโฮสต์)

พร้อมกันนี้ยังมีเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบ บริหารจัดการต่างๆ ให้มาอย่างครบถ้วนเพียงพอต่อการปฏิบัติงานของผู้ดูแลระบบ เช่น การ ping การ traceroute การรีโมตด้วย SSH หรือ Telnet เป็นต้น การมอนิเตอร์เซอร์วิสหลักๆ ที่สามารถระบุเฉพาะงานที่สนใจได้เอง


ผมทดลองติดตั้งบน linux หลายๆตัวก็สามารถติดตั้งได้สะดวกและง่ายมากเลยครับ ล่าสุดบน Fedora Core 5 ครับ

แต่ก่อนการติดตั้งเราควรเตรียม requirement โปรแกรมอื่นๆด้วยนะครับ เพราะว่าเจ้าโปรแกรมตัวนี้มันต้องการโปรแกรมอื่นๆเข้ามาช่วยด้วยครับ

- โปรแกรมช่วยการ ping ในลักษณะบรอดคาสต์ ชื่อ fping สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์http://www.fping.comใช้เวอร์ชั่น 2.4b2_to-ipv6

- โปรแกรม Java Runtime Environment (JRE) ของ Sun สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์http://java.sun.com/j2se/1.5.0/download.jspปัจจุบัน เป็นเวอร์ชั่น 1.5.0-06 (ถ้าจำไม่ผิด) เนื่องจากมีไฟล์สำหรับ Linux ให้ดาวน์โหลด 2 ชนิดคือ แบบนามสกุลไฟล์ .bin และ .rpm แนะนำให้ดาวน์โหลดแบบ .bin

- และพระเอกของ TIPS นี้คือตัวโปรแกรม Mila NetWhistler เอง ปัจจุบันเป็นเวอร์ชั่น 2.9 (น่าจะใช่นะครับ ถ้าจำม่ายผิด) สามารถดาวน์โหลดได้จากเว็บไซต์http://freshmeat.netจะได้ไฟล์ netwhistler2.9_linux.bin

เมื่อได้ไฟล์ต่างๆ มาครบแล้วให้ติดตั้งเรียงตามลำดับ ตั้งแต่ fping ให้แตกไฟล์ออกแล้วคอมไพล์ดังนี้
# tar -xzf fping.tar.gz
# cd fping-2.4b2_to
# ./configure
# make
# make install
เมื่อคอมไพล์และติดตั้งโปรแกรม fping แล้ว ควรตรวจสอบการทำงานเบื้องต้นโดยทดลองรันโปรแกรมดังนี้ (เป็นการ ping ไปยังโฮสต์ 192.168.100.250 และ 192.168.100.252 พร้อมๆ กัน
# fping -A -m 192.168.100.{250,252}
ส่วนการติดตั้งโปรแกรมส่วนประกอบสภาพแวดล้อมของ Java หรือ JRE จะค่อนข้างง่าย เนื่องจากเป็นไฟล์ประเภท Self Extract เพียงแค่รันคำสั่งดังนี้
# chmod +x jre-1_5_0_06-linux-i586-rpm.bin
# ./ jre-1_5_0_06-linux-i586-rpm.binกด space
จนพบคำถาม ให้ตอบ yes แล้วรอจนกระทั่งจบการทำงาน

ลำดับสุดท้ายคือติดตั้งโปรแกรม NetWhistler โดยทำการ chmod และรันไฟล์โปรแกรม

# ./netwhistler2.9_linux.bin

มันก็จะกด press any key
แล้วก็จะให้ใส่ destination path ของ netwhistler ปกติ default ของมันจะอยู่ที่ /usr/local/netwhistler

หลังจากนั้นมันจะให้ใส่ JRE location ปกติ default มันจะอยู่ที่ /opt/jre แต่เราต้องทำการเปลี่ยนเป็น

/etc/alternative/jre ซะ

สุดท้ายก็ตอบ y ไปซะเท่านั้นเองครับ

การใช้งานเบื้องต้น
--------------------
หลังจากติดตั้งโปรแกรมสำเร็จแล้ว จะปรากฏไอค่อนของโปรแกรม NetWhistler ขึ้นที่บนเดสทอปให้คลิ๊กเพื่อรันโปรแกรมได้ทันที โดยการใช้งานทั่วไปจะแบ่งออกได้ 3 ขั้นตอน คือ

- การรวบรวมส่วนประกอบของเครือข่าย เป็นการให้โปรแกรมกวาดหาอุปกรณ์และโฮสต์ทั้งหมดในเครือข่าย
- การกำหนดคุณสมบัติของแต่ละอุปกรณ์และโฮสต์ และสร้างแบบจำลองขึ้นเป็นแผนผัง รวมทั้งระบุงานบริการ (Services) ที่ต้องการมอนิเตอร์
- การใช้งานในด้านการมอนิเตอร์อุปกรณ์ โฮสต์ และเซอร์วิสในแต่ละโฮส ตรวจสอบด้วยเครื่องมือต่างๆ และวิเคราะห์ผลจากรายงานของโปรแกรม

ก่อนที่จะทำการเก็บรวบรวมอุปกรณ์และโฮสต์ได้นั้นจะต้องเริ่มจากการเพิ่ม เครือข่ายเสียก่อน (คลิ๊กขวาบนแผนที่แล้วใช้เมนู Add -> Network) จากนั้นคลิ๊กขวาบนรูปเครือข่ายเพื่อกำหนดหมายเลข Network Address เช่น 192.168.100.0/24 แล้วจึงเริ่มใช้คำสั่ง Scan เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลอุปกรณ์และโฮสต์ในเครือข่ายนั้น ดังนั้นจึงควรกระทำในขณะที่ระบบเครือข่ายกำลังทำงานอยู่


เมื่อโปรแกรมค้นพบอุปกรณ์และโฮสต์ต่างๆ แล้ว เราสามารถเปลี่ยนรูปสัญลักษณ์หรือไอค่อนของแต่ละโหนดได้ เช่น ให้แสดงเป็นรูปฮับ สวิทช์ เร้าเตอร์ สำหรับโฮสต์ก็จะมีไอค่อนแยกออกเป็น Unix ,Novell ,Windows , Linux RedHat ,Linux SuSE และรูปอื่นๆ ให้เลือกได้ตามความเหมาะสม

หลังจากเลือกรูปไอค่อนแล้ว ยังสามารถระบุลงไปได้อีกว่าเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุน SNMP (Simple Network Management Protocol) หรือไม่ ถ้าเป็นอุปกรณ์ที่สนับสนุน เช่น สวิทช์เลเยอร์ 2 หรือ 3 ทันทีที่ระบุค่าพารามิเตอร์ของ SNMP ได้แก่ ชื่อ Community Name แล้ว มันจะนำข้อมูลที่อ่านได้มาช่วยลากเส้นเชื่อมโยงแต่ละโฮสต์ให้ทันที จากเดิมที่เป็นเพียงรูปไอค่อนที่แยกกันลอยๆ นับว่าสะดวกรวดเร็วเป็นอย่างยิ่ง ไม่เพียงเท่านั้นการสนับสนุน SNMP ของอุปกรณ์ในเครือข่ายยิ่งมีมากเท่าไรก็ยิ่งทำให้ระบบการมอนิเตอร์มีความ สมบูรณ์มากขึ้นเท่านั้น

แต่สำหรับผู้ที่มีอุปกรณ์ที่ไม่สนับสนุน SNMP ก็ไม่เป็นไร เพราะเรายังสามารถใช้เมนู Connect เพื่อลากเส้นเชื่อมโยงจากโหนดหนึ่งไปยังโหนดอื่นๆ ได้ เรียกว่า วาดภาพไดอะแกรมของระบบเครือข่ายของเราได้เอง ซึ่งไม่ยากเลยเพียงแค่เลือกรูปไอค่อน จับวางแล้วลากเส้นเท่านั้น ต่างกันเพียงแต่ต้องออกแรงมากซักหน่อยและอาจจะมีบางจุดที่เราวาดผิดไปจาก ความเป็นจริงได้เท่านั้น ส่วนการรายงานสถานะของแต่ละโหนดนั้นหากไม่มี SNMP ตัวโปรแกรม NetWhistler จะรับหน้าที่ตรวจเช็คให้เอง

สำหรับภาพไดอะแกรมและคุณสมบัติต่างๆ ที่เราได้สร้างขึ้นนี้ จะสามารถบันทึกเก็บไว้ได้ในรูปแบบ XML ซึ่งเป็นรูปแบบมาตรฐานเปิด ทำให้แน่ใจได้ว่าจะไม่ต้องมานั่งวาดกันใหม่หากนำไปใช้กับโปรแกรมอื่นหรือ เมื่อเปลี่ยนเวอร์ชั่นไป

แต่ที่เจ๋งที่สุดของโปรแกรมตัวนี้ก็เห็นจะไม่พ้น การรายงานผลบนเวป

NetWhistler จะมีรายงานอีกลักษณะหนึ่งเพื่อให้ผู้จัดการระบบสามารถเรียกดูสถานะของเครือ ข่ายได้จากที่ๆ ห่างไกลออกไปโดยรายงานผ่านโปรโตคอล HTTP พอร์ตหมายเลข 8080 (สามารถเปลี่ยนได้ตามต้องการโดยระบุในไฟล์คอนฟิกของโปรแกรม) จึงใช้งานได้เพียงเปิดเว็บบราวเซอร์ที่เครื่องใดก็ได้ในเครือข่ายแล้วเปิด ที่ http://<โฮสต์ที่รัน NetWhistler>:8080/

แต่รายงานจะปรากฏเพียง 3 ประเภทเท่านั้น คือ แบบตารางข้อมูลแสดงสถานะของโฮสต์ทั้งหมด การรายงานสถานะจากอุปกรณ์ SNMP และการรายงานสถานะของงานบริการ (Services) ของโฮสต์ที่สั่งให้มอนิเตอร์เท่านั้น

คลิ๊กที่ภาพ
การตรวจสอบผ่าน web

ที่มา : http://www.thaibsd.com/webboard/show.php?Category=thaibsd&No=6591


หมายเลขบันทึก: 39010เขียนเมื่อ 15 กรกฎาคม 2006 17:19 น. ()แก้ไขเมื่อ 4 พฤษภาคม 2012 17:13 น. ()สัญญาอนุญาต: จำนวนที่อ่าน


ความเห็น

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท