SHA SEASON 2... เจียงใหม่เจ้า


SHA ทำให้งานที่ทำอยู่ชัดเจนขึ้น และ SHA ให้โอกาสคนทำงานในมิติจิตใจ ที่ยากแก่การมีพื้นที่เป็นของตัวเอง ด้วยลักษณะของงานที่มีกระบวนการซับซ้อนและละเอียดอ่อน

การประชุมวิชาการSHA ครั้งที่๒ ที่ภาคเหนือคราวนี้ จัดที่จังหวัดเชียงใหม่อีกเช่นเคย  แต่ แม่ต้อยรู้สึก ว่าบรรยากาศจะแตกต่างไปจากการจัดประชุมในปีก่อนๆค่อนข้างมาก เพราะว่าในปีนี้โปรแกรมการเรียนรู้ได้ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจน จากการที่เราได้ถอดบทเรียนจากประสบการณ์ของการดำเนินโครงการ SHA ในปีที่ผ่านมานั่นเอง และที่พิเศษคือ ทั้ง SHA1 และ SHA2 มีโอกาสมาแลกเปลี่ยนแนวคิดกันอย่างใกล้ชิด

 

อันเป็นบรรยากาศของการสร้างเครือข่ายการเรียนรู้แบบ เพื่อนสู่เพื่อนอย่างเป็นธรรมชาติ

      นอกจากนั้น การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในครั้งนี้ เรายังได้เชิญรพ. SHA รุ่นที่๑ ส่งตัวแทนในการมาเล่าความรู้สึกและ ขึ้นเวทีเพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้วย

บรรยากาศ การเรียนรู้จึงเป็นไปอย่างธรรมชาติ เรียนรู้จากของจริง และจากใจสัมผัสใจ มีการมอบกำลังใจให้กันด้วยพวงมาลัยดอกมะลิที่หอมกรุ่น.. เสียด้วย

      วิทยากรมากหน้าหลายตามาร่วมงานนี้ด้วย  นับตั้งแต่อาจารย์ อนุวัฒน์ Big Boss ของสรพ. ก็ได้สละเวลาที่มีจำกัดมาให้แนวคิดการทำงานและให้กำลังใจ ทั้งๆที่งานในมือก็ล้นแทบจะจัดเวลาไม่ลงตัว   ทำให้ทีมงานมีกำลังใจอีกโข  ( โดยเฉพาะแม่ต้อย ฮ่าๆๆๆ )

      ผู้เยี่ยมสำรวจที่มีส่วนผลักดันไม่ว่าจะเป็นอาจารย์ นันทา อาจารย์ สุรชัย อาจารย์ เรวดี อาจารย์ โกเมธ มาอย่างพร้อมหน้าพร้อมตา

ส่วนทีมประจำโครงการนี้แต่ที่ทำงานคู่เคียงกับแม่ต้อยมาตลอดคือ น้องพอลล่า น้องออย ก็เป็นเรี่ยวแรงที่สำคัญเช่นเดิม แต่มีพิเศษเพิ่มเติมคือหนุ่มหน้าตาดี ที่ปีนี้มาร่วมทีมในฐานะที่ปรึกษาด้านสถาปนิกของ Healing Environment  คืออาจารย์ โกศล จึงเสถียรทรัพย์ ทีมาช่วยเป็นพิธีกรและเบื้องหลังการทำงานทุกอย่าง

เห็นรายชื่อแล้วก็คงต้องเชื่อตามแม่ต้อยแล้วนะคะว่า คราวนี้ การประชุม อบอุ่นมากแค่ไหน

แม่ต้อยใช้เวลาในครึ่งวันแรก เล่าให้น้องๆฟังถึง แนวคิดของ SHA น้องๆนั่งฟังอย่างตั้งใจ แววตานิ่งสงบ

“ ในโครงการ SHA นี้ หากเราเข้าใจในเรื่องมิติจิตใจ และลึกซึ้งกับคำว่าจิตวิญญาณ เราจะมีความลึกซึ้ง กับผู้ป่วย กับเพื่อน กับคนรอบข้าง วิธีคิด และการกระทำของเราจะเปลี่ยนไป”

มิติจิตวิญาณ อาจจะมีคนแปลความหมายไปหลากหลายประการ แต่ในที่นี้แม่ต้อยยกตัวอย่างว่า มันคือ เป้าหมายของชีวิต การต้องการความรัก การให้อภัย  หรือความรู้สึกว่าตนเองมีคุณค่าไม่ว่าจะอยู่ในสถานการณ์ใด  หรือ ความต้องการในสิ่งที่ดีดีในชีวิต และ จะเป็นขุมพลังให้เราสามารถขับเคลื่อนชีวิตไปได้

“ เรื่องจิตวิญญาณ สำคัญมากๆสำหรับผู้ป่วยเพราะว่า ความต้องการด้านนี้จะมีมากขึ้น เมื่อคนอยู่ในระยะสิ้นหวัง สูญเสีย ท้อแท้ นั่นก็คือทุกคนที่เข้ามารับบริการจากเรา ก็น่าจะมีความต้องการมากเป็นพิเศษ”

แต่เราต้องสร้างจิตวิญญาณที่ดีในตัวเราเองก่อนด้วย จึงจะสามารถส่งผ่านความรัก ความเมตตา ความโอบอ้อมอารี ต่อผู้อื่นได้

โครงการ SHA จึงสนับสนุนให้เราเริ่มต้นง่ายๆ จากการรักตนเอง รู้จักให้อภัย มีความเมตตา เป็นเบื้องต้น และมองคนอื่นไม่ใช่แค่เพียงสิ่งที่เห็นเท่านั้น แต่มองให้ลึกให้ไกล

น้องๆจากโรงพยาบาลSHA รุ่นที่๑ ได้มาเล่าประสบการณ์ ตัวอย่างของจริงๆในการทำงานด้วยมิติจิตใจ เช่นน้องปานเนตร  น้องสุกานดาจาก รพ. พิจิตร ที่สำคัญคือ งานเหล่านี้ สามารถเชื่อมกับมาตรฐานได้อย่างง่ายดาย

“ยา.. SHA “ เป็นอีกหัวข้อหนึ่ง ที่แม่ต้อย อยากให้น้องๆได้รับทราบบทบาทที่สำคัญของเภสัชกรในรพ. น้องปนัดดาจากรพ.เชียงคำ ทำให้ทุกคนถึงกับอึ้งในตัวอย่างของ ระบบที่ไม่ยืดหยุ่น และความไม่เข้าใจในชีวิตของผู้ป่วย สามารถทำร้ายและมีผลเสียต่อคนไข้ได้

 

แม่ต้อยบอกกับน้องๆว่า การทำโครงการ SHA เราไม่มีทฤษฏีที่แข็งตายตัว ดังนั้นเราจะเรียนรู้จากการถอดบทเรียน ทั้งที่ดี และที่ผิดพลาดเพื่อการพัฒนาต่อไปข้างหน้า

อาจารย์ จตุพร วิสิษฏ์โชติอังกูร หรือน้องเอก นักวิชาการ ที่เชี่ยวชาญ ด้านสังคม และการถอดบทเรียน ได้มานั่งเสวนา ร่วมกับแม่ต้อยและอาจารย์ นันทา อ่วมกุล ในคราวนี้ด้วย มีตอนหนึ่งที่น้องเอกได้สรุปอย่างน่าสนใจว่า

 

  

“SHA ทำให้งานที่ทำอยู่ชัดเจนขึ้น และ SHA ให้โอกาสคนทำงานในมิติจิตใจ ที่ยากแก่การมีพื้นที่เป็นของตัวเอง ด้วยลักษณะของงานที่มีกระบวนการซับซ้อนและละเอียดอ่อน ผลลัพธ์ของงานที่ได้ก็เป็นเชิงนามธรรม ที่ใช้ตัวชี้วัดใดๆ มาตัดสินและกำหนดมาตรฐานไม่ได้เลย”

จากการถอดบทเรียนพบว่าปัจจัยที่เอื้อให้เกิดความสำเร็จคือผู้นำ การสร้างทีม การทำงานที่ไร้รอยต่อ คือสามารถเชื่อมกับทุกภาคส่วนได้  การสร้างสังคมวัฒนธรรม การเรียนรู้  และการสร้างเครือข่าย  รวมทั้งโครงสร้างที่ยืดหยุ่นในองค์กร

และโรงพยาบาลแต่ละแห่งก็จะมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไปทั้งนี้ขึ้นกับค่านิยม บริบท และวัฒนธรรมของแต่ละองค์กร

แม่ต้อยจึงรู้สึกว่าเป็นสองวันที่มีคุณค่า และน่าประทับใจ ในการเรียนรู้ที่มีพลัง

น้องๆยังมีเรื่องเล่าที่หลากหลาย และเป็นข้อมูลที่ชัดเจนว่า มิติจิตใจนั้นกระจ่างชัดในใจของทุกโรงพยาบาลแล้ว

“ เพียงแต่รอ เวทีและพื้นที่ ที่จะให้น้องๆ นำเรื่องราวเหล่านี้มาแลกเปลี่ยน เติมเต็ม และหล่อเลี้ยงกัน เท่านั้นเอง”

ไหนๆมาเจียงใหม่ทั้งที ตอนเย็นๆ แม่ต้อยจึงเป็นหัวหน้าทีม นำน้องๆขึ้นรถแดงสี่ล้อ ( อันนี้เป็นภาษาของคนเจียงใหม่เจ้า) ไปกินอาหารเมืองเหนือ อาทิเช่น น้ำพริกหนุ่ม แกงแค จิ้นส้ม ลาบคั่ว แกงฮังเล ลาบปลาเพี้ย แอ็บปลา

 

มาเจียงใหม่คราวนี้ อิ่มอก อิ่มใจ๋ และ  อิ่มท้อง แต้ๆเจ้า

เรื่องราวก็จบแบบ Happy Ending ..ด้วยประการฉะนี้

สวัสดีเจ้า

 

 

คำสำคัญ (Tags): #sha
หมายเลขบันทึก: 388840เขียนเมื่อ 28 สิงหาคม 2010 19:26 น. ()แก้ไขเมื่อ 6 กันยายน 2013 23:26 น. ()สัญญาอนุญาต: สงวนสิทธิ์ทุกประการจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (14)

เรียนแม่ต้อยที่นับถือ

      แวะมาชมกิจกรรมดีๆค่ะ บรรยากาศชื่นมื่นแบบนี้ก็ไม่น่าเบื่อนะคะ ดูเหมือนน้อง paula ก็ไปด้วยใช่มั๊ยคะ

ทีมงานหน้าตาดีทุกคนนะครับ ... Confirm ;)

โอกาสหน้าจะไปชมหน้าตาที่งานนะครับ อิ อิ

P
คุณยาย
เมื่อ 28 สิงหาคม 2553 22:05
สวัสดีคะ
ไปด้วยคะ ไปทั้งทีมเลยคะ เห็นในรูปด้วยนะคะ
Ico32
Wasawat Deemarn
เมื่อ 28 สิงหาคม 2553 22:47
สวัสดีคะ
จะไปบอกน้องๆว่ามีคนชมนะคะ
ขอบคุณมากคะ

เเม่ต้อยครับ ผมขอช่วยสรุปอีก ๑ บันทึกครับผมที่>> http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/388863

<h1 class="page-title" style="margin-top: 0px; margin-right: 0px; margin-bottom: 5px; margin-left: 0px; border-top-; border-right-; border-bottom-; border-left-; border-style: initial; border-color: initial; outline-; outline-style: initial; outline-color: initial; font-size: 1.5em; vertical-align: baseline; background-image: initial; background-attachment: initial; background-origin: initial; background-clip: initial; background-color: transparent; border-bottom-style: solid; border-bottom-color: #afbfdf; color: #333333; ; background-position: initial initial; background-repeat: initial initial; padding: 0px;"><a href="http://gotoknow.org/blog/mhsresearch/388863">มุมมองการถอดบทเรียน SHA : ประเด็นเเลกเปลี่ยนที่เวทีเชียงให</a>ม่</h1>

Ico32
จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เมื่อ 29 สิงหาคม 2553 10:32
น้องเอกครับ
ขอบคุณมากคะ ที่ปายอากาศดีไหมคะ?
ฝากความคิดถึงคนปายทุกคนนะคะ
Ico32
จตุพร วิศิษฏ์โชติอังกูร
เมื่อ 29 สิงหาคม 2553 10:32
น้องเอกครับ
ขอบคุณมากคะ ที่ปายอากาศดีไหมคะ?
ฝากความคิดถึงคนปายทุกคนนะคะ
 
  • สวัสดีค่ะ อ. แม่ต้อย
  • กลับมา เสาร์ อาทิตย์ ก็มาเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้วัฒนธรรมสื่อพื้นบ้าน 5 จังหวัดเหนือล่าง แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิจิตร สุโขทัย และแขกจากเชียงใหม่และเพชรบูรณ์ ได้เรียนรู้มิติทางจิตวิญญาณแต่ละพื้นที่ผ่านสื่อพื้นบ้านแต่ละแห่งด้วยค่ะ ประทับใจมากแม้ว่าจะเป็นวันหยุดราชการค่ะ

                        

มาอิ่มเอมกับบรรยากาศชง SHA ของเเม่ต้อยเเละทีมอีกครั้ง เวลานี่ช่างไวจริงๆนะคะ เเป๊บเดียว SHA ที่อุดรคาดว่าจะไม่ได้ไปเเจมด้วยนะคะ คิดว่าจะป็นท่านอื่นค่ะเเม่ต้อย เเต่กุ้งเจออาจารย์หมออภิชาติเเล้วค่ะ เเละได้เล่าเรื่องความสุขจากการไปเรียนเรื่องเล่าให้อาจารย์ฟังเเล้ว กุ้งกำลังวางแผนเเละหาวันไปเล่า...เเละถ่ายทอดวิธีการเขียนเรื่องเล่าให้ชาวศรีนครินทร์ฟังอยู่นะคะ อาจารย์ให้กุ้งหาวันดำเนินการเเล้ว เเละคงคุยกับผู้ที่เข้าอบรมเครื่องมือชง SHA ทุกคนค่ะ

คงกลับมาจากหาดใหญ่ก่อนค่ะ เนี่ยค่ะที่ไม่ได้ไปอุดรฯ อีกเหตุผลหนึ่งคือ กุ้งจะได้เข้าร่วมเป็นวิทยากรงานประชุมเครือข่าย palliative care โรงเรียนเเพทย์ กับ อาจารย์หมอเต็มเเละทีมค่ะ วันที่8 เดินทางอยู่ถึง 11 กันยาค่ะเเม่ต้อย จะรออ่านบันทึก SHA อิสานนะคะ คงเเซบหลายเด้อ

มาชม SHA Season 2 เชียงใหม่เจ้า

ด้วยความคิดถึงค่ะ แม่ต้อย

เพิ่มเข้าใจอย่างลึกซึ้งกับ => สิ่งเล็กๆที่เรียกว่า "SHA" ขอบคุณมากค่ะ อ.แม่ต้อย ที่ชักจูงให้มารู้จักเส้นทางนี้

แวะมาชมบรรยากาศที่เชียงใหม่

ก่อนเข้าร่วมชง SHA ที่อุดรค่ะ"แม่ต้อย"

 

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท