วิธีเลือกเนื้อ(โปรตีน)เพื่อป้องกันโรคหัวใจ


สำนักข่าว 'HealthDay' ออนไลน์ ตีพิมพ์ผลการศึกษาใหม่ที่พบว่า การเลือกเนื้อ (โปรตีน) น่าจะมีผลต่อความเสี่ยงโรคหัวใจ, ผู้เขียนขอนำมาเล่าสู่กันฟังครับ [ HealthDay ]

----//----

คณะนักวิ จััยจากมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด สหรัฐฯ พบว่า ผู้หญิงที่กินเนื้อแดง (red mea) หรือเนื้อสัตว์ใหญ่ เช่น วัว แพะ แกะ หมู ฯลฯ เป็นประจำ อาจเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า การกินเนื้อแดง, เนื้อที่ผ่านกระบวนการผลิต (เช่น หมูหยอง หมูแผ่น ไส้กรอก ฯลฯ), ผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็มส่วน (ไม่ใช่ชนิดไขมันต่ำ หรือไร้ไขมัน), มีความสัมพันธ์กับความเสี่ยงโรคหัวใจ

...

อ.ดร.อดัม เอ็ม. เบิร์นสไตน์ และคณะ [ ตีพิมพ์ในวารสาร 'Circulation (Aug.16, 2010 online)' ] ทำการศึกษาข้อมูลจากการศึกษาสุขภาพพยาบาล (Nurses' Health Study)

กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้หญิง 84,136 คน อายุ 30-55 ปี ติดตามไป 26 ปี

...

ผลการศึกษา พบว่า กลุ่มตัวอย่างที่กินเนื้อแดงมากที่สุด-เสี่ยงโรคหัวใจมากที่สุด, ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่กินสัตว์ปีก ปลา นัท (nut - เมล็ดพืชเปลือกแข็งกระเทาะเปลือก เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ) เสี่ยงโรคหัวใจน้อยลง

การศึกษานี้พบว่า คนที่กินเนื้อแดง 2 เสิร์ฟ/วัน = 14 เสิร์ฟ/สัปดาห์ เพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ 30% เมื่อเทียบกับคนที่กิน 3-4 เสิร์ฟ/สัปดาห์ [ drmirkin ]

...

ข่าวดี คือ ถ้าลดเนื้อแดงลงจาก 1 เสิร์ฟ/วัน เป็น 1 เสิร์ฟ/วันเว้นวัน จะทำให้ความเสี่ยงนี้ลดลงอย่างชัดเจน

เนื้อแดง 1 ส่วนบริโภค (serving / Sv) หรือ 1 เสิร์ฟ = 80 กรัม = ขนาดประมาณฝ่ามือผู้ใหญ่ผู้หญิง ไม่รวมนิ้วมือ ความหนาประมาณเท่าข้อนิ้วก้อยข้อปลาย

...

วิธีเทียบขนาดอีกวิธีหนึ่ง คือ ให้เทียบกับขนาดไพ่ หรือใช้ถ้วยตวงข้าวสารตวงน้ำมาประมาณเท่าขีด 80 มิลลิลิตร (ซีซี)

ถ้าใช้วิธีแลกเปลี่ยนอาหาร (swap - สวอพ) เนื้อแดง 1 ส่วนเป็นอาหารโปรตีนชนิดอื่น จะพบว่า ความเสี่ยงโรคหัวใจลดลงดังต่อไปนี้

...

(1). เมล็ดพืชเปลือกแข็งกระเทาะเปลือก หรือนัท (nut เช่น อัลมอนด์ ฯลฯ) > ลดเสี่ยง 30%

(2). ปลา > ลดเสี่ยง 24%

(3). สัตว์ปีก เช่น เป็ด ไก่ ฯลฯ > ลดเสี่ยง 19%

(4). นม-ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ > ลดเสี่ยง 13%

...

การศึกษาก่อนหน้านี้พบว่า เนื้อที่น่าจะเพิ่มเสี่ยงโรคหัวใจ และโรคภัยไข้เจ็บมากหน่อย ได้แก่ เนื้อที่ผ่านกระบวนการผลิต หรือเนื้อสำเร็จรูป

ตัวอย่างเช่น หมูหยอง หมูแผ่น หมูยอ ไส้กรอก เบคอน ฯลฯ

...

ทางเลือกที่เรียนเสนอให้พิจารณาได้แก่

(1). ไม่กินเนื้อสำเร็จรูปเิกิน 1 ครั้ง/สัปดาห์

(2). ลด เนื้อแดง (เนื้อสัตว์ใหญ่) อย่างน้อยครึ่งหนึ่ง > เปลี่ยนเป็นสัตว์เล็กลง เช่น สัตว์ปีก (ไก่ เป็ด ฯลฯ - ควรลอกหนังออก เนื่องจากส่วนหนังมีไขมันสูงกว่าส่วนเนื้อ), ปลา, โปรตีนจากพืช เช่น นัท เมล็ดพืช ถั่ว เต้าหู้ โปรตีนเกษตร ฯลฯ

...

ถึุงตรงนี้... ขอให้ท่านผู้อ่านมีสุขภาพดีไปนานๆ ครับ

...

 > [ Twitter ]

ที่ มา                                                         

  • นพ.วัลลภ พรเรืองวงศ์ รพ.ห้างฉัตร ลำปาง. 23 สิงหาคม 2553.
  • ข้อมูล ทั้งหมดเป็นไปเพื่อ การส่งเสริมสุขภาพ ไม่ใช่วินิจฉัยหรือรักษาโรค ท่านที่มีโรคประจำตัวหรือความเสี่ยงต่อโรคสูงจำเป็นต้องปรึกษาหมอที่ดูแล ท่านก่อนนำข้อมูลไปใช้.
หมายเลขบันทึก: 387557เขียนเมื่อ 23 สิงหาคม 2010 21:45 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 16:00 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท