กำเนิดของลัทธิทุนนิยม


ทางตันของทุนนิยม

กำเนิดของลัทธิทุนนิยม

 

   ในยุคที่คริสตจักรครองอำนาจ  ชนชั้นพ่อค้าและนักธุรกิจไม่พอใจในบทบาทของศาสนจักรโรมันคาทอลิค  ซึ่งถึงแม้จะสนับสนุนกลุ่มธุรกิจแต่ก็มีการตีความเข้าข้างศาสนจักรและพวกพ้อง  ขณะเดียวกันพ่อค้าและนักธุรกิจก็ไม่พอใจกษัตริย์ที่มีแนวโน้มจะรวมรวมอำนาจและธุรกิจอย่างเคร่งครัด  ดังนั้นโปรแตสแตนส์จึงเป็นการเปิดทางเลือกใหม่ให้กับพวกพ่อค้า

        คาลวินนักบวชโปรแตสแตนส์ได้เสนอหลักการใหม่เพื่องสนองชนชั้นกลาง  คาลวินไม่เน้นบทบาทของพระ  มนุษย์ทุกตนมีความเท่าเทียมกัน  แต่ทุกคนจะต้องใช้ชีวิตอย่างเคร่งครัดตามมาตรฐานของนักบวช  ในขณะเดียวกันก็ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีสิทธิได้รับการคัดเลือกโดยพระเจ้า  แต่อย่างน้อยการประสบความสำเร็จในทางธุรกิจ  และประสบความสำเร็จทางหน้าที่การงานอื่น ๆ ในทางโลก  เป็นเครื่องแสดงถึงการยอมรับระดับหนึ่งของพระเจ้า  ทั้งนี้เพราะความสำเร็จดังกล่าว  ส่วนหนึ่งต้องเกิดจากความสามารถในการตัดสินใจ  ความซื่อตรง และการอุทิศตน  ซึ่งเป็นคุณสมบัติสำคัญของผู้ที่จะได้รับการคัดเลือกจากพระเจ้าให้ไปสู่ความรอด  การเป็นคนจนนั้น เป็นเครื่องชี้เจตนาของพระเจ้าว่าเป็นผู้มืบาป  ดังนั้นคนจนจึงควรไดรับเคราะห์กรรมจากความชั่วร้ายของตัวเอง  และเป็นการสมควรที่จะได้รับโทษทัณฑ์เช่นนั้น

 

ความเจริญของลัทธิทุนนิยม

 

               กฎทางสังคมและเศรษฐศาสตร์ของอดัม สมิธ  ก้าวไปไกลกว่าทฤษฎีของคาลวินมาก  เนื่องจากคาลวินเน้นเฉพาะความสำเร็จส่วนบุคคลในฐานะเป็นผู้ถูกเลือกโดยพระเจ้า  แต่สมิธได้อธิบายในเชิงความสำเร็จหรือผลพลอยได้ต่อสังคม  ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามนุษย์มีพฤติกรรมที่เกี่ยวเนื่องกันในสังคม  จุดนี้ทำให้ความเชื่อเรื่องศักดิ์สิทธิ์ปาฏิหาริย์ได้ถูกปรับเปลี่ยนเป็นความลงตัวตามธรรมชาติ (Harmony of Nature)  ซึ่งอธิบายโดยสมิธว่า เป็นการกระทำของมือที่มองไม่เห็น  (Invisible Hand) ผ่านกลไกตลาดนั่นเอง

              และด้วยองค์ประกอบที่สำคัญสองประการ คือ ความรักในมนุษยชาติและ ความเป็นอัจฉริยะของปัญญาชนชั้นนำที่เน้นความถูกต้องและความคิดสร้างสรรค์เป็นหลักประกันให้เกิดผลิตภาพ การจัดการ  ประสิทธิภาพ  นวัตกรรมและการค้นพบทางเทคโนโลยี  โดยเฉพาะอย่างยิ่ง  ความคิดในเรื่องประสิทธิภาพที่จะต้องจัดการโดยมืออาชีพ  เศรษฐศาสตร์จึงเป็นศาสตร์ว่าด้วยความพยายามที่จะทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดจากการใช้ธรรมชาติของสังคมที่มีจำกัด 

 

ความเสื่อมของลัทธิทุนนิยม

              จากการเน้นประสิทธิภาพจึงทำให้เกิดการแข่งขัน  การเอารัดเอาเปรียบจากผู้ที่มีโอกาสต่อผู้ด้อยโอกาส  จึงก่อให้เกิดการกดขี่ขมเหง การขูดรีดชนชั้นล่าง  และการเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติ  เพราะฉะนั้นความขัดแย้งภายในตัวเองของลัทธิทุนนิยมจึงทวีความรุนแรงมากขึ้น  ปัญหาทางสังคมและการเมืองได้ปะทุขึ้นมาตามการล่มสลายของลัทธิทุนนิยม

               ความเสื่อมของทุนนิยมเกิดจากแนวความติดสุดโต่งของสเปนเซอร์  ซึ่งเขาคัดค้านในการปฏิรูปสังคมทุกชนิด  ไม่ว่าเรื่องการศึกษาหรือสาธารณสุข  เพราะเป็นการทำให้การทำงานตามระบบของการอยู่รอดของผู้ที่แข็งแรงที่สุดต้องหยุดชงัก  เขาเห็นว่ามนุษย์จะต้องอยู่ได้โดยปราศจากการช่วยเหลือของสังคมหรือรัฐ  เพราะวิวัฒนาการทางสังคมกำหนดว่าผู้อ่อนแอไม่ควรมีชีวิตอยู่  ทั้งนี้เพราะผู้อ่อนแอ และไม่กล้าหาญเพียงพอย่อมเป็นภัยต่อความก้าวหน้าของมนุษยชาติ

หมายเลขบันทึก: 386841เขียนเมื่อ 21 สิงหาคม 2010 11:57 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 มิถุนายน 2020 20:23 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (0)

ไม่มีความเห็น

พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท