โจทย์ที่ท้าทายคือการทำให้คนดื่มด่ำไปกับกิจกรรมที่อยู่ตรงหน้า


. . . Live into it ! Be it NOW ! . . .
          หลายๆ ครั้งที่ไปเป็นวิทยากรใน Workshop KM พบว่าผู้เข้าร่วมจำนวนหนึ่ง (อาจจะเกือบครึ่ง) นั้นไม่พร้อมที่จะเรียนรู้ ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น 2 พวกหลักๆ ก็คือ
 
  1. พวกที่มา พร้อมกับความรู้สึกหงุดหงิดใจที่ทำไมตนเองต้องถูกเลือกให้มา ฟังจากน้ำเสียงที่เขาต่อว่าคนที่เชิญ (หรือสั่งให้) เขามา เห็นได้ชัดว่าเขาไม่ต้องการจะมาจริงๆ บ้างก็บอกว่างานยุ่งอยู่ แล้วทำไมต้องให้เขามาเข้า Workshop นี้ ซึ่งต้องใช้เวลาตั้งสามวัน
  2. พวกที่มาพร้อมกับความรู้สึกเป็นกังวลว่า ถ้ามาเข้า Workshop นี้แล้ว ก็ต้องกลับไปทำ รู้สึกว่าเป็นภาระที่เพิ่มขึ้นมา และยังไม่แน่ใจด้วยว่ามาเข้า Workshop นี้แล้วจะเข้าใจไหม? จะกลับไปทำได้ไหม? ทำให้รู้สึกเป็นกังวลใจ
 
         การเรียนรู้ที่ดีจะเกิดขึ้นได้ ผู้เรียนจะต้องมีใจพร้อมรับ และจะต้องไม่กังวลใจหรือเกร็งจนเกินไป ต้องเป็นบรรยากาศที่ผ่อนคลาย สบาย ไว้ใจ และเปิดเผย การที่คนยังมีความกังวลแสดงว่าคนๆ นั้นยังไม่สามารถอยู่กับปัจจุบัน ยังไม่สามารถอยู่กับการเรียนรู้นั้นๆ ได้ เพราะไปกังวลอยู่กับอนาคตที่ยังมาไม่ถึง เช่น ความกังวลที่ว่า แล้วเราจะเข้าใจเรื่องนี้ไหม? จะนำกลับไปทำได้ไหม? เป็นต้น ส่วนความรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ ก็แสดงว่าคนๆ นั้น ยังติดอยู่ใน (เหตุการณ์ที่เป็น)  อดีต เช่น เสียงในหัวที่พูดซ้ำๆ ว่า . . เชิญเรามามาทำไม? . . ทำไมถึงต้องเป็นเรา? อะไรทำนองนั้น
 
         การที่ผู้เรียนไม่ได้อยู่กับปัจจุบัน ก็ทำให้การเรียนรู้ที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นได้ยาก แต่จากที่ สคส. ทำ Workshop เหล่านี้มา พบว่าถ้าออกแบบกระบวนการเรียนรู้ดีๆ เวลาสามวันนี้ก็สามารถทำให้เหตุการณ์พลิกผันไปได้ ที่เคยหงุดหงิดใจก็จะค่อยๆ สงบลง จนถึงวันสุดท้าย หลายคนได้สารภาพว่า . . “ถ้าไม่ได้มาก็คงเสียดายแย่ . .  ดีใจที่หัวหน้าส่งมา . . เป็นสามวันที่ดีที่สุด . ."  ส่วนพวกที่เคยกังวลใจ กลัวว่ามาแล้วจะไม่เข้าใจ กลัวว่ามาแล้วจะต้องมานั่ง (หลับ) ฟังการบรรยาย (ที่น่าเบื่อ) ก็สะท้อนในวันสุดท้ายว่า . . “ช่างเป็น Workshop ที่สนุกสนาน ได้ทั้งความสัมพันธ์ระหว่างกัน และได้เทคนิคไปใช้มากมาย” ที่เคยกลัวหรือกังวลว่าจะทำไม่ได้ ก็ไม่ใช่ประเด็นอีกต่อไป เพราะเข้าใจแล้วว่า “ทุกอย่างนั้นเป็นไปได้" ถ้าใจเราอยู่กับปัจจุบัน และดื่มด่ำไปกับชั่วขณะนั้น Live into it! . . . Be it NOW!


หมายเลขบันทึก: 386715เขียนเมื่อ 20 สิงหาคม 2010 21:40 น. ()แก้ไขเมื่อ 12 กุมภาพันธ์ 2012 15:58 น. ()สัญญาอนุญาต: ครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-ไม่ใช้เพื่อการค้า-อนุญาตแบบเดียวกันจำนวนที่อ่านจำนวนที่อ่าน:


ความเห็น (6)

สวัสดีค่ะ

....Live in to it ! Be it NOW !

มีใจอยู่กับปัจจุบันขณะ

ไม่ปล่อยใจเตลิดออกไป

ทำให้งานประสบความสำเร็จ ทันเวลา มีคุณภาพ

เพราะจิตนิ่ง มีสมาธิกับการทำงาน

ขอบคุณค่ะ

                                   

                                เราอยู่ของเราแบบนี้ ก็ดีอยู่แล้ว

 

                               

                           ทำไมต้องสั่งให้มาทำ Workshop KM

 

หลังจากที่ได้พยายาม จัดการตัวเอง (ในฐานะผู้จัดกระบวนการ) ให้อยู่ในสภาวะ....Live in to it ! Be it NOW ! ได้ดีขึ้นก็ได้สัมผัสกับสภาวะการเป็นผู้ร่วมเรียนรู้ไปกับเวที ชัดขึ้น และนำสู่ความรู้สึกอิ่มเต็มทั้งในฐานะผู้แบ่งปัน และผู้ได้รับ จึงเห็นด้วยอย่างยิ่งกับโจทย์ที่ท้าทายของอาจารย์แต่มองจากมุมผู้จัดการครับ...กราบคารวะด้วยความชื่นชมครับ

เป็นไปตามที่อาจารย์บอกครับ

ขอบคุณบันทึกอ่านใจออกชัดเจนค่ะอาจารย์ ลำบากหนักใจยังคงมีเหมือนเดิม ในนามทีมกระตุ้นให้มีกระบวนการ เมื่อคนเข้าอบรมกลับไปทำงาน ๆ ไปสักพัก ทำเหมือนไม่เคยมีเหตุการณ์เหล่านี้เกิดขึ้น คิดแล้วก็ท้อถดถอยค่ะ

ถูกใจภาพประกอบของท่านรองฯ small man มากค่ะ

  • กายชิด..ให้จิตชอบ..ปลุกปลอบ..อย่างต่อเนื่อง
  • ขอเป็นกำลังใจให้ทีมกระตุ้นทุกท่านทุกคนครับ
พบปัญหาการใช้งานกรุณาแจ้ง LINE ID @gotoknow
ClassStart
ระบบจัดการการเรียนการสอนผ่านอินเทอร์เน็ต
ทั้งเว็บทั้งแอปใช้งานฟรี
ClassStart Books
โครงการหนังสือจากคลาสสตาร์ท